Home > โควิด-19 (Page 10)

หัวเว่ยชี้ แม้โควิด-19 ปิดกั้นโอกาส แต่นวัตกรรมจะเปิดช่องทางแห่งความหวัง

หัวเว่ยชี้ แม้โควิด-19 ปิดกั้นโอกาส แต่นวัตกรรมจะเปิดช่องทางแห่งความหวัง ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมจะยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาธุรกิจให้ชาญฉลาด และสร้างความเท่าเทียมแก่ผู้คนทั่วโลกให้มากยิ่งขึ้น ในพิธีเปิดงาน Mobile World Congress Shanghai 2021 นายเคน หู (Ken Hu) รองประธานหัวเว่ย กล่าวถึงประเด็นของโควิด-19ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อประเทศ องค์กร และผู้คนทั่วโลก รวมถึงบทบาทของเทคโนโลยีในการต่อสู้กับโรคระบาด “นวัตกรรมไม่ใช่แค่เรื่องของการแก้ปัญหาที่เราเผชิญอยู่ในวันนี้” นายเคน หู กล่าว “แต่เป็นเรื่องของการมองหาหนทางให้กับวันพรุ่งนี้ เมื่อเราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้แล้ว เราต้องตระหนักว่าเราจะสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างไรให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาธุรกิจให้ชาญฉลาดยิ่งขึ้น และสร้างโลกที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมด้วยกันมากยิ่งขึ้น” เขาอธิบายว่า ขณะที่ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลทำให้ช่องว่างทางดิจิทัลขยายตัวกว้างขึ้น โรคระบาดยิ่งทำให้สถานการณ์ดังกล่าวแย่ลงไปอย่างเห็นได้ชัด เราจึงต้องมุ่งเน้นให้นวัตกรรมเป็นสะพานเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างคนที่มีและคนที่ไม่มี รวมทั้งเป็นเครื่องมือผลักดันการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียมกัน (digital inclusion) โควิด-19 ได้ทำให้เกิดเงื่อนไขใหม่ ๆ มากมายด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ทั้งนี้ หัวเว่ยได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการโครงข่ายจำนวนมากตลอดปีที่ผ่านมา เพื่อทำให้เครือข่ายสัญญาณกว่า 300 เครือข่ายใน 170 ประเทศมีเสถียรภาพ ในอินโดนีเซีย หัวเว่ยได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรูปแบบใหม่กับการขนส่งติดตั้งสถานีฐานกว่า 5,000 แห่งได้อย่างรวดเร็ว

Read More

คนอาเซียนยังกังวล เศรษฐกิจฉุดกำลังซื้ออสังหาฯ หวัง “วัคซีนต้านไวรัส” เป็นอัศวินขี่ม้าขาว ช่วยกระตุ้นความมั่นใจซื้อบ้าน

แม้ภาครัฐในหลายประเทศแถบอาเซียนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อหวังฟื้นความเชื่อมั่นและกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศของตนให้กลับมา แต่แน่นอนว่าอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ ในตอนนี้ย่อมส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจในการใช้จ่ายมากพอ ข้อมูลจากรายงาน “Global Economic Prospects” ฉบับล่าสุดของธนาคารโลก เผยแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกในระยะสั้นยังคงมีความไม่แน่นอนสูงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คาดว่าการฟื้นตัวจะไม่สม่ำเสมอและเปราะบาง ในขณะที่ความเสี่ยงด้านลบที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ภาคอสังหาริมทรัพย์ในอาเซียนยังคงได้รับผลกระทบ เนื่องจากการซื้อที่อยู่อาศัยถือเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและเป็นภาระทางการเงินระยะยาว เมื่อผู้บริโภคต้องเผชิญความท้าทายทั้งจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงต้องวางแผนการเงินอย่างเข้มงวดและชะลอแผนการซื้ออสังหาฯ ออกไป ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในไทย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ฉบับล่าสุด และผลสำรวจจากเว็บไซต์ในเครือ PropertyGuru Group (พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป) ในสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ชี้ให้เห็นว่าแม้กำลังซื้อผู้บริโภคในอาเซียนจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่อง แต่ความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีแนวโน้มเติบโตในอนาคตแน่นอน เห็นได้จากแผนการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลุ่ม Millennials (มิลเลนเนียล) หรือ Gen Y มากกว่าครึ่งในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทยที่ยังคงให้ความสำคัญไปที่การออมเงินเพื่อซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า

Read More

จาก “เราชนะ” ถึง “เรารักกัน” เดิมพัน 3 แสนล้าน ปลุกเศรษฐกิจ

ขณะนี้เริ่มเปิดฉากการลงทะเบียนโครงการ “ม33 เรารักกัน” มาตรการอัดฉีดกำลังซื้อชุดล่าสุดของรัฐบาล หลังลุยสารพัดกลยุทธ์ตั้งแต่โควิดรอบแรกจนถึงระลอกสอง โดยดึงเม็ดเงินจาก พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้าน ซึ่งนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. พลังงาน ระบุในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาผู้แทนราษฎรว่า มีการอนุมัติโครงการไปแล้ว 256 โครงการ วงเงินมากถึง 7.5 แสนล้านบาท เหลือเงินก้อนสุดท้ายอีก 2.5 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม ต้องถือว่า รัฐบาลพยายามกระจายความช่วยเหลือไปถึงกลุ่มคนทั่วประเทศ ซึ่งผู้ประกันตนตามมาตรา 33 อาจเป็นกลุ่มสุดท้าย หลังจากมีเสียงเรียกร้องในฐานะผู้จ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทุกเดือน ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เห็นชอบโครงการ ม33 เรารักกัน โดยจะจ่ายเยียวยาผู้ได้รับสิทธิ์คนละ 4,000 บาท ภายใต้คุณสมบัติต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สัญชาติไทย ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่ได้รับสิทธิ์โครงการ “เราชนะ” ไม่มีเงินฝากในสถาบันการเงินรวมกันเกิน 500,000

Read More

โควิดบีบแบงก์แห่ปิดสาขา เมื่อออนไลน์แรงแซงทุกโค้ง

พิษโควิดยังส่งผลกระทบต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อัปเดตล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2564 พบว่า จำนวนสาขาและจุดให้บริการของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ณ เดือนธันวาคม 2563 จาก 30 ค่ายแบงก์ มีสาขารวมทั้งหมด 6,167 แห่ง เทียบปี 2562 มีการปิดสาขาไป 341 แห่ง และหากเทียบกับปี 2561 เกือบทุกค่ายตัดสินใจปิดสาขาอย่างถาวรถึง 568 แห่ง หากพิจารณาข้อมูลแยกตามพื้นที่หลักๆ เริ่มจากกรุงเทพฯ เมื่อปี 2561 มีสาขาและจุดให้บริการรวม 2,007 แห่ง ปี 2562 ลดลงมาอยู่ที่ 1,897 แห่ง และปิดปี 2563 อยู่ที่ 1,817 แห่ง ภาคกลาง ปี 2561 อยู่ที่ 2,170 แห่ง ปี 2562 อยู่ที่

Read More

เจ็ทส์ เผยเทรนด์ฟิตเนสไทย หลังจุดเปลี่ยนยุคโควิด-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตในหลายแง่มุม เช่นเดียวกันกับเกือบทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก ธุรกิจฟิตเนสต้องปรับตัวครั้งใหญ่ ไม่เพียงแต่เพื่อความอยู่รอด แต่ยังต้องมองหาโอกาสในชีวิตวิถีใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม เจ็ทส์ ฟิตเนส ในฐานะผู้นำธุรกิจฟิตเนสอันดับหนึ่งและเติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทย เผยเทรนด์ฟิตเนสหลังจุดเปลี่ยนยุคโควิด-19 ที่คาดว่าจะทำให้ประสบการณ์การออกกำลังกายแตกต่างไปจากเดิม การอยู่รอดของคนฟิต นอกจากผู้ประกอบธุรกิจฟิตเนสแล้ว กลุ่มคนรักสุขภาพก็ยังต้องปรับตัวอย่างมาก เพราะการประกาศปิดสถานที่ออกกำลังกายชั่วคราว จากสถานการณ์ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับการแพร่ระบาดในเดือนมีนาคมและพฤษภาคมปีที่แล้ว พฤติกรรมของสมาชิกเจ็ทส์ ฟิตเนส มีความแตกต่างกัน หลังโควิด-19 ระลอกแรก สมาชิก 73% กลับมาเข้ายิมภายในหนึ่งเดือนหลังฟิตเนสกลับมาเปิดให้บริการ และมีจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละสาขาสูงใกล้เคียงช่วงปกติภายในเดือนกรกฎาคม โดยสมาชิกยอมรับว่าออกกำลังกายมากกว่าก่อนมีโรคโควิด-19 และมีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ สามารถปรับตัวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในยิมได้มากขึ้น ในขณะที่ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา เจ็ทส์ ฟิตเนส สาขาเชียงใหม่ โคราช และภูเก็ต ยังคงเปิดให้บริการตามปกติ สมาชิกกว่า 85 เปอร์เซนต์ ยังคงออกกำลังกายในยิมตามปกติ โดยสามารถปรับตัว และพร้อมปฏิบัติตามมาตรการด้านสุขอนามัยในยิม ใส่ใจสุขภาพ ในอีกมุมหนึ่ง สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ก็ส่งผลเชิงบวกต่อธุรกิจฟิตเนส เพราะผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพดี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และเป็นตัวช่วยสำคัญต่อการใช้ชีวิตในโลกยุคโควิด-19 เมื่อการรักสุขภาพไม่เป็นเพียงไลฟ์ไตล์ กลายแต่เป็นเรื่องจำเป็น หลังจากที่ เจ็ทส์ ฟิตเนส

Read More

ตรุษจีนปีฉลูเงียบเหงา พิษ COVID ขวิดใช้จ่ายวูบ

บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2564 ซึ่งหวังว่าจะช่วยพยุงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยให้กระเตื้องขึ้นบ้าง หลังจากตกอยู่ในความเงียบเหงาและซบเซาต่อเนื่องยาวนาน กำลังเผชิญกับข้อเท็จจริงที่เป็นไปในทางตรงข้ามกับความคาดหวังที่มี หลังจากที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงตรุษจีนปีนี้ได้ส่งผลให้กำลังการซื้อของประชาชนลดต่ำลง และทำให้การใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าปรับตัวลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือลดลงด้วยมูลค่ารวมกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งนับเป็นการลดต่ำลงมากเป็นประวัติการณ์ในรอบ 13 ปี ที่ได้มีการสำรวจตั้งแต่ปี 2552 การใช้จ่ายที่มีการปรับตัวลดลงดังกล่าวนี้ทำให้คาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายในช่วงตรุษจีนปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับมูลค่าการใช้จ่ายที่ 5.75 หมื่นล้านบาทในปี 2563 หรือคิดเป็นการปรับตัวลดลงมากถึงร้อยละ 21.85 ซึ่งมูลค่าการใช้จ่ายที่ลดลงนี้ ในด้านหนึ่งนอกจากจะเป็นผลสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำแล้ว การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังทำให้ประชาชนไทยมีรายได้ลดลง เป็นหนี้เพิ่มขึ้นขณะที่จำนวนไม่น้อยถูกเลิกจ้างและตกอยู่ในภาวะว่างงาน ส่งผลให้มีความระแวดระวังในการใช้จ่ายและทำให้ปริมาณการซื้อสินค้าลดลง ข้อน่าสังเกตที่น่าสนใจในกรณีของค่าใช้จ่ายในช่วงตรุษจีนปีนี้อยู่ที่เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการใช้จ่ายเมื่อปี 2563 ซึ่งลดลงร้อยละ 1.3 จากปี 2562 ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่ากังวล การลดลงดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่ข่าวการแพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มปรากฏสู่การรับรู้ของสาธารณะ หากแต่การปรับตัวลดลงของค่าใช้จ่ายในปี 2564 ซึ่งลดลงมากถึงร้อยละ 21.85 จากปีก่อนหน้า นับเป็นภาพสะท้อนของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งถูกซ้ำเติมด้วยการแพร่ระบาดของ COVID-19 และความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของกลไกภาครัฐ โดยเฉพาะในประเด็นว่าด้วยความเชื่อมั่นที่กำลังลดต่ำลงจากปัญหาหลากหลายที่รุมเร้าเข้ามา มูลค่าการใช้จ่ายช่วงตรุษจีนที่ลดหายไปในปีนี้ ทำให้การคาดการณ์ของกลไกรัฐที่ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพีไทย

Read More

โควิดฟาดไม่หยุด ภาคอสังหาฯ ซึมต่อเนื่อง หวัง “วัคซีนต้านไวรัส – มาตรการภาครัฐ” ปลุกตลาดฟื้นตัวเร็วขึ้น

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ แรงกระเพื่อมสำคัญต่อการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจ ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังการใช้จ่าย ส่งผลกระทบให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยกลับมาชะลอตัวอีกครั้ง ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 197 จุด จาก 201 จุด หรือลดลง 2% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 14 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2560) หลังจากเคยมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงคลายล็อกดาวน์จากการแพร่ระบาดฯ รอบแรก คาดแนวโน้มราคาอสังหาฯ และอุปทานจะลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว และยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก หวังวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 และมาตรการเยียวยาเพิ่มเติมจากภาครัฐช่วยกระตุ้นให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาฟื้นตัวเร็วขึ้น นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี

Read More

“สยามเฮลท์ กรุ๊ป” งัดกลยุทธ์ชุดใหญ่ฝ่าวิกฤติโควิด พลิกคอนเซ็ปต์ Dentiste’ Premium Care

“สยามเฮลท์ กรุ๊ป” งัดกลยุทธ์ชุดใหญ่ฝ่าวิกฤติโควิด พลิกคอนเซ็ปต์ Dentiste' Premium Care ทุ่มงบจ้างทีมระดับโลกส่งหนังโฆษณาชุดใหม่ Best Moment ผ่านพรีเซนเตอร์คู่รัก ชมพู่-น็อต ขยายฐานเจาะกลุ่ม Gen Y ลุยออนไลน์-TV Shopping ดันยอดขายปี 64 โต 25% “สยามเฮลท์ กรุ๊ป” งัดกลยุทธ์ชุดใหญ่ฝ่าวิกฤติโควิด พลิกคอนเซ็ปต์ใหม่ “Dentiste' Premium Care” ทุ่มงบจ้างทีมระดับโลกส่งภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ สร้าง Best Moment ผ่านพรีเซนเตอร์คู่รัก ชมพู่-อารยา เอ ฮาร์เก็ต และ น็อต-วิศรุต รังสีสิงห์พิพัฒน์ สื่อ Key word สำคัญ ช่วงเวลาดีๆ กับคนรอบข้าง ขยายฐานเจาะกลุ่ม Gen Y เดินหน้าพาแบรนด์ Dentiste' สู่ระดับโลก

Read More

อสังหาฯ ควบกิจการหนีตาย โจทย์ใหญ่ ลดดอกเบี้ย-เลิก LTV

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังหนีไม่พ้นวิกฤต หลังเจอผลกระทบโควิด-19 บวกกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย และยอดขายจากตลาดต่างชาติดิ่งเป็นศูนย์ แม้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นหลายแพ็กเกจ แต่ผู้ประกอบการต่างฟันธงเสียงเดียวกันว่า “ยังไม่ตรงจุด” โดยเฉพาะโจทย์การแก้ปัญหากำลังซื้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวยืดเยื้ออีก 1-2 ปี ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เดือนมกราคม 2564 ลดลงจากระดับ 46.8 มาอยู่ที่ระดับ 44.2 และดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลงจาก 53.3 มาอยู่ที่ 48.0 ตามความกังวลของผู้ประกอบการ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ โดยผู้ประกอบการที่เห็นว่าธุรกิจจะแย่ลงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในเกือบทุกธุรกิจ ซึ่งรวมถึงกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ที่ดัชนีฯ ปรับลดลงมากและกลับมาอยู่ต่ำกว่า 50 เมื่อเร็วๆ นี้ เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ออกมากล่าวย้ำถึงสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในงานแถลงข่าวประจำปี 2564 ภายใต้แนวคิด The Year of Hope โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทรายกลางและรายเล็กที่มีเงินทุนจำกัด ต้องเหนื่อยแน่ ทั้งในแง่แบรนด์

Read More

เจาะลึกอาชีพมาแรงแห่งปี 2564 ตลาดแรงงาน นายจ้าง-ลูกจ้างต้องปรับตัวรับมือทุกการเปลี่ยนแปลง

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เผยแนวโน้มตลาดแรงงานปี 2564 พร้อมแนะนำนายจ้าง-ลูกจ้างปรับตัวรับมือทุกการเปลี่ยนแปลง แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เผยทิศทางและแนวทางการปรับทัพของตลาดงาน และการปรับตัวของแรงงานในปี 2564 ชี้ผลพวงวิกฤตไวรัสโควิด-19และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลตลาดงาน-แรงงานเปลี่ยนวิถี รูปแบบการทำงานและมองภาพปี 2564 เป็นปีแห่งฟื้นตัวสู่การฟื้นฟูครั้งสำคัญของภาครัฐภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมที่ต้องผนึกกำลังร่วมกัน พร้อมจัดอันดับงานมาแรง 10 อันดับที่ตลาดงานต้องการ และ 10 อันดับงานที่แรงงานพร้อมลุย เพื่อเป็นการลดช่องว่างและเติมเต็มตลาดงานในปัจจุบัน มร.ไซมอน แมททิวส์ ผู้จัดการระดับภูมิภาค ประเทศไทย แถบตะวันออกกลาง และเวียดนาม แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ผู้นำที่ปรึกษาด้านแรงงานเชิงนวัตกรรมกว่า 80 ประเทศทั่วโลก และในประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจในทุกอุตสาหกรรมเพราะมีความเชื่อมโยงกัน รวมถึงตลาดแรงงานที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทั้งวิถีการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ที่ต้องปรับตัวรับกับสถานการณ์ทั้งการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 วิกฤตเศรษฐกิจโลก รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศไทยนับเป็นผลพวงจากปัจจัยข้างต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนของภาครัฐในเชิงนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวที่นับว่าได้รับผลกระทบอย่างหนัก รวมถึงด้านการลงทุน และการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนที่เข้ามาช่วยให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจรายย่อย เพื่อขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจในประเทศ ทางด้านการลงทุนจากต่างประเทศแม้ลดลงแต่ยังได้รับการลงทุนอย่างต่อเนื่อง “นอกจากนี้ ยังเป็นช่วงการทรานส์ฟอร์มครั้งสำคัญของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะรูปแบบการทำงานภายใต้วิถีชีวิตแบบ New Normal ดังนั้น

Read More