สถานการณ์แรงงานไทย ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลง
ภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอันสืบเนื่องมาจากวิกฤตโควิด-19 ที่ดำเนินมามากกว่า 2 ปี ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศและต่อสถานการณ์ของแรงงานอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ปี 2563 ปีแรกแห่งวิกฤตโควิด ถือเป็นปีที่ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบอย่างหนัก เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจทั้งภาคการท่องเที่ยว การส่งออก การบริโภค และการลงทุน ชะงักงัน หลายบริษัทต้องเลิกจ้างพนักงานหรือแม้กระทั่งปิดกิจการ อีกทั้งมาตรการเยียวยาจากภาครัฐยังไม่ชัดเจนนัก ส่งผลให้ตัวเลขผู้ว่างงานพุ่งสูง โดยมีอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.69 เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2562 ที่ร้อยละ 0.98 หรือมีจำนวนผู้ว่างงานประมาณ 6.5 แสนคน ในขณะที่ปี 2564 มีการเรียนรู้และปรับตัว รวมถึงใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจควบคู่กับมาตรการทางสาธารณสุขเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดไปพร้อมกัน ในส่วนของกระทรวงแรงงานได้มีการนำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อพยุงการจ้างงาน ได้แก่ 1. ลดเงินสมทบ เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพผู้ประกันตน ซึ่งพบว่ากว่าร้อยละ 85 สามารถกลับไปทำงานได้ ถ้าไม่มีตรงนี้อาจจะเห็นคนว่างงานพุ่งสูงถึง 2-3 ล้านคน 2. นโยบายภาครัฐที่กระตุ้นการจ้างงานใหม่และการบริโภคภายในประเทศ เช่น จ๊อบ เอ็กซ์โป (Job Expo) ที่จะโฟกัสในกลุ่มของนักศึกษาจบใหม่โดยเฉพาะ รวมถึงโครงการรักษาการจ้างงานของกลุ่มเอสเอ็มอี มาตรการคนละครึ่ง และ ม.33
Read More