จากแรงส่งสู่แรงเฉื่อย รัฐหมดมุกกระตุ้นเศรษฐกิจ?
ปี 2017 กำลังเดินทางเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี ควบคู่กับการเป็นจุดเริ่มต้นของงบประมาณก้อนใหม่ ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่มีมูลค่ารวม 2.9 พันล้านล้านบาท หากแต่สถานการณ์โดยรวมทางเศรษฐกิจของไทยดูจะไม่ได้ดำเนินไปตามที่กลไกภาครัฐพยายามที่จะโหมประโคมว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวขึ้นแล้วมากนัก ตลอดปี 2017 ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐดูจะทุ่มเทความพยายามในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ การเร่งลงทุนในส่วนของรัฐวิสาหกิจ และการใช้นโยบายด้านภาษี ที่หลายฝ่ายเชื่อว่ามาตรการหลากหลายดังกล่าวได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องและเกินกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ ภายใต้แรงส่งจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดำเนินมาก่อนหน้า และทำให้ในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2017 หรือในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ไม่จำเป็นต้องนำเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใดๆ อีก ตรรกะวิธีคิดดังกล่าวในด้านหนึ่งเป็นผลจากกระบวนทัศน์ที่ฝากความหวังไว้กับการเบิกจ่ายงบลงทุนจากเงินงบประมาณประจำปีงวดใหม่ ที่เป็นงบประมาณขาดดุล ที่เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐและเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เศรษฐกิจไทยในช่วงท้ายของปีกระเตื้องขึ้นอีก ตัวเลขประมาณการภาพรวมเศรษฐกิจถูกนำมาอ้างอิงอย่างต่อเนื่องในฐานะภาพสะท้อนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาโดยต่างระบุว่า เศรษฐกิจไทยได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากผลของการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเกินกว่าที่ประมาณการไว้และอาจทำให้ตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปรับไปสู่ร้อยละ 3.8 จากเดิมที่ประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้ที่ระดับร้อยละ 3.4 เท่านั้น ความมั่นใจของกลไกภาครัฐจากความสำเร็จในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว ที่ดำเนินผ่านตัวเลขทางเศรษฐกิจในด้านหนึ่งกลับสะท้อนความตีบตันของมาตรการที่จะนำเสนอในอนาคต เพราะในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาจะดีขึ้น แต่ในภาพที่เล็กลงไปในระดับจุลภาค ผลของเศรษฐกิจกลับมีแนวโน้มไปในทิศทางตรงกันข้าม หรือได้รับผลอย่างไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ยังเผชิญความยากลำบาก และเป็นประเด็นที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องคำนึงและให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง มาตรการของภาครัฐที่มีรูปธรรมในทางปฏิบัติล่าสุด ในนามของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่เรียกขานโดยทั่วไปว่าบัตรสวัสดิการคนจน ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ในด้านหนึ่งได้สะท้อนข้อเท็จจริงที่ว่าสังคมไทยยังมีผู้มีรายได้น้อยมาขึ้นทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการดังกล่าวมากถึง 10-14 ล้านคน ซึ่งดูเหมือนว่าความมุ่งหมายที่จะนำพาประเทศไทยให้ “ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง”
Read More