Home > แผ่นดินไหว

ทรูมันนี่ ประเทศไทย เมียนมา และกัมพูชา เปิดช่องทางบริจาคเงินช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว

ร่วมผสานพลังเพื่อมอบกำลังใจ…ให้ผู้ประสบภัย ทรูมันนี่ ประเทศไทย เมียนมา และกัมพูชา เปิดช่องทางบริจาคเงินช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว  บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด ในประเทศไทย เมียนมา และกัมพูชา ผนึกกำลังเปิดโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมียนมา โดยร่วมกันจัดตั้งช่องทางรับบริจาค พร้อมสมทบทุนเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูและบรรเทาทุกข์แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดย ทรูมันนี่ ประเทศไทย ได้เปิดช่องทางให้ผู้ใช้แอปทรูมันนี่สามารถร่วมบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวทั้งในประเทศไทยและเมียนมา โดยเงินบริจาคจะถูกส่งตรงเข้าสู่บัญชีของสภากาชาดไทยโดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใด ๆ เพื่อใช้ในการจัดหาอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค สิ่งของจำเป็น และฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้ ส่วน ทรูมันนี่ เมียนมา ได้จัดตั้งกองทุน ‘Pray for Myanmar Charity’ เพื่อเปิดรับบริจาคผ่านแอป TrueMoney และเครือข่ายตัวแทนทรูมันนี่ (TrueMoney Agents) ที่มีอยู่หลายหมื่นแห่งทั่วประเทศ ทั้งนี้ ทรูมันนี่ในประเทศไทย เมียนมา และกัมพูชา จะร่วมสมทบทุนตามยอดบริจาคของผู้ใช้ผ่านกองทุนดังกล่าว โดยไม่หักค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด เพื่อส่งมอบความช่วยเหลือผ่านสภากาชาดเมียนมา (MRCS) โครงการในประเทศไทยจะเปิดรับบริจาคจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2568

Read More

CardX ออกมาตรการเยียวยาลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว พร้อมจับมือพันธมิตรมอบสิทธิประโยชน์ดูแลเรื่องที่พักอาศัย

CardX ออกมาตรการเยียวยาลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว พร้อมจับมือพันธมิตรมอบสิทธิประโยชน์ดูแลเรื่องที่พักอาศัยแบบครบวงจร เพื่อให้คนไทยก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน คาร์ดเอกซ์ (CardX) ออกมาตรการเยียวยาลูกค้าผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกค้าบัตรเครดิต CardX และ SCB, ลูกค้าบัตรกดเงินสด CardX SPEEDY CASH และลูกค้าสินเชื่อบุคคล CardX SPEEDY LOAN ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบตามประกาศกระทรวงมหาดไทย พร้อมผนึกกำลังแบรนด์พันธมิตรชั้นนำจัดโครงการพิเศษเพื่อร่วมฝ่าวิกฤตเรื่องที่พักอาศัย มอบสิทธิประโยชน์สุดพิเศษด้านการซ่อมแซมบ้านอย่างครบวงจร และผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้ลูกค้าได้อุ่นใจกว่าเดิม จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา ได้สร้างผลกระทบต่อคนไทยในวงกว้างทั้งกับชีวิต ทรัพย์สิน ตลอดจนที่พักอาศัย ในช่วงเวลายากลำบากที่เกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว CardX ตระหนักถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน จึงพร้อมดูแลลูกค้าด้วยการส่งมอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหว 2568 ปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือนด้วยการขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระ (ปรับปรุงโครงสร้างหนี้) สำหรับลูกค้าบัตรเครดิต CardX และ SCB, ลูกค้าบัตรกดเงินสด CardX SPEEDY CASH และลูกค้าสินเชื่อบุคคล CardX SPEEDY LOAN ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง

Read More

ตลาดคอนโดฯ แพนิก รื้อมาตรฐานก่อสร้าง Pet Lover ต้องมา

กรณีเหตุแผ่นดินไหวศูนย์กลางที่ประเทศเมียนมา ขนาด 8.2 ลึก 10 กิโลเมตร ช่วงบ่ายวันที่ 28 มีนาคม ซึ่งส่งแรงสั่นสะเทือนไปในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย 57 จังหวัด และร้ายแรงที่สุด คือ โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) พังถล่ม มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก รวมถึงอาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพฯ เกิดรอยแตกร้าว ซึ่งนี่คือจุดเปลี่ยนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ทำท่าจะพลิกฟื้นดีขึ้น โดยเฉพาะยอดการร้องเรียนความเสียหายคอนโดฯ และบ้านร้าว เพียง 3 วันแรกหลังเกิดเหตุ ยอดสะสมพุ่งไปมากกว่าเกือบ 1 หมื่นราย และเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลายคนยังกล้าๆ กลัวๆ กับการกลับเข้าห้องพัก กลับเข้าทำงานในอาคาร แม้มีการยืนยันจากภาครัฐและบริษัทอสังหาริมทรัพย์ อย่างเช่น นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทยและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN กล่าวว่า การก่อสร้างอาคารสูงทุกอาคารในประเทศไทยหลังปี 2550 ต้องก่อสร้างตามมาตรฐานการก่อสร้างเพื่อรองรับแผ่นดินไหว

Read More

อาฟเตอร์ช็อก ลาม “ท่องเที่ยว” “สงกรานต์” เดิมพันชี้ชะตา

หากไม่มีปัจจัยลบใดๆ ทุกฝ่ายต่างคาดหวังว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีการเดินทางของนักท่องเที่ยว “ไทย-เทศ” จะเข้ามาจับจ่ายมากกว่า 26,500 ล้านบาท และจะมีผู้คนแห่เข้าร่วมมหกรรม Maha Songkran World Water Festival 2025 ระหว่างวันที่ 11-15 เมษายน มากกว่า 8 แสนคน สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในงานรวม 3,200 ล้านบาท แต่ทันทีที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวศูนย์กลางที่ประเทศเมียนมา ขนาด 8.2 ลึก 10 กิโลเมตร ช่วงบ่ายวันที่ 28 มีนาคม ซึ่งส่งแรงสั่นสะเทือนไปในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยและกระทบภาพลักษณ์ประเทศขั้นเลวร้ายที่สุด คือ โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) พังถล่ม มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก รวมถึงอาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพฯ เกิดรอยแตกร้าว ทุกอย่างเหมือนต้องลุ้นเป็นเฮือกๆ ทั้งความเศร้าเสียใจและอาการแพนิกของผู้คน กลายเป็นคำถามที่รัฐบาลต้องหาคำตอบที่ชัดเจน รวมถึงมาตรการเยียวยา มาตรการพลิกฟื้นความเชื่อมั่น พร้อมๆ กับการกระตุ้นการท่องเที่ยว ในฐานะเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอันดับ 1 เทียนประสิทธิ์ ไชยภัทรานันท์ นายกสมาคมโรงแรมไทย

Read More

ไขข้อข้องใจ: ทำไมระบบ Cell Broadcast Service (CBS) ยังไม่เกิด? เพราะ “ปรบมือข้างเดียวไม่ดัง”

เกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในไทย หลายๆ คนคงได้ยินคำว่า "Cell Broadcast Service" หรือ CBS วันนี้เรามาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่าทำไมระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่านมือถือระบบนี้ คือ ระบบที่ทุกคนรอคอย แต่ยังไม่สามารถใช้งานได้ในประเทศไทย แม้จะผ่านมากี่เหตุการณ์น้ำท่วม พายุ หรือภัยพิบัติมาแล้วก็ตาม CBS คืออะไร? ทำงานยังไง? Cell Broadcast Service คือระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินที่ส่งข้อความเตือนตรงถึงหน้าจอมือถือทุกเครื่องในพื้นที่เกิดเหตุ ผ่านเสาสัญญาณมือถือ โดยมีข้อดีแบบที่ SMS ธรรมดาทำไม่ได้ o ส่งข้อความถึงทุกเครื่องในพื้นที่พร้อมกันในครั้งเดียว (แบบ broadcast) o มีเสียงเตือนดังพิเศษแม้เปิดโหมดเงียบ o ข้อความจะ Pop-up ขึ้นมาบนหน้าจอทันที o เจาะจงพื้นที่ได้ ส่งเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัย o ไม่ต้องโหลดแอปฯ เพิ่ม ทุกเครื่องรับได้เลย o แม้เครือข่ายจะหนาแน่น ก็ส่งได้รู้พร้อมกันทันที ทำไมต้อง "สองฝ่ายร่วมกัน" ถึงจะสำเร็จ? นี่คือหัวใจสำคัญ! ระบบ CBS จะทำงานได้ต้องมีสององค์ประกอบหลักทำงานร่วมกัน (เหมือนปรบมือสองข้างถึงจะดัง): 1. CBC (Cell Broadcast Center) - ฝั่งผู้ให้บริการมือถือ

Read More

โรบินฮู๊ดร่วมให้กำลังใจทีมกู้ภัยและผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว

โรบินฮู๊ดร่วมให้กำลังใจทีมกู้ภัยและผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว มอบอาหารและแรงใจ หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายให้กับหลายพื้นที่ โรบินฮู๊ดไม่รอช้า ร่วมเป็นกองกำลังเสริม ส่งกำลังใจและความช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยตั้งโรงครัวที่ตลาดน้ำ อตก.ทำอาหาร เตรียมน้ำดื่ม ผ้าเย็น เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มชูกำลัง ยาดมสมุนไพร ฯลฯ เพื่อให้พวกเขามีกำลังในการฟื้นฟูและต่อสู้กับความยากลำบากในช่วงวิกฤตนี้ พร้อมทั้งย้ำว่า "ทุกคนคือฮีโร่ในสถานการณ์นี้" เพื่อให้ทุกคนมีพลังทั้งกายและใจในการฝ่าฟันไปด้วยกัน  

Read More

นักวิจัยถอดบทเรียนแผ่นดินไหวญี่ปุ่น ไทยอย่าประมาทสึนามิอันดามันยังเสี่ยง

นักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติถอดบทเรียนแผ่นดินไหวญี่ปุ่น เตือนประเทศไทยต้องเตรียมรับมือ ห่วงชายฝั่งทะเลอันดามันยังเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิซ้ำรอยปี 2547 ทั้งระบบเตือนภัยสึนามิและแผนที่หลบภัยสึนามิ รวมถึงมาตรการผลกระทบต่อการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ขณะที่ประชาชนควรเรียนรู้เทคนิคการหลบภัยทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ ศ. ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย และนักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เผยถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.6 ที่จังหวัดอิชิกาวะ บนเกาะฮอนชู ทางตอนกลางของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2567 ที่ผ่านมา ว่าเป็นธรณีพิบัติที่รุนแรงมากและอยู่ในระดับตื้นมาก เพียง 10 กิโลเมตร ทำให้เกิดความเสียหายกับอาคารบ้านเรือน โครงสร้างพื้นฐาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนเป็นจำนวนมาก ทั้งยังทำให้เกิดคลื่นสึนามิความสูง 1.2 เมตร ซัดเข้าหาชายฝั่งเมืองวาจิมะ จังหวัดอิชิกาวะ ซึ่งผลของแผ่นดินไหวดังกล่าวจะยังคงเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายวัน อย่างไรก็ตาม ด้วยระยะห่างจากประเทศไทย 4,000-5,000 กิโลเมตร จึงไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคม 2554 ได้เคยเกิดแผ่นดินไหวโตโฮคุขนาด 9.0-9.1 นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของคาบสมุทรโอชิกะในเขตโตโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดคลื่นสึนามิมีความสูงถึง 40 เมตร พัดเข้าชายฝั่งจังหวัดเซ็นได เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตราว 20,000 คน และสูญหายอีกประมาณ

Read More

นักวิจัยชี้ระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวภาคเหนือทำไม่ได้ ห่วงการรับมือสึนามิยังขาดความตื่นตัว-อพยพไม่ทัน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศลาวและส่งผลให้หลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ จนเกิดกระแสในโลกโซเชียลติดอันดับ 2 ของทวิตเตอร์ประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 โดยส่วนหนึ่งได้กล่าวถึงการมีระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์มือถือเช่นเดียวกับในต่างประเทศนั้น ศ. ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวมีหลายรูปแบบ บางแบบจะไม่สามารถเตือนภัยได้ แต่บางรูปแบบอาจจะเตือนภัยได้แต่ก็เพียงไม่กี่สิบวินาทีก่อนเกิดการสั่นสะเทือนรุนแรง ในกรณีภาคเหนือของประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งส่งผลรุนแรงในระยะใกล้จุดศูนย์กลาง จึงเป็นแผ่นดินไหวในรูปแบบที่ไม่สามารถเตือนภัยได้ ส่วนกรณีของกรุงเทพมหานคร การสั่นสะเทือนจะเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีศูนย์กลางห่างไกลออกไปนับร้อยกิโลเมตร ในกรณีเช่นนี้มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว ซี่งอาจจะเตือนได้เพียง 10-20 วินาทีก่อนที่คลื่นแผ่นดินไหวจะวิ่งมาถึงกรุงเทพฯ ระยะเวลาเตือนภัยสั้น ๆ นี้จึงอาจไม่เพียงพอที่จะอพยพผู้คนออกจากอาคาร แต่อาจช่วยให้หลบเข้าที่ปลอดภัยได้ หรืออาจนำมาใช้ในการชะลอความเร็วของรถไฟความเร็วสูงที่จะมีในอนาคต เพื่อให้รถวิ่งช้าลงและไม่ตกรางจนเกิดอันตราย สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นมีหลายรูปแบบ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในเมืองโกเบเมื่อหลายสิบปีก่อน และแผ่นดินไหวที่จังหวัดคุมาโมโตะ เป็นแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางใกล้ตัวเมืองมาก จึงไม่สามารถเตือนภัยได้ เพราะคลื่นแผ่นดินไหววิ่งเร็วมากด้วยความเร็วประมาณ 3-6 กิโลเมตร/วินาที ทำให้คลื่นแผ่นดินไหววิ่งมาถึงตัวเมืองในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นมีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวในอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก ๆ ในทะเลที่อยู่ห่างจากชายฝั่งหลายร้อยกิโลเมตร

Read More

นักวิจัยเตือนเฝ้าระวังอาฟเตอร์ช็อกแผ่นดินไหว แนะชาวน่านสำรวจโครงสร้างบ้าน-โบราณสถาน

นักวิจัยเตือนอาจมีอาฟเตอร์ช็อกอีกหลายครั้งหลังเกิดแผ่นดินไหวที่ลาว แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ถึงจังหวัดน่าน ขอให้ประชาชนสำรวจโครงสร้างบ้านและโบราณสถาน หากพบรอยร้าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ แนะไทยควรมีระบบแจ้งเหตุแผ่นดินไหว และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการอนุรักษ์โบราณสถาน ศ. ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย และนักวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ที่เกิดขึ้นที่ประเทศลาวเมื่อเช้ามืดของวันที่ 20 ธันวาคม 2564 ได้ส่งผลให้หลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ โดยพบร่องรอยกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถและองค์พระประธานจตุรพักตร์ 4 ด้าน ซึ่งตั้งประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถวัดภูมินทร์ พบรอยร้าวขยายเพิ่มจากความเสียหายแผ่นดินไหวครั้งก่อน 6.4 ริกเตอร์เมื่อปี 2562 และพบรอยร้าวใหม่อีกหลายจุดเป็นแนวยาวจนมองเห็นปูนภายในอย่างเห็นได้ชัด สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้เกิดขึ้นนอกประเทศไทย โดยมีระยะห่างจากจังหวัดน่านประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งแผ่นดินไหวขนาด 5.8 ถือว่าได้มีความรุนแรงระดับปานกลาง จึงทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยได้ แต่ด้วยระยะทางที่ห่างออกไปไม่ไกลมากนัก จึงเชื่อว่าอาจจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างอาคารบ้าง แต่ก็คาดว่าจะรุนแรงถึงขั้นที่ทำให้โครงสร้างอาคารในประเทศไทยเกิดการถล่มลงมา อย่างไรก็ตามโครงสร้างอาคารในพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณที่ใกล้แผ่นดินไหวมากกว่านี้อาจเกิดการแตกร้าวเสียหายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารหลายหลังที่ไม่ได้ออกแบบและก่อสร้างมาให้ต้านแผ่นดินไหวหรือเป็นอาคารที่ไม่ได้มาตรฐานทางวิศวกรรม “ประชาชนจึงควรสำรวจโครงสร้างบ้านเรือนของตนเองด้วยว่ามีรอยร้าวเกิดขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โคนเสาด้านล่างและกำแพง หากสังเกตเห็นรอยร้าวหรือปูนกะเทาะออกมา จะต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้าตรวจสอบโดยละเอียดทันที ทั้งนี้อาจเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกได้ในช่วงระยะเวลา

Read More

นักวิจัยตั้งข้อสังเกตแผ่นดินไหว-สึนามิในนิวซีแลนด์

ผศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิจัยในชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของ สกสว. และ วช. เปิดเผยว่า จากการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ขนาด 7.3-8.1 หลายครั้งอย่างต่อเนื่องทางตอนเหนือของประเทศนิวซีแลนด์ตั้งแต่คืนวันที่ 4 ถึงเช้าตรู่ของวันที่ 5 มีนาคม 2564 ทำให้เกิดคลื่นสึนามิด้วยแต่มีขนาดไม่สูงมากจึงส่งผลกระทบต่อประชาชนค่อนข้างน้อย ต่างจากแผ่นดินไหวสุมาตราในปี 2547 ที่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดไปสร้างความเสียหายทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และเนื่องจากแผ่นดินไหวกลุ่มนี้เกิดอยู่กลางมหาสมุทรห่างจากแผ่นดินพอสมควร จึงไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินหรือหมู่เกาะรอบ ๆ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวบริเวณแนวมุดตัวนี้มีแผ่นดินไหวขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่เกิดขึ้นมาโดยตลอด แผ่นดินไหวกลุ่มนี้เกิดอยู่ตรงแนวชนกันและมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกที่มีชื่อว่าแนวมุดตัวทองกา-เคอร์มาเด็ค แนวมุดตัวนี้มีความยาวกว่า 2,500 กิโลเมตร วางตัวมาจากด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเหนือของนิวซีแลนด์พาดยาวขึ้นมาทางทิศเหนือจนเกือบถึงประทศซามัว เป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มากที่สุดแห่งนึ่งของโลก กลไกการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทั้ง 3 ตัวในครั้งนี้มีความสลับซับซ้อนพอสมควร โดยแผ่นดินไหวตัวใหญ่ตัวแรก มีขนาด 7.3 เกิดขึ้นใกล้กับเกาะเหนือของนิวซีแลนด์ อีก 4 ชั่วโมงถัดมาเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ทางเหนือห่างออกไปประมาณ 1,000 กิโลเมตร จึงไม่น่ากระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งที่สองได้ หลังจากนั้นอีกประมาณเกือบ 2

Read More