Home > Japan

กรุงเทพมหานคร จับมือจังหวัดฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น จัดงาน “Fukuoka Fair” ฉลองครบรอบ 18 ปีแห่งความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้อง

กรุงเทพมหานคร จับมือจังหวัดฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น จัดงาน “Fukuoka Fair” ฉลองครบรอบ 18 ปีแห่งความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้อง ชวนชม ชิม ชิล จัดเต็มตลอดงาน กรุงเทพมหานครและจังหวัดฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกันจัดงาน “Fukuoka Fair” เพื่อเฉลิมฉลองความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องที่ยาวนานกว่า 18 ปี ระหว่างกรุงเทพมหานครและจังหวัดฟูกูโอกะ ระหว่างวันที่ 21-24 พฤศจิกายน 2567 ณ ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เวลา 10.00 - 20.00 น. โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดฟูกูโอกะ นายฮัตโตริ เซอิทาโร่ และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 พฤศจิกายน เวลา 15.00 น. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “กรุงเทพมหานครและจังหวัดฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันในฐานะเมืองพี่เมืองน้องยาวนานกว่า

Read More

JR EAST แนะนำ 5 จุดชมใบไม้เปลี่ยนสียอดฮิต 2023 พร้อมเสริมสิริมงคลกับวัดดังมรดกโลก

ภูมิภาคโทโฮคุ (Tohoku) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือเกาะฮอนชู (Honshu) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงห้อมล้อมด้วยธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีมรดกโลกทั้งทางธรรมชาติและวัดสำคัญทางประวัติศาสตร์ ด้วยมนต์เสน่ห์เหล่านี้ “โทโฮคุ” จึงกลายเป็นจุดเช็คอินสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยว วันนี้ JR EAST จึงแนะนำ JR EAST PASS เดินทางสะดวกไปยัง 5 จุดชมวิวใบไม้เปลี่ยนสีพร้อมได้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เสริมสิริมงคล เปิดดวงรับทรัพย์ให้ปังตลอดปี วัดชูซนจิ (Chusonji Temple) วัดชูซนจิ ตั้งอยู่ในจังหวัดอิวาเตะ ได้รับการยอมรับว่าเป็นวัดนิกายเทนไดที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคและขึ้นเป็นมรดกโลกในปี 2011 ภายในวัดจะพบกับหอปราสาททองคำ "คนจิคิโด" สีทองสวยอร่ามสมกับเป็นมรดกโลก เข้ากันกับบรรยากาศใบไม้เปลี่ยนสี แดง เหลือง ทำให้ที่นี่กลายเป็นหมุดหมายสำคัญของการท่องเที่ยวจังหวัดอิวาเตะที่ใครก็ต้องมาเยือนให้ได้สักครั้ง ความโดดเด่น : อธิษฐานขอพรเรื่องความสำเร็จ ความสมหวังในชีวิต ・วิธีการเดินทางโดยรถไฟ JR EAST : จากสถานีโตเกียวนั่งรถไฟ JR Tohoku Shinkansen ไปยังสถานีอิจิโนะเซกิ (Ichinoseki) ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนเป็นรถไฟ JR สายโทโฮคุ

Read More

YAKEI แคมเปญชวนหลงใหล ญี่ปุ่นพร้อมรับนักท่องเที่ยวตลอดปี

ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของผู้คน รวมไปถึงความสวยงามของธรรมชาติที่ถักทอและหล่อหลอมจนทำให้ประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวหลายๆ คน ที่อย่างน้อยสักครั้งในชีวิตต้องเดินทางไปสัมผัสและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิต ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเมื่อในแต่ละปีประเทศญี่ปุ่นจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากสถิติของ Japan National Tourism Organization (JNTO) เปิดเผยว่า ปี 2558 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นจำนวน 19.73 ล้านคน เพิ่มจำนวนขึ้นจากปี 2557 ร้อยละ 47.1 เปอร์เซ็นต์ โดยรัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าหมายเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเอาไว้ที่ 20 ล้านคน ภายในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก หากพิจารณาจากสถิติที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นบรรลุเป้าหมายเรื่องการท่องเที่ยวเร็วกว่ากำหนด และประเด็นที่น่าสนใจคือ นับเป็นครั้งแรกในรอบ 45 ปี ที่จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเข้ามาญี่ปุ่นมีจำนวนมากกว่านักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่เดินทางออกนอกประเทศ และเมื่อตัวเลขสถิตินักท่องเที่ยวออกมาเช่นนี้ ทำให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายชินโซ อาเบะ ตัดสินใจเพิ่มจำนวนเป้าหมายนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านคน เพียงแต่ไม่ได้ระบุปีเอาไว้ กระนั้นปัจจัยที่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในญี่ปุ่นเพิ่มจำนวนขึ้นมานั้น น่าจะมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน โดยเฉพาะในปี 2558 ที่มีจำนวนมากถึง 4,993,800 คน นั่นทำให้จีนกลายเป็นนักท่องเที่ยวอันดับ

Read More

หนทางการพัฒนาของเนด้าใน CLMV เมื่อจีน-ญี่ปุ่น แผ่ขยายอิทธิพล

หลังการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ดูเหมือนว่ายิ่งจะเป็นการเพิ่มความน่าสนใจให้กับบรรดานักลงทุนต่างชาติไม่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ที่หมายถึง กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม การมาถึงของนักลงทุนในกลุ่มประเทศดังกล่าว ไม่ใช่เพียงการมาแบบฉายเดี่ยวของนักลงทุน แต่เป็นนโยบายภาครัฐของประเทศนั้นๆ ที่ต้องการแผ่ขยายอิทธิพลทางการค้าเข้ามาในกลุ่มภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะจีน และญี่ปุ่น หากพิจารณาจากชั้นเชิงของทั้งสองประเทศมหาอำนาจของเอเชีย ดูจะอุดมไปด้วยยุทธศาสตร์ เสมือนว่ากำลังประลองสรรพกำลังกันบนกระดานหมากรุก และเป็นเกมที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องถึง 10 ปี ขณะที่ชายแดนไทยเชื่อมต่อกับประเทศกลุ่มนี้กลับมีสัดส่วนการลงทุนที่น้อยกว่าประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ทั้งที่ในช่วงหนึ่งญี่ปุ่นประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก แต่ยังมีการลงทุนนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีนักลงทุนจากญี่ปุ่นมากเป็นอันดับ 1 ในบรรดานักลงทุนต่างชาติที่ตบเท้าเข้ามา สิ่งที่น่าสนใจคือการมาของญี่ปุ่น ดูจะเป็นการเข้ามาคานอำนาจของจีนในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง แต่เต็มไปด้วยกลยุทธ์ที่ต้องเรียกว่าน่าสนใจ คือมาพร้อมกับการให้ความสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศนั้นๆ เช่น การสร้างถนนที่เชื่อมต่อและเสริมสร้างศักยภาพของเส้นทางโลจิสติกส์ โดยมีหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญให้การสนับสนุน คือ ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ADB พื้นที่เขตเศรษฐกิจทวายดูจะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่บ่งบอกว่าญี่ปุ่นเดินหมากด้วยความแยบยลเพียงใด เพราะนอกจากการลงทุนในเขตเศรษฐกิจทวายในประเทศเมียนมาแล้ว ญี่ปุ่นยังสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างถนนจากบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี ที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อมายังทวายได้สะดวกยิ่งขึ้น แม้ว่าถึงปัจจุบันเขตเศรษฐกิจทวายจะยังมองหาความคืบหน้าที่ชัดเจนได้ยากนักก็ตาม ขณะที่นโยบายรัฐบาลกลางของจีนดูจะมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างความเจริญที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศตัวเอง ด้วยความต้องการที่จะยกระดับ “คุนหมิง” ให้เป็นเมืองหน้าด่านในการเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญ และยังวางตำแหน่งของคุนหมิงให้เป็นศูนย์กลางการเงินเพื่อนำเงินสกุลหยวนออกสู่อาเซียน และการลงทุนของจีนกับลาวดูจะเป็นโครงการที่เป็นการตกลงกันระหว่าง “รัฐต่อรัฐ” โดยสร้างถนน หรือการสร้างโรงแรมซึ่งชนกับทุนไทย แต่ประเด็นที่น่าจับตามองคือการเข้ามามีบทบาทในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่อยู่ทางตอนบนของแม่น้ำโขง ที่หลายฝ่ายกำลังจับตาดูว่า

Read More

ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ: มากกว่าเจรจาการค้า แต่คือการแสวงหาอนาคตร่วมกัน

การเจรจาทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ที่นำโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองประเทศ ซึ่งประกอบส่วนด้วย Mike Pence รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับ Taro Aso รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น ในฐานะหัวหน้าคณะในการเจรจา ดำเนินไปท่ามกลางความคาดหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถหาบทสรุปลงตัวร่วมกัน หลังจากที่สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากกรอบความร่วมมือ 12 ชาติใน Trans-Pacific Partnership: TPP ขณะที่ความตึงเครียดครั้งใหม่บนคาบสมุทรเกาหลีทวีแนวโน้มที่จะเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพของภูมิภาคอีกด้วย ท่าทีของ Mike Pence ที่ระบุว่า TPP เป็นเรื่องราวในอดีตและสหรัฐอเมริกาไม่ต้องการที่จะรอคอยความสำเร็จจากการเจรจาครั้งใหม่นี้อย่างเนิ่นนานและหวังที่จะบรรลุข้อตกลงร่วมกันในอนาคตอันใกล้ พร้อมกับสำทับว่า เมื่อประธานาธิบดี Donald Trump ตกลงที่จะเริ่มการเจรจาทวิภาคีนี้ วิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ ก็คือการสร้างกลไกในการส่งเสริมความร่วมมือและความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งเขาปรารถนาที่จะเห็นความสำเร็จอย่างใจจดใจจ่อ ขณะที่ Taro Aso ก็ย้ำให้เห็นว่าอุปสรรคทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้ความสัมพันธ์ของสองประเทศอยู่ในภาวะเสื่อมถอยตลอดช่วงทศวรรษ 1980-1990 เป็นเพียงภาพอดีตที่ห่างไกลออกไปจากข้อเท็จจริงในวันนี้ ที่ทั้งสองประเทศกำลังแสวงหาความร่วมมือ เพื่อร่วมกันสร้างอนาคตที่ดีกว่า ในลักษณะที่ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบงการหรือออกคำสั่งให้อีกฝ่ายดำเนินการ หากแต่เป็นการถกแถลงเพื่อหาบทสรุปที่นำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมและมีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน ท่วงทำนองของทั้ง Mike Pence และTaro Aso ก่อนและหลังการเจรจา สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมกันของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น

Read More

เช็กสุขภาพ ITD โปรเจ็กต์ทวายจะสบายดีไหม

 หลายคนอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ธุรกิจที่เริ่มต้นจากศูนย์เป็นเรื่องยาก” และเข้าใจว่ากว่าจะประสบความสำเร็จคงต้องเจอกับปัญหาและอุปสรรคนานัปการ โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายก็ไม่ต่างกัน เมื่อโครงการนี้มีจุดเริ่มต้นที่ “ศูนย์” กิโลเมตร โครงการมูลค่ามหาศาลบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ หรือ Southern Corridor ที่เกี่ยวพันสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ไทย และญี่ปุ่น เข้าไว้ด้วยกัน แม้ในช่วงแรกญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวาในนครย่างกุ้ง มากกว่าก็ตาม เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายอาจเรียกได้ว่าเป็นมหากาพย์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เมื่อโครงการนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2008 หากนับเวลาจนถึงปัจจุบันกลับปรากฏความคืบหน้าเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ นับว่าล่าช้ามากเมื่อเทียบกับโครงการขนาดเดียวกัน สาเหตุของความล่าช้าที่เกิดขึ้นอาจมาจากรูปแบบการทำงานระบบราชการของเมียนมาที่ค่อนข้างใส่ใจในรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งอาจส่งผลให้บริษัทที่รับผิดชอบโครงการไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้สะดวกนัก และแม้ว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการระดับ G2G แต่การขาดเสถียรภาพของรัฐบาลทั้งสองประเทศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้โครงการทวายก้าวหน้าไปได้ช้ามาก  ทั้งนี้บริษัท อิตาเลียน ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ผู้ที่ได้สิทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่ภายใต้สัมปทานระยะเวลา 50 ปี และสามารถขยายได้อีก 25 ปี ดูจะมีเรื่องให้น่ากังวลไม่น้อย เมื่อแรกเริ่มจำเป็นต้องควักเงินลงทุนไปล่วงหน้า ทั้งๆ ที่ ITD และคู่สัญญากลุ่มธุรกิจร่วมทุนเพิ่งจะจรดปากกาในสัญญาสัมปทานโครงการทวายในระยะแรกกับคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558

Read More

บริบทใหม่

 การเดินทางของชีวิต กำลังจะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่หลักไมล์ใหม่อีกครั้ง ในช่วงส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่ ซึ่งคงสร้างแรงบันดาลใจและการกำหนดนิยามสำหรับการดำเนินชีวิตในรอบปีถัดไปไม่น้อย สังคมญี่ปุ่นซึ่งเพิ่งผ่านการเลือกตั้งครั้งใหม่ไปเมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดย Shinzo Abe และพลพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP: Liberal Democratic Party) ของเขาสามารถกลับมาครองที่นั่งในสภาเพื่อเดินหน้า  Abenomics กำลังได้รับการประเมินครั้งใหม่ว่าจะเป็นเพียงมายาภาพที่ถูกสร้างขึ้นหรือเป็นรูปธรรมแห่งการหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยาวนานกันแน่ ปรากฏการณ์ทางสังคมของญี่ปุ่นนับจากนี้จึงอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของบริบทใหม่ ที่ทับท่วมด้วยความคาดหวัง และ Shinzo Abe คงต้องตระหนักอย่างมั่นคงว่า “ไม่มีผู้ใดสะดุดภูเขาที่สูงใหญ่จนหกล้ม หากแต่สะดุดหินก้อนเล็กๆ จนหัวคะมำ” เพราะนับจากนี้ การดำเนินกิจกรรมตามนโยบายของ Abenomics จะถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสมและความโปร่งใส โดยเฉพาะในมิติของการคอร์รัปชั่น ซึ่งดูเหมือนจะเป็นมะเร็งร้ายในทุกสังคมที่พยายามบอกกล่าวถึงความดีที่เหนือจริงเสมอ สังคมญี่ปุ่นกำลังก้าวสู่บริบทใหม่ทางเศรษฐกิจจากความพยายามรื้อสร้างตามยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบ Abenomics ซึ่งในด้านหนึ่งก็คือการส่งออกความเป็นญี่ปุ่นให้แผ่ซ่านและกลายเป็นสินค้าระดับนำให้ประชาชนนานาชาติได้เลือกเสพรับ แนวทางดังกล่าวสะท้อนมิติของการเป็น creativity society ที่พร้อมจะสอดแทรกลักษณะเฉพาะแบบญี่ปุ่น (Japanese uniqueness) ที่จะก่อรูปเป็นสินค้าเชิงวัฒนธรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ และยังกระตุ้นให้เกิดสำนึกแห่งความเป็นชาติของญี่ปุ่น ที่ดำเนินควบคู่กับความพยายามที่จะปลูกฝังและสร้างให้เกิดแนวความคิดชาตินิยมในหมู่เยาวชนญี่ปุ่นด้วย ความพยายามที่จะมุ่งเน้นให้ประชาชนซึ่งเผชิญอยู่กับเศรษฐกิจที่ถดถอยมายาวนานให้มีสำนึกรักและภาคภูมิใจในความเป็นญี่ปุ่นนี้เอง ที่ทำให้ Shinzo Abe นักการเมืองแนวอนุรักษ์และชาตินิยม ได้รับการประเมินด้วยสายตาที่เคลือบแคลง ว่าจะนำพาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งเกาหลี และมหาอำนาจอย่างจีนไปในทิศทางใด ทรัพยากรทางความคิดและการผลิตของญี่ปุ่น อาจเป็นจุดเด่นและความแข็งแกร่งของญี่ปุ่น ที่ทำให้สินค้าดีที่ไม่มีแบรนด์หรือ MUJI (Mujirushi Ryohin)

Read More

ชัยชนะของ Shinzo Abe และความหวังครั้งใหม่ของ “Abenomics”

 ผลการเลือกตั้งทั่วไปของญี่ปุ่นเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลภายใต้การนำของ Shinzo Abe สามารถกลับมาครองเสียงข้างมากได้อย่างท่วมท้น สะท้อนมิติมุมมองและเป็นประหนึ่งฉันทามติของประชาชนชาวญี่ปุ่น ที่มุ่งหมายให้ Shinzo Abe นำพาประเทศไปสู่การฟื้นตัวครั้งใหม่ภายใต้กรอบโครงแนวความคิด Abenomics ได้เป็นอย่างดี ชัยชนะของ Shinzo Abe และพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP: Liberal Democratic Party) ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า Abenomics กำลังเป็นความหวังเดียวของญี่ปุ่นในการพลิกฟื้นกลับคืนมาสู่หนทางการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกครั้ง ขณะเดียวกัน ก็เป็นภาพสะท้อนความล้มเหลวของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ที่ไม่สามารถนำเสนอนโยบายเพื่อให้เกิดทางเลือกอื่นๆ และเป็นเหตุให้พรรคฝ่ายค้านต้องพ่ายแพ้ยับเยิน และผู้นำพรรคฝ่ายค้านอย่าง Banri Kaieda แห่งพรรค DPJ (Democratic Party Of Japan) ต้องกลายเป็น ส.ส.สอบตกในพื้นที่ของตัวเองและต้องประกาศสละตำแหน่งประธานพรรคไปโดยปริยาย ความอ่อนแอของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ในด้านหนึ่งอาจหมายถึงความสามารถของ Shinzo Abe ในการผลักดันมาตรการตามแนวทางของ Abenomics ให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างสะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น แต่ในทางกลับกันก็สุ่มเสี่ยงที่จะผิดพลาดจากกลไกในการตรวจสอบที่ด้อยประสิทธิภาพ  ยังไม่นับรวมถึงกรณีที่พรรคฝ่ายค้านจะต้องเร่งสังคายนาและสร้างความแข็งแกร่งภายในพรรค เพื่อเรียกคืนความนิยมให้กลับมา ซึ่งทำให้พรรคการเมืองฝ่ายค้านอาจสูญเสียโอกาสในการนำเสนอนโยบายหลักมากขึ้นไปอีก ประเด็นที่น่าสนใจและประเมินกันต่อไปจากผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุดของญี่ปุ่นนี้ก็คือ จำนวนประชาชนที่เดินทางออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียง อยู่ในระดับที่ถือว่าต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิเพียงร้อยละ 53.3 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด

Read More

การรุกคืบของทุนญี่ปุ่นในสยาม ทางรอดหรือทางเลือก

 การลดจำนวนลงของประชากรเกิดใหม่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เมื่อกำลังการซื้อส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มคนในวัยทำงาน ที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในระบบเศรษฐกิจของดินแดนอาทิตย์อุทัย ภาวะการชะลอตัวของกำลังซื้อในญี่ปุ่นส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่เติบโตเท่าที่ควร โดยที่ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นใช้ระบบเศรษฐกิจแบบ Abenomics ภายใต้การนำของ Shinso Abe อดีตนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งประกาศยุบสภาไปเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยโตเกียวได้ประกาศขึ้นภาษีการค้าจาก 5 เปอร์เซ็นต์เป็น 8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประชาชนชะลอการจับจ่าย ผลพวงจาก Abenomics นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลใหม่ของญี่ปุ่นที่มาจากการเลือกตั้งวันที่ 14 ธันวาคม 2557 จะต้องเร่งหาทางออกในเรื่องนี้ให้กับบรรดานักธุรกิจและนักลงทุนภายในประเทศ อีกทั้งยังต้องเรียกความน่าเชื่อถือให้กับประเทศเมื่อ Moody’s สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ได้ปรับลดความน่าเชื่อถือของประเทศญี่ปุ่นลงจาก ‘Aa3’ เหลือ ‘A1’ (เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2557) นับเป็นการปรับลดหนึ่งขั้น หลังจากภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่สภาวะถดถอยในช่วงไตรมาส 3  การขาดดุลระยะกลางอย่างต่อเนื่องของประเทศญี่ปุ่น และการหดตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ 0.4% ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน (เมษายน – มิถุนายน) ที่ 1.9% ทั้งที่ในไตรมาสแรกของปี ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 1.6%

Read More

ABENOMICS

 นับตั้งแต่ต้นปี 2013 ที่ผ่านมา วลียอดฮิตในหมู่นักวิเคราะห์เศรษฐกิจญี่ปุ่นคงหนีไม่พ้น Abenomics ที่เป็นประหนึ่งแนวทางในการบริหารเศรษฐกิจการคลังของรัฐนาวาญี่ปุ่น ภายใต้การนำของ Shinzo Abe ที่หวนกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นอีกครั้ง ภายหลังชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี 2012 ที่ผ่านมา Abenomics กลายเป็นความหวังครั้งใหม่ที่ Shinzo Abe และพลพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP: Liberal Democratic Party) ได้ใช้ในการหาเสียง และทำให้พรรค LDP กลับเข้าสู่วงแห่งอำนาจได้อีกครั้งในเวลาต่อมา ภายใต้ความเชื่อที่ว่ากลไกของ Abenomics จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้หวนคืนกลับมาสู่ความมั่งคั่งและรุ่งเรืองได้อีกครั้ง  กลไกหลักของ Abenomics หากจะกล่าวอย่างรวบรัดตัดความก็คงจะได้ประมาณว่าประกอบด้วยมาตรการ “ลูกธนู 3 ดอก” คือเริ่มจากการระดมงบประมาณเพื่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ตามด้วยมาตรการทางการเงินเชิงรุกอย่างแข็งขันจากธนาคารกลางแห่งชาติ หรือ Bank of Japan และท้ายที่สุดคือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจชนิดที่ต้องเรียกว่า “รื้อสร้าง” เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่นขึ้นมาใหม่กันเลยทีเดียว ความตกต่ำและซบเซาของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเป็นประเด็นปัญหาที่ดำเนินสืบเนื่องยาวนานมากว่า 2 ทศวรรษและมีแนวโน้มจะหนักหนาสาหัสกว่านี้ในช่วงก่อนที่ Shinzo Abe จะกลับมารับตำแหน่งรอบใหม่ หลังจากที่ค่าเงินเยนแข็งค่าเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 70-80 กว่าเยนต่อดอลลาร์

Read More