เวียดนามคู่แข่งไทยส่งออกข้าว รัฐต้องเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวสู้
ช่วงไตรมาสแรกของปีที่เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังอยู่ในขั้นวิกฤต สถานการณ์ส่งออกข้าวไทยในช่วงเวลานั้นมีสัญญาณเป็นไปในทางที่ดี ทั้งจากเวียดนามที่ต้องจำกัดการส่งออกข้าว มีการคาดการณ์ว่าไทยน่าจะได้รับอานิสงส์การส่งออกข้าวได้มากขึ้น ทว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี (ม.ค.-มิ.ย.) ตัวเลขที่แสดงออกมากลับให้ผลตรงกันข้าม เมื่อสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเปิดเผยยอดตัวเลขการส่งออกข้าว ว่าไทยทำได้เพียง 3.14 ล้านตัน ลดลง 32 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้ไทยถูกเบียดให้มายืนอยู่ในอันดับสาม รองจากอินเดียและเวียดนาม เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อไทยยังต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และวิกฤตโควิด-19 เริ่มคลี่คลายแม้จะยังไม่สิ้นสุด แต่สถานการณ์การส่งออกที่กลับมาดำเนินกิจการได้ ทำให้หลายฝ่ายพอจะมองเห็นสัญญาณในทางที่ดีว่าภาคการส่งออกน่าจะกลับมาเดินเครื่องและอาจช่วยให้ตัวเลขจีดีพีไทยไม่ติดลบมากนัก กระนั้นปัจจัยแวดล้อมด้านลบก็ยังไม่สิ้นสุด เมื่อไทยยังต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งที่ส่งผลต่อภาคการเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรลดลง เศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัวทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดต่างชาติลดลงไปด้วย ขณะที่ค่าเงินบาทของไทยอยู่ในช่วงแข็งค่าที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าส่ง และประเด็นสำคัญคือ พันธุ์ข้าวไทยในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคแล้ว แม้ว่าผู้ส่งออกข้าวจะยอมรับว่าคู่แข่งสำคัญในตลาดค้าข้าวโลกคือ ประเทศอินเดีย ทว่า ในระยะหลังกลุ่มผู้ส่งออกข้าวต้องรับมือกับคู่แข่งที่เหมือนจะเป็นม้ามืดในวงการนี้ คือ เวียดนาม ที่มุ่งมั่นพัฒนาพันธุ์ข้าวมาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีเป้าหมายอยู่แค่เป็นผู้ส่งออกข้าวไปยังตลาดโลกเป็นอันดับต้นๆ เท่านั้น แต่พัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดค้าข้าวจากเจ้าตลาดเดิมให้ได้ มีบทความที่เผยแพร่โดย BIOTHAI ว่า เวียดนามพัฒนาข้าวสายพันธุ์ ST25 จนกลายเป็นข้าวสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก จากการประกวดระหว่างการประชุมข้าวโลกเมื่อปี 2019 ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเกิดจากการสนับสนุนการวิจัยโดยหน่วยงานวิจัยของรัฐในระดับจังหวัดของรัฐบาลเวียดนามเป็นสำคัญ และ Ho Quang Cua ซึ่งเป็นรองผู้อำนวยการเกษตรและพัฒนาชนบทของจังหวัด
Read More