เพิ่มพื้นที่สีเขียว ยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมือง
ต้นไม้หนึ่งต้นปล่อยก๊าซออกซิเจนได้ถึง 200,000-250,000 ลิตร/ปี ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 9-15 กิโลกรัม/ปี สามารถดูดซับความร้อนจากบรรยากาศและลดอุณหภูมิรอบบ้านลงได้ 3-5°C อีกทั้งยังช่วยดักจับฝุ่นและมลพิษในอากาศได้ถึง 1.4 กิโลกรัม/ปี และยังช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศและกรองสารพิษในอากาศได้อีกด้วย จะเห็นว่าต้นไม้เพียงหนึ่งต้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ได้นานัปการ พื้นที่สีเขียวคือสิ่งจำเป็นต่อชีวิตผู้คนในสังคม สวนหย่อมและสวนสาธารณะที่กระจายอยู่ในเมืองใหญ่ ต่างทำหน้าที่เสมือนปอดที่ช่วยฟอกอากาศให้กับผู้อาศัย อีกทั้งยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจให้ได้ออกไปสูดอากาศนอกตัวอาคาร และเป็นสถานที่สำหรับออกกำลังกาย ที่ช่วยพัฒนาทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจให้กับผู้อยู่อาศัยในเมือง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและเติบโตของเมืองที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้ง ทำให้ต้นไม้และพื้นที่สีเขียวที่เคยมีถูกแทนที่ด้วยตึกรามบ้านช่อง อาคารสำนักงาน และถนนหนทาง องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้กำหนดสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมสำหรับเมืองใหญ่ไว้ที่ 9 ตารางเมตร/คน ในขณะที่กรุงเทพมหานครที่ถือเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ที่ยังคงพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง สิ่งก่อสร้างต่างๆ ตลอดจนยวดยานพาหนะและประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้นสวนทางกับพื้นที่สีเขียวที่ลดน้อยถอยลง ทำให้สัดส่วนพื้นที่สีเขียวของคนกรุงเทพฯ ยังคงน้อยกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ข้อมูลจากสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ระบุว่า ณ เดือนพฤศจิกายน 2564 กรุงเทพฯ มีจำนวนสวนสาธารณะทั้งสิ้น 8,819 แห่ง รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 40,816,665 ตารางเมตร โดยแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ สวนเฉพาะทาง, สวนชุมชน,
Read More