AI กุญแจสำคัญของธุรกิจ? ยุคอุตสาหกรรม 4.0
การขอปรับค่าแรงงานให้เท่าเทียมกันทั่วประเทศเป็น 360 บาทต่อวัน จากปัจจุบันอัตราค่าแรงขั้นต่ำของไทยอยู่ที่ 303-330 บาทต่อวัน ยังไม่สามารถอนุมัติได้ทันวันแรงงาน 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ยังมีอีกหลายประเด็นที่จะต้องพิจารณา ทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน และบางจังหวัดไม่ขอปรับขึ้นค่าแรง ด้วยเหตุผลที่ว่า สถานการณ์การค้าและเศรษฐกิจยังไม่ดีเท่าที่ควร แม้จะมีบางจังหวัดที่ไม่ขอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ทว่ายังมีจังหวัดที่ต้องการให้มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำด้วยอัตราเพิ่มขึ้น 2-10 บาทต่อวัน ก่อนหน้านี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำว่า อาจไม่สามารถปรับได้ทันวันแรงงาน เหตุผลไม่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ แต่ดำเนินไปตามความเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่จรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานคณะกรรมการค่าจ้าง ให้ความเห็นเรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำว่า จะมีการนัดประชุมบอร์ดค่าจ้างอีกครั้งช่วงกลางเดือนนี้เพื่อหาข้อสรุปอีกครั้ง หลังจากที่ได้ข้อมูลจากอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำจากทุกจังหวัดแล้ว เรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในด้านหนึ่งย่อมส่งผลดีต่อแรงงานไทย ที่จะมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น เมื่อสินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการได้ปรับราคาไปก่อนหน้านี้แล้ว ทว่าด้านผู้ว่าจ้างหรือผู้ประกอบการ มองว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ต้องดูปัจจัยแวดล้อมจากสถานการณ์เศรษฐกิจในระดับมหภาคด้วย เพราะการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหมายถึงต้นทุนที่ผู้ประกอบการจะต้องแบกรับ ท่ามกลางการถดถอยทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้เกิดขึ้นแต่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น เมื่อเวทีการค้าโลกยังไม่มีความแน่นอน ทั้งสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ หรือประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหภาพยุโรป ไม่น่าแปลกใจ หากผู้ประกอบการยังไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องขอปรับค่าแรงขั้นต่ำในเวลานี้ นอกจากนี้ การจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในห้วงยามนี้ต้องพึงระลึกว่า ไทยกำลังเชิญชวนให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรมบนโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC และโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ SEC หากมีการอนุมัติขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอาจกระทบต่อการตัดสินใจของนักลงทุน เชื่อว่าเวลานี้ทั้งภาครัฐ
Read More