Home > travel

Preply เผยผลสำรวจเมืองที่เดินเที่ยวได้ง่ายที่สุดในเอเชีย

การเดินเที่ยวนับเป็นวิธีสำรวจเมืองที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวได้ออกกำลังกาย เปิดประสบการณ์ใหม่ และเข้าถึงวิถีชีวิตท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการเดินเที่ยวชม Palm Jumeirah ซึ่งเป็นเกาะที่ถูกสร้างขึ้นให้มีลักษณะคล้ายต้นปาล์มในดูไบ หรือการเดินในเส้นทางที่มีความท้าทายมากขึ้นเช่นเส้นทางเดินบนยอดไม้ที่สูงเสียดฟ้าในสิงคโปร์ การเดินเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการสำรวจเมืองใหม่ เพราะจะช่วยให้คุณได้ดื่มด่ำกับวัฒนธรรม ทักทายคนในท้องถิ่น และมองเห็นทุกอย่างอย่างใกล้ชิด ทำให้ได้สัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวที่แท้จริงมากยิ่งขึ้น ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ภาษา Preply (เพร็พลี่) แพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีผู้สอนหรือติวเตอร์กว่า 40,000 คน ที่สอนภาษา 50 ภาษา และมีผู้เรียนหลายแสนคนใน 180 ประเทศทั่วโลก เข้าใจดีว่าการเดินสำรวจเมืองยังเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การเรียนรู้และฝึกฝนภาษาใหม่ ตั้งแต่การถามทางจากคนในท้องถิ่นไปจนถึงการทักทายผู้คนที่เดินผ่านไปมา ด้วยเหตุนี้ การศึกษาล่าสุดจึงเน้นไปที่การค้นหาว่า เมืองใดในเอเชียที่เหมาะสมที่สุดในการสำรวจด้วยการเดินเท้า Preply ได้คำนวณระยะทางเดินทั้งหมดของแผนการท่องเที่ยวแบบหนึ่งวันในแต่ละเมือง ซึ่งประกอบด้วยสถานที่รับประทานอาหารเช้า สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม มื้อกลางวัน สถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่ง และสุดท้ายคือมื้อเย็น จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดูเวลาในการเดิน จำนวนก้าวที่เดิน และแคลอรี่ที่เผาผลาญ ก่อนออกเดินทาง: เคล็ดลับสำคัญสำหรับการดื่มด่ำกับวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยการเดิน มีเมืองที่น่าทึ่งมากมายที่คุ้มค่าแก่การสำรวจด้วยการเดิน การเดินเที่ยวจะทำให้คุณได้มีส่วนร่วมกับวัฒนธรรมอย่างแท้จริง และยังให้ความยืดหยุ่นมากขึ้นในการตัดสินใจว่าจะทำอะไรบ้าง ต่อไปนี้คือเคล็ดลับสำคัญเพื่อให้คุณได้ประโยชน์สูงสุดจากทริปเที่ยวเมืองครั้งหน้า ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหนก็ตาม เลือกเมืองตามความเหมาะสมของคุณ ใช้บทความนี้เป็นตัวช่วยในการวางแผนทริปในเมืองที่เหมาะสมสำหรับคุณ โดยคำนึงถึงระยะทางที่คุณสามารถเดินได้อย่างสะดวก บางทีอาจเริ่มด้วยการเดินระยะสั้นๆ ระหว่างสถานที่ท่องเที่ยวหลัก หรือหากคุณพร้อมสำหรับการพักผ่อนแบบลุยๆ คุณอาจลองเดินสำรวจในเส้นทางที่มีความท้าทายขึ้น นอกจากนี้ถ้ารู้สึกเมื่อยแล้วอาจจะลองสำรวจการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อดูว่าคนในท้องถิ่นเดินทางกันอย่างไร

Read More

KTC World Travel Service เพราะเรื่องเที่ยวเราจริงจัง

ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวไว้ในการแถลงทิศทางธุรกิจของเคทีซีในปี 2566 ว่า การดำเนินธุรกิจของเคทีซีนับจากนี้จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มธุรกิจหลัก (Existing) ได้แก่ ธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อไม่มีหลักประกัน 2. กลุ่มธุรกิจใหม่ (New S Curve) ที่คาดว่าจะเป็นตัวสร้างรายได้แบบก้าวกระโดดให้กับบริษัทฯ ได้แก่ สินเชื่อรถแลกเงิน หรือ เคทีซี พี่เบิ้ม และสินเชื่อกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง และ 3. กลุ่มโมเดลธุรกิจที่อยู่ระหว่างการเพาะบ่ม (Incubator) ที่จะพัฒนาจนกลายเป็น New S Curve ต่อไปในอนาคต อย่าง MAAI by KTC ลอยัลตี้ แพลตฟอร์มแบบครบวงจร ที่มีการเคลื่อนไหวอย่างคึกคักตลอดช่วงปีที่ผ่านมา แต่นอกเหนือจาก MAAI by

Read More

เมื่อโควิดทำให้เราโหยหาการเดินทาง

“อยากไปนั่งชิลล์ริมทะเล” “อยากไปเดินป่า” “คิดถึงภูเขา” “เปิดประเทศเมื่อไหร่จะไปญี่ปุ่น” (และนานาประเทศ) รวมถึงการโพสต์ภาพท่องเที่ยวแล้วตบท้ายด้วยคำว่า “เที่ยวทิพย์” และอีกหลากหลายประโยคบนโซเชียลมีเดียที่บ่งบอกถึงการโหยหาการท่องเที่ยว ในยุคที่โควิด-19 ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวไม่สามารถทำได้ดั่งใจหวัง เป็นเวลากว่า 2 ปี ที่เราต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เป็นภัยพิบัติของทั้งโลก การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันถูกระงับเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ไม่ต้องพูดถึงการเดินทางท่องเที่ยว แม้แต่การเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านที่ต่างจังหวัดยังเป็นไปได้ยาก หลายคนต้องกักตัวอยู่ในบ้าน ลดการเดินทาง กิจกรรมที่เคยทำไม่สามารถทำได้ บางคน work from home มาหลายระลอกตั้งแต่การระบาดรอบแรกเมื่อปีที่แล้ว ไม่ได้ออกไปไหนไกล ไม่ได้ไปเที่ยว ต้องอยู่แต่ในบ้าน และยิ่งแล้วใหญ่เมื่อผนวกกับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่นิยมอยู่คอนโดมิเนียม กลายเป็นโดนจำกัดให้อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมไปเสียอย่างนั้น ทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกเครียด กังวล เบื่อหน่าย และไร้พลัง จนโหยหาการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมาเยียวยาหัวใจและคลายความเครียด การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่สร้างความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย เพิ่มความสุข และช่วยให้เราสามารถหลีกหนีจากความเครียดในชีวิตได้ แต่ไม่เพียงเท่านั้น ในทางจิตวิทยาการท่องเที่ยวยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ช่วยพัฒนากระบวนการคิด ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ การท่องเที่ยวส่งผลดีต่อหัวใจ การท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นเที่ยวชมเมืองหรือชมวิวธรรมชาติ ทำให้เราได้เดิน ได้ทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องออกแรง เป็นการได้ออกกำลังกายไปในตัว ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของหัวใจและสุขภาพโดยรวม เพิ่มสารแห่งความสุขและเติมเต็มรอยยิ้มให้กับชีวิต เพราะการท่องเที่ยวคือความสนุก ยามที่เราได้ออกไปเที่ยว เพลิดเพลินกับการทำกิจกรรมใหม่ๆ พบเจอวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม แม้กระทั่งได้กินอาหารอร่อยๆ ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟิน หรือสารแห่งความสุขออกมา ทำให้เราผ่อนคลายสบายใจ และแน่นอนว่ารอยยิ้มย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน และยิ่งยิ้มมากเท่าไรชีวิตก็สดใสมากขึ้นเท่านั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิผลการทำงาน ความเหนื่อยล้าจากการทำงานเป็นสิ่งที่ประสบพบเจอได้เป็นประจำ

Read More

ท่องเที่ยวไทยไร้ทางรอด เอกชนหวังเร่งเปิดประเทศ

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งให้ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยซึ่งถือเป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันด้วยเหตุที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้าออกประเทศได้อย่างอิสระ รวมถึงการปิดประเทศ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งร้างไร้ผู้คน จนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่างขาดรายได้ไปโดยปริยาย ภาพถนนข้าวสารที่เคยคึกคักและคลาคล่ำด้วยนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมาก จนทำให้เป็นประหนึ่งถนนที่ไม่มีวันหลับ หากแต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งติดตามมาด้วยการปิดเมืองในช่วงปลายเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทำให้ถนนที่เป็นสัญลักษณ์ของการท่องเที่ยวไทยต้องร้างไร้ไม่มีนักท่องเที่ยว และเป็นเหตุให้ร้านค้า ร้านอาหาร บริษัทให้บริการท่องเที่ยว และโรงแรมต่างปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก โดยมีการประเมินว่ารายได้ในส่วนนี้หดหายไปมากกว่าร้อยละ 70-80 อีกด้วย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลไกที่เกี่ยวข้องพยายามกระตุ้นการท่องเที่ยวแบบ “ไทยเที่ยวไทย” เพื่อชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะพยุงภาคการท่องเที่ยวที่เคยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 2.9 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของ GDP และมีการจ้างงานรวมมากกว่า 8.3 ล้านตำแหน่งในปี 2562 ได้ มูลเหตุสำคัญที่ทำให้มาตรการ “ไทยเที่ยวไทย” ไม่สามารถพยุงภาคการท่องเที่ยวโดยรวมได้มากนักเกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่ารายได้ในลักษณะของ “ไทยเที่ยวไทย” โดยปกติมีสัดส่วนเพียง 1 ใน 3 ของรายได้ภาคท่องเที่ยวทั้งหมดเท่านั้น ขณะที่ปัจจุบันการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวยังกระจุกตัวในบางจังหวัดและบางช่วงเวลา ยังไม่นับรวมประเด็นว่าด้วยผลของมาตรการกระตุ้นไทยเที่ยวไทยยังเป็นไปอย่างจำกัด ข้อเรียกร้องสำคัญที่ผู้ประกอบการในธุรกิจการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมาว่าด้วยการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาในประเทศไทยจึงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นมาตรการจำเป็นต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและพยุงธุรกิจท่องเที่ยวให้รอดพ้นจากความล่มสลายจากผลของ COVID-19 อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการแต่ละรายต่างเชื่อว่าการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในห้วงเวลาจากนี้ ต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ที่คุ้มกับความเสี่ยง

Read More

DoiSter Craftstay แบรนดิ้งแบบชาวดอย เสริมความแกร่งให้การท่องเที่ยวชุมชน

การดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันที่มีแต่ความเร่งรีบ ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยต่างแสวงหาวิถีชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่รีบเร่ง เพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวัน การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism) หรือโฮมสเตย์ (Home Stay) ซึ่งเป็นการเดินทางท่องเที่ยวที่ได้สัมผัสวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม เน้นความเรียบง่ายและไม่รีบร้อน จึงกลายเป็นตัวเลือกสำคัญเพราะตอบโจทย์สิ่งที่คนในสังคมต้องการ และดูจะได้รับความนิยมไม่น้อย เห็นได้จากแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดและทั่วทุกภาคของเมืองไทย ซึ่งแต่ละชุมชนต่างมีเอกลักษณ์และจุดขายที่แตกต่างกันออกไป ในบรรดาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีอยู่มากมายในหลายพื้นที่นี้ “บ้านห้วยตองก๊อ” ชุมชนชาวปกาเกอะญอ ที่ฝังตัวอยู่ท่ามกลางขุนเขาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน นับเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่น่าจับตามอง เพราะดำเนินการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนมายาวนานร่วม 20 ปี อีกทั้งยังมีเอกลักษณ์ และพัฒนาการที่น่าสนใจ กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยตองก๊อ เกิดขึ้นโดยสืบเนื่องมาจากโครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมัน (TG) ที่เข้ามาพัฒนาพื้นที่บ้านห้วยตองก๊อ ส่งเสริมและให้ความรู้กับชาวบ้านเรื่องการปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างกาแฟ เกษตรหมุนเวียน การเลี้ยงสัตว์ที่สามารถสร้างรายได้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ แก้ปัญหายาเสพติด และสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน ภายหลังการสิ้นสุดของโครงการ ทางชุมชนได้ต่อยอดการพัฒนาดังกล่าว โดยก่อตั้ง “การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยตองก๊อ” ขึ้นในปี 2542 เป็นการพัฒนาชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวมาช่วย เพื่อเผยแพร่วิถีชีวิต ถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอ สร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน และทำให้การพัฒนาที่ได้ดำเนินมาเป็นไปอย่างยั่งยืน บ้านห้วยตองก๊อตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ การเดินทางค่อนข้างลำบาก ต้องลัดเลาะไปตามเทือกเขา ผ่านเส้นทางที่ทุรกันดาร ดังนั้น การเข้ามาท่องเที่ยวที่บ้านห้วยตองก๊อ

Read More

ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น “สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์”

  หากผ่านไปแถวถนนราชดำเนินกลาง ไม่ไกลจากเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศนัก คงคุ้นตากับลานกว้าง แวดล้อมด้วยไม้ประดับร่มรื่น ด้านหนึ่งมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกด้านเป็นที่ตั้งของพลับพลาที่สร้างอย่างวิจิตรงดงาม มีโลหะปราสาทที่สูงตระหง่านเป็นฉากหลัง สถานที่แห่งนี้คือ “ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์” นั่นเอง ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3แห่งราชวงศ์จักรี สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2532 โดยตั้งชื่อตามพระนามของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น “พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์”  เดิมทีบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของ “ศาลาเฉลิมไทย” โรงภาพยนตร์ล้ำสมัยแห่งแรกของไทย แต่เมื่อศาลาเฉลิมไทยปิดตัวลงเมื่อปี พ.ศ.2532 จึงได้มีการรื้อศาลาเฉลิมไทยและสร้างลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ขึ้นแทน ณ บริเวณเดิม อีกทั้งยังเป็นการเปิดทัศนียภาพให้เห็นความสง่างามของโลหะปราสาทที่อยู่ด้านหลังอีกด้วย พื้นที่โดยรอบของลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์นั้นเป็นลานกว้างประดับประดาด้วยไม้ดอกช่วยเพิ่มความร่มรื่นทางสายตา ภายในบริเวณประกอบด้วยพลับพลาที่ประทับสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกรับแขกบ้านแขกเมืองของประเทศ อีกด้านหนึ่งประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ประทับนั่งตรง มีฐานหินอ่อนรองรับ ฉากหลังเป็นรูปพระวิมานอันเป็นพระราชสัญลักษณ์และพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พื้นฉากเป็นหินอ่อนจารึกพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 3 ซึ่งตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทำนุบำรุงบ้านเมืองสร้างความเจริญมั่นคงทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษา และศาสนา ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามรวมทั้งสิ้นถึง 53 วัด รวมทั้งวัดราชนัดดารามวรวิหาร และวัดเทพธิดารามวรวิหาร ที่อยู่ด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ด้วยเช่นกัน จากลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์เดินตัดมาด้านหลังจะพบกำแพงสีขาวทอดยาวมีถนนเล็กๆ คั่นกลาง ด้านในเป็นเขตของวัดราชนัดดารามวรวิหารและโลหะปราสาท พุทธสถานที่มีเพียง

Read More

ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น “สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์”

 นับตั้งแต่พุทธศักราช 2325 อันเป็นปีก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ จวบจนวันนี้กรุงรัตนโกสินทร์ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนาน มีประวัติศาสตร์และเรื่องราวสำคัญที่ควรค่าแก่การจดจำมากมาย บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ภายใต้การดำเนินงานของชมรม “KTC PR Press Club” จัดกิจกรรม “ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น” เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยต่างๆ ผ่านสถานที่สำคัญที่ล้วนบอกเล่าและสะท้อนภาพอดีตได้เป็นอย่างดี ประเดิมตอนแรกไปก่อนหน้านี้เมื่อต้นปี 2558 ที่ผ่านมา ภายใต้คอนเซ็ปต์ จาก “วังเดิม” สู่ “วังหลัง” ปูเรื่องราว ตำนาน และวีรกรรมของสมเด็จพระเจ้าตากสิน สืบวิถีถิ่น “ธนบุรี” เรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านสถานที่สำคัญสมัยกรุงธนบุรีที่เชื่อมโยงสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ณ วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร วัดเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในสมัยกรุงธนบุรี รวมทั้งพระราชวังเดิม และพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ตามติดด้วยภาคสองในตอน “สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 1-3” เรียงร้อยประวัติศาสตร์การเริ่มต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ระหว่างช่วงรัชกาลที่ 1-3 ผ่านสถานที่สำคัญที่เป็นดั่งตัวแทนของแต่ละช่วงเวลา อาทิ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร วัดราชนัดดารามวรวิหาร และวัดเทพธิดารามวรวิหาร  กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่วงสมัยรัชกาลที่ 1

Read More

ซินจ่าว ซาปา ทักทายเมืองแห่งสายหมอก

 AEC Leisure อากาศเย็นปะทะใบหน้าทันทีที่ก้าวลงจากรถ ทะเลสาบกว้างกลางเมืองฉายภาพสะท้อนภูเขาน้อยใหญ่ที่โอบล้อมเมืองอยู่โดยรอบ ม่านหมอกที่แผ่คลุมเมืองและภาพชาวเขาเผ่าต่างๆ ในชุดประจำเผ่าที่สร้างสีสันและชูธรรมชาติรอบข้างให้งดงามมีเสน่ห์มากยิ่งขึ้น ทำให้ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมสถานที่แห่งนี้จึงเป็นหนึ่งหมุดหมายสำคัญในแผนที่ท่องเที่ยวของใครหลายคน “ซาปา” เมืองแห่งขุนเขาและสายหมอก สถานที่ที่นักท่องเที่ยวหลายคนอยากไปเยือน ยิ่งเข้าช่วงฤดูหนาวอย่างนี้ด้วยแล้ว เชื่อแน่ว่า ซาปาจะเป็นจุดหมายของหลายๆ คนที่ต้องการสัมผัสลมหนาว สายหมอก และธรรมชาติที่งดงาม ห่างจากกรุงฮานอยเมืองหลวงของเวียดนามไปทางทิศเหนือประมาณ 350 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเมือง “ซาปา” (SaPa) ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดลาวไก (Lao Cai) จากฮานอยเราสามารถเดินทางมายังซาปาได้ทั้งทางรถยนต์และรถไฟ แต่ที่ได้รับความนิยมและสะดวกสบายที่สุดเห็นจะเป็นการใช้บริการรถไฟตู้นอน สามารถหาซื้อตั๋วรถไฟได้ตามโรงแรมหรือบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่าย รถไฟจะออกจากฮานอยช่วงหัวค่ำ และมาถึงจังหวัดลาวไกตอนเช้า จากลาวไกต้องต่อรถตู้เพื่อเดินทางไปซาปาอีกราวๆ 1 ชั่วโมง พลันที่ก้าวลงจากรถอากาศหนาวเย็นอันเป็นเอกลักษณ์ของซาปาก็เข้ามาทักทายผู้มาเยือนแทบจะในทันที ด้วยความที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,650 เมตร และเป็นดินแดนแห่งขุนเขาจึงทำให้ซาปาเป็นเมืองที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี ยิ่งช่วงฤดูหนาวบางปีที่หนาวจัดที่นี่จะถูกปกคลุมด้วยหิมะ สร้างภาพงามที่หลายคนอยากมาสัมผัสด้วยตัวเอง ในอดีตซาปาคือเมืองตากอากาศของเจ้านายชั้นสูงชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาปกครองเวียดนามในยุคอาณานิคม แต่ความจริงเมืองและผู้คนต่างตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่มาก่อนที่ชาวตะวันตกจะเดินทางมาพบ ซึ่งทุกวันนี้เรายังคงได้เห็นร่องรอยของเจ้าอาณานิคมที่ทิ้งไว้ ทั้งสถาปัตยกรรมของอาคารบ้านเรือนและการวางผังเมืองแบบเฟรนช์โคโลเนียล และที่โดดเด่นเห็นจะเป็น “โบสถ์คาทอลิก” เก่าแก่กลางเมืองที่ยังใช้งานมาถึงปัจจุบัน จากเมืองตากอากาศสมัยอาณานิคมนานวันเข้าซาปาก็กลายเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากขึ้น ทั้งชาวเวียดนามเองที่มักจะหาเวลาในช่วงวันหยุดมาพักผ่อนที่นี่ รวมถึงนักท่องเที่ยวชาติต่างๆ ด้วยเช่นกัน เมื่อมีการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นานา ทั้งโรงแรมที่พักหลายระดับ ร้านอาหารหลากสัญชาติ

Read More

ไปเที่ยวชาโต เดอ วิลลาร์โซส์

รับประทานอาหารกลางวันในสวนที่บ้านของน้องชายคนข้างเคียง เป็นวันแรกในปลายเดือนกรกฎาคมที่มีแสงแดดให้เห็น แล้วเป็นแดดแรงเจิดจ้าที่สาวไทยไม่ชอบ ก็ 34 องศาน่ะ ไม่มีพัดลมปัดเป่า ต้องอาศัยลมธรรมชาติที่แผ่วเต็มที หลังจากนั้นผันผายไป Vexin français ข้อต่อของอิล-เดอ-ฟรองซ์ (Ïle-de-France) และนอร์มองดี (Normandie) เพื่อมุ่งไป Domaine de Villarceaux ปราสาทที่มีสวนสวย อยู่ห่างจากกรุงปารีส 65 กิโลเมตรDomaine de Villarceaux มีบริเวณกว้างขวาง 70 เฮกตาร์ การทำนุบำรุงดีมากแม้จะมีคนสวนเพียง 2 คนเท่านั้น ตัวปราสาทในศตวรรษที่ 12 เป็นไม้ อยู่ใกล้ๆ กับวัดเบเนดิกตีน (bénédictine) ซึ่งกษัตริย์หลุยส์ที่ 6 (Louis VI) ให้สร้างสำหรับแม่ชี ซึ่งต่อมาถูกทำลายและสร้างเป็นปราสาทเล็กๆ ขึ้นแทนโดยใช้หินของวัดเบเนดิกตีนที่เหลืออยู่ ในศตวรรษที่ 13 ปราสาทไม้กลายเป็นป้อมปราการแข็งแรงเพราะเป็นแนวป้องกันชายแดนของกษัตริย์ฝรั่งเศส พอถึงยุคเรอแนสซองส์ (Renaissance) Domaine

Read More

เยือนถิ่นเมืองลาว ในท่ามกลางจินตนาการ AEC

เทศกาลสงกรานต์ใกล้เข้ามา หลายคนเตรียมตัวสนุกกับการสาดน้ำดับร้อน หลายคนวางแผนเดินทางท่องเที่ยว เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ชีวิตให้กับตัวเองในช่วงวันหยุดยาวที่กำลังจะมาถึง หลากหลายสถานที่ท่องเที่ยวคงผุดขึ้นมาเป็นตัวเลือกให้กับผู้ที่แสวงหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ วันนี้เราจะขอนำเสนออีกหนึ่งสถานที่ที่เหมาะกับการเติมพลังชีวิตให้กับตัวเอง กับประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงกับไทย อย่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดินแดนที่ได้ชื่อว่าเป็น...Battery of Asiaการเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศลาวสำหรับคนไทยแล้วถือว่าสะดวกเพราะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ ห่างกันแค่ลำน้ำโขงกั้นกลางเท่านั้น และมีความคล้ายคลึงกันในหลายๆ ด้านทั้งภาษา วัฒนธรรม แต่ในความคล้ายกันนั้นก็มีความต่างซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์และเป็นเสน่ห์เฉพาะของลาว ภายใต้ความสะดวกในการเดินทางเข้าไปเยี่ยมเยือนประเทศเพื่อนบ้านนั้น เราต้องให้ความเคารพต่อระเบียบ กฎหมาย วัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของชาวลาว สิ่งใดที่เป็นข้อห้ามไม่พึงกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายเวลาเยี่ยมชมสถานที่สำคัญ มารยาทที่ไม่ควรกระทำ ข้อห้ามในการถ่ายภาพในสถานที่บางแห่ง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวพึงตระหนัก เพื่อไม่ทำผิดต่อกฎระเบียบของบ้านเมืองที่เราไปเยือน เพราะหากทำในสิ่งที่ไม่พึงกระทำแล้ว การต้องแก้ปัญหาขณะเดินทางท่องเที่ยวคงไม่ใช่เรื่องสนุกเป็นแน่สำหรับจุดหมายปลายทางของเราในครั้งนี้คือ “นครเวียงจันทน์” เมืองหลวงแห่งประเทศลาว ซึ่งการเดินทางไปยังนครเวียงจันทน์นั้นสามารถเลือกเดินทางได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบประหยัดเวลาแต่ความสะดวกสบายสูงอย่างเครื่องบินซึ่งมีหลายสายการบินให้เลือกใช้บริการ หรือถ้าอยากจะขับรถไปเองก็สามารถทำได้ อีกทั้งยังสามารถใช้บริการการรถไฟไทยเส้นทาง กรุงเทพฯ–หนองคาย แล้วข้ามไปยังฝั่งลาวด้วยรถไฟระหว่างประเทศ หนองคาย-ท่านาแล้ง ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ 15 นาทีจากฝั่งไทย ก็ได้อีกบรรยากาศหนึ่ง อีกหนึ่งวิธีการเดินทางที่เราอยากแนะนำคือ รถทัวร์ เส้นทางกรุงเทพฯ–เวียงจันทน์ ของบริษัท ขนส่ง จำกัด

Read More