Home > มาม่า (Page 2)

มาม่า ปลากระป๋อง เมนูบ้านๆ สะท้อนยุคของแพง

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและปลากระป๋องกลายเป็นอีกดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจไทย ในฐานะเมนูยามยากช่วงปลายเดือนของคนรายได้น้อยและอยู่ในครัวคนไทยมานานหลายสิบปี นั่นทำให้การขึ้นราคาสินค้าทั้งสองตัว สะท้อนยุค “ข้าวยากหมากแพง” และวิกฤตเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มสูง ท่ามกลางผลกระทบหลายด้าน ทั้งพิษน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย และหนี้ครัวเรือนพุ่งพรวด หากย้อนกลับไปช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคแห่ขึ้นราคาขายส่งตามต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะกลุ่มปลากระป๋องปรับเพิ่มถึง 4 บาทต่อกระป๋อง ขณะที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทั้งมาม่า ไวไว ยำยำ และอีกหลายยี่ห้อ ประกาศขึ้นราคาซองละ 1 บาท หลังได้รับการอนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์ มีผลตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2565 ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นราคาครั้งแรกในรอบ 14 ปี ทุกวันนี้ เมนูบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใส่ปลากระป๋องที่หลายคนมักทำกินช่วงปลายเดือนไม่ใช่อาหารราคาถูกเหมือนอดีต บะหมี่ซองละ 8-15 บาท ปลากระป๋อง กระป๋องละ 15-20 บาท หรือ 1 มื้อ 1 คน ไม่ต่ำกว่า 30-35 บาท หากสั่งเมนูต้มยำปลากระป๋องตามร้านอาหาร ขั้นต่ำ

Read More

ของแพง-กำลังซื้อหด ดิ้นหากลยุทธ์ช่วงชิงยอดขาย

ทั้งราคาน้ำมัน ราคาก๊าซหุงต้ม และต้นทุนวัตถุดิบ กลายเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่เจ้าของแบรนด์สินค้ารายใหญ่ต้องดิ้นหากลยุทธ์กระตุ้นกำลังซื้อ ชนิดที่แม้แต่เสี่ยบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ ออกมายอมรับว่า ต้นทุนสินค้ารอบนี้รุนแรงหนักหน่วงสุดในรอบ 26 ปี หรือตั้งแต่เริ่มต้นจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ ขณะเดียวกัน บรรดาแบรนด์สินค้าต่างทยอยขอขึ้นราคาขายส่งกับกลุ่มผู้ค้าส่งหรือพวกยี่ปั๊ว ซาปั๊ว เพราะไม่สามารถปรับราคาขายปลีก เนื่องจากถูกกระทรวงพาณิชย์และรัฐบาลกดดันมาอีกต่อหนึ่ง โดยเฉพาะการประกาศขึ้นราคาขายส่งบะหมี่ซอง “มาม่า” ช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา กลายเป็นดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจและวิกฤตต้นทุนวัตถุดิบ หลังไม่เคยปรับราคามานานกว่า 15 ปี ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 บริษัท ไทยเพรซิเด้นท์ฟู้ด จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อ มาม่า ทยอยแจ้งการปรับขึ้นราคาสินค้าไปยังคู่ค้าต่างๆ หลังพยายามตรึงราคามาตั้งแต่ปลายปี 2564 โดยต้นทุนหลักสำคัญ เช่น แป้งสาลี น้ำมันพืช และค่าขนส่ง ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและไม่สามารถแบกรับได้อีกต่อไป รอบแรกระบุขึ้นราคาขายส่งกลุ่มเส้นสีเหลือง เช่น รสต้มยำกุ้ง รสหมูสับ โดยมาม่าแบบกล่อง 30 ซอง จากเดิมกล่องละ 143

Read More

“มาม่า” พลิกกลยุทธ์ บุก “ราเมน” สู้วิกฤต

 การเปิดตัวธุรกิจร้านอาหารราเมนญี่ปุ่น “KAIRI KIYA (ไคริคิยะ)” ของ “ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์” เป้าหมายหนึ่งเป็นการเปิดกลยุทธ์แก้พิษเศรษฐกิจและปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูง ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มรากหญ้าอย่างจังจนภาพรวมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท เติบโตติดลบ และยอดขาย “มาม่า” เติบโตต่ำสุดในรอบ 42 ปี “มาม่า ซองละ 6 บาท ราเมน ชามละ 150 บาท เพิ่มมูลค่าตัวนี้ดีกว่า!!” เวทิต โชควัฒนา ในฐานะกรรมการรองผู้อำนวยการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) และกรรมการบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” กล่าวกับ “ผู้จัดการ360  ํ”  แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบสถานการณ์การเติบโตทางธุรกิจ เวทิตยอมรับว่าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือ “บะหมี่ซอง” ราคาซองละ 6 บาท มีลูกค้าระดับรากหญ้าเป็นกลุ่มหลักและเป็นสินค้าทั่วไปที่แมสมากๆ  แม้มาม่าพยายามใช้กลยุทธ์เพิ่มมูลค่าสินค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น ออกสินค้ากลุ่มพรีเมียมอย่างมาม่าราเมง บะหมี่อบแห้ง “เมนดาเกะ”

Read More

ชีวิตสำเร็จรูป ตลาดเส้นแข่งเดือด

           “ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี คนจะหันมาทานบะหมี่เพิ่มขึ้น” เป็นคำกล่าวที่สะท้อนให้เห็นว่าบะหมี่สำเร็จรูปสามารถเป็นตัวชี้วัดภาพรวมภาวะเศรษฐกิจของประเทศได้ จากสินค้าหาซื้อง่าย กินง่าย  มีให้เลือกหลายรสชาติ สะดวกในการกิน และที่สำคัญ ราคาถูก จึงทำให้ตลาดบะหมี่สำเร็จรูปเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่กระนั้น ในปีนี้มีการคาดว่าตลาดบะหมี่สำเร็จรูปจะเติบโตในภาพรวมได้เพียง 5% ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำสุดในรอบ 5 ปี จากปกติจะเติบโตในอัตราไม่ต่ำกว่า 10% ในขณะที่คนไทยกินบะหมี่โดยมีอัตราเฉลี่ยการบริโภคอยู่ที่ 45 ซองต่อคนต่อปี ในขณะที่การเปิดเผยข้อมูลของสมาคมบะหมี่สำเร็จรูปโลกในญี่ปุ่นได้ระบุว่า จีนถือเป็นประเทศที่มีคนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากที่สุด ตามมาด้วยอินโดนีเซีย อันดับ 2 และญี่ปุ่น อันดับ 3 ในขณะที่ไทยอยู่ในอันดับ 8 และเมื่อเทียบกันเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน จะเห็นว่าอินโดนีเซียนำมาเป็นอันดับหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ในฐานะชาติที่บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากสุดในอาเซียน ตามมาด้วยเวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า กัมพูชา และสิงคโปร์          ผลสำรวจนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกลายเป็นอาหารที่คนทั่วโลกขาดไม่ได้ไปแล้ว และคาดว่ายอดขายจะพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 

Read More