Home > Casio

‘คิคุโอะ อิเบะ’ บิดาแห่ง G-SHOCK กับกลยุทธ์การตลาดในเมืองไทย

Casio (คาสิโอ) เป็นแบรนด์สัญชาติญี่ปุ่นที่น้อยคนนักจะไม่รู้จัก เพราะนอกจากจะมีผลิตภัณฑ์ระดับ Iconic อย่าง “เครื่องคิดเลขคาสิโอ” ที่เป็นเบอร์หนึ่งในตลาดเครื่องคิดเลขระดับโลกแล้ว ยังมี “G-SHOCK” นาฬิกาที่ขึ้นชื่อเรื่องความแข็งแกร่งทนทานระดับตำนาน และเป็นนวัตกรรมชิ้นเอกของแวดวงนาฬิกาที่มีแฟนคลับอยู่ทั่วโลกอีกด้วย G-SHOCK คิดค้นขึ้นโดย “คิคุโอะ อิเบะ” (Kikuo Ibe) วิศวกรกลไกชาวญี่ปุ่นที่เริ่มงานกับคาสิโอมาตั้งแต่ปี 1978 ซึ่งจุดเริ่มต้นของ G-SHOCK เกิดขึ้นเมื่อ 43 ปีที่แล้ว จากการที่คุณอิเบะบังเอิญทำนาฬิกาที่ใช้มานานและเป็นของขวัญจากผู้เป็นพ่อหล่นพื้นจนได้รับความเสียหาย ซึ่งนั่นเป็นแรงบันดาลใจให้เขาเกิดความคิดที่จะประดิษฐ์นาฬิกาที่มีความทนทานต่อทุกสภาพและถึงจะทำตกพื้นก็ไม่พังขึ้นมา นับจากวันนั้นอิเบะใช้เวลามากกว่า 2 ปี ในการพัฒนานาฬิกาต้นแบบมากกว่า 200 แบบ เพื่อสร้างนาฬิกาที่แข็งแกร่งและทนทานตามที่เขาต้องการ ซึ่งช่วงแรกยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะในช่วงเวลานั้นเป็นยุคของนาฬิกาดีไซน์บางๆ แต่อิเบะเชื่อว่านาฬิกาที่ทนทานจำเป็นที่จะต้องมีขนาดใหญ่และหนา ดังนั้น ในปี 1981 เขาจึงประดิษฐ์นาฬิกาโลหะและนำมาพันด้วยยางก่อนที่จะทำการทดสอบด้วยการโยนลงมาจากหน้าต่างห้องน้ำชั้น 3 ของตึกศูนย์วิจัยของบริษัทคาสิโอ เพื่อทดสอบความแข็งแกร่งและเก็บข้อมูลว่าต้องพันด้วยยางกี่ชั้นจึงจะดูดซับแรงกระแทกได้ดี อิเบะเล่าต่อว่าการทดลองครั้งนั้นล้มเหลวไม่เป็นท่า นาฬิกาแตกออกเป็นเสี่ยงๆ แต่เขาก็ไม่ล้มเลิกความตั้งใจ ในครั้งต่อมาเขาทดลองพันยางรอบนาฬิกาให้มากขึ้น แต่ผลที่ได้นาฬิกาก็ยังพังอยู่เหมือนเดิม กระทั่งการทดลองในครั้งที่ 3 เขาพันยางจนมีขนาดเท่าลูกบอล ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้เป็นที่น่าพอใจ

Read More

สมาร์ทไทยแลนด์ บนกระแส Industrial 4.0

ภาพยนตร์ต่างชาติที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ หรือจักรกลสังหาร ครั้งหนึ่งเป็นเพียงจินตนาการของผู้ประพันธ์หรือผู้เขียนบท ที่จะสร้างตัวละครหุ่นยนต์เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่ผู้ชม หากแต่ในวันนี้ที่ยุคสมัยกำลังเดินทางสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำสมัย ทำให้เรื่องที่เคยเป็นเพียงจินตนาการกลายเป็นเรื่องจริง แน่นอนว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหุ่นยนต์ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งเคยเกิดขึ้น แต่ความพยายามที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ในโลกแห่งความจริงนั้นมีมาให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีล้ำหน้าและก้าวแซงหลายๆ ประเทศ AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เริ่มมีบทบาทและแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมบางประเภทที่ปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้ถูกออกแบบให้สามารถทำงานทดแทนแรงงานคนได้ นัยหนึ่งของการมาถึงของยุคปัญญาประดิษฐ์ ไม่ใช่เพียงหลักฐานที่บ่งบอกถึงความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์เพื่อทุ่นแรงงานคนเท่านั้น หากแต่เป็นการย้ำเตือนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่มีนัยที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยต่อประเด็นที่ว่า เหล่า AI กำลังเข้ามาแทนที่แรงงานคนในอุตสาหกรรมหรืองานบางประเภท นั่นน่าจะนำมาซึ่งความวิตกกังวลว่า ในอนาคตข้างหน้าแรงงานคนจะเป็นอย่างไร เมื่อเหล่า AI ที่ถูกพัฒนามานั้นคล้ายกับว่ากำลังแย่งงานของมนุษย์ สำหรับบางคนอาจจะประเมินและมองเห็นถึงข้อดีต่อการถือกำเนิดของยุคปัญญาประดิษฐ์ว่า เมื่อมนุษย์สามารถใช้ AI ทำงานแทนได้แล้ว นั่นจะทำให้นักคิดนักพัฒนาทั้งหลายมีเวลามากขึ้นในการสร้างสรรค์หรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาต่อไป แต่แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถเป็นนักคิดนักพัฒนาได้ กระแสการมาของ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ น่าจะสร้างความตื่นตัวรวมไปถึงความวิตกกังวลต่อผู้คนที่แวดล้อมอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย ที่ตัวเลขเงินลงทุนรวมไปถึงนักลงทุนที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ถือเป็นรายได้สำคัญของประเทศ และที่สำคัญคือไทยมีทรัพยากรหลักอย่าง “แรงงานคน” ที่แม้จะเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในระบบ แต่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเครื่องจักรตัวใหญ่ เมื่อไม่นานมานี้ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตัดสินใจจะย้ายฐานการผลิตกลับประเทศญี่ปุ่นของบางแบรนด์ ก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองไม่น้อย เมื่อมองถึงเหตุผลของการตัดสินใจของแบรนด์ชื่อดังอย่าง Casio ก็พบว่า มีด้วยกันหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของไทยที่จะอนุมัติใช้ในวันที่ 1 เมษายนนี้

Read More