Home > Sustainable Fashion

ประวรา เอครพานิช กับแนวคิด Fabric Zero Waste

ฟาสต์แฟชั่น ถือครองสัดส่วนในอุตสาหกรรมสิ่งทออยู่ไม่น้อย นั่นเพราะเป็นสินค้าที่ขายได้ในเวลารวดเร็ว ต้นทุนการผลิตต่ำ เสื้อผ้าเหล่านี้มีราคาที่ไม่แพงมาก ได้รับความนิยมในช่วงเวลาหนึ่ง และจะถูกผลัดเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภค แต่การมาไว ไปไว กลับสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมหาศาลในทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ฝ้าย คือวัสดุหลักที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตฝ้ายต้องใช้พื้นที่และน้ำในปริมาณมาก การปลูกฝ้ายนั้นต้องใช้น้ำมากถึง 93 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือ 10,000-20,000 ลิตรต่อการผลิตเสื้อผ้า 1 กิโลกรัม ขณะที่การปลูกฝ้ายยังทำให้ดินรวมถึงแหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียงปนเปื้อนปุ๋ยและยาฆ่าแมลง กระทบต่อระบบนิเวศโดยตรง อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 1.2 พันล้านตันต่อปี ซึ่งมากกว่าหากเปรียบเทียบกับตัวเลขคาร์บอนฟุตพรินต์ของการท่องเที่ยวกันระหว่างประเทศและการขนส่งรวมกัน และไม่ใช่เพียงขั้นตอนการผลิตที่สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การซัก วิธีการทิ้งเสื้อผ้า เรียกได้ว่าทั้งกระบวนการของอุตสาหกรรมสิ่งทอปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 3.3 พันล้านตันในทุกๆ ปี หรือประมาณ  8% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ผู้ประกอบการธุรกิจสินค้าแฟชั่นจำนวนไม่น้อยที่ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้และมีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประวรา เอครพานิช ผู้บริหาร บูติดนิวซิตี้ คือหนึ่งในนั้น ที่พยายามสร้างการเปลี่ยนแปลง นำทรัพยากรส่วนเกินมาเข้าสู่กระบวนการ Upcycle และ Recycle โดยมีเป้าหมายสร้างความยั่งยืน “เราเป็นบริษัทที่ทำเสื้อผ้าสำเร็จรูปบริษัทแรกในไทย ดำเนินธุรกิจมา 50 ปี

Read More

อินโดรามา เวนเจอร์ส จากธุรกิจรีไซเคิล สู่ Sustainable Fashion

อุตสาหกรรมแฟชั่นได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อโลกในลำดับต้นๆ เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรเป็นปริมาณมาก และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกกว่า 10% หรือมากกว่าเที่ยวบินระหว่างประเทศและการขนส่งรวมกัน ซึ่งสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่รับรู้ ในขณะที่เมกะเทรนด์ทั่วโลกต่างมุ่งสู่ความยั่งยืนและตระหนักถึงความจำเป็นของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นทำให้ผู้อยู่ในแวดวงแฟชั่นต่างหันมาให้ความสำคัญในการสร้างอุตสาหกรรมแฟชั่นที่ยั่งยืนและลดผลกระทบเชิงลบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนั่นรวมไปถึง “อินโดรามา เวนเจอร์ส” ที่แม้จะเป็นยักษ์ใหญ่ด้านเคมีภัณฑ์ แต่ก็กำลังสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมแฟชั่นเช่นกัน โดยขับเคลื่อนผ่านทางโครงการที่ชื่อว่า “RECO” ที่ดำเนินมานานถึง 10 ปีเต็ม อินโดรามา เวนเจอร์ส (Indorama Ventures) หรือที่หลายคนอาจรู้จักกันในชื่อ IVL เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีชั้นนำ และยังเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติก PET อันดับ 1 ของโลก โดยเริ่มต้นธุรกิจในปี 2537 จากการเป็นผู้ผลิตเส้นใยขนสัตว์รายแรกของประเทศไทย ก่อนจะก้าวสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์และประสบความสำเร็จในฐานะผู้ผลิต PET และเส้นใยโพลีเอสเตอร์รายใหญ่ที่สุดในประเทศ กระทั่งปี 2554 จึงได้เข้าสู่ธุรกิจรีไซเคิล โดยมีโรงงานแปรรูปขวด PET ที่ใช้แล้วเป็นเกล็ดเม็ดพลาสติกรีไซเคิล (rPET) และเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล โดยในแต่ละปี อินโดรามา เวนเจอร์ส นำขวดพลาสติก PET ใช้แล้วมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติกและเส้นใยสังเคราะห์รีไซเคิลในปริมาณมากถึง 3.3 แสนตันต่อปี

Read More