Home > โควิด-19 (Page 28)

คนไร้บ้านกับ COVID-19 เสี่ยงทั้งติดเชื้อและอดตาย?

ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องในสังคมไทย กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อทั้งการได้รับหรือติดเชื้อ COVID-19 มากที่สุดอีกกลุ่มหนึ่งดูจะเป็นกลุ่มคนไร้บ้าน ซึ่งแม้ทุกฝ่ายจะระบุว่าไม่ควรมองข้ามหรือละเลย หากแต่ในความเป็นจริง กลุ่มคนไร้บ้านเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะมีความเสี่ยงด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีความเสี่ยงในทางเศรษฐกิจและปากท้องอีกด้วย แม้ว่ามูลเหตุหรือจุดเริ่มต้นของ “คนไร้บ้าน-คนไร้ที่พึ่ง-คนเร่ร่อน-คนจรจัด-คนตกงาน” อาจแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มคน หากแต่ด้วยเงื่อนไขปัจจุบันพวกเขาถูกนิยามด้วยคำจำกัดความว่า “ผู้ใช้ชีวิตอยู่ในที่สาธารณะ” ซึ่งจากข้อมูลของมูลนิธิอิสรชน องค์กรเอกชนที่ทำงานช่วยเหลือคนเร่ร่อน ระบุว่าในปี 2562 กรุงเทพมหานครมีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ หรือคนไร้บ้านรวมกว่า 4,392 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยซึ่งอยู่ในระดับไม่ถึง 3 พันคนเสียอีก แต่ดูเหมือนพวกเขาจะไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงหรือให้ความสำคัญเท่าใดนัก ความเป็นไปของคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยป้ายรถเมล์หรือสถานที่ที่มีแสงสว่างเป็นที่พักพิง หาเลี้ยงชีพโดยการเก็บขวดหรือของเก่าขาย รับจ้าง เป็นแรงงานรายวัน หรือค้าขายทั่วไป ซึ่งในมิติของสุขอนามัยและสุขภาพพื้นฐาน ต้องยอมรับว่าคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่สุขอนามัยไม่ดีนัก เพราะต้นทุนการอาบน้ำของคนไร้บ้านสูงถึงครั้งละ 15-20 บาท เทียบเท่าอาหาร 1 มื้อ คนไร้บ้านจึงเลือกเก็บเงินไว้ซื้อหาอาหารประทังชีวิตและปล่อยให้เนื้อตัวมอมแมมจนเป็นภาพติดตา นอกจากนี้ การที่คนไร้บ้านมักอาศัยรวมกลุ่มกัน จึงง่ายต่อการระบาดของโรคติดต่อ คนไร้บ้านจำนวนมากยังเป็นวัณโรค ในบางพื้นที่สัดส่วนคนไร้บ้านที่เป็นวัณโรคสูงถึงร้อยละ 80 เรียกว่าเสี่ยงเป็นพิเศษต่อโรค COVID-19 ที่มุ่งโจมตีระบบทางเดินหายใจ ประเด็นว่าด้วยสุขภาพของคนไร้บ้านไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น

Read More

ประเทศไทยหลัง COVID-19 และการกำหนดทิศทางในอนาคต

การดำเนินไปของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้สร้างความเสียหายต่อมวลมนุษยชาติอย่างกว้างขวางและในหลากหลายมิติ ไม่ได้จำกัดเฉพาะอยู่ที่ประเด็นสุขภาพและการสาธารณสุขเท่านั้น หากแต่ยังมีประเด็นว่าด้วยพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมที่กระทบต่อความเป็นไปและการดำเนินชีวิตของประชาชนอีกด้วย ดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการควบคุมโรค COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา จึงไม่ควรพิจารณาจากจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อเท่านั้น หากยังต้องพิจารณาและประเมินด้วยว่า ภายใต้มาตรการที่นำเสนอออกมาโดยกลไกภาครัฐนั้น ได้นำไปสู่หรือสร้างผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปอย่างไรบ้าง และกลไกรัฐมีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับหรือเยียวยาต่อผลกระทบดังกล่าวอย่างไรหรือไม่ ประเด็นที่น่าสนใจจากกรณีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในระดับนานาชาติอยู่ที่นอกจากจะมีการกล่าวถึงจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต และประเด็นว่าด้วยมาตรการการรับมือและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคแล้ว ยังให้ความสำคัญต่อประเด็นอื่นๆ ควบคู่ไปด้วยทั้งสภาพความถดถอยทางเศรษฐกิจ ปัญหาคนว่างงานและความอดอยาก หรือแม้กระทั่งผลกระทบต่อเยาวชนโดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการศึกษา หากแต่สำหรับสังคมไทย ดูเหมือนว่าศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. จะมุ่งเน้นไปที่การแพร่ระบาดของโรค โดยละเลยที่จะพิจารณาประเด็นและผลกระทบแวดล้อมว่าด้วยเศรษฐกิจ แรงงาน และการศึกษา ที่ทำให้ขาดมิติในเชิงบูรณาการ และมีแนวโน้มที่จะต้องย้อนกลับมาแก้ไขปัญหาอื่นๆ ด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นไปโดยปริยาย ผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ทำให้หลายธุรกิจต้องปิดหรือหยุดกิจการลงส่งผลให้มีคนตกงานรวมกว่า 10 ล้านคน และมีผู้ลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือเยียวยาจากมาตรการของรัฐรวมกว่า 28 ล้านคน ท่ามกลางความล่าช้าและขาดความชัดเจนของการดำเนินการภาครัฐ ซึ่งทำให้ประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนจำนวนมากไม่ได้รับความช่วยเหลือ และต้องดำเนินชีวิตอยู่ท่ามกลางการขาดรายได้มานับเดือน ข้อน่าสังเกตประการหนึ่งนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรค COVID-19 อยู่ที่การกล่าวถึงบุคลากรทางการแพทย์ในฐานะที่เป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญต่อการต่อสู้กับโรคระบาดครั้งนี้ ทั้งในมิติของการรักษาพยาบาล และการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งควรได้รับกำลังใจและความชื่นชม หากแต่สังคมไทยอาจมองข้ามความสำคัญจำเป็นของการพัฒนาบุคลากรด้านการสาธารณสุข ที่มีทัศนะของการวางแผนและบริหารจัดการที่มีความเชื่อมโยงกับมิติทางสังคมอื่นๆ เพื่อรองรับกับวิกฤตทางสาธารณสุขที่อาจเกิดมีขึ้นอีกในอนาคต ภาพของการขอรับบริจาคหรือแม้กระทั่งข้อเท็จจริงที่ว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์จำนวนมากขาดแคลนในสถานการณ์ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยไม่ได้มีการประเมินสถานการณ์หรือเตรียมการเพื่อรองรับต่อการระบาดของโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก ซึ่งหากมีการเตรียมการดีพอสังคมไทยอาจใช้เงินงบประมาณในการบริหารงานด้านสาธารณสุขนี้ในจำนวนไม่ถึง

Read More

สปอนเซอร์ ผุดแคมเปญ “เสียเหงื่ออย่างมีเป้าหมาย” เชิญชวนชาวไทย “เสียเหงื่อ” พิชิตโควิด-19 ไปด้วยกัน

“สปอนเซอร์” โดยกลุ่มธุรกิจ TCP เปิดตัวแคมเปญ “เสียเหงื่ออย่างมีเป้าหมาย” เชิญชวนชาวไทย “เสียเหงื่อ” พิชิตโควิด-19 ไปด้วยกัน เครื่องดื่มเกลือแร่ “สปอนเซอร์” ภายใต้กลุ่มธุรกิจ TCP ปล่อยแคมเปญเสียเหงื่ออย่างมีเป้าหมาย (Sweat with Purpose) ชวนคนไทยทุกคนร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ที่จะเติมพลังใจให้สดชื่นผ่อนคลายความตึงเครียดจากสถานการณ์โควิด-19 พร้อมเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกาย และทำประโยชน์ให้กับสังคมร่วมกัน ผ่าน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ “เสียเหงื่อเพื่อชนะ” “เสียเหงื่อเพื่อชาติ” และ “เสียเหงื่อเพื่อช่วย” จัดเต็มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนจนถึงตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ นายศุภชัย จุนเกียรติ ผู้อำนวยการสายงานการตลาดโกลเบิล กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า “กว่า 1 เดือนที่คนไทยร่วมแรงร่วมใจหยุดกิจกรรมทางสังคม ส่งผลให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ทุกคนยังคงต้องอยู่บ้าน ควบคุมระยะห่างทางกายภาพเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ ด้วยเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ที่ต้องการลดจำนวนการติดเชื้อให้ได้มากที่สุด สปอนเซอร์จึงขอเป็นอีกแรงในการสนับสนุนภารกิจครั้งสำคัญนี้ ด้วยการออกแคมเปญ ‘เสียเหงื่ออย่างมีเป้าหมาย’ เพื่อเสริมสุขภาพกาย และสุขภาพใจ ให้คนไทยผ่อนคลายจากความตึงเครียด ผมเชื่อว่าคนไทยเมื่อตั้งใจทำอะไรด้วยเป้าหมายจะสำเร็จเสมอ และพวกเราจะผ่านความท้าทายของวิกฤตนี้ไปด้วยกันในไม่ช้า” สปอนเซอร์ จุดพลุเปิดแคมเปญ

Read More

ชาวบุรีรัมย์ทำธนาคารอาหารสู้ภัยโควิด แนะภาคเกษตรต้องปรับตัวตลอดห่วงโซ่

สกสว.เผยชาวบ้านลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ร่วมกันพลิกฟื้นที่ดินว่างเปล่าหันมาปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อเป็นธนาคารอาหารของหมู่บ้านสู้ภัยโควิด-19 ในช่วงกักตัวปิดหมู่บ้าน ขณะที่นักวิชาการด้านสหกรณ์แนะหลังเปิดเมือง ภาคเกษตรต้องปรับตัวสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภค พัฒนามาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์ภายใต้มาตรฐานสุขอนามัย ผศ.อุทิศ ทาหอม หัวหน้าโครงการ "รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทุนทางวัฒนธรรม เพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนบ้านห้วยหวายพัฒนา ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์" อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนการจากฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า ตนและคณะวิจัยชาวบ้านได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่แหล่งน้ำหนองโดนให้เป็นพื้นที่ “กินได้ เที่ยวได้ ขายได้” เมื่อมีปัญหาวิกฤตโควิด-19 ชาวบ้านจึงร่วมกันปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานสำหรับเป็นธนาคารอาหาร (Food Bank) หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทางการได้สี่งปิดการเข้าออกหมู่บ้าน ชาวชุมชนบ้านห้วยหวายพัฒนาต้องกักตัว กักอาหาร เว้นห่างระยะ ตนจึงขยายผลงานวิจัยด้วยการชักชวนชาวบ้านร่วมกันพลิกฟื้นพื้นที่ว่างเปล่าของชุมชนบ้านห้วยหวายพัฒนารอบคูสระหนองโดน จำนวน 15 ไร่ ที่ทิ้งไว้เฉย ๆ ให้เกิดประโยชน์ ทำแปลงผักปลอดสารพิษจำนวน 51 แปลง กลายเป็นพื้นที่ทำกินของชุมชนและสร้างฐานอาหารรับมือวิกฤตโควิด-19 “แปลงผักปลอดสารพิษที่ชาวชุมชนได้ร่วมกันปลูก เมื่อได้ผลผลิตแล้วก็แบ่งกันทั้งชุมชน นอกจากการบริโภคในครัวเรือนแล้วยังนำไปขายในตลาดอำเภอลำปลายมาศ และมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อในชุมชน กลายเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ ทำให้ชาวบ้านไม่ต้องออกไปซื้อหาอาหารภายนอกซึ่งเสี่ยงต่อการติดโรค และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ การที่ชุมชนได้ยกระดับฐานทรัพยากร

Read More

โควิด-19 ซ้ำเติม ตลาดแรงงานไทยวิกฤต

ตลาดแรงงานไทยถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีความเปราะบางมากเป็นพิเศษ นั่นเพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดสภาวะวิกฤตกับเศรษฐกิจ แรงงานไทยที่แม้ไม่ใช่ด่านหน้าที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทว่ากลับเป็นกลุ่มที่ได้รับแรงปะทะเสมอ การเลิกจ้าง ตัวเลขการว่างงาน เป็นภาพสะท้อนทิศทางความเป็นไปที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ ไม่จำเพาะเจาะจงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น ตลาดแรงงานทั่วโลกก็เช่นกัน คล้ายกับว่าความมั่นคงของสถานภาพแรงงานจะดีร้าย ขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การเติบโตที่ลดลงของเศรษฐกิจไทยในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่งทยอยปิดตัวลง อันนำมาสู่การเลิกจ้างแรงงาน ซึ่งตัวเลขการว่างงานในเดือนธันวาคม 2562 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยคือ มีผู้ว่างงานจำนวน 367,000 คน เพิ่มขึ้น 18,000 คน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2561 ที่มีตัวเลขผู้ว่างงาน 349,000 คน บาดแผลของแรงงานทั้งในและนอกระบบจากสภาวะเศรษฐกิจซบเซายังไม่หายดี ภัยร้ายที่เสมือนคลื่นระลอกใหม่ ซัดเข้ามากระหน่ำซ้ำเติม กดหัวให้กราฟของผู้มีงานทำต่ำลง หากจะกล่าวว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายก็ดูจะไม่แปลกนัก เพราะทั้งไทยและทั่วโลกต่างเคยเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคมาหลายต่อหลายครั้ง ทว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 กลับสร้างความเสียหายในระบบแตกต่างไปจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในครั้งก่อนๆ มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทำให้ระบบเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดถูกฟรีซไว้ชั่วคราว หลายอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องโดยตรง ภาคการบริการ ภาคธุรกิจ SMEs ตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดเล็ก หรือกลุ่มธุรกิจที่สายป่านไม่ยาว เป็นผลให้แรงงานที่อยู่ในกลุ่มนี้ต้องพบเจอกับความเสี่ยงอีกครั้ง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (Economic Intelligence Center)

Read More

หน้ากากผ้าบาราโหม-ปัตตานียอดพุ่ง ช่วยแรงงานกลับจากมาเลเซียมีรายได้

เครือข่ายวิจัย สกสว. ปัตตานี กลุ่มบาราโหมบาร์ซา พลิกวิกฤตเป็นโอกาสในช่วงโควิด-19 ชักชวนแรงงานที่กลับจากมาเลเซียทำหน้ากากผ้าลวดลายมลายู สร้างรายได้ตกเดือนละ 1.2 แสนบาท ยอดซื้อส่วนใหญ่มาจาก กทม. เพราะเป็นงานศิลป์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใคร นางฟารีดา กล้าณรงค์ หัวหน้ากลุ่มบาราโหมบาร์ซา และวิทยากรศูนย์เรียนรู้การท่องเที่ยวอารยธรรมปัตตานี ในฐานะเครือข่ายวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในโครงการ “วิจัยและพัฒนาศักยภาพเยาวชนนอกระบบจังหวัดชายแดนใต้สู่การเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชายแดนภาคใต้” เปิดเผยว่า ตนได้พลิกวิกฤตเป็นโอกาสในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายใต้แนวคิดการนำสิ่งที่มีอยู่มาสร้างสรรค์เป็นลวดลายบนงานหัตถกรรม จากที่ทำผ้าบาติกด้วยบล๊อกไม้โดยประยุกต์เอามรดกทางประวัติศาสตร์ของชุมชนบาราโหม มาสร้างจุดเด่นในการสืบสานศิลปวัฒธรรมให้ลูกหลานของชุมชนและเผยแพร่แก่สังคม ด้วยการทำหน้ากากผ้าแทนหน้ากากอนามัยที่ขาดแคลน โดยด้านนอกใช้ผ้าฝ้ายพิมพ์ลวดลายเครื่องถ้วยชามโบราณที่ขุดพบในพื้นที่แล้วนำมาทำบล็อกไม้ ด้านในเป็นผ้ามัสลินหรือผ้าสาลู ซึ่งขั้นตอนการทำได้ศึกษาเปิดดูจากอินเตอร์เน็ต ล่าสุดกลุ่มบาราโหมบาร์ซาได้จัดทำ “ลือปัสบาติก” ที่มีความพิเศษจากที่อื่นด้วยลวดลายคงความเป็นอัตลักษณ์ของปัตตานี ใช้สี 4 ราชินีในตำนานของชาวปาตานี การออกแบบที่ไม่เหมือนใคร สินค้าสะดวกต่อการพกพา โดยในคอลเลคชั่นใหม่ของบาราโหมบาร์ขณะนี้เน้นผ้าบาติกวัยรุ่น ใน 1 เซต ราคา 450 บาท ประกอบด้วยผ้าลือปัสเพจ (ผ้าอเนกประสงค์ ใช้เป็นผ้าคลุมศีรษะหรือผ้าพันคอ) กระเป๋าใส่ผ้าลือปัน และหน้ากากป้องกันโรค ซึ่งผ้าเซตดังกล่าวได้ถ่ายทอดเรื่องราวศิลปะบนพื้นผ้าบาติกพิมพ์ลายด้วยบล๊อกไม้แห่งปัตตานี โดดเด่นด้วยลวดลายประวัติศาสตร์สู่งานหัตถกรรมร่วมสมัย

Read More

เส้นทางของ Didier Raoult

Column: From Paris Covid-19 ทำให้รู้จักชื่อ Didier Raoult ศาสตราจารย์นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ ผู้พบว่ายา chloroquine และ hydroxychloroquine สามารถใช้กับผู้ที่ติดเชื้อ Covid-19 จนสร้างความแตกแยกในวงการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ของฝรั่งเศส Didier Raoult เกิดที่เมือง Dakar ประเทศเซเนกัล (Sénégal) พ่อเป็นแพทย์ทหาร พื้นเพชาวนอร์มองดี (Normandie) ผู้ก่อตั้งสถาบันวิจัยอาหารในแอฟริกา ส่วนแม่เป็นพยาบาล ครอบครัวย้ายกลับฝรั่งเศส ตั้งรกรากที่เมืองมาร์เซย (Marseille) ขณะที่เขาอายุ 10 ขวบ เขาเรียนไม่ดี พออายุ 17 ปี ลาออกจากโรงเรียนเพื่อไปทำงานในเรือพาณิชย์เป็นเวลา 2 ปี ในปี 1972 เขากลับมาสอบมัธยมปลายด้านวรรณคดี และเข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ของมาร์เซย เพราะเป็นวิชาเดียวที่พ่อจะออกค่าใช้จ่ายให้ ผลการเรียนขณะเป็นอินเทิร์นทำให้ไม่ได้เรียนสาขาที่อยากเรียน จึงต้องมาเรียนด้านโรคติดเชื้อเฉกเช่นเดียวกับตา เขาพูดเสมอว่าต้องการเป็นคนเก่งที่สุดในโลก เขาเดินทางไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกาจนได้รับปริญญาเอก ผลการเรียนดีเลิศจนสถาบันแพทย์แห่งหนึ่งต้องการให้เขาร่วมทีมด้วย แต่เขาเลือกเดินทางกลับฝรั่งเศส ได้เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเมืองมาร์เซย Didier Raoult

Read More

เซ็ง เหงา เครียด จิตใจแย่ แนะ 6 วิธีจัดการอารมณ์ช่วงกักตัวอยู่บ้านอย่างสร้างสรรค์

เซ็ง เหงา เครียด จิตใจแย่ ภัยทางอ้อมโควิด 19 มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ แนะ 6 วิธีจัดการอารมณ์ช่วงกักตัวอยู่บ้านอย่างสร้างสรรค์ เตือนผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการดื่มอย่างเป็นอันตราย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกทั้งเรื่องงาน ชีวิตส่วนตัว รวมถึงระบบสังคมและเศรษฐกิจ ถูกแปรเปลี่ยนอย่างกระทันหันจนยากที่จะปรับตัว หลายคนต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) ในขณะที่บางคนยังต้องออกไปทำงานข้างนอกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนกิจกรรมสำหรับการผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว รับประทานอาหารนอกบ้าน และกิจกรรมการเข้าสังคมอื่น ๆ ก็ต้องหยุดชะงักเพราะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ (Social Distancing) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกับภาวะทางอารมณ์และจิตใจมากมาย จนอาจเรียกได้ว่าปัญหาทางด้านจิตใจคือมหันตภัยระลอกที่ 2 ของการแพร่ระบาดนี้ อีกหนึ่งอันตรายที่ตามมาจากความเครียดและการกักตัวอยู่บ้านไม่ได้พบเจอผู้คน คือการดื่มอย่างเป็นอันตราย ซึ่งในหลายประเทศพบว่าเกิดความเสี่ยงที่ประชาชนจะดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดเพื่อรับมือกับความเครียด โดยในประเทศออสเตรเลียพบว่ามีการกักตุนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และประชาชนมีพฤติกรรมดื่มหนักขึ้น ในขณะที่แนวโน้มลักษณะเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีอาชญากรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดพ่วงตามมาด้วย เช่น ความรุนแรงภายในครอบครัว ด้านประเทศไทย ได้มีการส่งเสริมให้ผู้บริโภคระมัดระวังการดื่มเพื่อให้สามารถครองสติสัมปชัญญะ ไม่นำไปสู่การทะเลาะวิวาท อาชญากรรม และสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงในช่วงไวรัสระบาด มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ (มปอ.)

Read More

กระทิงแดงส่งพลังบวกให้ฮีโร่สู้โควิด-19 ผ่านแคมเปญ “Unforgotten Hero”

กระทิงแดงส่งพลังบวกให้ฮีโร่สู้โควิด-19 ผ่านแคมเปญ “Unforgotten Hero” เพราะในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เราจะมีฮีโร่ผู้เสียสละอยู่เสมอ ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงมีความรุนแรงและไม่มีใครระบุได้ว่าการระบาดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด การที่คนไทยร่วมมือกันลดการแพร่เชื้อด้วยการกักตัวอยู่บ้านและการเว้นระยะห่างทางกายภาพจึงกลายเป็นหลักปฏิบัติของสังคมในปัจจุบัน แต่ในทางกลับกัน กลับมีบุคคลอีกกลุ่มที่ยังต้องออกจากบ้านไปทำงาน เพื่อให้ระบบต่างๆ ของบ้านเมืองยังคงเดินหน้าต่อไปได้ และเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านได้อย่างปกติแม้ในยามวิกฤต ดังนั้น เครื่องดื่มกระทิงแดง ภายใต้กลุ่มธุรกิจ TCP จึงขอสดุดีฮีโร่ผู้กล้า...ด้วยการปล่อยแคมเปญ “Unforgotten Hero” เพื่อขอบคุณฟันเฟืองกลุ่มสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ ผู้กล้าหรือฮีโร่ด่านหน้าเหล่านั้นต่างไม่มีพลังวิเศษใดๆ มีเพียงพลังใจและสองมือที่พร้อมทำ ทำแบบไม่เคยหยุด ไม่เคยท้อ ทำด้วยความหวังเพียงเพื่อให้ประเทศชาติสามารถผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้โดยเร็ว ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจตรวจรักษา หรือฮีโร่อีกกลุ่มที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสไม่ต่างจากเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข นั่นก็คือ พนักงานทำความสะอาด พนักงานเก็บขยะ พนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ พนักงานรักษาความปลอดภัย และพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ และอีกมากมาย ด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้กระทิงแดงถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ สดุดีคนกล้าออกมาเป็นภาพยนตร์สั้น Unforgotten Hero เพื่อชื่นชมความมุ่งมั่นและการอุทิศตนเพื่อสู้ภัยครั้งนี้ เมื่อฮีโร่ออกปฏิบัติหน้าที่ กระทิงแดงพร้อมออกส่งกำลังใจ เมื่อเหล่าฮีโร่ไม่ได้หยุดปฎิบัติหน้าที่ กระทิงแดงจึงไม่รั้งรอส่งทีมกิจกรรมพิเศษ (TCP Team) ลงพื้นที่เพื่อมอบเครื่องดื่มกระทิงแดงและเครื่องดื่มอื่นๆ ภายใต้กลุ่มธุรกิจ TCP จำนวนรวมกว่าล้านขวด เพื่อสร้างความสดชื่นดับกระหาย พร้อมด้วยอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19

Read More

“อาหารให้ช้างแก่ ช้างพิการ ที่ประสบภัยโควิด-19” #เทใจสู้โควิด #คนไทยช่วยช้าง

#เทใจสู้โควิด #คนไทยช่วยช้าง  การแพร่ระบาดของ COVID-19 ไม่ได้สร้างความยากลำบากให้ผู้คนเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบกับ “ช้างไทย” ทั่วประเทศหลายร้อยหลายพันเชือกต้องต่อสู้กับความหิวโหย โดยเฉพาะช้างแก่และพิการกว่า 50 เชือกที่มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อมดูแล ซึ่งส่วนใหญ่ผ่านการทารุณกรรมมาแทบทั้งสิ้น ขณะนี้พวกเขาไม่ได้รับอาหารที่เพียงพอ เนื่องจากผู้สนับสนุนหลักประสบปัญหาเศรษฐกิจ ขาดรายได้เพราะไม่มีนักท่องเที่ยว ประกอบกับช้างแก่เหล่านี้เคี้ยวอาหารไม่ได้ ระบบย่อยไม่สมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลและให้อาหารพิเศษ เช่น ข้าวปั้นที่มีส่วนผสมของข้าวและกล้วย ผลไม้ที่ต้องผ่านการบด โดยค่าอาหารจะตกอยู่ที่ 1,000 บาทต่อวันต่อช้างแก่หนึ่งเชือก มาร่วมกันกระจายน้ำใจ จัดหาอาหารให้ช้างแก่และพิการ รวมทั้งอาหารพิเศษจำนวน 300 กระสอบ เพื่อให้ผ่านภาวะอดอยากนี้ไปได้ ช่วยกันคนละไม้คนละมือกับ “อาหารให้ช้างแก่ ช้างพิการ ที่ประสบภัยโควิด-19” ที่ https://bit.ly/3cAYs9u หรืออินสตาแกรม https://bit.ly/2KjBYNU เป้าหมายระดมทุน 770,000 บาท แม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะลดลง ... พวกเราทุกคนยังคงต้องร่วมกันทำสิ่งเหล่านี้ - ต้องป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นผู้ติดเชื้อ - ต้องปฏิบัติตนไม่ให้เป็นผู้แพร่เชื้อไม่ว่าจะทราบว่าตัวเองติดเชื้อแล้วหรือไม่ – ต้องไม่เป็นผู้สร้างข่าวและเผยแพร่ข่าวด้วยการแชร์ข้อมูลซึ่งไม่เป็นความจริงหรือไม่เป็นทางการ #เทใจสู้โควิด # #คนไทยช่วยช้าง #ไม่ติดไม่แพร่ไม่แชร์มั่ว

Read More