Home > Co-working Space

การรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรและข้อดีของโคเวิร์กกิ้งสเปซ

ด้วยสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน องค์กรต่างๆ กำลังพบเจอกับความท้าทายในการดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีคุณภาพ ซึ่งจากผลสำรวจค่าตอบแทนประจำปีของเมอร์เซอร์ (Mercers' Total Remuneration Survey) พบว่าประเทศไทยกำลังประสบปัญหาอัตราการลาออกของพนักงานโดยสมัครใจที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึง 10 เปอร์เซ็นต์ในปี 2023 เทรนด์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ยิ่งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการหากลยุทธ์สำคัญในการจัดการกับประเด็นดังกล่าวในประเทศอย่างเร่งด่วน หากบริษัทต่างๆ ต้องการรักษาพนักงานที่มีคุณภาพในองค์กร และดึงดูดพนักงานใหม่ๆ ที่มีทักษะความสามารถ บริษัทจะต้องปรับตัวพร้อมรับแนวทางการทำงานแบบใหม่ ที่สอดรับกับความต้องการของพนักงานในปัจจุบัน จากรายงานแนวโน้มตลาดแรงงานที่มีทักษะศักยภาพสูงทั่วโลกในปี 2566 ซึ่งจัดทำโดยเมอร์เซอร์ (Global Talent Trends (GTT) Study 2023 by Mercer) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำด้านทรัพยากรบุคคลจำนวนถึง 2,500 คนทั่วโลก พบว่าหนึ่งในเทรนด์สำคัญคือ ความคาดหวังให้บริษัทหรือผู้ว่าจ้าง เปิดรับต่อแนวทางการทำงานแบบใหม่สำหรับพนักงาน ออฟฟิศรูปแบบเดิมอาจไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของพนักงานได้อีกต่อไป โดยพื้นที่การทำงานที่มีความยืดหยุ่นและมีชีวิตชีวา ที่ช่วยดึงดูดให้คนทำงาน รวมถึงทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในการสร้างความสุข ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี และเกิดแรงกระตุ้นในการทำงาน ซึ่งโคเวิร์คกิ้งสเปซได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว โคเวิร์คกิ้งสเปซ มีข้อดีต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ที่สวยงามและมีความยืดหยุ่นในการใช้พื้นที่ ไปจนถึงการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี

Read More

SINGER x FN Living Space เกมแตกไลน์ธุรกิจสินเชื่อ-โคเวิร์กกิ้ง

ช่วงวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” แบรนด์เสื้อผ้าชื่อดัง Fly Now ต้องดิ้นปรับ Business Model สร้างศูนย์จำหน่ายสินค้า FN Outlet เจาะทำเลแหล่งท่องเที่ยวจนประสบความสำเร็จ เมื่อถึงยุคโควิด “เอฟเอ็น แฟคต่อรี่ เอ๊าท์เลท” ลุยฝ่ามรสุมอีกครั้ง โดยเฉพาะแผนผนึกพันธมิตร “Big Brand” แตกไลน์ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด เปิดตัวโครงการค้าปลีกแนวใหม่ SINGER x FN Living Space และเตรียมต่อยอดสู่ธุรกิจสินเชื่อ Buy Now Pay Later และ Co-working space เบญจ์เยี่ยม ส่งวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท จำกัด (มหาชน) หรือ FN กล่าวว่า ตาม Business Outlook ในปี

Read More

อสังหาฯ บูมโคเวิร์กกิ้งพุ่งเท่าตัว JustCo เร่งเครื่องยึดตลาด

น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ปลุกกระแสความนิยมการใช้พื้นที่ทำงานนอกกรอบสไตล์ “โคเวิร์กกิ้งสเปซ” เพราะคนจำนวนมากต้องเปลี่ยนรูปแบบมาทำงานที่บ้านและใช้บริการตามร้านกาแฟ ร้านฟาสต์ฟู้ด จนกระทั่งเกิดธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซอย่างเป็นทางการในกรุงเทพฯ สอดรับกับจำนวนของฟรีแลนซ์ที่เพิ่มขึ้นทุกปี ขณะเดียวกันพื้นที่อาคารสำนักงานเกรดเอใจกลางเมืองมีจำนวนน้อยและราคาแพง ยิ่งทำให้บริการโคเวิร์กกิ้งสเปซมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในทำเลทอง ถนนสาทร สีลม ราชเทวี สุขุมวิท ซอยอารีย์ ลาดพร้าว รวมถึงจังหวัดใหญ่ๆ อย่างเชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ สงขลา และเมืองท่องเที่ยว ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี ธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซขยายตัวอย่างรวดเร็ว และปรับเปลี่ยนจากเดิมที่มีเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการไทยเพียงไม่กี่ราย เปิดบริการตามตึกขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เริ่มมีผู้เล่นมากขึ้นและเน้นการสร้างพื้นที่ขนาดใหญ่มากกว่า 2,000 ตารางเมตร ทุกรายแข่งดีไซน์แนวสร้างสรรค์ มีบริการหลากหลายรองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ เพื่อสร้างคอมมูนิตี้ขนาดใหญ่ และเจาะกลุ่มเป้าหมายหลักไม่ใช่แค่ฟรีแลนซ์แบบเดิม แต่ขยายจับกลุ่มลูกค้าประเภทองค์กร ทั้งบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางที่ต้องการใช้โคเวิร์กกิ้งสเปซเป็นสำนักงานหลัก ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ที่สามารถใช้โคเวิร์กกิ้งสเปซเป็นสำนักงานย่อย หรือสำรองที่นั่งทำงานไว้สำหรับให้พนักงานที่ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ แน่นอนว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลบวกโดยตรงจากธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซ ทั้งในแง่การขายพื้นที่ การเช่าพื้นที่และการดึงดูดลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งไม่ต้องการบ้านหรือคอนโดมิเนียมเพียงเพื่ออยู่อาศัยเท่านั้น แต่ต้องสร้างสังคมหรือ “คอมมูนิตี้” ในกลุ่มลูกบ้าน มีรายละเอียด ความรู้สึกและเอื้อต่อการทำงานที่ไม่อยู่ในกรอบแบบเดิมๆ ทั้งนี้ ดูเหมือนว่าบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ชูจุดขายด้านไลฟ์สไตล์อย่าง “แสนสิริ” มองเห็นเทรนด์ชัดเจน ตัดสินใจลงทุน 2,800 ล้านบาท

Read More

เซ็นทรัลเร่งแผน Center of Life ดึงบิ๊กมาเลย์ผุด “คอมมอนกราวด์”

“เซ็นทรัลพัฒนา” กำลังเร่งเดินหน้าธุรกิจตามแผนวิสัยทัศน์ 5 ปี “Co-Create Center of Life” ปลุกจุดขายให้ศูนย์การค้าของซีพีเอ็นทุกสาขาเป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่และไม่ใช่แค่การสร้างทราฟฟิกการใช้บริการอย่างหนาแน่นเฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์ แต่ต้องหนาแน่นทุกวันตลอดสัปดาห์ โดยล่าสุดทุ่มทุนเกือบพันล้านแตกไลน์ธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซเต็มรูปแบบ แบรนด์ “Common Ground” ชูคอมมูนิตี้ผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ตั้งเป้าปูพรมอย่างรวดเร็ว 20 สาขา ภายใน 5 ปี การจับมือกันครั้งนี้สร้างความตื่นเต้นในสงครามโคเวิร์กกิ้งสเปซ เพราะคอมมอนกราวด์ ถือเป็นโคเวิร์กกิ้งสเปซสัญชาติมาเลเซียที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งที่เปิดตัวเพียงปีกว่าๆ เน้นสร้างชุมชนโคเวิร์กกิ้งสเปซแบบบูรณาการภายใต้สโลแกนที่ว่า “ความใฝ่ฝันมีอยู่ที่นี่ (Ambition Lives Here)” และมีจุดขายสำคัญ คือ เครือข่ายพันธมิตรระดับบิ๊กเนมทั้งสิ้น เช่น แอร์เอเชีย ฟิตเนสเฟิร์ท เปโตรนาส ซึ่งลูกค้าสามารถได้สิทธิประโยชน์ที่แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น ล่าสุด มีสมาชิกมากกว่า 1,400 คนใน 6 สาขา ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ และเมืองใกล้เคียง โดยมีแผนเปิดครบ 15 สาขาทั่วมาเลเซียภายในปีนี้ และเริ่มรุกขยายธุรกิจสู่ระดับภูมิภาค ได้แก่ ฟิลิปปินส์และประเทศไทย นายจุน เตียว

Read More

กวิน ว่องกุศลกิจ อองเทอเพรอนัวส์ยุค 4.0

กวิน ว่องกุศลกิจ ใช้เวลาเกือบ 10 ปีบุกเบิกธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซในยุคที่หลายคนในวงการยังไม่รู้จัก จนล่าสุดลงทุนกว่า 600 ล้านบาท ผุด “โกลว์ฟิช ออฟฟิศ” รูปแบบใหม่ “ไลฟ์สไตล์เวิร์กสเปซ” สาขาล่าสุดย่านสาทร ที่รวมทั้งบริการเซอร์วิสออฟฟิศและธุรกิจไลฟ์สไตล์รีเทลเข้าด้วยกันเป็นแห่งแรกในเมืองไทย ที่สำคัญ โมเดลของโกลว์ฟิชเป็นไอเดียการทำธุรกิจที่กวินย้ำว่า ต่างจากโคเวิร์กกิ้งสเปซอื่นๆ และสะท้อนแพสชั่นการทำธุรกิจของเขาตั้งแต่เริ่มต้นครั้งแรก เป้าหมายไม่ใช่การหารายได้กำไรเพียงอย่างเดียว แต่สามารถยืนอยู่ได้และต้องการเติบโตไปด้วยกันในกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ ตั้งแต่กลุ่มฟรีแลนซ์ สตาร์ทอัพ และอองเทอเพรอนัวส์ที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 อย่างเต็มตัว “ผมอยากสร้างโกลว์ฟิชให้เป็นธุรกิจฮีโร่ตัวหนึ่งของเมืองไทย...” กวินกล่าวกับ “ผู้จัดการ360องศา” กวินเล่าว่า เขาพยายามสร้างโกลว์ฟิชให้มีความแตกต่างจากโคเวิร์กกิ้งสเปซอื่นๆ เน้นการสร้างระบบนิเวศการทำงาน หรือ Ecosystem ให้เป็นพื้นที่ทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนที่มี 3 องค์ประกอบ คือ Work, Play and Grow Work คือ การทำสิ่งต่างๆ ที่ช่วยให้การทำงานมีผลผลิตมากขึ้น Play คือ การออกแบบสถานที่ทำงานให้เกิดไอเดียสร้างสรรค์ได้อย่างแท้จริง เป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำงาน ซึ่งไม่ได้มีไว้เพื่อเป็นกิมมิกเท่านั้น ส่วน Grow เป็นการสร้างแรงบันดาลใจส่งเสริมการเติบโตในธุรกิจของพันธมิตรผู้เข้ามาใช้บริการ ทั้งหมดจะช่วยให้ธุรกิจเพิ่มโอกาสการเติบโตและพัฒนาไปอย่างเข้มแข็ง ต่อยอดธุรกิจเติบโตแบบออร์แกนิก

Read More

โกลว์ฟิชดันไลฟ์สไตล์เวิร์กสเปซ ฉีกคู่แข่ง อสังหาฯ-รีเทล

โคเวิร์กกิ้งสเปซหรือออฟฟิศสเปซในไทยกลายเป็นตลาด “Red Ocean” ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วพร้อมๆ กับคู่แข่งขันยักษ์ใหญ่ที่มีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะการแห่เข้ามาบุกตลาดของบรรดาบริษัทข้ามชาติ แย่งชิงพื้นที่ทำเลทองใจกลางธุรกิจ เพื่อเจาะความต้องการของกลุ่มสตาร์ทอัพและคนทำงานฟรีแลนซ์รุ่นใหม่ กำลังซื้อสูง ข้อมูลจากบริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ “เจแอลแอล” ระบุว่า ผู้ประกอบการโคเวิร์กกิ้งสเปซหลายราย ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกกำลังเร่งหาโอกาสเข้ามาเปิดธุรกิจในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่มีแผนเข้ามาลงทุนเต็มรูปแบบ โดยต้องการพื้นที่สำนักงานขนาดใหญ่ระหว่าง 1,000-3,000 ตารางเมตรในอาคารสำนักงานเกรดเอตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน เฉพาะช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ เจเอลแอลได้เป็นตัวแทนผู้ประกอบการรายใหญ่ในการเช่าพื้นที่สำนักงาน เพื่อเตรียมเปิดโคเวิร์กกิ้งสเปซ พื้นที่ 5,000 ตร.ม. และอยู่ระหว่างการจัดหาพื้นที่ เจรจาสัญญาเช่าให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ คิดเป็นพื้นที่รวมกว่า 15,000 ตร.ม. ส่วนใหญ่ต้องการเช่าพื้นที่ขนาดประมาณ 3,000 ตร.ม. ต่อแห่ง ขณะที่บริษัท ซีบีอาร์อี (ประเทศไทย) สำรวจข้อมูลพบว่า เจ้าของโครงการอาคารสำนักงานหลายรายที่มีแนวคิดก้าวหน้าเริ่มวางนโยบายบริหารพื้นที่ที่มีความยืดหยุ่นให้แก่ผู้เช่า ทั้งการมีโคเวิร์กกิ้งสเปซของตนเองและการมีผู้ให้บริการโคเวิร์กกิ้งสเปซเป็นผู้เช่าในอาคาร เพื่อเติมเต็มความต้องการและไลฟ์สไตล์คนทำงานฟรีแลนซ์ โดยคาดการณ์ปี 2561 จะมีผู้ให้บริการโคเวิร์กกิ้งสเปซจากต่างชาติเข้ามาเปิดให้บริการพื้นที่มากถึง 18,000 ตร.ม. ในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ มีบริษัทต่างชาติที่ออกมาประกาศแผนรุกตลาดชัดเจน เช่น บริษัท สเปซเซส

Read More

“เอ็มบาสซี” 24 ชั่วโมง ดัน Open House ดึงเจนใหม่

“เซ็นทรัลเอ็มบาสซี” ฝ่าฟันมรสุมกว่า 3 ปี จากวิสัยทัศน์ของกลุ่มเซ็นทรัลที่ต้องการปักธงประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวแบบ “ลักชัวรี่ ไลฟ์สไตล์” เน้นรูปแบบโครงการสไตล์สถาปัตยกรรมเชิงสัญลักษณ์ (Iconic Building) เทียบชั้นมหานครทั่วโลกที่มีงานสถาปัตยกรรมเลื่องชื่อ เหมือนพิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮมน์ บิลเบา แห่งสเปน เบิร์จ อัล อาหรับ ดูไบ มารีนา เบย์ แซนด์ สิงคโปร์ และสปรูซ สตรีท แห่งนิวยอร์ก โดยหวังจะปลุกปั้น “เซ็นทรัลเอ็มบาสซี่” เป็นสัญลักษณ์แห่งเมืองที่หากไม่มาชมก็เหมือนมาไม่ถึง เพราะโจทย์การตลาดระดับซูเปอร์ไฮเอนด์ทำให้การเข้าถึงกลุ่มลูกค้ายากขึ้นบวกกับสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศ ซึ่งบรม พิจารณ์จิตร ในฐานะกรรมการผู้จัดการ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเอ็มบาสซี ยอมรับว่าเขาต้องสร้างกลยุทธ์ เขย่าสัดส่วนต่างๆ และเติมเต็มทุกองค์ประกอบ เพื่อขยายฐานลูกค้าระดับพรีเมียมและคนรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อ กระทั่งงานแถลงข่าว Central Embassy Completion เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บรมประกาศชัดเจนว่า วันนี้เซ็นทรัลเอ็มบาสซีครบสมบูรณ์แล้ว และนั่นอาจหมายถึงเกมการต่อยอดสู่บิ๊กโปรเจ็กต์ของกลุ่มเซ็นทรัลบนที่ดินสถานทูตอังกฤษอีกกว่า 10,000 ตารางวา ซึ่งกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่กำลังเปิดศึกประมูลแย่งชิงกันอยู่ “ปลายปีที่ผ่านมาจนถึงล่าสุด เซ็นทรัลเอ็มบาสซีเปิดตัวพื้นที่ใหม่ 3 โซน

Read More