Home > เครือสหพัฒน์ (Page 4)

สหพัฒน์ ลุยสถาบันยุทธศาสตร์ ปั้น “ทายาทธุรกิจ” แก้ปัญหา “คน”

  ตระกูล “โชควัฒนา” กลายเป็นหนึ่งใน 21 คนไทยที่ถูกกระแสข่าวเชื่อมโยงเป็นลูกค้าของบริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมายและการลงทุนในปานามา “มอสแซค ฟอนเซกา” จากเอกสาร “ปานามาเปเปอร์” ซึ่งบอกกล่าวการฟอกเงินกว่า 11.5 ล้านฉบับ กลุ่มลูกค้ามีทั้งผู้นำและอดีตผู้นำประเทศ นักธุรกิจ กลุ่มเศรษฐี คนดังในวงการบันเทิงและกีฬา  ล่าสุด บุญเกียรติ โชควัฒนา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในเครือสหพัฒน์ออกมาปฏิเสธและยืนยันหนักแน่นไม่มีเอี่ยวแน่นอน คำถามเกิดขึ้นทันที พร้อมๆ กับการไล่ตรวจสอบข้อมูลหลักฐาน ทั้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กรมสรรพากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ต้องยอมรับว่า เครือสหพัฒน์ชูภาพลักษณ์ความเป็นองค์กรธุรกิจแห่งความซื่อสัตย์มาตลอด ผู้บริหารประกาศเจตนารมณ์กับสื่อทุกครั้งว่าจะไม่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอบายมุข และที่น่าสนใจก็คือ เครือสหพัฒน์เพิ่งจัดตั้ง “สถาบันยุทธศาสตร์ธุรกิจเชิงบวก (Institute of Strategic and Appreciative Business) หรือ I-SAB” โดยหมายมั่นปั้นให้เป็นสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีทั้งคุณภาพและคุณธรรมตามแนวทางของผู้ก่อตั้งอย่าง ดร. เทียม โชควัฒนา ซึ่งมีปรัชญาคุณธรรมถึง 100

Read More

“มาม่า” พลิกกลยุทธ์ บุก “ราเมน” สู้วิกฤต

 การเปิดตัวธุรกิจร้านอาหารราเมนญี่ปุ่น “KAIRI KIYA (ไคริคิยะ)” ของ “ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์” เป้าหมายหนึ่งเป็นการเปิดกลยุทธ์แก้พิษเศรษฐกิจและปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูง ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มรากหญ้าอย่างจังจนภาพรวมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท เติบโตติดลบ และยอดขาย “มาม่า” เติบโตต่ำสุดในรอบ 42 ปี “มาม่า ซองละ 6 บาท ราเมน ชามละ 150 บาท เพิ่มมูลค่าตัวนี้ดีกว่า!!” เวทิต โชควัฒนา ในฐานะกรรมการรองผู้อำนวยการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) และกรรมการบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” กล่าวกับ “ผู้จัดการ360  ํ”  แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบสถานการณ์การเติบโตทางธุรกิจ เวทิตยอมรับว่าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือ “บะหมี่ซอง” ราคาซองละ 6 บาท มีลูกค้าระดับรากหญ้าเป็นกลุ่มหลักและเป็นสินค้าทั่วไปที่แมสมากๆ  แม้มาม่าพยายามใช้กลยุทธ์เพิ่มมูลค่าสินค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น ออกสินค้ากลุ่มพรีเมียมอย่างมาม่าราเมง บะหมี่อบแห้ง “เมนดาเกะ”

Read More

WB Organic Farm ธุรกิจสีเขียวของ “สหพัฒน์”

  สหพัฒน์ใช้เวลากว่า 5 ปี ผ่าตัด “แพนเอเซียฟุตแวร์” ยกเครื่องธุรกิจผลิตรองเท้า ซึ่งเป็นกิจการดั้งเดิมตั้งแต่ยุคนายห้างเทียม โชควัฒนา ปรับกระบวนทัพพลิกสถานการณ์จาก “ขาดทุน” เริ่มเห็น “กำไร” และตั้งเป้าให้เป็นหัวขบวนบุกธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยประเดิมเปิดฉากรุกตลาดผลิตภัณฑ์ผักออร์แกนิก “WB Organic Farm” เป็นหัวขบวนแรก ก่อนหน้านี้ ในช่วงการปรับโครงสร้างองค์กรและคณะกรรมการบริหารบริษัทอยู่ระหว่างพิจารณาการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่สร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืน มีกระแสข่าวว่า เครือสหพัฒน์มีการเสนอและศึกษาแผนการลงทุนธุรกิจใหม่ 2-3 ธุรกิจ โดยหนึ่งในนั้นน่าจะเป็นธุรกิจพลังงานทดแทน เนื่องจากมีบริษัทในเครือ คือ  บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) หรือ SCG เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำ มีบริษัทภายใต้การบริหาร 3 แห่ง มีกำลังติดตั้งมากกว่า 200 เมกะวัตต์ ได้แก่ โรงไฟฟ้าศรีราชา โรงไฟฟ้าลำพูน และโรงไฟฟ้ากำแพงเพชร  ขณะเดียวกันมีกลุ่มทุนใหม่สนใจเข้าร่วมลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากสหพัฒน์มีที่ดินและพื้นฐานการดำเนินธุรกิจด้านพลังงาน รวมทั้งมีโอกาสทำรายได้และกำไรสูง  แต่อาจเป็นเพราะนโยบายด้านพลังงานของรัฐไม่นิ่งหรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยังไม่พ้นจุดเสี่ยงทำให้การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ถูกพับเก็บไว้ก่อน  สุนทรา ฐิติวร ผู้จัดการฝ่ายบริหารธุรกิจ บริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์

Read More

โจทย์ใหญ่ ลอว์สัน เมื่อคนไทยติดสไตล์ “เซเว่นฯ”

 ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น สาขาแรกในประเทศไทยเปิดตัวเมื่อปี 2532 เริ่มต้นหมุดตัวแรกหัวมุมถนนพัฒนพงศ์ ก่อนขยายเข้าปั๊มน้ำมัน ปตท. ทั่วประเทศ จนถึงล่าสุดเจาะเข้าสู่ทุกชุมชนมากกว่า 7,800 สาขา และตั้งเป้าขยายครบ 10,000 สาขาในปี 2561 กลายเป็นคอนวีเนียนสโตร์ที่ฝังรากลึกกับลูกค้าคนไทยนานกว่า 25 ปี  ที่สำคัญ สร้างพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งนั่นคือโจทย์ข้อใหญ่ที่คู่แข่ง ทั้ง “แฟมิลี่มาร์ท” และ “ลอว์สัน 108” ของเครือสหพัฒนฯ ยอมรับว่า “ยากที่สุด” อย่างที่ เวทิต โชควัฒนา กรรมการรองผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ ผู้จัดการ 360 ํ ว่า คนไทยติดสไตล์ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น มากเกินไป  ก่อนหน้านี้ เครือสหพัฒนฯ พยายามปลุกปั้นร้านสะดวกซื้อ “108 ช็อป” โดยหวังให้เป็นมินิเอาท์เล็ตกระจายสินค้าในเครือและดึงชุมชน ผู้ประกอบการรายกลางรายย่อยหรือเอสเอ็มอี สร้างพลังต่อรองกับกลุ่มซูเปอร์สโตร์ต่างชาติที่สยายปีกทั่วทุกมุมเมือง แต่ไม่สามารถแข่งขันเจ้าตลาด ต้องปรับตัว

Read More

“บุณยสิทธิ์” ส่งต่อ “เจน 3” ผลัดยุคลุยขยายอาณาจักร

 บุณยสิทธิ์  โชควัฒนา ใช้เวลา 2 ปี ปรับกระบวนทัพครั้งใหญ่ในเครือสหพัฒนฯ ทั้งโละสินค้า ปิดโรงงาน สกัดจุดอ่อนและเพิ่มจุดแข็ง เหตุผลไม่ใช่แค่ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจที่ฉุดกระชากยอดขายโตต่ำสุดในรอบหลายสิบปี แต่เร่งติดอาวุธรับศึกรอบใหม่ ต่อสู้กับแบรนด์ต่างชาติและผลักดันบริษัทในเครือกว่า 300 บริษัทบุกแนวรบโกลบอลมาร์เก็ตสู่เป้าหมายใหญ่ตั้งแต่ปี 2557 เปลี่ยนจาก “เกียร์สโลว์” เดินหน้าใส่ “เกียร์ 5” ดัน “โชควัฒนา” รุ่นที่ 3 ขึ้นมาเป็นหัวหอกหลักขับเคลื่อนธุรกิจเต็มรูปแบบ สัญญาณภาพจากการแถลงข่าวงานแสดงสินค้าเครือสหพัฒนฯ ครั้งที่ 18  โดย 3 ทายาทหลัก คือ เวทิต โชควัฒนา กรรมการรองผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้บริหารธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่าร้อยแบรนด์ ลุยธุรกิจค้าปลีก ทั้ง “108 ช็อป” และ “ลอว์สัน 108”  ธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้ช่วยผู้อำนวยการบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล

Read More

สหพัฒน์: ขับเคลื่อนเพื่ออยู่รอด

 การขับเคลื่อนธุรกิจในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาของเครือสหพัฒนฯ ยักษ์ใหญ่แห่งวงการผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภค ที่มีบริษัทในเครือ 300 กว่าบริษัท ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคเกือบทุกหมวดในชีวิตประจำวันมากกว่า 30,000 รายการ จากกว่า 100 แบรนด์ นอกจากเป็นการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านสินค้าแล้ว ยังเป็นการปรับโครงสร้างธุรกิจ รุกคืบเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกอย่างเต็มระนาบ เพื่อสร้างจุดแข็งและจุดขายใหม่ให้กับองค์กร เป็นการเคลื่อนไหวที่น่าจับตา ความพยายามก้าวเท้าเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกที่สำคัญมากก้าวหนึ่งของสหพัฒนฯ ก็คือการร่วมเปิดสถานี SHOP CH เพื่อจำหน่ายสินค้าผ่านทางช่องทีวีดาวเทียม ที่ข้ามพ้นข้อจำกัดของเวลา เพราะเปิดส่งสัญญาณให้ได้ซื้อขายกันตลอด 24 ชั่วโมง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับข้อเท็จจริงที่ว่า พันธมิตรทางธุรกิจที่ประกาศความร่วมมือกันในครั้งนั้น ปรากฏชื่อของ บริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีโครงข่ายธุรกิจกว้างขวางและเป็นผู้ผลิตรายการทีวีชอปปิ้งอันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่น การรุกเข้าสู่ธุรกิจทีวีชอปปิ้งของสหพัฒนฯ จึงเป็นประหนึ่งการยืนอยู่บนสปริงบอร์ดที่พร้อมทะยานไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว แม้ทีวีชอปปิ้งจะเป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้าที่น่าสนใจมากๆ แต่ขณะเดียวกัน ทีวีชอปปิ้งย่อมไม่ใช่คำตอบที่หนักแน่นคำตอบเดียวสำหรับสหพัฒนฯ ที่ต้องการรุกคืบไปข้างหน้าอย่างมั่นคงในระยะยาว โดยยังไม่ได้กล่าวถึง บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ในฐานะพันธมิตรร่วมค้าอีกรายของสหพัฒนฯ ใน SHOP CH

Read More

“ลอว์สัน 108” กับ “นัยยะ” ที่มีต่อสหกรุ๊ป

 ปี 2556 นับเป็นปีที่ธุรกิจค้าปลีกมีความตื่นตัวอย่างมาก แบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มค้าปลีกขนาดเล็ก อย่างร้านสะดวกซื้อ มินิซูเปอร์มาร์เก็ต และสเปเชียลตี้ สโตร์ (Special store) ที่ทยอยเปิดแบรนด์ใหม่ และเปิดร้านใหม่ไม่ขาดสายล่าสุด ต้นเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ร้านสะดวกซื้อแบรนด์ “ลอว์สัน 108” เพิ่งจัดงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการ หลังจากเปิดบริการไปแล้ว 15 สาขาในกรุงเทพฯ โดยงานนี้ได้ประธานเครือสหพัฒน์ “บุญยสิทธิ์ โชควัฒนา” และหัวเรือใหญ่แห่งลอว์สัน อิงค์ “ทาเคชิ นินามิ” มาร่วมเป็นเจ้าภาพงานเปิดตัวครั้งนี้ ณ ร้านลอว์สัน 108 สาขาเอ็มโพริโอเพลส สุขุมวิท 24 ร้านสาขาล่าสุดในช่วงเวลาไม่ถึง 5 เดือน เครือสหพัฒน์ได้ทำการเปิดแบรนด์ใหม่ในธุรกิจค้าปลีกไปแล้วถึง 3 แบรนด์ โดยก่อนหน้านี้ “ลอว์สัน 108” เครือสหพัฒน์เพิ่งเปิดโครงการ “เจพาร์ค” คอมมูนิตี้มอลล์แห่งแรกของกลุ่ม และ “ซูรูฮะ”

Read More

เปิดโครงการ “เจพาร์ค” สหพัฒน์ระดม “แม็กเน็ต” พรึ่บ

 บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ปักหมุดตัวแรกเปิดตัวโครงการ “เจพาร์ค” เพื่อเร่งเครื่องยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนธุรกิจครั้งใหม่ของเครือสหพัฒน์ การรุกสู่ธุรกิจค้าปลีกแบบเต็มระนาบ ตั้งแต่การขยายเครือข่ายคอนวีเนียนสโตร์ “ลอว์สัน 108” และ “108 ช็อป” ปูพรมดรักสโตร์ “ซูรูฮะ” กระจายร้านจำหน่ายสินค้าในเครือ ไอ.ซี.ซี. “His&Her” และล่าสุด ผุดบิ๊กโปรเจ็กต์ คอมมูนิตี้มอลล์สไตล์ญี่ปุ่น ที่ตั้งเป้าสร้าง “เจแปนทาวน์” รองรับกลุ่มนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นในเขตอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นนักลงทุนต่างชาติติดอันดับ 1 ในไทยมาอย่างยาวนานตามแผนเบื้องต้น โครงการเจพาร์คศรีราชา 2 เฟสแรก มีพื้นที่รวม 22 ไร่ เงินลงทุนประเดิม 800 ล้านบาท โดยรูปแบบโครงการจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ศูนย์การค้า แหล่งชอปปิ้งรวมร้านค้าทั้งของไทยและญี่ปุ่น ร้านอาหารญี่ปุ่น คอนโดมิเนียม เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน ศูนย์การศึกษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น  ซึ่งมีสถานศึกษาในเครือสหพัฒน์ คือ โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ และสถาบันแฟชั่นระดับโลกของประเทศญี่ปุ่น “บุนกะแฟชั่น”

Read More

บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา จากทฤษฎีการบินสู่ธุรกิจแสนล้าน

 บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา เสี่ยใหญ่แห่งเครือสหพัฒน์ ชื่นชอบการขับเครื่องบินเป็นชีวิตจิตใจ ขับมานานมากกว่า 20 ปี จนทุกวันนี้ แม้อายุทะลุเพดานตัวเลข 75 เสี่ยยังขับเครื่องบินไปดูงาน พานักธุรกิจเยี่ยมชมสวนอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นสวนอุตสาหกรรมที่ศรีราชา กบินทร์บุรี ลำพูน แม่สอด รวมถึงการเดินทางไปเยี่ยมคู่ค้าในช่วงวันหยุดยาว สะสมชั่วโมงบินนับหลายพันชั่วโมง ทั้งความชอบ ความหลงใหล และประสบการณ์การขี่นกเหล็กบนเวิ้งฟ้า บุณยสิทธิ์เปรียบเทียบ ทุกนาทีไม่ต่างอะไรจากการทำธุรกิจ เพราะทุกช่วงจังหวะต้องรอบคอบ อาศัยมุมมองหลายมิติ ไม่ใช่แค่ 2 มิติ และที่สำคัญ  “พลาดไม่ได้” “การขับเครื่องบินต้องระมัดระวังที่สุด เมื่อเครื่องบินเมื่อขึ้นสู่ท้องฟ้าจะหยุดเหมือนรถยนต์ไม่ได้ ต้องไปให้ถึงที่หมาย การค้าขายทำธุรกิจก็เหมือนกัน ต้องศึกษาทุกอย่าง เพราะถ้าทำแล้วไม่ดีก็คือพัง ถ้าเราขับเครื่องบิน ต้องเตรียมพร้อม ต้องไปให้ทัน ไปถึงที่หมาย การทำการค้าขายต้องทำให้สำเร็จ ถึงปลายทางให้ได้ ไม่ใช่ครึ่งๆกลางๆ ทำไม่ได้ ก็คือ เจ๊ง นี่คือทฤษฎี” บุณยสิทธิ์กล่าวกับ ผู้จัดการ360 ํ และนั่นต้องถือว่า ทฤษฎีการบินแท้ที่จริงเป็นเคล็ดลับสำคัญข้อหนึ่งนอกเหนือจากคำสอนของพ่อที่ทำให้ทุกย่างก้าวของการสร้างอาณาจักรแสนล้านของเครือสหพัฒน์เดินไปอย่างมั่นคง ขยายบริษัทในเครือมากกว่า

Read More

สหพัฒน์ปรับยุทธศาสตร์ “เกียร์สโลว์” ฝ่าวิกฤต

 ปี 2556 อาจเป็นปีที่เครือสหพัฒน์ต้องเจอมรสุมเศรษฐกิจลูกใหญ่อีกครั้ง โดยเฉพาะปัญหา “กำลังซื้อ” ที่ประเมินผิดพลาด จากเดิมคาดการณ์ว่าจะพุ่งสูงจากการขึ้นค่าแรง 300 บาท และนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาล บวกกับธุรกิจส่งออกได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินบาทแข็งค่า จนกระทั่งบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ ต้องประกาศแผน “เกียร์สโลว์” เป็นแนวนโยบายให้บริษัทในเครือกว่า 300 บริษัท ชะลอการลงทุนโครงการใหม่และรอจังหวะรุกในปีหน้า แน่นอนว่า วิกฤตครั้งนี้ส่งผลโดยตรง ไม่ใช่แค่เป้าหมายยอดขายเติบโตต่ำสุดในรอบหลายสิบปี ไม่เกิน 5% จากปกติอยู่ในระดับ 10-20% ต้องชะลอด้านการส่งออก ปิดโรงงานบางแห่ง แต่ยังกดดันให้บริษัทในเครือสหพัฒน์ต้องรีบยกเครื่องครั้งใหญ่และปรับโครงสร้างผลักดันผู้บริหารรุ่นใหม่เข้ามาเสริมความแข็งแกร่ง เพื่อรองรับการแข่งขันในสงครามธุรกิจที่รุนแรงขึ้นและมีทุนต่างชาติเข้ามามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องถือว่า เครือสหพัฒน์ขยายอาณาจักรครอบคลุมธุรกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคเกือบทุกหมวดในชีวิตประจำวันมากกว่า 30,000 รายการ จากกว่า 100 แบรนด์ ตั้งแต่กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องสำอาง เสื้อผ้าตั้งแต่หัวจรดเท้า รองเท้า เครื่องหนัง ทุกเพศทุกวัย การขับเคลื่อนธุรกิจในช่วง 2-3 ปี นอกจากการพัฒนานวัตกรรมด้านสินค้าแล้ว สหพัฒน์ยังพยายามวางเครือข่ายค้าปลีก เพื่อสร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้าของตัวเอง

Read More