Home > อุตสาหกรรมยา

อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ฯ เปิดฉากงานยิ่งใหญ่แห่งปี ‘ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024’

อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ฯ เปิดฉากงานยิ่งใหญ่แห่งปี ‘ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024’ ยกระดับอุตสาหกรรมยาไทยสู่ ฮับสุขภาพและการแพทย์อาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ฯ เปิดฉากงานสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาคอาเซียนภายใต้การจัดงาน สัปดาห์สุขภาพและการแพทย์ ซึ่งมีการจัดงาน “ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024” (CPHI South East Asia 2024) งานแสดงสินค้าเทคโนโลยี นวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมยาแห่งเอเชีย จัดร่วม 2 งานใหญ่ ‘Medlab Asia & Asia Health’ พร้อมระเบิดศักยภาพผู้ผลิตยาไทยสู่ฮับอุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ ระดมทัพผู้ผลิตกว่า 400 แบรนด์ จาก 50 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุม 10 กลุ่มธุรกิจ ส่องเทรนด์นวัตกรรม ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้จาก 60 หัวข้อสัมมนา จับคู่การค้า สร้างโอกาสธุรกิจ ผลักดันความมั่นคงทางยา ดันอุตฯ

Read More

โอกาสของอุตสาหกรรมยา ในมุมมองผู้ประกอบการไทย

มูลค่าของอุตสาหกรรมยาในไทยที่สูงถึง 2 แสนล้านบาท ทว่ายาที่อยู่ในตลาดกลับเป็นยาที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ 60% อีก 40% เป็นยาจากผู้ประกอบการไทย หรือประมาณ 50,000 ล้านบาทของมูลค่าตลาด ด้วยสัดส่วนนี้ทำให้เห็นว่าตลาดยาในไทยมีผู้เล่นจากต่างชาติถือครองสัดส่วนมากกว่า แม้ว่าผู้ประกอบการยาไทยจะมีศักยภาพไม่แตกต่างกันก็ตาม จากตัวเลขดังกล่าวทำให้มีความพยายามจากหลายฝ่ายที่จะเพิ่มสัดส่วนยาจากผู้ประกอบการไทยในตลาดมากขึ้น แม้ว่าจะมีปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านวัตถุดิบและสารตั้งต้นในการผลิตยาที่ไทยจำเป็นต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่มีวัตถุดิบที่ผู้ประกอบการยาไทยสามารถผลิตเองได้มีเพียง 20 รายการ ด้วยปัจจัยข้างต้นทำให้ราคายาในไทยมีราคาแพง เมื่อเทียบกับค่าแรง ค่าครองชีพและภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน “ผู้จัดการ 360 องศา” มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้ผลิตยาไทยอย่าง ภก. ประพล ฐานะโชติพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีแมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) หรือ ที แมน ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยากว่า 50 ปี “สถานการณ์ตลาดยาไทย ที่ผู้ประกอบการไทยไม่ได้ถือครองสัดส่วนตลาดยาเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เราไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราไม่สามารถผลิตวัตถุดิบและสารตั้งต้นในประเทศไทยได้ หากจะเทียบกับจีนและอินเดีย ซึ่งมีความพร้อม รวมถึงศักยภาพมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่เรานำเข้าวัตถุดิบจากสองประเทศนี้ ยาแผนปัจจุบันถ้าเราจะรุกตลาดต่างประเทศ ยังคงเป็นเรื่องยาก

Read More

รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ หญิงแกร่งแห่งอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ผู้ปลุกอุตสาหกรรมยาให้ตื่นตัว

“ธุรกิจเอ็กซิบิชัน” ธุรกิจซึ่งเป็นเสมือนโซ่ข้อกลางที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตและผู้ประกอบการให้มาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน แน่นอนว่าความยากของธุรกิจนี้คือการเปลี่ยนจินตนาการ เปลี่ยนความตั้งใจ ในทางรูปธรรมให้เป็นนามธรรม อีกทั้งยังต้องนำเสนอสิ่งที่คาดหมายว่าจะเกิดขึ้นล่วงหน้าให้แก่ Exihibitor ต่างๆ จนกระทั่งได้รับการตอบตกลงที่จะมาร่วมงาน และยังต้องทำการตลาด เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจเข้ามาร่วมงานได้มากที่สุด อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ คือหนึ่งในบริษัทที่มักจะอยู่เบื้องหลังและสร้างตัวเองให้เป็นโซ่ข้อกลางที่แข็งแรง เชื่อมต่อสิ่งต่างๆ ระหว่าง Exihibitor และ Visitor ให้มีโอกาสได้พบปะเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งอาจนำไปสู่การร่วมทำธุรกิจระหว่างกันในอนาคต กระแสความตื่นตัวของผู้คนเกี่ยวกับสุขภาพ รวมถึงการขยายตัวของอุตสาหกรรม Health and Wellness ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะวิกฤตโรคอุบัติใหม่อย่างโควิดที่เป็นตัวเร่งสำคัญนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวทางการใช้ชีวิตของผู้คน “ผู้จัดการ 360 องศา” มีโอกาสได้พูดคุยกับบุคคลที่เสมือนผู้ปลุกอุตสาหกรรมนี้ให้ตื่นตัวมากขึ้น “รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์” ผู้อำนวยการกลุ่มโครงสร้าง ภูมิภาคอาเซียน ผู้จัดการทั่วไป-ฟิลิปปินส์ “เราเป็นเหมือน Vertical Lead ในอินฟอร์มาฯ ได้รับมอบหมายสายธุรกิจที่ถนัด พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ เรามีผลิตภัณฑ์ในมือแล้วนำไปขยาย นำเสนอในประเทศต่างๆ ปัจจุบันโรสดูอยู่ 4 พอร์ต คือ Food Ingredient, CPHI,

Read More

ก้าวใหม่ “บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค” บริษัทยาของคนไทย ที่พร้อมแข่งในตลาดโลก

หลังจากคร่ำหวอดในอุตสาหกรรมยามานานถึง 30 ปี “บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค” กำลังสร้างตำนานบทใหม่ให้กับบริษัท ด้วยการเข้าจดทะเบียนและทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นครั้งแรกในวันที่ 21 มิถุนายน 2566 โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “BLC” เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัทและสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมยาของประเทศไทย “ยา” ถือเป็นปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และในขณะเดียวกัน “อุตสาหกรรมยา” ก็นับเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญและสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศด้วยเช่นกัน โดยในปี 2565 ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ของไทย มีมูลค่าตลาดถึง 2.4 แสนล้านบาท มีอัตราการเติบโต 3-5% แบ่งเป็น การผลิตในประเทศ 30% และนำเข้า 70% ซึ่งมีมูลค่าการตลาดที่สูงและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่ามูลค่าการจำหน่ายยาระหว่างปี 2566-2568 จะมีอัตราการเติบโต 5-6% ต่อปี แต่ที่น่าสังเกตคือ 70% จากมูลค่าตลาด 2.4 แสนล้านบาทนั้น เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ หากสามารถลดการพึ่งพาการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และหันมาส่งเสริมการผลิตยาในประเทศจะเป็นการสร้างการเติบโตและความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมยาของไทย และสร้างความมั่นคงให้กับประเทศในอนาคตต่อไปได้ โดยปัจจุบันผู้ผลิตยาในไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

Read More

ภาครัฐ-เอกชน พร้อมเดินหน้าอุตสาหกรรมยาไทย ความมั่นคงทางการยาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ในเรื่องการบริหารจัดการและรับมือต่อโรคอุบัติใหม่อย่าง โควิด-19  นอกจากนี้ เว็บไซต์ Numbeo ที่มีฐานข้อมูลด้านค่าครองชีพและระบบสาธารณสุขที่ใหญ่ที่สุดในโลก ยังได้จัดอันดับเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีระบบสาธารณสุขโดยรวมที่ดีที่สุดในช่วงกลางปี 2022 ปรากฏว่าจังหวัดเชียงใหม่ได้อันดับ 1 ที่มีระบบสาธารณสุขดีที่สุด ในขณะที่กรุงเทพฯ และพัทยา ได้อันดับ 3 และ 4 ตามลำดับ ซึ่งดัชนีระบบสาธารณสุขนี้เป็นการประมาณคุณภาพโดยรวมของระบบการดูแลสุขภาพ บุคลากรทางการแพทย์ อุปกรณ์ เจ้าหน้าที่ แพทย์ ค่าใช้จ่าย และอื่นๆ อ้างอิงจากการสำรวจผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ ขณะที่ภาครัฐมีเป้าหมายจะยกระดับให้ไทยก้าวสู่การเป็น Medical Hub ทว่า นอกจากการบริหารจัดการในระบบสาธารณสุขอาจยังไม่เพียงพอที่จะเอื้อให้ไทยก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายดังกล่าวได้ “อุตสาหกรรมยา” อาจเป็นอีกหนึ่งแรงขับที่สำคัญที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสนใจ จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกรุงศรีระบุว่า ปี 2565 มูลค่าจำหน่ายยาในประเทศมีแนวโน้มเติบโต 4.5-5.0% จากปี 2564 ผลจากความต้องการบริโภคยาและเวชภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่กลับสู่ระดับใกล้เคียงปกติ หลังความกังวลต่อการระบาดของ โควิด-19 ผ่อนคลายลง ขณะที่กำลังซื้อมีแนวโน้มขยับดีขึ้นตามทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทย การท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าปี 2566-2568 มูลค่าจำหน่ายยาจะเติบโตมากขึ้น ประเด็นที่ท้าทายของธุรกิจยา คือ ไทยยังขาดศักยภาพในการผลิตยาที่จำเป็น

Read More