Home > พลังงานทดแทน (Page 2)

พลังงานทดแทน ภาระหรือตัวช่วย?

ข่าวการส่งสัญญาณทบทวนนโยบายพลังงานทั้งระบบของ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งได้ส่งแรงสั่นสะเทือนต่ออุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากผลการส่งเสริมของภาครัฐให้ต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปโดยปริยาย ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าวยังเป็นภาพสะท้อนวิถีทางความคิดว่าด้วยพลังงานของรัฐไทย ที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่า นิยามของพลังงานทดแทนในทัศนะของกลไกผู้กำหนดนโยบายประเมินพลังงานทดแทนในฐานะที่เป็นทางเลือกตัวช่วย หรืออยู่ในฐานะที่เป็นภาระต่อทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างไร ความกังวลใจที่เกิดขึ้นกับผู้ลงทุนในโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานทดแทน เป็นผลมาจากข่าวการระงับการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งจากโรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการส่งเสริมในฐานะที่เป็นโรงไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด ภายใต้เหตุผลที่ว่าราคาการรับซื้อไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานทดแทนเหล่านี้ไม่ควรจะอยู่ในอัตราที่สูงกว่าราคาไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานหลัก และไม่ควรเป็นภาระต่อประเทศ กระทรวงพลังงานยังระบุด้วยว่า สถานการณ์ด้านพลังงานของไทยไม่ได้อยู่ในภาวะขาดแคลนไฟฟ้า และมีไฟฟ้าเพียงพอที่จะรองรับกับความต้องการใช้พลังงานในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่เป็นโครงการใหม่ๆ ทั้งในรูปแบบโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) และโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) เพิ่มเติม ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานระบุว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา มีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบ 7,529 เมกะวัตต์ จากผู้ประกอบการ 7,083 ราย แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 189 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวล 3,202 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวภาพ 377 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

Read More

อีโคเวสท์จับมือซาทาเรม โหนนโยบายรัฐ ผุดโรงไฟฟ้าขยะ

 ขยะมูลฝอยที่สะสมตกค้างอยู่ในหลายพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ส่งผลกระทบตามมาในหลายด้าน ทั้งมลภาวะทางอากาศ ปิดกั้นช่องทางระบายน้ำ ซึ่งทำให้น้ำท่วมแทบจะทันทีที่ฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน กระทั่งรัฐบาลต้องประกาศให้การจัดการขยะเป็นวาระแห่งชาติ โดยหวังให้หลายฝ่ายร่วมมือในการหาหนทางแก้ปัญหาที่จีรังยั่งยืน แน่นอนว่าเมื่อภาครัฐมีนโยบาย ผู้ตอบสนองไม่ได้มีแค่หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลเท่านั้น หากแต่ภาคเอกชนที่พอจะมองเห็นช่องทางในการสร้างผลกำไรสายธุรกิจพลังงาน ต่างเข้าร่วมโหนกระแสนี้ด้วยการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ทั้งกลุ่ม SAMART และล่าสุด อีโค เวสท์ และซาทาเรม จับมือกันเดินเข้าสู่ธุรกิจนี้เช่นกัน บริษัท อีโค เวสท์ แมนเนจเม้นท์ จำกัด ที่มี ธีรศักดิ์ สุวรรณยศ นั่งแท่นประธานกรรมการ ด้วยประสบการณ์ด้านการเงินและการวิเคราะห์โครงสร้างธุรกิจขนาดใหญ่ ร่วมทุนกับ บริษัท ซาทาเรม (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทสัญชาติสวิส ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการบริหารจัดการของเสีย และการบริหารจัดการด้านพลังงานทางเลือก เทงบประมาณ 2.1 พันล้านบาท ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะโดยประเดิมที่แรก ต.ท่าโรงช้าง อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ถือได้ว่าอีโค เวสท์เป็นบริษัทแรกที่มีการร่วมทุนกับเจ้าของเทคโนโลยีอย่างซาทาเรม โดยมีสัดส่วนการถือครองหุ้น 75% และซาทาเรม ถือหุ้น 25%  ทั้งนี้โรงไฟฟ้าขยะท่าโรงช้างจะใช้เทคโนโลยีระบบตะกรับเคลื่อนที่ (Mechanical Moving

Read More

ศึกโซลาร์รูฟท็อป กลยุทธ์ใหม่ปลุกอสังหาฯ

 การเดินหน้าโครงการนำร่องระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์สำหรับบ้านและอาคาร หรือ “โซลาร์รูฟท็อปเสรี” ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยวางแผนอนุมัติให้ชาวบ้านกว่า 1 ล้านครัวเรือน สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เอง ด้านหนึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนของนโยบายรัฐและปฏิบัติการที่เห็นเป็นรูปธรรม อีกด้านหนึ่งกำลังเปิดเกมใหม่ในการแข่งขัน โดยเฉพาะการประกาศรุกธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์แบบเต็มตัวของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์อย่าง “เสนาดีเวลลอปเม้นท์” กลายเป็นเจ้าแรกในตลาดที่เปิดขายบ้านติดโซลาร์รูฟท็อป ที่ผ่านมา ในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เน้นการเกาะกระแสสิ่งแวดล้อมไปที่รูปแบบบ้าน เช่น “ศุภาลัย” ออกแบบบ้านเพื่ออนุรักษ์พลังงาน  มีบานหน้าต่างขนาดใหญ่ รับแสงธรรมชาติ และรับลมพัดผ่าน ใช้กระจกอนุรักษ์พลังงาน สุขภัณฑ์รุ่นประหยัดน้ำ และหลอดประหยัดพลังงาน  ส่วน “แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์” ชูคอนเซ็ปต์ “LPN Green” ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ใช้หลอดไฟแอลอีดี จัดสรรพื้นที่จอดรถแบบพิเศษสำหรับรถยนต์ประเภทอีโคคาร์ สร้างสวนขนาดใหญ่กว่า 4 ไร่ นำน้ำทิ้งจากการใช้งานของชุมชนมาบำบัดจนได้มาตรฐานเพื่อนำกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ และลดการพึ่งพาเครื่องปรับอากาศ ออกแบบโครงการให้ระบายอากาศด้วยระบบธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งโครงการกรีนคาแนล (Green Canal) ของบริษัทโมเดิร์นกรีนกรุ๊ป (Modern Green Group) ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งประกาศตัวว่าเป็นโครงการที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่เป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้ารองรับสาธารณูปโภคส่วนกลาง ไม่ใช่ “โซลาร์รูฟท็อป”

Read More