Home > โควิด-19 (Page 18)

โรงงานญี่ปุ่นย้ายฐานสู่เวียดนาม อุตสาหกรรมไทยไร้แรงดึงดูด?

การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกได้รับบทเรียนสำคัญ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม แน่นอนว่าเหตุผลดังกล่าวแม้ไม่ใช่ทั้งหมดของปัจจัยอันนำไปสู่การออกนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่น ที่พร้อมจะสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในการย้ายฐานผลิตออกจากประเทศจีน เมื่อการระบาดของไวรัสในจีนส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมต้องชะงักงันจากมาตรการปิดประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง และส่งผลกระทบด้าน Supply chain ต่อประเทศคู่ค้าอื่นๆ การลดการพึ่งพาจีนจึงดูจะเป็นทางออกที่ดีจากบทเรียนครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นอาศัยจังหวะเวลานี้ ประกาศใช้นโยบายสนับสนุนด้านการเงินแก่บริษัทญี่ปุ่นเพื่อย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีน เพื่อกลับมาลงทุนในประเทศบ้านเกิดและในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระแสข่าวดังกล่าวทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยที่กำลังตั้งลำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC เริ่มมีประกายความหวังว่า ในอนาคตอันใกล้จะมีนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นตบเท้าเข้ามาในพื้นที่นี้มากขึ้น ทว่า สัญญาณการเบนเข็มของโรงงานญี่ปุ่นที่จะมาไทยนั้นเริ่มเบาบางลง นับตั้งแต่มีข่าวการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตออกจากไทยไปสู่เวียดนามของ Panasonic ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะมาจากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้นของแรงงานไทย ขณะที่อีกเหตุผลหนึ่งคือ Panasonic เองมีฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในเวียดนามอยู่ก่อนแล้ว ข้อมูลจาก Nikkei Asian Review ระบุว่า การย้ายฐานการผลิตของ Panasonic สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างโรงงานในพื้นที่ใหม่ของบริษัทญี่ปุ่น เพราะช่วงศตวรรษที่ 70 (พ.ศ. 2513-2522) บริษัทญี่ปุ่นเริ่มย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศมายังสิงคโปร์และมาเลเซีย เพราะค่าเงินเยนแข็ง แต่เมื่อค่าแรงในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น ไทยจึงเป็นเป้าหมายลำดับถัดมา และปัจจุบันหลายบริษัทกำลังย้ายออกจากประเทศไทย โดยภายในปี 2563 Panasonic จะทยอยหยุดการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยลง เช่น เครื่องซักผ้าที่จะหยุดผลิตในเดือนกันยายน และตู้เย็นในเดือนตุลาคม ก่อนจะปิดโรงงานในเดือนมีนาคม ปี 2564 ซึ่งนั่นจะส่งผลให้พนักงานในโรงงานแห่งนี้ถูกเลิกจ้างราว 800

Read More

สึนามิเศรษฐกิจ วิกฤตล้มละลายลามหนัก

นับถอยหลังโฉมหน้ารัฐบาล “ประยุทธ์ 2/2” ทุกฝ่ายต่างจับจ้องทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ เพื่อเข้ามาแก้ปัญหาผลพวงจากพิษโควิด-19 โดยเฉพาะรอบนี้หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” และอาจลุกลามกลายเป็น “สึนามิเศรษฐกิจ” ลูกใหญ่ซัดกระหน่ำทั่วทั้งโลก สิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจน ก็คือ สถานการณ์การล้มละลายต่อเนื่องเหมือนโดมิโน ตั้งแต่ระดับยักษ์ใหญ่จนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก ในต่างประเทศ กลุ่มออยเลอร์เฮอร์เมส (Euler Hermes) บริษัทประกันสินเชื่อที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงปารีสของฝรั่งเศส เผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดว่า การระบาดของโรคโควิด-19 สร้างระเบิดเวลาการล้มละลายและคาดการณ์จำนวนบริษัทล้มละลายทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 35% ระหว่างปี 2562-2564 และราวครึ่งหนึ่งของประเทศทั่วโลกจะมีบริษัทล้มละลายสูงสุดเป็นสถิติใหม่นับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกปี 2552 ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาจะมีบริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้นมากที่สุด คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 57% ในปี 2564 เทียบกับปี 2562 ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น บราซิลจะมีบริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้น 45% สหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น 43% สเปนเพิ่มขึ้น 41% ส่วนจีนอยู่ที่ 20% ผลวิจัยย้ำด้วยว่า ยิ่งบริษัทยื่นล้มละลายมีขนาดใหญ่เท่าไร ความเสี่ยงที่จะเกิด “Domino Effect” ยิ่งสูงขึ้น โดยมี 2 ภาวการณ์ที่จะเร่งการล้มละลายสูงขึ้น

Read More

ผลกระทบการทำแท้งแบบถูกกฎหมาย หลังการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19

Column: Women in wonderland ก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ โดยระบุว่า 25% ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จะจบการตั้งครรภ์ด้วยการทำแท้ง และในช่วงเวลาหนึ่งปีมีผู้หญิงประมาณ 25 ล้านคน ทำแท้งแบบผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แม่เสียชีวิตระหว่างตั้งครรภ์ ในแต่ละปีจะมีผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เสียชีวิตประมาณ 4.7%-13.2% สาเหตุก็มาจากการทำแท้งแบบผิดกฎหมาย และที่น่าตกใจกว่าคือ มีเด็กผู้หญิงช่วงอายุระหว่าง 15-19 ปี ประมาณ 3 ล้านคนที่ทำแท้งแบบผิดกฎหมาย โดยไม่ได้คิดถึงผลเสียที่ตามมา การทำแท้งถูกกฎหมายเป็นเรื่องที่ถกเถียงในสังคมมานาน โดยทั่วไปแล้วการทำแท้งถูกกฎหมายสามารถทำได้ในทุกประเทศในกรณีการตั้งครรภ์ที่อาจส่งผลถึงอันตรายต่อชีวิต ถูกข่มขืน หรือมีการตรวจยืนยันว่าเด็กมีความผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์ บางประเทศอนุญาตให้การทำแท้งถูกกฎหมาย โดยผู้หญิงสามารถทำแท้งได้หากระยะเวลาครรภ์อยู่ในช่วงที่กฎหมายกำหนดให้ทำแท้งได้ เพราะรัฐบาลเล็งเห็นแล้วว่า ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ที่ทำแท้งแบบถูกกฎหมายนั้นน้อยกว่าหลายสิบเท่าเมื่อเปรียบเทียบกับรายจ่ายที่จะต้องมีในกรณีทำแท้งเถื่อนและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งร้ายแรงที่สุดอาจทำให้เสียชีวิตได้ นี่ยังไม่รวมเด็กที่คลอดแล้วพ่อแม่ไม่สามารถดูแลได้ กลายเป็นหน้าที่ของรัฐ การอนุญาตให้ทำแท้งจึงน่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่า ในขณะเดียวกันหลายประเทศก็ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าการให้ทำแท้งถูกกฎหมายจะเป็นการส่งเสริมทางอ้อมให้วัยรุ่นไม่รู้จักการป้องกัน เพราะหากตั้งครรภ์ก็สามารถทำแท้งได้รวมไปถึงความเชื่อทางศาสนาที่ทุกศาสนาสอนไม่ให้ฆ่าคนตาย และการทำแท้งก็ถือเป็นการฆ่าคนด้วยเช่นกัน ดังนั้นประเทศที่การทำแท้งไม่สามารถทำแบบถูกกฎหมายได้ ผู้หญิงหลายคนที่มีเหตุจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์จึงจำเป็นต้องทำแท้งผิดกฎหมาย ทั้งที่รู้ว่าเป็นอันตรายและอาจส่งผลต่อสุขภาพของตัวเอง แต่ไม่มีทางเลือก เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2019

Read More

เชลล์ เปิดตัว “ออฟฟิศแห่งอนาคต” รับการเปลี่ยนแปลงหลัง COVID-19

เชลล์ ประเทศไทย เปิดตัว “ออฟฟิศแห่งอนาคต” ปรับโฉมที่ทำงานใหม่ ชูแนวคิด Good Health & Well-being Workplace รับการเปลี่ยนแปลงหลัง COVID-19 บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ชูแนวคิด “Good Health & Well-being Workplace” มุ่งเสริมสร้างพลังกายพลังใจที่ดี เพื่อให้พนักงานดูแลห่วงใยซึ่งกันและกัน เน้นเปิดใจเรียนรู้สิ่งที่จะสร้างคุณค่าให้กับตนเอง ลูกค้า และสังคม พร้อมปรับตัวนำการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะต่อสภาวการณ์ใหม่ แนวคิดดังกล่าวมุ่งเน้นดำเนินการผ่านโครงการ “ออฟฟิศแห่งอนาคต” ซึ่งนอกจากการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรแล้ว ยังปรับโฉมที่ทำงานใหม่ ประกอบด้วย 3 ด้านหลัก คือ สุขภาพและสุขอนามัยที่ดีในสำนักงาน สภาพการทำงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ การส่งเสริมศักยภาพบุคลากรและการเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ทั้งนี้เป็นการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะฟื้นฟูและการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตหลังการระบาดของโรคโควิด-19 โดยเป็นการดำเนินการที่ยกระดับมาตรการด้านความปลอดภัยจากภายในสู่ภายนอก นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ในช่วงวิกฤตโรคระบาดที่ผ่านมา เราได้วางกลยุทธ์การบริหารจัดการด้านต่างๆ เพื่อให้ทีมงานเชลล์ทุกคนเผชิญหน้ากับสภาวการณ์ที่เราไม่คุ้นเคยและยังมีความไม่แน่นอนในหลายด้าน

Read More

COVID-19 เป็นเหตุ ฉุด FDI ทั่วโลกซบเซา

ผลพวงจากวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากจะส่งผลกระทบทั่วโลก และมีผลต่อเศรษฐกิจในระยะสั้นแล้ว ยังเป็นปัจจัยกดดันต่อการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ (FDI) โดยจากการคาดการณ์ล่าสุดของ UNCTAD เมื่อเดือนมิถุนายน 2020 ระบุว่า Global FDI จะลดลงประมาณร้อยละ-30 ถึง -40 ในปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับคาดการณ์ของ OECD ที่มีมาก่อนหน้านี้ สาเหตุหลักที่ทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอยู่ในภาวะหดตัวลง ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากมาตรการปิดเมืองซึ่งทำให้โปรเจกต์การลงทุนประสบความล่าช้าหรืออาจโดนยกเลิก โดยมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในหลายประเทศ ส่งผลให้โครงการการลงทุนหลายแห่งถูกเลื่อนออกไป หรืออาจถูกยกเลิกจากความเสี่ยงที่โครงการเหล่านั้นจะไม่สำเร็จ ซึ่งจากข้อมูลสถิติของ UNCTAD พบว่าโครงการการเงิน(Project finance) ทั่วโลกในเดือนเมษายนลดลงประมาณร้อยละ -40 จากค่าเฉลี่ยรายเดือนในปี 2019 และลดลงเกือบถึงร้อยละ -50 จากเดือนมีนาคม โดยส่วนใหญ่เป็นการหดตัวจากโครงการการเงินในประเทศกำลังพัฒนา สะท้อนถึงแนวโน้มการหดตัวของโครงการการลงทุน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ FDI ในปีนี้ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทำให้บริษัทมีกำไรลดลง หรือบางบริษัทอาจมีความจำเป็นต้องปิดกิจการ จึงทำให้เม็ดเงินลงทุนมีแนวโน้มลดลงมาก โดยภาวะเศรษฐกิจถดถอยย่อมกระทบถึงกำไรของบริษัท จึงทำให้บริษัทวางแผนการลงทุนที่รัดกุมมากขึ้น ซึ่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคมโดย UNCTAD พบว่าบรรษัทข้ามชาติ (Multinational Enterprises :

Read More

6 องค์กรเพื่อสังคมร่วมกับ 19 คนดัง ชวนคนไทยทำดี 2 ต่อ กับ “โครงการ CoLIFE” เร่งช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง 10,000 ครอบครัว

6 องค์กรเพื่อสังคม นำโดย Global Shapers Bangkok มูลนิธิยุวพัฒน์ และภาคีเครือข่าย ร่วมผลักดัน “โครงการ CoLIFE” เชิญชวนคนไทยร่วมบริจาคเงินผ่าน บัญชี มูลนิธิยุวพัฒน์ กับ “คนดัง คนโปรด” เร่งส่งมอบถุงยังชีพช่วยเหลือ 10,000 ครอบครัวกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด – 19 พร้อมอุดหนุนเกษตรกรไทย โดยได้แรงหนุนจากคนดัง 19 คน ร่วมรณรงค์ให้เกิดการบริจาคแบบ “ทำดี 2 ต่อ” ช่วยทั้งกลุ่มคนเปราะบางและเกษตรกร บริจาคได้แล้ววันนี้ผ่าน socialgiver.com ที่ https://bit.ly/3h6JHgQ สถานการณ์โควิด-19 สำหรับประเทศไทยยังอยู่ในความเสี่ยง ขณะเดียวกันผลกระทบที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ยังส่งผลกับคนจำนวนมากที่ไม่สามารถฟื้นตัวได้ โดยเฉพาะ “กลุ่มคนเปราะบาง” ได้แก่ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มผู้ถูกเลิกจ้างหรือถูกให้หยุดงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ เด็กกำพร้า เป็นต้น นี่คือที่มาที่ทำให้ Global Shapers

Read More

คูณ 3 ซูเปอร์กู๊ด น้องอยู่ท้อง พี่เกษตรกรอยู่ได้

หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา มีกลุ่มเปราะบางจำนวนมาก โดยเฉพาะ “เด็ก” ในพื้นที่ห่างไกลที่เผชิญกับความเสี่ยงที่จะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนและไม่เพียงพอต่อการพัฒนาทั้งทางร่างกายและสมอง เช่นเดียวกับที่พ่อแม่ของเด็กๆ ที่เป็นเกษตรกรทั้งหลาย ต้องเผชิญกับภาวะสินค้าเกษตรราคาตกต่ำ กำลังซื้อหดหายจากปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น Food4Good x Taejai.com จึงขอเชิญชวน “คุณ” มาแท็กทีมช่วยน้องๆ นักเรียนในชนบทและพี่น้องเกษตรกรกับโครงการ “คูณ 3 ซูเปอร์กู๊ด น้องอยู่ท้อง พี่เกษตรกรอยู่ได้” ดังรายละเอียดที่ https://bit.ly/2ZqQbRG ให้คุณได้ช่วยเหลือแบบได้ประโยชน์คูณ 3 ดังนี้ 1. ช่วยสนับสนุนค่าอาหารเด็กในโรงเรียนห่างไกลกว่า 2,000 คนใน 20 โรงเรียน 6 จังหวัด ได้แก่แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง เชียงใหม่ กาฬสินธุ์ และสกลนคร ได้มีโอกาสอิ่มท้องแบบมีสารอาหารครบถ้วน เพียงพอต่อการพัฒนาทั้งทางร่างกายและสมองด้วยระบบ “ฟู้ดฟอร์กู๊ด” โดยบุคลากร ในโรงเรียนเป็นผู้จัดการอาหารและโภชนาการถูกต้อง 2. ช่วยเสริมศักยภาพบุคลากรในโรงเรียน ด้านการจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานอาหารกลางวันในโรงเรียน 3. ช่วยสนับสนุนสินค้าจากกลุ่มเกษตรกร เนื่องจากพิษโควิดที่ทำให้ขายของได้ยากและสินค้าเกษตรราคาตกต่ำ เพราะปัญหาเรื่องทุพโภชนาการในเด็กเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน “Food4Good” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นกลไกสร้างการมีส่วนร่วมของคนในสังคมผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ

Read More

ผลกระทบพิษ COVID-19 ส่งแรงงาน-บัณฑิตใหม่ว่างงาน

การแพร่ระบาดของ COVID-19 กำลังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและการจ้างงาน ซึ่งทำให้ภาครัฐต้องออกมาตรการช่วยเหลือทุกกลุ่ม ในขณะที่แนวโน้มการเลิกจ้างยังคงมีอยู่แม้ว่าสถานการณ์การระบาดในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มจะคลี่คลาย ก่อนที่จะเกิดกรณีผู้ได้รับการยกเว้นจากต่างประเทศนำเชื้อเข้ามาใหม่อย่างไร้การควบคุม จนเป็นเหตุให้ต้องมีการพิจารณามาตรการควบคุมใหม่อีกครั้ง ข้อมูลที่น่าสนใจจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา มีสถานประกอบการมากถึง 4,458 แห่ง ที่ยื่นขอใช้มาตรา 75 หยุดกิจการชั่วคราว ซึ่งส่งผลกระทบต่อลูกจ้างเป็นจำนวน 896,330 คน รวม 247,031 วัน โดยในจำนวนนี้หยุดกิจการบางส่วน 2,117 แห่ง หยุดกิจการทั้งหมด 3,030 แห่ง สำหรับประเภทกิจการที่ใช้มาตรา 75 มากที่สุดอันดับ 1 อยู่ในกลุ่มของอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก อันดับ 2 เป็นกิจการโรงแรมและภัตตาคารและอันดับ 3 เป็นกิจการบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าและบริการทางธุรกิจ เช่น บริการจัดหางานและการสรรหาบุคลากร การให้เช่า การขาย

Read More

CEO ทีโอที เผยวิสัยทัศน์ พร้อมนำองค์กรก้าวสู่ยุคดิจิทัลรับ New Normal

นายมรกต เธียรมนตรี รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เผยวิสัยทัศน์หลังจากเข้ามารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยกล่าวว่า ทีโอที ยังคงต้องรักษาความเข้มแข็งของธุรกิจหลัก และสร้างธุรกิจใหม่ให้เติบโต โดยมุ่งหวังที่จะให้ ทีโอที เป็นผู้นำด้านบริการโทรคมนาคมและบริการดิจิทัลที่มุ่งตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมยุคดิจิทัลให้เข้มแข็ง นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล มายกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย นับเป็นเกียรติพร้อมภารกิจแห่งความท้าทายในการทำหน้าที่เพื่อขับเคลื่อน ทีโอที ให้เดินหน้าและเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหารายได้เพื่อเข้ามาทดแทนส่วนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไวรัส โควิด-19 ซึ่ง ทีโอที มีนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 ที่ต้องเร่งดำเนินการอยู่ 3 ด้าน ที่สำคัญ ดังนี้ 1) การสร้างรายได้จากบริการต่างๆ ทั้งบริการ TOT fixed line, TOT Mobile, TOT Fiber 2U และการเพิ่มรายได้จากทรัพย์สินขององค์กรที่มีอยู่ เช่น โครงการท่อร้อยสายใต้ดิน ที่จะเป็นธุรกิจสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับองค์กรอย่างมั่นคงในอนาคต โครงการเน็ตประชารัฐ

Read More

ทัวร์สุขภาพแสนล้านเดือด บิ๊ก BDMS ชิงเจาะตลาดจีน

การประกาศจับมือกันระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่ 2 ประเทศ อย่างบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS ผู้ให้บริการทางการแพทย์และบริการด้านสุขภาพแบบครบวงจรของไทย กับกลุ่มผิงอัน เฮลธ์ (PING AN HEALTH) ผู้นำธุรกิจประกันแห่งแดนมังกร ถือเป็นการลั่นกลองรบครั้งสำคัญ เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินรายได้จากธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical & Health Tourism) ที่เคยมีมูลค่ามากกว่า 3 แสนล้านบาท ที่สำคัญ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทางการแพทย์ ด้านหนึ่งถือเป็นอีกทางรอดของกลุ่มโรงพยาบาลที่กำลังเจอวิกฤตรายได้ติดลบจากพิษ “โควิด-19” เพื่อขยายสัดส่วนกลุ่มลูกค้าต่างชาติที่หายไปเป็น “0” ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อีกด้านหนึ่งยังหมายถึงรายได้ก้อนใหม่จำนวนมหาศาล เพื่อพลิกฟื้นธุรกิจในสถานการณ์ที่การท่องเที่ยวยังไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมและมีแนวโน้มยืดเยื้อยาวนานถึงปี 2564-2565 จนกว่าการคิดค้นวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสอันตรายตัวนี้จะประสบความสำเร็จ มีการใช้อย่างแพร่หลายและสร้างความมั่นใจกลับมาอีกครั้ง สิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจน คือตัวเลขการท่องเที่ยว ซึ่งล่าสุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตัดสินใจปรับคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2563 ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งสิ้น 8.2 ล้านคน ลดลง 80% จากปีก่อนที่มีจำนวนมากถึง

Read More