Home > สกสว (Page 2)

สกสว.จับมือทุกภาคส่วนรุกขับเคลื่อนภูมิภาคทั่วไทย ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแบบมีชั้นเชิง

สกสว.นำทัพขับเคลื่อนภูมิภาคทั่วไทย เปิดเวทีระดมสมองจับมือทุกภาคส่วนร่วมเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระดับภูมิภาค ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม “เอนก” ชี้นักวิชาการต้องเป็นนักบริหารที่เป็นผู้นำต้องช่ำชองเรื่องยุทธศาสตร์ให้มากขึ้น และเห็นโอกาสที่จะพัฒนาประเทศ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานสัมมนาทางวิชาการ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 (TSRI Annual Symposium 2022) ภายใต้หัวข้อ “ขับเคลื่อนภูมิภาคทั่วไทย ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว และผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อเป็นเวทีระดมความคิดเห็นจากทั้งภาคนโยบายของประเทศ ผู้ทรงคุณวุฒิ ประชาคม ววน. และผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อันจะนำไปสู่การพัฒนานโยบายเศรษฐกิจและสังคมระดับภูมิภาค ตลอดจนแนวทางการทำงานร่วมกันของ ววน. กับทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาภูมิภาค ในโอกาสนี้ รมว.อว.ได้ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ

Read More

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เปิดรับงานวิจัยและนวัตกรรมพร้อมใช้ จับมือกองทุนส่งเสริม ววน. สร้างกรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่

ผู้ว่าฯ กทม. จับมือกองทุนส่งเสริม ววน. ผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์แก้ปัญหามุ่งสู่ “กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน” ชี้ต้องใช้แนวคิดพฤติกรรมศาสตร์ทั้งเรื่องความโปร่งใสและคอร์รัปชัน ความปลอดภัยทางถนน สิ่งแวดล้อม และความสะอาด รวมทั้งการตรวจหาเชื้อโควิดและฝีดาษลิงเชิงรุกในพื้นที่ที่เป็นจุดโฟกัส ดร.ลัษมณ อรรถาพิช ที่ปรึกษาผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เข้าพบและหารือการทำงานร่วมกันระหว่างกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และคณะ ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยผู้บริหาร สกสว. ได้นำเสนอกลไกการทำงานของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) พร้อมตัวอย่างงานวิจัยและนวัตกรรมที่สนับสนุนนโยบายผู้ว่าฯ กทม. ซึ่ง กทม. สามารถเป็นผู้ตั้งโจทย์และทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานด้าน ววน. เพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ หรือเป็นผู้ทำวิจัยเองผ่านการขอทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม ววน. หรือหน่วยบริหารและจัดการทุน นอกจากนี้ยังสามารถทำงานร่วมกับกองทุนส่งเสริม ววน. เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลงานวิจัยที่มีอยู่เพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบาย ทั้งนี้ สกสว. ได้จัดทำกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างนโยบาย กรุงเทพฯ 9 ดี และฐานข้อมูลงานวิจัย ววน. ในช่วงปี

Read More

นักวิจัย ม.นเรศวร แนะตรวจหาเศษซากเชื้อฝีดาษลิงจากน้ำเสีย

นักวิจัย ม.นเรศวร แนะตรวจหาเศษซากเชื้อฝีดาษลิงจากน้ำเสีย ชี้เตือนภัยล่วงหน้า-ประหยัด-ป้องกันการนำเข้าเชื้อจาก ตปท. นักวิจัยม.นเรศวร ลั่นมีความพร้อมทางเทคโนโลยีตรวจหาเชื้อฝีดาษลิงโดยการตรวจเศษซากไวรัสในน้ำเสียโสโครก นำร่องสุ่มตรวจตัวอย่างที่สนามบินสุวรรณภูมิแล้ว ระบุเป็นมาตรการเฝ้าระวังที่ประหยัดงบประมาณ และตรวจพบเชื้อได้ทันทีแม้มีผู้ติดเชื้อแค่คนเดียวแม้ผู้ติดเชื้อจะยังไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อหรือไม่มีอาการ ผศ. ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญระดับสูง สำนักบริหารงบประมาณวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยถึงการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงว่าขณะนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เริ่มตรวจการระบาดของฝีดาษลิงโดยตรวจเศษซากไวรัสในน้ำเสียโสโครกเป็นตัวชี้วัดการระบาดในระดับชุมชน โดย 1 ตัวอย่างน้ำเสียแทนการเฝ้าระวังทุกคนทั้งชุมชน เนื่องจากไวรัสฝีดาษลิงจะถูกขับถ่ายออกมาทางอุจจาระของผู้ติดเชื้อ (แม้จะยังไม่แสดงอาการในช่วงระยะฟักตัว 7-14 วัน) ทำให้คณะวิจัยตรวจพบเศษซากไวรัสดังกล่าวในน้ำเสียโสโครกของเมือง ซึ่งรวมน้ำเสียจากทุกคนในทุกบ้านเรือนที่ขับถ่ายออกมาได้ โดยจะตรวจพบเศษซากไวรัส 7-14 วัน ก่อนที่ผู้ติดเชื้อจะรู้ตัวว่าตัวเองติดเชื้อและแสดงอาการ ทำให้สามารถควบคุมโรคได้ก่อนการระบาด เทคนิคเดียวกันนี้ถูกใช้ในการเฝ้าระวังเชิงรุกและเตือนภัยล่วงหน้าการระบาดของโควิด-19 ในชุมชนและอาคารสาธารณะใน 58 ประเทศทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย คณะวิจัยระบาดวิทยาน้ำเสียโควิด-19 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความพร้อมที่จะใช้เทคโนโลยีการสกัดเศษซากไวรัสฝีดาษลิงในน้ำเสียโสโครกชุมชนเพื่อการเฝ้าระวังการนำเข้าฝีดาษลิงจากต่างประเทศเช่นกัน โดยการทดลองนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ผ่านสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งคณะวิจัยได้ทดลองตรวจน้ำเสียจากสนามบินสุวรรณภูมิจากตัวอย่างน้ำเสียในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

Read More

สกสว. จับมือ สวทช. อบรมหลักสูตร RDI manager มุ่งยกระดับกำลังคน ววน. สู่มืออาชีพด้านเศรษฐกิจ

รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม (RDI manager) ด้านเศรษฐกิจ รุ่นที่ 1 ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส ซึ่งจัดโดย สกสว. และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2565 เพื่อยกระดับศักยภาพผู้เข้าอบรมกว่า 40 คน จากกลุ่มมหาวิทยาลัย หน่วยงานระดับกรมในกระทรวงต่าง ๆ หน่วยบริหารและจัดการทุน และเจ้าหน้าที่จากเอกชนที่ทำงานร่วมวิจัยกับสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัย สู่การเป็นผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจมืออาชีพ รวมทั้งนำประสบการณ์ความรู้ที่หลากหลายของผู้เข้าร่วมอบรมมาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรให้สมบูรณ์ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายสำหรับการขยายผลวงกว้างต่อไป รองผู้อำนวยการ สกสว. ระบุว่าสำนักพัฒนาระบบ ววน. ด้านการส่งเสริมความเข้มแข็งของหน่วยงานในระบบ ววน. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบและบุคลากรด้านการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมของหน่วยงานเพื่อให้สามารถส่งมอบผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยหนึ่งในภารกิจที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง คือ การสร้างและพัฒนาผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

Read More

ววน. หนุนขับเคลื่อน soft power ไทยสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

สกสว.จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ววน.หนุนขับเคลื่อน soft power สู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน หวังจุดประกายให้ทุกภาคส่วนและคนไทยร่วมกันสานพลังสร้างแบรนด์ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จัก แข่งขันได้อย่างยั่งยืน และรักษาชุมชนท้องถิ่นอันเป็นตาน้ำสำคัญ รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สกสว. เปิดเผยว่า สกสว. โดยหน่วยข้อมูลและสำนักงานผู้อำนวยการ ได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย “ววน.ขับเคลื่อน soft power สู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน” เพื่อนำเสนอบทบาทของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์และยกระดับมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย ตามนโยบายของ ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว. เพื่อสร้างพลังอันเข้มแข็งของ soft power ที่จะช่วยให้ประเทศไทยมีความสำคัญและยืนหยัดอยู่ในเวทีโลกได้อย่างภาคภูมิใจ เนื่องจากประเทศไทยมีจุดเด่นในหลายด้าน ทั้งอาหารไทยที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของชาวต่างชาติ นอกจากนี้ยังมีสมุนไพร สปาไทยและนวดไทย มวยไทย และเสื้อผ้าแฟชั่นไทย ซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก ตลอดจนมีสถานที่ท่องเที่ยวอันงดงามหลากหลาย ร่ำรวยศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และทรัพยากรธรรมชาติ “ประเทศไทยยังมีสิ่งดี ๆ อีกมากที่คนภายนอกยังไม่รับรู้ และต้องการการพัฒนาต่อยอด

Read More

ม.ศิลปากร โชว์ผลงาน ‘ศิลปะฝาท่อสาธารณูปโภค’ หวังส่งเสริมทัศนียภาพสุนทรีย์ เยาวราช-เจริญกรุง

นักวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดเผยผลงานล่าสุด “ศิลปะบนฝาท่อสาธารณูปโภค” เพื่อเผยแพร่แผนที่ทางวัฒนธรรมของชุมชน ด้วยแนวคิดในการใช้กิจกรรมและงานสร้างสรรค์ทางศิลปะเป็นสื่อเผยแพร่อัตลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน รวมถึงส่งเสริมทัศนะสุนทรีย์เมืองเก่าย่านเยาวราช-เจริญกรุง รองศาสตราจารย์จักรพันธ์ วิลาสินีกุล อาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดเผยว่า หลังจากโครงการวิจัย “การออกแบบประติมากรรมบนที่สาธารณะกับการมีส่วนร่วมของชุมชน” ประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม ศิลปะกราฟิตี้ รั้วกั้นทางเดินริมน้ำ และฝาท่อระบายน้ำ โดยกองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ได้นำผลการวิจัยดังกล่าวไปใช้ และเป็นแนวทางการออกแบบเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชน โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลองโอ่งอ่าง และโครงการศิลปะชุมชนกิจกรรมแต้มสี กรุงเทพฯ ปี 2561 นั้น แผนที่แสดงแนวทางการวางตำแหน่งฝาท่อ ล่าสุดนักวิจัยได้ร่วมกันออกแบบฝาท่อสาธารณูปโภคภายใต้โครงการวิจัย “การพัฒนาทุนทางศิลปะและวัฒนธรรมย่านเยาวราช” ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยเริ่มต้นจากการสำรวจพื้นที่ในย่านเยาวราช-เจริญกรุง เพื่อหาความเป็นไปได้ที่จะใช้งานศิลปะและการออกแบบเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในย่านชุมชนที่นำไปสู่การสร้างหมุดหมายบนแผนที่ทางวัฒนธรรม ซึ่งผลลัพธ์ของการสำรวจพื้นที่และการทำงานร่วมกับนักวิจัยด้านประวัติศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ข้อสรุปเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมจะพัฒนาให้เกิดฝาท่อที่มีความเป็นศิลปะ โดยการออกแบบสื่อถึงโบราณสถาน อาคาร ร้านค้า สถานที่อันเป็นที่มาของชื่อย่าน และสาธารณูปโภคที่มีขึ้นครั้งแรกของกรุงเทพมหานคร รวมถึงอัตลักษณ์ด้านการค้าของย่านเยาวราช “ในการออกแบบเราได้สร้างภาพที่มีลักษณะกราฟิก เพื่อให้ผู้ชมจดจำได้ง่าย โดยคำนึงว่าต้องสื่อถึงที่มาได้โดยตรง และเชื่อมโยงไปสู่ความหมายและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ฝาท่อที่ออกแบบมาชุดนี้ ตัวอย่างเช่น

Read More

“นักสืบของอดีต” จากการวิจัยสู่บอร์ดเกม ย่อยงานวิชาการพร้อมเติมความสนุก

ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์เป็นประเด็นสำคัญที่ควรทำความเข้าใจและไม่ควรถูกละเลย แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าประเด็นดังกล่าวจะเน้นหนักไปทางวิชาการที่เข้าถึงและเข้าใจได้ไม่ง่ายนัก จนกลายเป็นถูกละเลยไปในที่สุด จะดีแค่ไหนถ้างานวิชาการที่ดูเหมือนเข้าใจยาก ถูกย่อยให้เข้าใจง่าย พร้อมเติมความสนุกในรูปแบบของ “บอร์ดเกม” ที่กำลังเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆ คน บอร์ดเกมชุด “นักสืบของอดีต” เป็นการต่อยอดจากโครงการวิจัย “มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์กับพลวัตทางวัฒนธรรมบนพื้นที่สูง ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ของ ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยมีศุภร ชูทรงเดช และวริศ โดมทอง เป็นผู้ออกแบบและพัฒนา เพื่อนำอดีตมาสร้างเป็นอนาคต และกระจายองค์ความรู้เข้าไปถึงคนทุกระดับโดยเฉพาะเยาวชน โดยบอร์ดเกมชุดนักสืบของอดีตนั้นจะนำเอาความรู้ทางวิชาการที่ได้จากการวิจัยดังกล่าวทั้งทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ มาจำแนก แยก ย่อย พร้อมนำเสนอใหม่ในรูปแบบของบอร์ดเกมที่เข้าถึงได้ง่าย น่าสนใจ และสนุก เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมากขึ้น “บอร์ดเกมเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการสื่อสารงานวิจัยที่ซับซ้อน นำไปสู่การเรียนรู้ที่เข้าถึงได้ง่าย ผ่านประสบการณ์ร่วมที่เกิดขึ้นระหว่างงานวิจัยและกลไกของเกมกระดาน และเป็นนวัตกรรมขนาดพกพาที่เสริมสร้างพฤติกรรมด้านการปะทะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนความคิด ลดช่องว่างระหว่างวัย และช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ของผู้เล่นในทุกระดับบนพื้นฐานของการเล่นแบบเผชิญหน้า ผ่านการใช้อุปกรณ์ที่จับต้องได้เป็นสื่อกลาง ซึ่งประสบการณ์ร่วมที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ผู้เล่นที่มาจากต่างถิ่นฐาน ต่างภาษา และต่างวัฒนธรรม เกิดความเข้าใจ

Read More

ถ้ำผีแมนโลงลงรัก-แหล่งโบราณคดีปางมะผ้า ขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์แห่งแม่ฮ่องสอน

เป็นเวลากว่าสองทศวรรษที่ทีมนักโบราณคดีและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา นำโดย ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช ร่วมกันขุดค้นแหล่งโบราณคดีตามถ้ำและเพิงผาต่างๆ ที่กระจายอยู่ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จนค้นพบหลักฐานสำคัญที่เป็นดั่งขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์ของแม่ฮ่องสอน “แม่ฮ่องสอน” เป็นจังหวัดเล็กๆ ทางชายแดนด้านตะวันตกของภาคเหนือที่ถูกจัดอันดับว่าเป็นจังหวัดที่มีรายได้ต่อครัวเรือนต่ำเกือบที่สุดของประเทศ และถูกมองว่าเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงยาก การสัญจรไปมาลำบาก ด้วยภูมิประเทศที่เป็นภูเขาเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กลับพบว่าแม่ฮ่องสอนกำลังมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในหลายๆ ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ที่เน้นให้การศึกษามีลักษณะของการสืบค้นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อเป็นฐานความรู้ในการพึ่งตนเอง และเพื่อสร้างอำนาจให้กับท้องถิ่นทั้งในเรื่องการจัดการทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจรัฐ ทำให้ช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา ได้เกิดโครงการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ขึ้นอย่างมากมายในหลายพื้นที่ของจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่มีมากกว่า 200 ชิ้น ซึ่งผลงานวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าแท้ที่จริงแล้วแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีความรุ่มรวยทั้งมรดกทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ที่สามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับจังหวัดได้ “โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน” งานวิจัยเชิงพื้นที่ระยะยาวที่บูรณาการศาสตร์ของโบราณคดี มานุษยวิทยา สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์เข้าไว้ด้วยกัน อันมี ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

Read More

นั่งร้านถล่ม กับสาเหตุเชิงวิศวกรรม

ศ. ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย และนักวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์นั่งร้านก่อสร้างโครงการ “วัน แบงค็อก” ถล่มเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 3 รายนั้น เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้เคยเกิดขึ้นมาหลายครั้ง และสร้างความสูญเสียด้านชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เข่น ตึกถล่มขณะกำลังก่อสร้างอาคาร 6 ชั้นที่ซอยรังสิตคลอง 6 เมื่อเดือนสิงหาคม 2557 และนั่งร้านก่อสร้างโรงฝึกกีฬา วิทยาลัยพลศึกษาที่จังหวัดกระบี่ถล่ม มีผู้เสียชีวิต 5 คน เป็นสตรีทั้งหมด เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2559 ในเชิงวิศวกรรม สาเหตุหลักของการวิบัติของนั่งร้านเหล็กอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น 1. คํ้ายันไม่เพียงพอระหว่างการก่อสร้าง ไม่สามารถรับน้ำหนักคอนกรีตระหว่างก่อสร้างได้ 2. การประกอบคํ้ายันไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง เช่น ขาดชิ้นส่วนค้ำยันทแยง

Read More

นักวิจัยชี้ระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวภาคเหนือทำไม่ได้ ห่วงการรับมือสึนามิยังขาดความตื่นตัว-อพยพไม่ทัน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศลาวและส่งผลให้หลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ จนเกิดกระแสในโลกโซเชียลติดอันดับ 2 ของทวิตเตอร์ประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 โดยส่วนหนึ่งได้กล่าวถึงการมีระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์มือถือเช่นเดียวกับในต่างประเทศนั้น ศ. ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวมีหลายรูปแบบ บางแบบจะไม่สามารถเตือนภัยได้ แต่บางรูปแบบอาจจะเตือนภัยได้แต่ก็เพียงไม่กี่สิบวินาทีก่อนเกิดการสั่นสะเทือนรุนแรง ในกรณีภาคเหนือของประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งส่งผลรุนแรงในระยะใกล้จุดศูนย์กลาง จึงเป็นแผ่นดินไหวในรูปแบบที่ไม่สามารถเตือนภัยได้ ส่วนกรณีของกรุงเทพมหานคร การสั่นสะเทือนจะเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีศูนย์กลางห่างไกลออกไปนับร้อยกิโลเมตร ในกรณีเช่นนี้มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว ซี่งอาจจะเตือนได้เพียง 10-20 วินาทีก่อนที่คลื่นแผ่นดินไหวจะวิ่งมาถึงกรุงเทพฯ ระยะเวลาเตือนภัยสั้น ๆ นี้จึงอาจไม่เพียงพอที่จะอพยพผู้คนออกจากอาคาร แต่อาจช่วยให้หลบเข้าที่ปลอดภัยได้ หรืออาจนำมาใช้ในการชะลอความเร็วของรถไฟความเร็วสูงที่จะมีในอนาคต เพื่อให้รถวิ่งช้าลงและไม่ตกรางจนเกิดอันตราย สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นมีหลายรูปแบบ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในเมืองโกเบเมื่อหลายสิบปีก่อน และแผ่นดินไหวที่จังหวัดคุมาโมโตะ เป็นแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางใกล้ตัวเมืองมาก จึงไม่สามารถเตือนภัยได้ เพราะคลื่นแผ่นดินไหววิ่งเร็วมากด้วยความเร็วประมาณ 3-6 กิโลเมตร/วินาที ทำให้คลื่นแผ่นดินไหววิ่งมาถึงตัวเมืองในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นมีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวในอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก ๆ ในทะเลที่อยู่ห่างจากชายฝั่งหลายร้อยกิโลเมตร

Read More