Home > USA

สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ กับหมากตัวใหม่ของทรัมป์

การฟาดฟันด้วยกำแพงภาษีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เริ่มขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2561 ภายใต้การนำทัพของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งสหรัฐฯ เพิ่มอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเป็น 25% มูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้จีนต้องตอบโต้กลับด้วยอัตราภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ ด้วยมูลค่าที่เท่ากัน การตอบโต้กันระหว่างสองประเทศยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการพูดคุยเจรจาระหว่างสองผู้นำยามที่ต้องเข้าร่วมประชุมในระดับนานาชาติ แต่ดูเหมือนว่าการเจรจาในแต่ละครั้งจะให้ผลที่หาความแน่นอนไม่ได้ นโยบายการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน หรือจากประเทศคู่ค้าอื่นๆ ของสหรัฐฯ นั้น ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายในช่วงหาเสียงของทรัมป์ ที่ต้องการสร้างงานให้เกิดขึ้นในประเทศ ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “America First” ด้วยหวังว่าผู้ประกอบการจะย้ายฐานการผลิตเข้ามาในสหรัฐฯ จากมาตรการดังกล่าวที่สหรัฐฯ ประกาศใช้ ส่งผลให้มีผู้ประกอบการบางรายกำลังตัดสินใจที่จะย้ายฐานการผลิตมายังสหรัฐฯ ทว่าก็ยังไม่ใช่ทั้งหมด นอกจากนี้ การขึ้นอัตราภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ เป็นเพราะความต้องการที่จะสร้างสมดุลทางการค้า เพราะก่อนหน้านี้สหรัฐฯ มีปัญหาการขาดดุลการค้า โดยทรัมป์มองว่าสหรัฐฯ ไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องการค้าระหว่างประเทศ และอีกเหตุผลหนึ่งที่ทรัมป์ยังคงดำเนินการสร้างกำแพงภาษีอย่างต่อเนื่อง น่าจะเป็นเพราะความพยายามสร้างผลงานก่อนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในศักราชหน้า จนถึงตอนนี้สหรัฐฯ รีดอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นคิดเป็นมูลค่าราว 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการโต้กลับของจีนด้วยการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นมูลค่ารวม 110,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงจุดนี้ การรีดภาษีสินค้านำเข้าจากจีนของสหรัฐฯ ดูจะยังไม่สิ้นสุดลงง่ายๆ แม้ทั้งสองฝ่ายจะมีความพยายามเจรจาเพื่อหาข้อยุติกรณีพิพาทดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และสหรัฐฯ อาจเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าในอัตราที่สูงขึ้น

Read More

บ้านปูฯ เปิดตัวสำนักงาน ณ แหล่งผลิตที่สหรัฐอเมริกา พร้อมต่อยอดความสำเร็จในธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ตอกย้ำการเป็นผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจร

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจรแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ประกาศเปิดตัว สำนักงาน ณ แหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติ ณ เมือง ทังค์แคนน็อค มลรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับเกียรติจากนางสาวบุศรา กาญจนาลัย อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และ นายนิพนธ์ เพ็ชรพรประภาส กงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก ร่วมเป็นสักขีพยาน ในการนี้ยังมีผู้นำท้องถิ่นและพันธมิตรทางธุรกิจมาร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง ประกอบด้วย มร. นอร์แมน บอล นายกเทศมนตรีเมืองทังค์แคนน็อค นางเคเรน โบแบค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มลรัฐเพนซิลเวเนีย มร. เคิร์ท คอคโคดริลลี ผู้อำนวยการ USDA มลรัฐเพนซิลเวเนีย รวมถึงผู้บริหารและพนักงานบริษัทบริหารจัดการกองทุน Kalnin Ventures นับเป็นอีกก้าวสำคัญของกลุ่มบ้านปูฯ ที่แสดงถึงความพร้อมในการต่อยอดความสำเร็จจากการลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติซึ่งอยู่ภายใต้กลุ่มธุรกิจแหล่งพลังงาน และตอกย้ำการเป็นผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจรอีกด้วย ที่ผ่านมา บ้านปูฯ ได้เริ่มเข้าไปลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ

Read More

ข้อพิพาทการค้าจีน-สหรัฐฯ สุดทางเมื่อต่างสูญเสีย?

ประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ที่เคลื่อนไหวตอบโต้กันอย่างหนักหน่วงในช่วงที่ผ่านมา ทั้งในมิติของการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าเพื่อให้เอกชนในสหรัฐฯ สามารถแข่งขันราคาสินค้าภายในประเทศกับสินค้านำเข้าจากจีนหรือแม้กระทั่งความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนข้อปฏิบัติด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการอุดหนุนอุตสาหกรรมและโครงสร้างภาษีแล้ว ดูเหมือนว่าสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกา กำลังถูกกระทำให้ปริห่างออกจากกันมากขึ้นไปอีก เมื่อปรากฏว่าทางการแคนาดาเข้าควบคุมและจับกุม เหมิง หวันโจว ที่มีสถานะเป็นทั้ง CFO ของบริษัท HUAWEI และบุตรสาวของ เหริน เจิ้งเฟย ประธานและผู้ก่อตั้ง HUAWEI เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มูลเหตุของการจับกุมตัว เหมิง หวันโจว เกิดขึ้นจากข้อกล่าวหาที่ว่า HUAWEI นำบริษัทลูกในนาม Skycom ประกอบธุรกรรมอำพรางเมื่อปี 2013 ในการจำหน่ายสินค้าโทรคมนาคมให้กับประเทศอิหร่าน ประเทศที่ถูกทางการสหรัฐฯ ดำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอยู่ โดยในการจับกุมดำเนินคดีในครั้งนี้ อาจทำให้ เหมิง หวันโจว ถูกส่งตัวในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐอเมริกา และหากได้รับการพิจารณาตัดสินว่ามีความผิดจริงมีโอกาสที่จะโดนจำคุกสูงสุดถึง 30 ปี ในรายงานของสำนักงานอัยการ ทางการแคนาดาระบุว่า เหมิง หวันโจว มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมด้วยการขายอุปกรณ์โทรคมนาคมให้แก่อิหร่าน ผ่านบริษัท Skycom ซึ่งเป็นบริษัทลูกแบบลับๆ ของ HUAWEI ในฮ่องกง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ อาณาจักรธุรกิจของ HUAWEI

Read More

อุตสาหกรรมไทย โอกาสในสงครามการค้า

ท่ามกลางสถานการณ์สงครามการค้าที่อุบัติขึ้นอย่างต่อเนื่องของสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบที่ไม่ได้เกิดขึ้นกับทั้งสองประเทศเท่านั้น หากแต่ผลกระทบเชิงลบยังขยายวงกว้างไปยังประเทศคู่ค้าอื่นๆ ที่แม้ว่าจะพยายามหาหนทางหรือกลยุทธ์ในการหลบหลีกรัศมีของห่ากระสุนจากสงครามนี้แล้วก็ตาม จากนโยบาย “American First” ที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใช้เป็นนโยบายหลักในการบริหารประเทศ แม้จะเป็นไปเพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อพลเมืองอเมริกัน และได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ที่เห็นดีเห็นงามอยู่บ้าง ในทางกลับกันนโยบายดังกล่าวสร้างความไม่พอใจจากผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้า รวมไปถึงประเทศคู่ค้า เพราะมาตรการขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญของนโยบาย “American First” การสาดกระสุนทางภาษีในสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเกิดขึ้นหลายระลอก แน่นอนว่าในทุก สงครามย่อมต้องมีฝ่ายได้รับบาดเจ็บ ผู้ประกอบการจากหลายอุตสาหกรรมต้องแสวงหากลยุทธ์เพื่อหวังจะลดทอนผลกระทบให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ในจีน ที่ตกอยู่ท่ามกลางดงกระสุนของสงครามนี้อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะค่ายรถยนต์ที่มีฐานการผลิตอยู่ในจีนได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีทั้งสองทาง มาตรการขึ้นภาษีของทั้งสองประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตรถยนต์มีราคาสูงขึ้น และกำไรลดน้อยลง เมื่อยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าสงครามการค้าระหว่างสองประเทศนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด ทางออกที่มีอาจจะจำกัดอยู่เพียงแค่การย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นย้ายฐานการผลิตไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งทางออกนี้โดนัลด์ ทรัมป์ จะชี้นำไว้จากนโยบาย American First โดยมุ่งหวังที่จะสร้างงานให้แก่คนอเมริกัน และแน่นอนว่า ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน อาจจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการสร้างฐานการผลิตรถยนต์ หรือขยายฐานการผลิตในกรณีที่ค่ายรถยนต์มีฐานการผลิตอยู่แล้วในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตาม บริษัทผู้ประกอบการรถยนต์จำนวนหนึ่งที่มีฐานลูกค้าอยู่ในอเมริกา เลือกที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังอเมริกาแทน เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และส่งผลให้กำไรลดลง หากจะมองว่ามาตรการขึ้นภาษีของนโยบาย “American First” เป็นการบีบบังคับประเทศคู่ค้าเพื่อให้ตกลงในเงื่อนไขที่โดนัลด์ ทรัมป์ สร้างขึ้นก็ดูจะไม่ผิดนัก เพราะเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีการทำข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และเม็กซิโกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ว่า

Read More

สงครามการค้ายกที่สอง กระทบเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก?

ความเคลื่อนไหวของ 2 ชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและจีน ที่ตอบโต้กันชนิดที่เรียกได้ว่า หมัดต่อหมัด กับการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้า แรงเหวี่ยงหมัดที่ 2 ประเทศสร้างขึ้นก่อให้เกิดความวิตกกังวลไม่น้อยกับนานาประเทศคู่ค้า หลายฝ่ายจับตามองว่าสงครามการค้าที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จะยุติลงเมื่อใด และจะมีบทสรุปอย่างไร แม้ว่าหลายเดือนก่อนหน้าจะมีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการเจรจาเพื่อหาข้อยุติสงครามการค้าของทั้ง 2 ประเทศ แต่น่าแปลก ในขณะที่การเจรจายังดำเนินไปตามครรลองที่ควรจะเป็น และยังไม่มีบทสรุปใดๆ ออกมา ผู้นำอย่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กลับประกาศอัตราเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม นับเป็นหมัดแรกที่สหรัฐฯ เหวี่ยงเข้าใส่จีน การเรียกเก็บภาษีนำเข้าครั้งนั้นนับเป็นมูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท จากสินค้าจำนวน 818 รายการ และหลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ ทรัมป์เดินหน้าประกาศเรียกเก็บภาษี 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นมูลค่า 16,000 ล้านดอลลาร์ จากสินค้า 282 รายการ แน่นอนว่า จีน ที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาอำนาจในซีกโลกตะวันออก คงไม่นิ่งเฉยรอให้สหรัฐฯ

Read More

ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับสถานรับดูแลเด็กเล็กในประเทศอเมริกา

  Column: Women in Wonderland  ช่วงนี้เรียกว่าช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศอเมริกา ทำให้แต่ละพรรคการเมืองต่างก็งัดเอานโยบายต่างๆ ออกมาหาเสียง เพื่อให้ประชาชนสนใจและลงคะแนนเสียงให้ตัวเอง นโยบายหนึ่งที่นางฮิลลารี คลินตัน ได้หยิบยกมาพูดถึงคือนโยบายการแก้ไขปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็ก คนแก่ ผู้พิการ และคนที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ในตอนกลางวันที่มีราคาในการใช้บริการที่ค่อนข้างสูง และทำให้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถจ่ายเงินสำหรับใช้บริการเหล่านี้ได้ ที่ประเทศอเมริกาผู้คนส่วนใหญ่จะพบเจอกับปัญหาที่ว่า รายได้ของพวกเขาไม่เพียงพอต่อความต้องการของครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กเล็ก หลังจากคลอดลูกผู้หญิงส่วนใหญ่อาจจะลางานได้  3–6 เดือนในการดูแลลูกหลังคลอดตามกฎหมาย และหลังจากหมดวันลาคลอดแล้วก็จะนำลูกไปฝากไว้ที่สถานรับดูแลเด็กเล็ก (Child Care) ในเวลาที่ตัวเองต้องออกไปทำงาน  ในต่างประเทศสถานรับดูแลเด็กเล็กนั้นสามารถพบเห็นได้เยอะมาก ในมหาวิทยาลัยหรือที่ทำงานบางแห่งจะมีสถานรับดูแลเด็กเล็กอยู่ในที่ทำงานเลย เพื่อให้ผู้หญิงสามารถออกมาทำงานข้างนอกได้สะดวกมากขึ้น ไม่ต้องเป็นกังวลเกี่ยวกับลูกและยังสามารถไปและกลับจากที่ทำงานพร้อมลูกได้เลย สถานรับเลี้ยงเด็กในต่างประเทศนั้นจะมีค่าใช้จ่ายเป็นชั่วโมงสำหรับผู้ปกครองที่ทำงานพาร์ตไทม์และไม่ได้ทำงานทุกวัน หรือจ่ายเป็นสัปดาห์สำหรับผู้ปกครองที่ทำงานเต็มเวลาทุกวัน  แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ รายได้ที่เข้ามาในครอบครัวจากทั้งผู้ชายและผู้หญิงยังคงไม่เพียงพอในการส่งลูกไปอยู่ที่สถานรับดูแลเด็กเล็ก ดังนั้นเมื่อรายได้ที่เข้ามาไม่เพียงพอ ผู้หญิงจึงต้องตัดสินใจว่าจะขอลาหยุดงานต่อเพื่อเลี้ยงดูลูกอยู่ที่บ้านหรือจะต้องเอาลูกไปฝากไว้กับพ่อแม่ แล้วตัวเองออกไปทำงาน  ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าในวัฒนธรรมของฝรั่งนั้นไม่เหมือนกับบ้านเรา ที่ต่างประเทศเมื่อเริ่มทำงานแล้ว คนหนุ่มสาวจะแยกตัวออกมาอยู่เอง และจะกลับไปบ้านพ่อแม่ก็ต่อเมื่อถึงเทศกาลคริสต์มาสหรือวันอีสเตอร์เท่านั้น ดังนั้นการที่จะให้เอาลูกไปฝากพ่อแม่เลี้ยงในตอนกลางวันจึงเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่ทำกัน การที่ต้องตัดสินใจว่าจะหยุดทำงานต่อและทำให้ครอบครัวมีรายได้น้อยลงในขณะที่รายจ่ายจะเพิ่มขึ้นจากการที่มีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้นหรือจะต้องเอาลูกไปฝากพ่อแม่เลี้ยงนั้นจึงเป็นการตัดสินใจที่ยากมาก ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ และคนที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษมีราคาที่สูงเกินไปนั้นเป็นปัญหาที่มีมานานแล้ว และยังคงหาทางแก้ไขปัญหานี้ไม่ได้ นางฮิลลารี คลินตัน มองเห็นปัญหานี้ และได้คิดที่สานนโยบายนี้ต่อหลังจากที่นโยบายแก้ไขปัญหานี้ไม่เดินหน้าเท่าที่ควรในรัฐบาลชุดนี้ สาเหตุที่นางคลินตันเห็นความสำคัญของปัญหานี้ก็เพราะในปี 2532 นางคลินตันซึ่งในขณะนั้นยังคงทำงานเป็นทนายความและประธานของกองทุนปกป้องเด็ก (Children’s Defense

Read More