Home > อสังหาริมทรัพย์ (Page 12)

เพอร์เฟค เผยยอดโอนไตรมาสแรก ทำได้ดีกว่าคาด พร้อมรุกการตลาดเต็มรูปแบบ ดีเดย์ 1 พ.ค.นี้

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เตรียมแผนรุกทำการตลาดเต็มรูปแบบ เริ่ม 1 พฤษภาคมนี้ หลังสถานการณ์ โควิด-19 มีแนวโน้มดีขึ้น ที่ผ่านมามีมาตรการดูแลลูกค้าอย่างดีและยังทำยอดขายได้ต่อเนื่อง เผยผลงานไตรมาสแรกคาดว่าจะมียอดโอน 2,900 ล้านบาท ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ และยังจะมีรายได้ต่อเนื่องเข้ามาในเดือนเมษายน พร้อมเตรียมวงเงินไว้แล้วเพื่อชำระคืนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนมิถุนายนนี้ นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แม้ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดอย่างรุนแรงของไวรัสโคโรนา เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสแรกของปี อย่างไรก็ดี ผลการดำเนินงานของบริษัทไตรมาส 1/2563 เป็นไปในทิศทางที่ดีกว่าที่ประมาณการไว้ โดยคาดว่าจะมียอดโอนกรรมสิทธิ์บ้านและคอนโดประมาณ 2,900 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาซึ่งทำได้ 3,733 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 22% ภาพรวมในไตรมาสแรกบริษัทมียอดโอนเพิ่มขึ้นทุกเดือน และคาดว่าในเดือนเมษายนยังจะมียอดโอนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เพราะแม้ว่าเดือนเมษายนจะมีมาตรการล็อคดาวน์ แต่บริษัทยังสามารถทำยอดขายได้เป็นที่น่าพอใจ และเน้นย้ำในมาตรการป้องกันและดูแลลูกค้าให้ปลอดภัยและสะดวกสบายในช่วงที่มีการระบาดของไวรัส อาทิ การเปิดจุดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคราคาพิเศษในสโมสร ดำเนินการโดยออลล์ดีเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการไปจับจ่ายในห้างสรรพสินค้า การมอบประกันโควิด-19 ให้กับลูกค้า การทำความสะอาดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมด การตรวจคัดกรองบุคคลเข้าโครงการ เป็นต้น "ด้านภาพรวมโครงการยังได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้า

Read More

บิ๊กอสังหาฯ ลุยฝ่าด่าน ลุ้นครึ่งปีหลังฟื้นไข้

บิ๊กอสังหาริมทรัพย์ ค่าย “เอพี” ตัดสินใจเดินหน้าถ่ายทอดสดงานแถลงข่าว แผนปักธงลาดพร้าว ประกาศส่งมอบคอนโดมิเนียมโครงการใหม่ “ไลฟ์ ลาดพร้าว” ผ่าน FACEBOOK LIVE เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา ท่ามกลางปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “โควิด-19” ที่มีทั้งยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะยืนยันเชื่อมั่นว่า สถานการณ์ประเทศไทยจะค่อยๆ ฟื้นไข้ในครึ่งปีหลัง แน่นอนว่า วิกฤตรอบนี้ที่หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง ยิ่งกว่าแฮมเบอร์เกอร์ไครซิส ถือเป็นโจทย์ยากในการกระตุ้นความต้องการและความมั่นใจ แต่หากประเมินข้อมูลต่างๆ ยังมีปัจจัยบวก ซึ่งล่าสุด ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ออกมาประเมินภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์หลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ปรากฏว่า ในไตรมาส 1 ปี 2563 ตัวเลขการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย มีจำนวน 77,500 หน่วย ลดลง 11% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2562 ที่มี 86,855 หน่วย มูลค่าโอน 180,000

Read More

คอนโดฯ ป่วนยอดติดเชื้อ “บ้านเดี่ยว” มาแรงฮุบตลาด

ข้อมูลผู้ติดเชื้อไวรัส “โควิด-19” ในคอนโดมิเนียมบางแห่งที่มีการส่งต่อกันผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย บวกกับกระแสข่าวกลุ่มวัยรุ่นคึกคะนอง นักท่องเที่ยวต่างชาติ แอบรวมตัวกันจัดปาร์ตี้ หลังรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ตั้งแต่เวลา 4 ทุ่ม-ตี 4 ปิดสถานบันเทิงทุกแห่งทั่วประเทศ สร้างความตื่นกลัวและกำลังเป็นจุดเปลี่ยนทำให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์พลิกเกมหันมารุกตลาดบ้านเดี่ยวรองรับมาตรการ Social Distancing มากขึ้น ขณะเดียวกันภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์เจอปัจจัยลบเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2562 ทั้งปัญหากำลังซื้อลดลงจากวิกฤตหนี้ครัวเรือนจนถูกธนาคารปฏิเสธสินเชื่อ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ที่เข้มงวดมากขึ้น และปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ส่งผลให้กลุ่มลูกค้าต่างชาติหายไปเกือบ 100% แน่นอนว่า ตลาดคอนโดมิเนียมโดนผลกระทบรอบด้าน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพราะมีโครงการคอนโดมิเนียมหนาแน่น ซึ่งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เคยประเมินเมื่อช่วงต้นปี 2563 คาดตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลน่าจะทรงตัวหรือบวกเพียงเล็กน้อย แต่ล่าสุดฟันธงจะติดลบ 10% โดยคอนโดมิเนียมติดลบมากสุด จากปี 2562 ที่มีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียม 98,000 หน่วย จะลดลงเหลือ 89,000 หน่วย ส่วนที่อยู่อาศัยแนวราบจะใกล้เคียงปีก่อน

Read More

รุกโซเชียลมีเดียสู้วิกฤต ออนไลน์บุ๊กกิ้ง ขายบ้าน ขายรถ

ยุควิกฤตโควิด-19 ที่ต้องคุมเข้มมาตรการ Social Distancing รักษาระยะห่างทางสังคม ทำให้ช่องทางออนไลน์กลายเป็นกลยุทธ์สำคัญของทุกธุรกิจ ทั้งการจัดอีเวนต์ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ ประชุมออนไลน์ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งสงครามโปรโมชั่นของกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ ขายบ้าน ขายรถ ชนิดที่เรียกว่า สังคมยุคใหม่ การจองซื้อคอนโดมิเนียมหลักล้าน ไม่ต่างอะไรกับการคลิกสั่งพิซซ่าสักถาด เพราะหากเข้าถึงลูกค้าที่มีกำลังซื้อได้มากเท่าไร ยิ่งหมายถึงโอกาสสร้างยอดขายเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งทุกบริษัทยังมั่นใจถึง Real Demand และเป็นความต้องการที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ขึ้น หลังเจอบทเรียนการป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัส โควิด-19 ขณะเดียวกัน สื่อโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ เริ่มมีกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์และยานยนต์เข้ามาใช้เป็นสื่อโฆษณาเจาะกลุ่มลูกค้ามากขึ้น จนถือเป็นกลุ่มผู้ซื้อสื่อหลักแซงหน้ากลุ่มอื่นๆ ทั้งนี้ หากคลิกดูความเคลื่อนไหวของโซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊ก ในแต่ละวัน จะเห็นโพสต์โฆษณาของบริษัทยักษ์ใหญ่เกือบทุกแบรนด์ เด้งขึ้นมาให้เห็นต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง อย่างโพสต์ขายโครงการคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ Aspire งามวงศ์วานของค่ายเอพี (ไทยแลนด์) โครงการ นิช โมโน รามคำแหง ของค่ายเสนาดีเวลลอปเมนท์ โครงการบ้านเดี่ยวสไตล์ญี่ปุ่น โนเบิล เกเบิล คันโซ

Read More

มาตรการภาครัฐ กู้วิกฤตอสังหาไทย?

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของศักราชนี้ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ มักจะจัดงานระดมสมองวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ที่กำลังอุบัติขึ้น อีกทั้งมีการคาดคะเนสิ่งต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อหาแนวทางการรับมือหรือวางแผนการทำงานในศักราชถัดไป แวดวงอสังหาริมทรัพย์ไทยก็เช่นกัน สมาคมที่เกี่ยวกับอสังหาฯ ต่างจัดงานเสวนาเพื่อถกประเด็นและร่วมแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์ผู้ประกอบการและผู้บริโภค เมื่อปัจจุบันแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยของไทยเรียกได้ว่าอยู่ในสภาวะชะลอตัวจนอาจถึงขั้นถดถอย หากจะว่ากันตามจริงตลาดอสังหาฯ ส่งสัญญาณชะลอตัวตั้งแต่ปีก่อน ทว่าความชัดเจนกลับปรากฏชัดในปีนี้ ซึ่งเป็นห้วงยามที่สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและทั่วโลกอยู่ในภาวะที่ต่างต้องหาทางออกเพื่อให้พ้นวิกฤตไม่ต่างกัน จนบรรดาผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยต่างปรับเป้ายอดขายรวมไปถึงผลกำไรที่คาดหวังลง กระนั้นหลายค่ายก็ยังบอกว่าสถานการณ์ธุรกิจของตนยังไม่ย่ำแย่ เพียงแต่มีกำไรลดลงเท่านั้น หากจะพิจารณาจากจำนวนยูนิตเหลือขายที่ยังคงค้างอยู่ในตลาดเวลานี้ คือ 152,149 ยูนิต คำว่า “กระอัก” อาจเหมาะสมที่สุด เมื่อตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงยอดที่ถูกสำรวจจากพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นเพียงยอดจากการคำนวณแค่ครึ่งปีแรกอีกด้วย จากจำนวนยูนิตที่เหลือดังกล่าว สามารถแบ่งเป็นยอดบ้านแฝด 10,952 ยูนิต หรือ 7.2 เปอร์เซ็นต์ บ้านเดี่ยว 25,717 ยูนิต หรือ 16.5 เปอร์เซ็นต์ ทาวน์เฮาส์ 47,946 ยูนิต หรือ 31.5 เปอร์เซ็นต์ อาคารชุด 64,969 ยูนิต หรือ 42.7 เปอร์เซ็นต์ และอื่นๆ 3,111

Read More

เบรกแอลทีวี-ลดซัปพลายใหม่ ทางออกโค้งสุดท้ายอสังหาฯ ไทย?

งานมหกรรมบ้านและคอนโดดูเหมือนจะสามารถเช็กสัญญาณความเป็นไปในอนาคตอันใกล้ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ว่าต่อจากนี้แวดวงอสังหาฯ จะขับเคลื่อนไปในทิศทางเช่นใด หลังจบงานมหกรรมบ้านและคอนโดครั้งที่ 41 คำตอบที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด และไม่แตกต่างจากการคาดคะเนของศูนย์วิจัยทางเศรษฐกิจเท่าใดนัก เพราะนอกจากทิศทางเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศยังประสบกับภาวะชะลอตัวซึ่งส่งผลต่อการตัดสินซื้อโดยตรงแล้ว ยังมีเงื่อนไขและเหตุผลอีกหลายมิติประกอบเข้าด้วยกัน จนทำให้สถานการณ์ของธุรกิจอสังหาฯ ไม่สามารถขยับขยายไปได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จนทำให้ผู้ประกอบการบางรายต้องหากลยุทธ์เพื่อประคับประคองให้สามารถฝ่าฟันมรสุมในครั้งนี้ไปได้ ซึ่งอาจจะดีกว่าเฝ้ารอให้วิกฤตทางเศรษฐกิจคลี่คลายไปได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจากการเปิดเผยข้อมูลของ วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พบว่า ตลาดอสังหาฯ อยู่ในภาวะติดลบทั้ง 3 ไตรมาส คาดการณ์ว่ายอดโอนกรรมสิทธิ์ในจำนวนหน่วยติดลบ 7.7 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดเป็นมูลค่าติดลบ 2.7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่ที่อยู่อาศัยแนวตั้งพบตัวเลขติดลบสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน ซึ่งตลาดคอนโดมิเนียมในไตรมาสแรกติดลบ 14 เปอร์เซ็นต์ ไตรมาสสอง ติดลบ 20 เปอร์เซ็นต์ และไตรมาสสาม ติดลบ 14 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังคาดการณ์ว่าในไตรมาสสุดท้ายของปีอาจจะติดลบที่ 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาจากจำนวนหน่วยเหลือขาย หรือสินค้าที่วางแผนก่อสร้างและเปิดตัวและสร้างเสร็จสูงกว่าปีก่อน มีจำนวนมากถึง 1.5 แสนยูนิต และตัวเลขของปี 2561 อยู่ที่ 1.3 แสนยูนิต ตัวเลขเหล่านี้อาจจะสามารถชี้ชัดได้ว่า

Read More

กรุงเทพฯ รั้งอันดับ 86 ค่าเช่าสำนักงานที่แพงที่สุดในโลก

จากรายงานค่าเช่าพื้นที่สำนักงานชั้นนำทั่วโลก (Global Prime Office Occupancy Costs) ฉบับล่าสุดซึ่งจัดทำโดยแผนกวิจัย ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก พบว่า จากการสำรวจอาคารสำนักงานชั้นนำใน 122 เมืองทั่วโลก ค่าเช่าพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพมหานครอยู่ในอันดับที่ 86 ของโลก โดยมีค่าเช่าเฉลี่ยของสำนักงานชั้นนำอยู่ที่ 1,208 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน และอยู่ในอันดับที่ 46 ของตลาดอาคารสำนักงานที่มีการเติบโตในด้านค่าเช่าต่อปี ผู้เช่าพื้นที่สำนักงานยังคงมองหาพื้นที่คุณภาพสูงในเมืองที่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งและมีสิ่งอำนวยความสะดวกแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะยังคงชะลอตัวในช่วงไตรมาส 1 ปี 2562 และยังมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน นอกจากนี้ การแข่งขันเพื่อดึงดูดพนักงานที่มีความสามารถด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าทำงานยังคงมีความรุนแรง และเนื่องจากในเมืองต่างๆ มีปริมาณพื้นที่สำนักงานจำกัดและมีการก่อสร้างอาคารสำนักงานใหม่ๆ ไม่มากนัก จึงทำให้ค่าเช่าพื้นที่สำนักงานชั้นนำทำสถิติพุ่งสูงขึ้นโดยตลอด ค่าเช่ายังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าผู้เช่าทั่วโลกจะให้ความสำคัญอย่างมากกับการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจัดการต้นทุนเป็นอันดับต้นๆ ความท้าทายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้เช่าคือการเป็นเจ้าของพื้นที่สำนักงานที่มีคุณภาพและตั้งอยู่ในทำเลที่ตอบสนองความต้องการต่างๆ ของพนักงานที่มีมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายไปด้วย ซึ่งการพิจารณาว่าพื้นที่นั้นๆ สามารถส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพและสร้างประสบการณ์ในการใช้งานได้ดีกว่าหรือไม่นั้นได้กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความสำคัญมากขึ้น ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดอื่นในโลก โดยอาคารสำนักงานชั้นนำระดับเกรดเอที่ดีที่สุดในย่านใจกลางธุรกิจหรือซีบีดีที่มีอยู่ไม่มากนั้น สามารถปล่อยเช่าได้ในราคาที่สูงกว่าค่าเช่าเฉลี่ยอย่างเห็นได้ชัด อาคารเหล่านี้ไม่เพียงอยู่ในทำเลชั้นเยี่ยมแต่ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่าอาคารอื่นที่เป็นคู่แข่ง เช่น ระบบปรับอากาศ ลิฟต์ ประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย อาคารสำนักงานที่สามารถปล่อยเช่าได้สูงสุดในกรุงเทพฯ คือ อาคารเกษรทาวเวอร์ ที่ราคา

Read More

แสนสิริเปิดศึกกรีนมิชชั่น บูมกลยุทธ์ “บ้านปลอดฝุ่น”

ค่าย “แสนสิริ” ออกมาเปิดเกมพลิกวิกฤต “ฝุ่นพิษ” เป็นโอกาสรุกธุรกิจครั้งใหม่ โดยเฉพาะการประกาศย้ำวิสัยทัศน์ For Greater Well-being ตลอดปี 2562 เพื่อต่อยอด 2 แนวคิดหลัก Green & Well-being มาประยุกต์ใช้กับทุกโครงการใหม่ หลังจากช่วงหลายปีที่ผ่านมาขึ้นชั้นเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถใส่ไลฟ์สไตล์ในทุกโครงการเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายกวาดยอดขายถล่มทลายมาแล้ว เหตุผลสำคัญ คือ เทรนด์และความต้องการอยู่อาศัยของคนยุคปัจจุบันตื่นตัวเรื่องการดูแลสุขภาพและปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ไม่ใช่บ้านหรูหรา ฟังก์ชันเก๋ๆ และความทันสมัยด้านเทคโนโลยีแบบเดิมๆ อีกต่อไปแล้ว อุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทวางแผนนำร่องแนวคิด For Greater Well-being ในโครงการเศรษฐสิริ ทวีวัฒนา บ้านเดี่ยว คอนเซ็ปต์ Well-being เป็นโครงการแรก ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ และเตรียมเปิดขาย Wellness Residence คอนโดมิเนียมสำหรับคนรักสุขภาพแห่งแรกของไทยบนทำเลศักยภาพกรุงเทพกรีฑา ในไตรมาส 2 ปีนี้

Read More

ดัชนีอสังหาฯ แนวตั้ง ชี้เศรษฐกิจไม่ปังอย่างที่รัฐคิด

ช่วงปลายปี 2560 มาถึงช่วงเดือนแรกของศักราชใหม่ หลายสำนักออกมาคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2561 ว่ามีทิศทางและอนาคตที่สดใส อีกทั้งยังประเมินตัวเลข GDP ว่าจะมีการเติบโตถึง 4 เปอร์เซ็นต์ จนถึงเวลานี้แม้จะยังไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจนได้ว่า คำทำนายเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจนั้นจะถูกต้องไปทั้งหมดหรือไม่ กระนั้นตัวเลขจากการคาดการณ์ดังกล่าวก็ยังเป็นเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงให้กับนักลงทุนทั้งหน้าเก่า หน้าใหม่ ที่กำลังตัดสินใจลงทุน แม้เราจะไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การลงทุนของภาครัฐเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรม และธุรกิจอื่นๆ อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลังประเมินว่าปี 2561 การลงทุนภาครัฐน่าจะขยายตัวอยู่ที่ 11.90 เปอร์เซ็นต์ ปัจจัยสำคัญคือการขับเคลื่อนการใช้จ่ายของภาครัฐผ่านโครงการขนาดใหญ่ อัตราการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เติบโตขึ้นเสมือนเงาตามตัวของเส้นทางรถไฟฟ้า เพราะเมื่อใดที่ภาครัฐเปิดเผยแผนก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนชนิดนี้ บรรดานักลงทุนทั้งแบรนด์ใหญ่และค่ายเล็กต่างพากันปักหมุดจับจองพื้นที่สำหรับก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่อาศัยแนวตั้ง ที่เกิดขึ้นแบบประกบคู่ขนานไปกับเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้า ในช่วงเวลานั้นหลายค่ายคงจะประเมินถึงกระแสตอบรับต่อที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม ว่าน่าจะได้รับการตอบรับที่ดี รวมไปถึงการเจาะตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบาย และการประเมินยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า จึงไม่น่าแปลกใจที่จำนวนที่อยู่อาศัยแนวตั้งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนโดมิเนียมบนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่มีโครงการที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นจำนวนมากจนเรียกได้ว่าเกินความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค นั่นน่าจะมาจากผลสำรวจของภาครัฐในช่วงก่อนก่อสร้างโครงการว่าจะมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าในเส้นทางดังกล่าวประมาณ 2 แสนคนต่อวัน หากแต่หลังโครงการเสร็จสิ้นและมีการสร้างเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงินแล้วก็ตาม แต่ยังมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าประมาณ 5 หมื่นคนต่อวัน การลดลงของผู้โดยสารบนเส้นทางดังกล่าวน่าจะมีสาเหตุมาจากอัตราค่าโดยสารที่สูงขึ้นโดยเฉลี่ยไป-กลับ ประมาณ 200 บาทต่อวัน และปัญหาดังกล่าวก็ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง เมื่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็นปัจจัยสำคัญให้ประชาชนนำมาพิจารณาเรื่องการซื้อที่อยู่อาศัยในย่านดังกล่าว นั่นทำให้เกิดปัญหาคอนโดมิเนียมบนเส้นทางสายสีม่วงโอเวอร์ซัปพลาย ทั้งนี้จำนวนหน่วยของที่อยู่อาศัยแนวตั้งในช่วงก่อนการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงนั้นมีประมาณ 1.3 หมื่นหน่วย

Read More

ทิศทางอสังหาฯ ไทย ในสายตาผู้นำตลาด

 พลันที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังระบุว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยมีมูลค่าคิดเป็น 5-6% ของ GDP ซึ่งมีมูลค่ารวม ณ ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านล้านบาท นั่นก็หมายความว่ามูลค่าธุรกิจอสังหาฯ สูงถึงราว 6 แสนล้านบาทเลยทีเดียว  ข้อมูลนี้ถูกนำเสนอผ่านเวทีสัมมนาที่มีชื่อว่า “ทิศทางเศรษฐกิจ-อสังหาริมทรัพย์ไทยในสายตาผู้นำ” โดยไฮไลต์ของงานนี้ อยู่ที่การบรรยายของอนันต์ อัศวโภคิน ประธานและกรรมการผู้จัดการ บมจ. แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ที่นานๆ จึงจะยอมออกงานที่ไม่ใช่พิธีเปิดธุรกิจของบริษัทในเครือตนเอง  อนันต์สรุปถึงกุญแจสำคัญที่นำมาความสำเร็จของ L&H เอาไว้ 2 ประการ ได้แก่ การลดต้นทุนคงที่ หรือ ต้นทุนค่าโสหุ้ย (Overhead Cost) และการเพิ่มยอดขาย เชื่อว่าผู้ประกอบการทุกคนน่าจะตระหนักถึงความสำคัญของ ‘กุญแจ’ 2 ดอกนี้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่น่าสนใจอยู่ที่แนวทางการปฏิบัติในแบบฉบับของ L&H มากกว่า “ดูจากตัวเลขไตรมาส 3 ของหลายๆ บริษัทจดทะเบียนอัตรากำไรขั้นต้น (margin) เหมือนกันหมดคือประมาณ 35% แต่มีสิ่งหนึ่งที่ต่างกันเยอะมากคือ Overhead Cost บริษัทที่มีต้นทุนต่ำสุดคือ

Read More