Home > โรงไฟฟ้า (Page 3)

บ้านปูผลประกอบการดี มุ่งเป็นผู้นำธุรกิจพลังงานครบวงจร

ข่าวคราวกรณีการคัดค้าน “โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา” ของกลุ่มต่อต้านที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ยุติโครงการ โดยชุมนุมอยู่บริเวณด้านหน้าสำนักงานสหประชาชาติ หรือ UN เพิ่งได้ข้อยุติเมื่อสัปดาห์ก่อน ด้วยการลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและกลุ่มเครือข่ายฯ ในการถอนการศึกษา EHIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา ขณะที่บริษัทเอกชนที่มีความชำนาญด้านธุรกิจพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินอย่างบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เพิ่งแถลงข่าวเปิดเผยตัวเลขผลประกอบการประจำปี 2560 ว่าบริษัท บ้านปู มีรายได้จากการขายรวม 2,877 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 97,640 ล้านบาท ถือเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากถึง 27 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อีกทั้งบ้านปูฯ ยังมีกำไรสุทธิรวม 234 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7,942 ล้านบาท มากกว่าปีก่อนถึง 4 เท่าตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาถ่านหินที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลมาจากปริมาณการผลิตถ่านหินที่จำกัดของประเทศส่งออกหลัก และปริมาณการขายไฟฟ้าที่สม่ำเสมอของธุรกิจไฟฟ้า ตัวเลขรายได้และกำไรไม่ได้มีเพียงเฉพาะบริษัทบ้านปูใหญ่เท่านั้น ขณะที่บริษัทลูกอย่าง บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Conventional Power Generation)

Read More

เปิดประมูลโรงไฟฟ้า ภาพสะท้อนพลังงานไทย

การเปิดประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก ตามประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแบบ SPP hybrid firm หรือการผสมผสานเชื้อเพลิงตั้งแต่ 1 ประเภทขึ้นไป รวม 300 เมกะวัตต์ (MW) ของกระทรวงพลังงานและคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งกำลังเป็นภาพสะท้อนทิศทางธุรกิจพลังงานของไทยที่น่าสนใจไม่น้อย เนื่องเพราะภายหลังการเปิดให้ผู้สนใจยื่นเสนอขายไฟฟ้าเมื่อวันที่ 16-20 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่านอกจากจะมีผู้สนใจเป็นจำนวนมากแล้ว ยังถือเป็นสนามประลองกำลังของผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่พร้อมจะนำไปสู่การแข่งขันด้านราคาให้ต่ำกว่าราคาประกาศของ กกพ. ที่กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าแบบ Feed in Tarif (FiT) ที่ 3.66 บาทต่อหน่วย จากผลของจุดแข็งด้านวัตถุดิบป้อนโรงไฟฟ้าของผู้ประกอบการแต่ละราย และทำให้ยอดพลังงานไฟฟ้าที่ยื่นประมูลเสนอขายมียอดรวมกว่า 2,000-4,000 เมกะวัตต์ ทะลุเกินยอด 300 เมกะวัตต์ (MW) ที่ กกพ. ประกาศรับซื้อไปไกลมาก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจจากการเปิดประมูลรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ที่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมประมูลที่มีมากกว่า 150 ราย สามารถจำแนกออกได้เป็น 9 กลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มบริษัท บี.กริม

Read More

บี.กริม รุกคืบจาก CLMV สู่ AEC ยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนา

หลังการสร้างความเชื่อมั่นด้วยชื่อชั้นของบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 100 ปี ประกอบกับการเลือกหมากในการเดินเกมธุรกิจในแต่ละครั้งได้ถูกจังหวะ แม้ว่าเคยล้มลุกคลุกคลานและเจ็บตัวมาไม่น้อยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กลับไม่ทำให้ความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจลดทอนลงไปแม้แต่น้อย แม้ในช่วงยามนี้ที่ภาวะเศรษฐกิจของไทยยังมองหาเสถียรภาพมั่นคงได้ยากเต็มที กระนั้น บี.กริม ยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าต่อไป ด้วยยุทธศาสตร์การเลือกทำเลที่ตั้งของโครงการที่นับว่าเป็นการสร้างข้อได้เปรียบให้กับตัวเองไม่น้อย ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมธุรกิจการไฟฟ้าที่มีทั้งคู่แข่งขันที่เป็นเจ้าตลาดยึดครองพื้นที่ส่วนแบ่งอยู่เดิม และนักลงทุนหน้าใหม่ที่เริ่มเสนอตัวเข้ามาในสนามประลองแห่งนี้ด้วย บี.กริม เพาเวอร์ เลือกปักหมุดโรงไฟฟ้า 13 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของไทยและเวียดนาม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมเหมราช และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ เบียนหัว ความมั่นใจในศักยภาพและผลงานของ บี.กริม ดูจะเข้าตาบรรดานักลงทุนจากต่างแดน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านไม่น้อย ที่อาจเป็นก้าวย่างสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นการปลดล็อกและเปิดโอกาสให้บี.กริม ที่เรียกตัวเองว่าเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ได้เข้าไปเป็นผู้ถือสัมปทานและพัฒนาโรงไฟฟ้าในกลุ่มประเทศ CLMV โดยเฉพาะใน สปป.ลาว ที่ความเอื้ออำนวยของทรัพยากรและเป้าประสงค์ของรัฐบาลลาวที่ต้องการจะเป็น Battery of Asean ทำให้บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ได้เข้าไปรับผิดชอบโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำใน สปป.ลาวได้หลายโครงการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะปณิธานของผู้บริหารอย่าง ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม

Read More