Home > ฝรั่งเศส (Page 3)

ฟรองซัวส์ โอลลองด์ หลังหมดวาระ

Column: From Paris เมื่อลิโอเนล โจสแปง (Lionel Jospin) ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ มิตแตรองด์ (François Mitterrand) ผู้มาแทนเขาในตำแหน่งเลขาธิการพรรคสังคมนิยมคือ ฟรองซัวส์ โอลองด์ (François Hollande) ตั้งแต่ปี 1997 จนถึง 2008 ในฐานะเลขาธิการพรรคสังคมนิยม ฟรองซัวส์ โอลลองด์สามารถสมัครเป็นตัวแทนพรรคลงเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2007 แต่เนื่องจากเซโกแลน รัวยาล (Ségolène Royal) คู่ชีวิตที่กำลังระหองระแหง หาเสียงจนได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรคในปีนั้น แต่พ่ายแพ้แก่นิโกลาส์ ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) พรรคสังคมนิยมมีตัวเลือกมากมายที่มุ่งหมายตำแหน่งประธานาธิบดีที่โดดเด่นมากคือ โดมินค สโตรส-กาห์น (Dominique Strauss-Kahn) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการ IMF ในขณะนั้น แต่ต้องสะดุดขาตัวเองเสียก่อนด้วยความมักมากในกามคุณ ถูกตำรวจนิวยอร์กจับและขึ้นศาล เป็นโอกาสให้ฟรองซัวส์ โอลลองด์เดินหน้าหาเสียงเพื่อเป็นตัวแทนพรรค คราวนี้เขาไม่พลาด จนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในปี 2012 ฟรองซัวส์ โอลลองด์เป็นประธานาธิบดีที่ชาวฝรั่งเศสไม่ปลื้มที่สุด ถูกวิพากษ์ว่าไม่กล้าตัดสินใจ ไม่ดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงไว้

Read More

Mai 68

Column: From Paris การเปลี่ยนแปลงใหญ่ในแต่ละครั้ง ย่อมมีการสูญเสีย ฝรั่งเศสมีสถาบันกษัตริย์จนถึงปี 1789 ราษฎรที่กรุงปารีสแร้นแค้น ในขณะที่ราชสำนักที่แวร์ซายส์ (Versailles) ไม่ตระหนัก ชาวปารีเซียงจึงลุกฮือเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 1789 สถาบันกษัตริย์ถูกล้มล้าง กษัตริย์หลุยส์ที่ 16 และ มารี-อองตัวแนต (Marie-Antoinette) รวมทั้งขุนนางผู้ภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ถูกประหารด้วยเครื่องกีโยตีน (guillotine) ถือเป็นการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส หากการปฏิวัติครั้งนั้นใช่ว่าจะจบสิ้นลงในเร็ววัน แต่ยืดเยื้ออยู่หลายปี ผู้นำการปฏิวัติเข่นฆ่ากันเอง ฝรั่งเศสเพิ่งกลับมาเป็นหนึ่งเดียวในยุคนโปเลอง (Napoléon) เป็นยุคจักรวรรดิ (Empire) และแม้จะมีความพยายามรื้อฟื้นสถาบันกษัตริย์ แต่ไม่ได้ใช้ว่า กษัตริย์ของฝรั่งเศส – roi de France แต่เป็นกษัตริย์ของชาวฝรั่งเศส – roi des Français แล้วก็มาถึงยุคสาธารณรัฐ (République) ที่ล้มลุกคลุกคลาน จนมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 1958 การเมืองฝรั่งเศสจึงค่อยมั่นคง ฝรั่งเศสมีการ “ปฏิวัติ” ใหญ่อีกครั้งหนึ่งในปี

Read More

กีฬาฟุตบอลกับคนฝรั่งเศส

Column: From Paris ยุคหนึ่งสถานทูตฝรั่งเศสที่กรุงเทพฯ มีอุปทูตที่หนุ่มมาก อายุเพียงสามสิบกว่าๆ เป็นคนหนุ่มที่สนใจกีฬามาก ติดตามข่าวคราวและการถ่ายทอดสดทั้งฟุตบอล รักบี้ และอื่นๆ และนักการทูตผู้นี้แหละที่ทำให้รู้จักฟุตบอลฝรั่งเศสในยุคที่ทีมชาติฝรั่งเศสมีกองกลางที่เข้มแข็ง เรียกสี่ทหารเสือ อันมี มิเชล ปลาตินี (Michel Platini) หลุยส์ แฟร์นองเดซ (Louis Fernandez) ฌอง ติกานา (Jean Tigana) อแลง จีแรส (Alain Giresse) นักการทูตคนอื่นแอบถากถางลับหลังอุปทูตผู้นี้ว่า รสนิยมต่ำ เพราะชาวฝรั่งเศสในยุคนั้นถือฟุตบอลเป็นกีฬาสำหรับคนระดับล่าง ชาวฝรั่งเศสมองกีฬาฟุตบอลต่างออกไปเมื่อฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพจัดบอลโลกในปี 1998 France 98 ต่างหันมาเชียร์ฟุตบอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมชาติฝรั่งเศสที่ประกอบด้วยคนหลายสีผิว จนประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัก (Jacques Chirac) ให้คำจำกัดความว่า Black blanc beur และเมื่อฝรั่งเศสได้เป็นแชมป์โลก ชาวฝรั่งเศสทั้งประเทศปลื้มปีติ นับแต่นั้นภาพลักษณ์ของนักฟุตบอลดูดีขึ้น หลายคนกลายเป็นขวัญใจมหาชน อย่างไรก็ตาม ฟุตบอลสามารถดึงความสนใจของชนชั้นปกครองฝรั่งเศสเสมอมา เมื่อวันที่

Read More

วัยรุ่นสีผิวเป็นปัญหา

Column: From Paris เดินเที่ยวในปารีสหรือในรถไฟใต้ดินเห็นชาวฝรั่งเศสแท้ๆ น้อยมาก มีแต่ “ชาวต่างชาติ” หลากสีผิว ผิวดำมะเมื่อมจากกาฬทวีป ดำน้อยหน่อยก็มี ออกสีน้ำตาลเป็นชาวเกาะจากจังหวัดหรือดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส หรือออก “แขก” จากแอฟริกาเหนือ ที่เรียกว่า มาเกรบ (Maghreb) อันประกอบด้วยแอลจีเรีย โมร็อกโก และตูนิเซีย มีบ้างจากอียิปต์ พ่อค้าผลไม้ชาวอียิปต์รูปร่างสูงใหญ่ออกจะดูแคลนชาวมาเกรแบง (Maghrébin) ชาวเอเชียก็มีเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอินโดจีน อันมีเขมร เวียดนาม และลาว ที่อพยพหนีภัยคอมมิวนิสต์หลังจากเขมรแตกในปี 1975 ในฐานะเจ้าอาณานิคมเก่า ฝรั่งเศสจึงเอื้อเฟื้อรับชาวอินโดจีนมาตั้งถิ่นฐาน ที่ปารีส มาชุมนุมในเขต 13 (13ème arrondissement) เรียกกันว่าย่านคนจีน อันที่จริงย่านคนจีนเก่าแก่อยู่ที่แบลวิล (Belleville) เป็นชาวจีนจากเวนโจวที่หนีภัยคอมมิวนิสต์เช่นกัน เมื่อเมาเซตุงเริ่มรุกคืบจนครอบครองประเทศจีนในที่สุด ในขณะที่ชาวแต้จิ๋วอยู่ที่เขต 13 ปัจจุบันมีชาวจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยในฝรั่งเศสเยอะมาก เข้ามาได้อย่างไรก็ไม่ทราบ ทางการฝรั่งเศสไม่ค่อยรังเกียจชาวจีน เพราะขยันทำมาหากิน ไม่สร้างปัญหา ร้านค้าแถวบ้านที่มี “แขก” เป็นเจ้าของ

Read More

แซนด์วิชแฮม

 Column: From Paris กินแซนด์วิชครั้งแรกในฝรั่งเศสต้องย้อนยุคไปถึงสมัยเป็นนักเรียนที่เมืองนีซ (Nice) จำได้ว่าไปเดินเล่นกับเพื่อน เมื่อถึงเวลาอาหารกลางวัน ซื้อแซนด์วิชคนละอันพร้อมกับน้ำดื่ม ครั้งนั้นไม่อร่อยกับแซนด์วิชฝรั่งเศสเลย ขนมปังบาแกต (baguette) แข็งและเหนียว จึงเข็ดตั้งแต่วันนั้น ทว่าเมื่อเดินทางทางรถไฟที่คาบเกี่ยวกับเวลาอาหารกลางวัน จำต้องซื้อแซนด์วิช แล้วต้องแปลกใจที่พบว่าแซนด์วิชฝรั่งเศสในวันนี้อร่อย บาแกตยังกรอบ ไส้แซนด์วิชมีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นไก่ ซาลามี (salami) ปลาทูน่า เนยแข็งหรือแฮม ครั้งหนึ่งเห็นแป้งขนมปังสีขาว เข้าใจว่าเป็น panini น่าจะนิ่ม ปรากฏว่าแข็งกระด้าง นับแต่นั้นซื้อแต่แซนด์วิชบาแกต  ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มาปารีสกับนักหนังสือพิมพ์ พักที่โรงแรมแถวเลส์ อาลส์ (Les Halles) ตกเย็นไปซื้ออาหารจากข้างโรงแรม ซึ่งเป็นการขายที่เรียกว่า take home หรือ vente à emporter ในภาษาฝรั่งเศส ซื้อกลับบ้าน ร้านอาหารประเภทนี้จะเรียกว่า traiteur ซึ่งจะเขียนว่า vente à emporter ไว้ด้วย

Read More

เทศกาลขนมปัง

 Column: From Paris ชาวฝรั่งเศสบริโภคขนมปังเป็นว่าเล่น ขนมปังอร่อยคือ บาแกต (baguette) ขนมปังแท่งยาว กรอบนอกนุ่มใน บาแกตเสร็จใหม่กลิ่นหอมยวนใจ ซื้อแล้วเดินบิเข้าปาก พอถึงบ้าน บาแกตหายไปหนึ่งในสาม เป็นกันเช่นนี้หลายบ้าน หากมือไม่ว่าง หนีบบาแกตไว้ใต้รักแร้ ไม่ทราบได้กลิ่นอื่นมาด้วยหรือไม่ ทุกปีเทศบาลกรุงปารีสจะจัดเทศกาลขนมปัง (fête du pain) ที่ลานหน้าวิหารโนเทรอะ-ดาม เดอ ปารีส์ (Notre-dame de Paris) มีการสาธิตการทำขนมปังรูปแบบต่างๆ รวมทั้งครัวซองต์ (croissant) แถมเปิดโอกาสให้เด็กๆ เข้าร่วมกิจกรรมทำขนมปัง มีร้านค้าขายขนมปังและน้ำตาล แถมขายแซนด์วิช และขนมทาหน้าต่างๆ สนุกทั้งชาวฝรั่งเศสและชาวต่างประเทศ ในโอกาสนี้มีการประกวดทำบาแกตด้วย ผู้ได้รางวัลชนะเลิศมีหน้าที่ทำบาแกตให้ทำเนียบประธานาธิบดีตลอดปี จึงเชื่อได้ว่าท่านประธานาธิบดีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงในทำเนียบเอลีเซ (Palais de l’Elysée) ได้กินขนมปังอร่อยเสมอ Guide Pudlowski Paris 2015 เป็นหนังสือแนะนำอาหารการกินในปารีส เลือกสเตฟาน วานเดอร์มีร์ช (Stéphane Vandermeersch) เป็น boulanger de

Read More

ธุรกิจสินค้าหรูมีปัญหา

 Kering เป็นกลุ่มธุรกิจสินค้าหรูของฝรั่งเศส รวบรวมแบรนด์เนมหลายยี่ห้อคือ บาลองเซียกา (Balenciaga) อีฟส์ แซงต์-โลรองต์ (Yves Saint-Laurent) บอตเตกา เวเนตา (Bottega Veneta) กุชชี (Gucci) เป็นต้น ชื่อเดิมของ Kering คือ PPR ย่อมาจาก Pinault-Printemps-La Redoute ก่อตั้งโดยฟรองซัวส์ ปิโนลต์ (François Pinault) ก่อนที่จะยกให้ลูกชายคือ ฟรองซัวส์-อองรี ปิโนลต์ (François-Henri Pinault) เป็นผู้บริหาร  PPR ประสบความสำเร็จมากจากการปลุกให้ยี่ห้อที่กำลังหลับอยู่อย่างกุชชี (Gucci) ให้กลับมาโดดเด่นบนเวทีแฟชั่น โดยมีทอม ฟอร์ด (Tom Ford) เป็นผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ ทำงานร่วมกันนับสิบปี จนทอม ฟอร์ดคิดว่าตนมีอำนาจต่อรอง ทว่าผิดคาด PPR หรือ Kering ไม่เล่นด้วย ผลก็คือทอม

Read More

คริสติออง ลาครัวซ์กับพิพิธภัณฑ์กอนญัก-เจย์

 Column: From Paris แม้ในวันนี้จะไม่มีห้างสรรพสินค้าลา ซามาริแตน (La Samaritaine) แล้วก็ตาม แต่ชาวปารีเซียงก็ยังพันผูกกับชื่อนี้ พร้อมกับหวังว่าสักวันหนึ่งห้างนี้จะคืนกลับ ทว่าจนทุกวันนี้โครงการของกลู่ม LVMH ในการปรับปรุงอาคารหลายหลังของห้างดังในอดีตแห่งนี้ยังไม่อาจสรุปลงตัวได้ ผู้ให้กำเนิดลา ซามาริแตนหรือเรียกกันสั้นๆ ว่าซามาริแตน คือ แอร์เนสต์ กอนญัค (Ernest Cognacq) ซึ่งเป็นพ่อค้าหาบเร่ที่ลา โรแชล (La Rochelle) และมาแสวงโชคที่ปารีส เริ่มจากการทำงานตามห้าง แล้วตั้งแผงขายของ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงออกไปทำงานต่างจังหวัดก่อนที่จะกลับมาปารีส คราวนี้ตั้งแผงตรงปั๊มน้ำชื่อลา ซามาริแตนแถวปงต์ เนิฟ (Pont Neuf) ต่อมาเช่าร้านกาแฟเพื่อขายของตรงมุมถนน rue du Pont-Neuf และ rue de la Monnaie ได้ลูกค้าจากย่านเลส์ อาลส์ (Les Halles) และจากห้าง A la Belle Jardinière

Read More

120 ปีภาพยนตร์ฝรั่งเศส

 Column: From Paris Lumière! Le cinéma inventé เป็นชื่อนิทรรศการที่จัดขึ้นที่กรองด์ ปาเลส์ (Grand Palais) ในฤดูใบไม้ผลิ 2015 ที่จัดขึ้นในโอกาสที่การภาพยนตร์ฝรั่งเศสเวียนมาครบ 120 ปี มิใช่นิทรรศการเกี่ยวกับ “แสง” อันเป็นคำแปลของ lumière แต่เป็นเรื่องราวของพี่น้องตระกูลลูมีแอร์ (Lumière) ผู้ให้กำเนิดการภาพยนตร์ของฝรั่งเศส เคยคิดว่าพี่น้องลูมีแอร์เป็นผู้คิดค้นการถ่ายทำภาพยนตร์เป็นคนแรกของโลก แต่เป็นความเข้าใจผิดทั้งเพ เพราะผู้ให้กำเนิดจริงๆ คือ โธมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ชาวอเมริกันในฝรั่งเศส พี่น้องตระกูลลูมีแอร์ ซึ่งเรียกว่า Frères Lumière อันมีโอกุสต์ (Auguste) และหลุยส์ ลูมีแอร์ (Louis Lumière) เป็นผู้ริเริ่ม ภาพยนตร์เรื่องแรกของฝรั่งเศสถ่ายทำเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 1895 และนำมาฉายที่ปารีสอีกสามวันต่อมา ต่อเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 1895 จึงนำไปฉายในห้อง Salon indien

Read More

เมื่อนโปเลองที่ 3 ไม่ใช่หลานของนโปเลองที่ 1

 คอลัมน์ From Paris ทหารหนุ่มจากกอร์ส (Corse) หรืออีกนัยหนึ่งเกาะคอร์สิกา (Corsica) ในภาษาอังกฤษ เติบใหญ่ได้เป็นแม่ทัพในการสงคราม จนขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศฝรั่งเศส และตั้งตนเป็นจักรพรรดิด้วยการประกอบพิธีปราบดาภิเษกที่วิหารโนเทรอะ-ดาม เดอ ปารีส (Notre-Dame de Paris) ถือเป็นยุคจักรวรรดิที่ 1 (Premier Empire)  ช่วงที่นโปเลองเรืองอำนาจอยู่ระหว่างปี 1804-1814 หลังจากล่าถอยจากรัสเซีย อันหมายถึงความพ่ายแพ้หลังจากที่ชนะสงครามมาตลอด นโปเลองต้องสละบัลลังก์และถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบา (Elba) แล้วหลบหนีกลับมาฝรั่งเศส นำทัพไปรบอีกในปี 1815 แล้วประสบความพ่ายแพ้ในสมรภูมิวอเตอร์ลู (Waterloo) หลังจากนั้นถูกเนรเทศไปยังเกาะเซนต์-เฮเลนา และถึงแก่กรรมหลังจากนั้น 6 ปีด้วยมะเร็งกระเพาะอาหาร บ้างก็ว่าเพราะถูกวางยาพิษ หลุยส์ โบนาปาร์ต (Louis Bonaparte) น้องชายของนโปเลองมีลูกชื่อหลุยส์ นโปเลอง โบนาปาร์ต (Louis Napoléon Bonaparte) ซึ่งภายหลังได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกในยุคสาธารณรัฐที่สอง (Seconde République) ภายหลังตั้งตนเป็นจักรพรรดินโปเลองที่ 3 (Napolélon

Read More