ขันลงหินบ้านบุ หัตถกรรมที่กำลังเลือนหาย
เสียงตีโลหะดังแว่วออกมาเป็นจังหวะจากอาคารไม้หลังหนึ่งที่ฝังตัวอยู่ใน “ชุมชนบ้านบุ” ชุมชนเล็กๆ ริมคลองบางกอกน้อย ยิ่งเดินเข้าไปใกล้ เสียงที่เข้ามากระทบโสตประสาทยิ่งแจ่มชัดและหนักหน่วงมากขึ้น พร้อมกับไอร้อนระอุที่ลอยมากระทบกับผิวกาย ภาพของคุณลุงคุณป้าที่อายุเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 60 ปี กำลังขะมักเขม้นกับชิ้นงานที่อยู่ตรงหน้า เพื่อรังสรรค์ “ขันลงหิน” งานหัตถกรรมที่งดงาม มีคุณค่า แต่นับวันจะหาผู้สานต่อได้ยากยิ่ง คือต้นกำเนิดของเสียงและความร้อนที่กระจายอยู่ทั่วบริเวณ การทำขันลงหินหรือขันบุคืออาชีพเก่าแก่ที่ทำกันในครัวเรือนมาตั้งแต่สมัยอยุธยา คำว่า “บุ” คือการตีให้เข้ารูป ใช้กับงานโลหะ ซึ่งขันลงหินนี้นิยมนำมาใส่ข้าวสวยสำหรับใส่บาตรเพราะจะทำให้ข้าวมีกลิ่นหอม หรือใส่น้ำดื่มเพราะจะทำให้น้ำเย็นชื่นใจ จนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก จึงมีการอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ พร้อมพกพาองค์ความรู้ในวิชาช่างบุลงหินติดตัวมาด้วย จนกลายมาเป็น “ชุมชนบ้านบุ” อย่างในปัจจุบัน อีกหนึ่งชุมชนที่มีงานหัตถกรรมอันเป็นมรดกสืบทอดกันมาในชุมชนมายาวนานมากกว่า 200 ปี ขันลงหินของชาวบ้านบุใช้กรรมวิธีผลิตแบบโราณ โดยใช้ทองสัมฤทธิ์ อันเป็นโลหะที่เกิดจากการหลอมทองแดง ดีบุก และเศษสัมฤทธิ์เข้าด้วยกันในเตาถ่านไม้ซากซึ่งให้ความร้อนสูง ก่อนที่จะเทโลหะผสมที่ได้ลงบน “ดินงัน” นำก้อนทองที่ได้มาเผาแล้วตีซ้ำจนได้รูปร่างเป็นภาชนะตามความต้องการ หรือที่เรียกว่าการบุนั่นเอง แต่งรูปทรงอีกครั้งบนไม้กลาง ย้ำเนื้อโลหะให้แน่นด้วยการ “ลาย” บนกะล่อน กลึงผิวด้านนอกซึ่งมีเขม่าจับจากการเผาบนแกน “ภมร” ตะไบขอบภาชนะ และต่อด้วยการขัดโดยการใช้หินในการขัดจนขึ้นเงา อันเป็นที่มาของคำว่า “ลงหิน” นั่นเอง ขั้นตอนการทำขันลงหินของชาวบ้านบุนั้น
Read More