Home > COVID-19 (Page 24)

กักตัวอยู่บ้าน ความรุนแรงในครอบครัวก็เพิ่มมากขึ้น

Column: Women in wonderland การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงและแพร่กระจายไปทั่วโลกนั้น เกือบทุกประเทศมีนโยบายป้องกันการแพร่ระบาดด้วยการขอความร่วมมือให้ประชาชนงดออกจากบ้าน ไปในพื้นที่ชุมชน งดการรวมกลุ่ม สนับสนุนให้ work from home เมื่อมาตรการนี้ไม่ได้ผล เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในแต่ละประเทศมีจำนวนมากขึ้น รัฐบาลหลายประเทศจึงประกาศล็อกดาวน์หรือการปิดเมืองหรือรัฐที่มีคนติดเชื้อไวรัส COVID-19 เพิ่มมากขึ้น เป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อโควิด-19 แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว หลายประเทศพร้อมใจจะล็อกดาวน์ด้วยเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป บางประเทศให้งดเดินทางเข้าออกทุกช่องทาง บางประเทศแค่ปิดสนามบินเท่านั้น ส่วนการควบคุมประชาชน รัฐบาลสั่งให้ทุกคนอยู่แต่ในบ้าน ออกจากบ้านได้ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปิดบริการทั้งหมด เหลือเพียงแค่ร้านขายยา ร้านอาหารที่อนุญาตให้ซื้อกลับบ้านเท่านั้น ธนาคาร และซูเปอร์มาร์เก็ต มีเวลาเปิดทำการสั้นลงกว่าช่วงเวลาปกติ เพื่อเป็นการลดการแพร่กระจายเชื้อโรค ถึงแม้ว่าวิธีนี้จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศถดถอยลงจากก็ตาม เพราะหากมีอัตราการติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มสูงขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว อย่างสหรัฐอเมริกา อิตาลี และสเปน อาจทำให้โรงพยาบาลที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษา อย่างอิตาลีที่โรงพยาบาลและเตียงมีไม่พอต่อจำนวนผู้ป่วย ทำให้หมอต้องตัดสินใจเลือกรักษาผู้ที่มีโอกาสหายสูงกว่า หรือประเทศเอกวาดอร์ ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมากจนโรงพยาบาลไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จนห้องเก็บศพและสถานที่เก็บศพต่างๆ เต็มหมด

Read More

“เดอะ แพลทินัม แฟชั่น มอลล์” ผสานมือผู้เช่าชูกลยุทธ์ Conversational Commerce สร้างการขายผ่าน Social Media

“เดอะ แพลทินัม แฟชั่น มอลล์” ผสานมือผู้เช่าชูกลยุทธ์ Conversational Commerce สร้างการขายผ่าน Social Media ในแคมเปญ “เดอะ แพลทินัม แฟชั่น มอลล์ ไลฟ์ ช้อปนี้ดีต่อใจ” ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทุกคนล้วนต้องปรับตัวและรับมือวิกฤตการณ์อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งวิถีการดำเนินชีวิต การทำงาน การเดินทาง การช้อปปิ้ง ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งแม้ว่า ศูนย์การค้า แพลทินัม แฟชั่นมอลล์ จะยังทำการปิดชั่วคราวตามนโยบายของภาครัฐบาลล่าสุดจึงได้ผสานความร่วมมือร่วมใจครั้งสำคัญกับร้านต่างๆ ภายในศูนย์ฯ เพื่อสร้างโอกาสการทางการขายเพื่อให้กลไกธุรกิจสามารถขับเคลื่อนต่อไปข้างหน้าได้ไม่หยุดนิ่ง ชูกลยุทธ์ Conversational Commerce สร้างการขายผ่าน Social Media ภายใต้แคมเปญ “The Platinum Fashion Mall LIVE ช้อปนี้ดีต่อใจ” มหกรรมแห่งการ Live ขายสินค้าแฟชั่นผ่านช่องทาง FB ของ The Platinum

Read More

GMM Z ลุยขายกล่องรับสัญญาณดาวเทียม – อินเตอร์เน็ตทีวี รับพฤติกรรมผู้บริโภคด้านโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนท์ที่เพิ่มสูงขึ้น

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ส่งผลให้หลายธุรกิจได้รับผลกระทบ แต่ธุรกิจโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนท์กลับมีตัวเลขที่ขยับไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งบริษัท แซท เทรดดิ้ง จำกัด ในเครือของ บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ผู้ให้บริการกล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียมดิจิทัล จีเอ็มเอ็ม แซท เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากวิกฤตนี้ นายชูเกียรติ ธัญสุนทรสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แซท เทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า “สำหรับภาพรวมในไตรมาสแรกของปี 2563 เติบโตขึ้น ถึงแม้จะมีกระแสการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีปัจจัยมาจากสภาพแวดล้อมของตลาด จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อยู่บ้านมากขึ้น สิ่งสำคัญสำหรับผู้บริโภคในช่วงนี้คือความบันเทิง ประชาชนหากิจกรรมบันเทิงเพื่อผ่อนคลาย ส่งผลให้การดูคอนเทนต์ต่างๆ อาทิ ภาพยนตร์, รายการ, สารคดี, ละคร รวมถึงการซื้อสินค้าผ่านช่องโฮมช้อปปิ้งเพิ่มสูงขึ้น ทำให้กล่อง GMM Z มีผู้บริโภคเกิดความต้องการเพิ่มขึ้นด้วย ประกอบกับดาวเทียมไทยคมมีการย้ายและพัฒนาคุณภาพการรับชมไปที่ดาวเทียมไทยคม 8 จึงทำให้ผู้บริโภคได้เรียนรู้ในการใช้กล่องรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อสอดรับการใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ขณะนี้มียอดขายสูงขึ้น10% และมียอดจำหน่ายกล่องรับสัญญาณดาวเทียมสะสมรวมกว่า 7,000,000 กล่องทั่วประเทศ อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของตัวเลขการเติบโต คือการใช้กลยุทธ์การตลาดที่ดี มีโปรโมชั่นร่วมกับร้านค้าหรือตัวแทนทั่วประเทศ

Read More

คนไร้บ้านกับ COVID-19 เสี่ยงทั้งติดเชื้อและอดตาย?

ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องในสังคมไทย กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อทั้งการได้รับหรือติดเชื้อ COVID-19 มากที่สุดอีกกลุ่มหนึ่งดูจะเป็นกลุ่มคนไร้บ้าน ซึ่งแม้ทุกฝ่ายจะระบุว่าไม่ควรมองข้ามหรือละเลย หากแต่ในความเป็นจริง กลุ่มคนไร้บ้านเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะมีความเสี่ยงด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีความเสี่ยงในทางเศรษฐกิจและปากท้องอีกด้วย แม้ว่ามูลเหตุหรือจุดเริ่มต้นของ “คนไร้บ้าน-คนไร้ที่พึ่ง-คนเร่ร่อน-คนจรจัด-คนตกงาน” อาจแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มคน หากแต่ด้วยเงื่อนไขปัจจุบันพวกเขาถูกนิยามด้วยคำจำกัดความว่า “ผู้ใช้ชีวิตอยู่ในที่สาธารณะ” ซึ่งจากข้อมูลของมูลนิธิอิสรชน องค์กรเอกชนที่ทำงานช่วยเหลือคนเร่ร่อน ระบุว่าในปี 2562 กรุงเทพมหานครมีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ หรือคนไร้บ้านรวมกว่า 4,392 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยซึ่งอยู่ในระดับไม่ถึง 3 พันคนเสียอีก แต่ดูเหมือนพวกเขาจะไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงหรือให้ความสำคัญเท่าใดนัก ความเป็นไปของคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยป้ายรถเมล์หรือสถานที่ที่มีแสงสว่างเป็นที่พักพิง หาเลี้ยงชีพโดยการเก็บขวดหรือของเก่าขาย รับจ้าง เป็นแรงงานรายวัน หรือค้าขายทั่วไป ซึ่งในมิติของสุขอนามัยและสุขภาพพื้นฐาน ต้องยอมรับว่าคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่สุขอนามัยไม่ดีนัก เพราะต้นทุนการอาบน้ำของคนไร้บ้านสูงถึงครั้งละ 15-20 บาท เทียบเท่าอาหาร 1 มื้อ คนไร้บ้านจึงเลือกเก็บเงินไว้ซื้อหาอาหารประทังชีวิตและปล่อยให้เนื้อตัวมอมแมมจนเป็นภาพติดตา นอกจากนี้ การที่คนไร้บ้านมักอาศัยรวมกลุ่มกัน จึงง่ายต่อการระบาดของโรคติดต่อ คนไร้บ้านจำนวนมากยังเป็นวัณโรค ในบางพื้นที่สัดส่วนคนไร้บ้านที่เป็นวัณโรคสูงถึงร้อยละ 80 เรียกว่าเสี่ยงเป็นพิเศษต่อโรค COVID-19 ที่มุ่งโจมตีระบบทางเดินหายใจ ประเด็นว่าด้วยสุขภาพของคนไร้บ้านไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น

Read More

ประเทศไทยหลัง COVID-19 และการกำหนดทิศทางในอนาคต

การดำเนินไปของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้สร้างความเสียหายต่อมวลมนุษยชาติอย่างกว้างขวางและในหลากหลายมิติ ไม่ได้จำกัดเฉพาะอยู่ที่ประเด็นสุขภาพและการสาธารณสุขเท่านั้น หากแต่ยังมีประเด็นว่าด้วยพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมที่กระทบต่อความเป็นไปและการดำเนินชีวิตของประชาชนอีกด้วย ดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการควบคุมโรค COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา จึงไม่ควรพิจารณาจากจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อเท่านั้น หากยังต้องพิจารณาและประเมินด้วยว่า ภายใต้มาตรการที่นำเสนอออกมาโดยกลไกภาครัฐนั้น ได้นำไปสู่หรือสร้างผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปอย่างไรบ้าง และกลไกรัฐมีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับหรือเยียวยาต่อผลกระทบดังกล่าวอย่างไรหรือไม่ ประเด็นที่น่าสนใจจากกรณีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในระดับนานาชาติอยู่ที่นอกจากจะมีการกล่าวถึงจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต และประเด็นว่าด้วยมาตรการการรับมือและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคแล้ว ยังให้ความสำคัญต่อประเด็นอื่นๆ ควบคู่ไปด้วยทั้งสภาพความถดถอยทางเศรษฐกิจ ปัญหาคนว่างงานและความอดอยาก หรือแม้กระทั่งผลกระทบต่อเยาวชนโดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการศึกษา หากแต่สำหรับสังคมไทย ดูเหมือนว่าศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. จะมุ่งเน้นไปที่การแพร่ระบาดของโรค โดยละเลยที่จะพิจารณาประเด็นและผลกระทบแวดล้อมว่าด้วยเศรษฐกิจ แรงงาน และการศึกษา ที่ทำให้ขาดมิติในเชิงบูรณาการ และมีแนวโน้มที่จะต้องย้อนกลับมาแก้ไขปัญหาอื่นๆ ด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นไปโดยปริยาย ผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ทำให้หลายธุรกิจต้องปิดหรือหยุดกิจการลงส่งผลให้มีคนตกงานรวมกว่า 10 ล้านคน และมีผู้ลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือเยียวยาจากมาตรการของรัฐรวมกว่า 28 ล้านคน ท่ามกลางความล่าช้าและขาดความชัดเจนของการดำเนินการภาครัฐ ซึ่งทำให้ประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนจำนวนมากไม่ได้รับความช่วยเหลือ และต้องดำเนินชีวิตอยู่ท่ามกลางการขาดรายได้มานับเดือน ข้อน่าสังเกตประการหนึ่งนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรค COVID-19 อยู่ที่การกล่าวถึงบุคลากรทางการแพทย์ในฐานะที่เป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญต่อการต่อสู้กับโรคระบาดครั้งนี้ ทั้งในมิติของการรักษาพยาบาล และการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งควรได้รับกำลังใจและความชื่นชม หากแต่สังคมไทยอาจมองข้ามความสำคัญจำเป็นของการพัฒนาบุคลากรด้านการสาธารณสุข ที่มีทัศนะของการวางแผนและบริหารจัดการที่มีความเชื่อมโยงกับมิติทางสังคมอื่นๆ เพื่อรองรับกับวิกฤตทางสาธารณสุขที่อาจเกิดมีขึ้นอีกในอนาคต ภาพของการขอรับบริจาคหรือแม้กระทั่งข้อเท็จจริงที่ว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์จำนวนมากขาดแคลนในสถานการณ์ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยไม่ได้มีการประเมินสถานการณ์หรือเตรียมการเพื่อรองรับต่อการระบาดของโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก ซึ่งหากมีการเตรียมการดีพอสังคมไทยอาจใช้เงินงบประมาณในการบริหารงานด้านสาธารณสุขนี้ในจำนวนไม่ถึง

Read More

สปอนเซอร์ ผุดแคมเปญ “เสียเหงื่ออย่างมีเป้าหมาย” เชิญชวนชาวไทย “เสียเหงื่อ” พิชิตโควิด-19 ไปด้วยกัน

“สปอนเซอร์” โดยกลุ่มธุรกิจ TCP เปิดตัวแคมเปญ “เสียเหงื่ออย่างมีเป้าหมาย” เชิญชวนชาวไทย “เสียเหงื่อ” พิชิตโควิด-19 ไปด้วยกัน เครื่องดื่มเกลือแร่ “สปอนเซอร์” ภายใต้กลุ่มธุรกิจ TCP ปล่อยแคมเปญเสียเหงื่ออย่างมีเป้าหมาย (Sweat with Purpose) ชวนคนไทยทุกคนร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ที่จะเติมพลังใจให้สดชื่นผ่อนคลายความตึงเครียดจากสถานการณ์โควิด-19 พร้อมเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกาย และทำประโยชน์ให้กับสังคมร่วมกัน ผ่าน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ “เสียเหงื่อเพื่อชนะ” “เสียเหงื่อเพื่อชาติ” และ “เสียเหงื่อเพื่อช่วย” จัดเต็มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนจนถึงตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ นายศุภชัย จุนเกียรติ ผู้อำนวยการสายงานการตลาดโกลเบิล กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า “กว่า 1 เดือนที่คนไทยร่วมแรงร่วมใจหยุดกิจกรรมทางสังคม ส่งผลให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ทุกคนยังคงต้องอยู่บ้าน ควบคุมระยะห่างทางกายภาพเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ ด้วยเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ที่ต้องการลดจำนวนการติดเชื้อให้ได้มากที่สุด สปอนเซอร์จึงขอเป็นอีกแรงในการสนับสนุนภารกิจครั้งสำคัญนี้ ด้วยการออกแคมเปญ ‘เสียเหงื่ออย่างมีเป้าหมาย’ เพื่อเสริมสุขภาพกาย และสุขภาพใจ ให้คนไทยผ่อนคลายจากความตึงเครียด ผมเชื่อว่าคนไทยเมื่อตั้งใจทำอะไรด้วยเป้าหมายจะสำเร็จเสมอ และพวกเราจะผ่านความท้าทายของวิกฤตนี้ไปด้วยกันในไม่ช้า” สปอนเซอร์ จุดพลุเปิดแคมเปญ

Read More

ชาวบุรีรัมย์ทำธนาคารอาหารสู้ภัยโควิด แนะภาคเกษตรต้องปรับตัวตลอดห่วงโซ่

สกสว.เผยชาวบ้านลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ร่วมกันพลิกฟื้นที่ดินว่างเปล่าหันมาปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อเป็นธนาคารอาหารของหมู่บ้านสู้ภัยโควิด-19 ในช่วงกักตัวปิดหมู่บ้าน ขณะที่นักวิชาการด้านสหกรณ์แนะหลังเปิดเมือง ภาคเกษตรต้องปรับตัวสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภค พัฒนามาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์ภายใต้มาตรฐานสุขอนามัย ผศ.อุทิศ ทาหอม หัวหน้าโครงการ "รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทุนทางวัฒนธรรม เพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนบ้านห้วยหวายพัฒนา ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์" อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนการจากฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า ตนและคณะวิจัยชาวบ้านได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่แหล่งน้ำหนองโดนให้เป็นพื้นที่ “กินได้ เที่ยวได้ ขายได้” เมื่อมีปัญหาวิกฤตโควิด-19 ชาวบ้านจึงร่วมกันปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานสำหรับเป็นธนาคารอาหาร (Food Bank) หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทางการได้สี่งปิดการเข้าออกหมู่บ้าน ชาวชุมชนบ้านห้วยหวายพัฒนาต้องกักตัว กักอาหาร เว้นห่างระยะ ตนจึงขยายผลงานวิจัยด้วยการชักชวนชาวบ้านร่วมกันพลิกฟื้นพื้นที่ว่างเปล่าของชุมชนบ้านห้วยหวายพัฒนารอบคูสระหนองโดน จำนวน 15 ไร่ ที่ทิ้งไว้เฉย ๆ ให้เกิดประโยชน์ ทำแปลงผักปลอดสารพิษจำนวน 51 แปลง กลายเป็นพื้นที่ทำกินของชุมชนและสร้างฐานอาหารรับมือวิกฤตโควิด-19 “แปลงผักปลอดสารพิษที่ชาวชุมชนได้ร่วมกันปลูก เมื่อได้ผลผลิตแล้วก็แบ่งกันทั้งชุมชน นอกจากการบริโภคในครัวเรือนแล้วยังนำไปขายในตลาดอำเภอลำปลายมาศ และมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อในชุมชน กลายเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ ทำให้ชาวบ้านไม่ต้องออกไปซื้อหาอาหารภายนอกซึ่งเสี่ยงต่อการติดโรค และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ การที่ชุมชนได้ยกระดับฐานทรัพยากร

Read More

โควิด-19 ซ้ำเติม ตลาดแรงงานไทยวิกฤต

ตลาดแรงงานไทยถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีความเปราะบางมากเป็นพิเศษ นั่นเพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดสภาวะวิกฤตกับเศรษฐกิจ แรงงานไทยที่แม้ไม่ใช่ด่านหน้าที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทว่ากลับเป็นกลุ่มที่ได้รับแรงปะทะเสมอ การเลิกจ้าง ตัวเลขการว่างงาน เป็นภาพสะท้อนทิศทางความเป็นไปที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ ไม่จำเพาะเจาะจงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น ตลาดแรงงานทั่วโลกก็เช่นกัน คล้ายกับว่าความมั่นคงของสถานภาพแรงงานจะดีร้าย ขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การเติบโตที่ลดลงของเศรษฐกิจไทยในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่งทยอยปิดตัวลง อันนำมาสู่การเลิกจ้างแรงงาน ซึ่งตัวเลขการว่างงานในเดือนธันวาคม 2562 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยคือ มีผู้ว่างงานจำนวน 367,000 คน เพิ่มขึ้น 18,000 คน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2561 ที่มีตัวเลขผู้ว่างงาน 349,000 คน บาดแผลของแรงงานทั้งในและนอกระบบจากสภาวะเศรษฐกิจซบเซายังไม่หายดี ภัยร้ายที่เสมือนคลื่นระลอกใหม่ ซัดเข้ามากระหน่ำซ้ำเติม กดหัวให้กราฟของผู้มีงานทำต่ำลง หากจะกล่าวว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายก็ดูจะไม่แปลกนัก เพราะทั้งไทยและทั่วโลกต่างเคยเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคมาหลายต่อหลายครั้ง ทว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 กลับสร้างความเสียหายในระบบแตกต่างไปจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในครั้งก่อนๆ มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทำให้ระบบเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดถูกฟรีซไว้ชั่วคราว หลายอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องโดยตรง ภาคการบริการ ภาคธุรกิจ SMEs ตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดเล็ก หรือกลุ่มธุรกิจที่สายป่านไม่ยาว เป็นผลให้แรงงานที่อยู่ในกลุ่มนี้ต้องพบเจอกับความเสี่ยงอีกครั้ง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (Economic Intelligence Center)

Read More

เส้นทางของ Didier Raoult

Column: From Paris Covid-19 ทำให้รู้จักชื่อ Didier Raoult ศาสตราจารย์นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ ผู้พบว่ายา chloroquine และ hydroxychloroquine สามารถใช้กับผู้ที่ติดเชื้อ Covid-19 จนสร้างความแตกแยกในวงการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ของฝรั่งเศส Didier Raoult เกิดที่เมือง Dakar ประเทศเซเนกัล (Sénégal) พ่อเป็นแพทย์ทหาร พื้นเพชาวนอร์มองดี (Normandie) ผู้ก่อตั้งสถาบันวิจัยอาหารในแอฟริกา ส่วนแม่เป็นพยาบาล ครอบครัวย้ายกลับฝรั่งเศส ตั้งรกรากที่เมืองมาร์เซย (Marseille) ขณะที่เขาอายุ 10 ขวบ เขาเรียนไม่ดี พออายุ 17 ปี ลาออกจากโรงเรียนเพื่อไปทำงานในเรือพาณิชย์เป็นเวลา 2 ปี ในปี 1972 เขากลับมาสอบมัธยมปลายด้านวรรณคดี และเข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ของมาร์เซย เพราะเป็นวิชาเดียวที่พ่อจะออกค่าใช้จ่ายให้ ผลการเรียนขณะเป็นอินเทิร์นทำให้ไม่ได้เรียนสาขาที่อยากเรียน จึงต้องมาเรียนด้านโรคติดเชื้อเฉกเช่นเดียวกับตา เขาพูดเสมอว่าต้องการเป็นคนเก่งที่สุดในโลก เขาเดินทางไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกาจนได้รับปริญญาเอก ผลการเรียนดีเลิศจนสถาบันแพทย์แห่งหนึ่งต้องการให้เขาร่วมทีมด้วย แต่เขาเลือกเดินทางกลับฝรั่งเศส ได้เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเมืองมาร์เซย Didier Raoult

Read More

เซ็ง เหงา เครียด จิตใจแย่ แนะ 6 วิธีจัดการอารมณ์ช่วงกักตัวอยู่บ้านอย่างสร้างสรรค์

เซ็ง เหงา เครียด จิตใจแย่ ภัยทางอ้อมโควิด 19 มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ แนะ 6 วิธีจัดการอารมณ์ช่วงกักตัวอยู่บ้านอย่างสร้างสรรค์ เตือนผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการดื่มอย่างเป็นอันตราย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกทั้งเรื่องงาน ชีวิตส่วนตัว รวมถึงระบบสังคมและเศรษฐกิจ ถูกแปรเปลี่ยนอย่างกระทันหันจนยากที่จะปรับตัว หลายคนต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) ในขณะที่บางคนยังต้องออกไปทำงานข้างนอกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนกิจกรรมสำหรับการผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว รับประทานอาหารนอกบ้าน และกิจกรรมการเข้าสังคมอื่น ๆ ก็ต้องหยุดชะงักเพราะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ (Social Distancing) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกับภาวะทางอารมณ์และจิตใจมากมาย จนอาจเรียกได้ว่าปัญหาทางด้านจิตใจคือมหันตภัยระลอกที่ 2 ของการแพร่ระบาดนี้ อีกหนึ่งอันตรายที่ตามมาจากความเครียดและการกักตัวอยู่บ้านไม่ได้พบเจอผู้คน คือการดื่มอย่างเป็นอันตราย ซึ่งในหลายประเทศพบว่าเกิดความเสี่ยงที่ประชาชนจะดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดเพื่อรับมือกับความเครียด โดยในประเทศออสเตรเลียพบว่ามีการกักตุนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และประชาชนมีพฤติกรรมดื่มหนักขึ้น ในขณะที่แนวโน้มลักษณะเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีอาชญากรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดพ่วงตามมาด้วย เช่น ความรุนแรงภายในครอบครัว ด้านประเทศไทย ได้มีการส่งเสริมให้ผู้บริโภคระมัดระวังการดื่มเพื่อให้สามารถครองสติสัมปชัญญะ ไม่นำไปสู่การทะเลาะวิวาท อาชญากรรม และสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงในช่วงไวรัสระบาด มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ (มปอ.)

Read More