Home > ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Page 8)

เซ็นทรัลเร่งเครื่องมิกซ์ยูส เปิดศึกชิงตลาดคอนโด

   บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น เริ่มเดินเครื่องเต็มสูบขยายโครงการ “มิกซ์ยูส” ตามยุทธศาสตร์ใหม่ เพื่อสร้างอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ และไม่ใช่แค่ Retail Developer แต่สยายปีกสู่ตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดมิเนียมผ่านบริษัทลูกที่เพิ่งจัดตั้งใหม่ “ซีพีเอ็น เรซซิเด้นซ์” ภายใต้สูตรธุรกิจ “บ้าน+ห้าง คือ ซีพีเอ็น”  ต้องยอมรับว่า ช่วงเวลากว่า 36 ปี ซีพีเอ็นเริ่มต้นธุรกิจจากแนวคิดของ สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ที่จะทำศูนย์การค้าแบบครบวงจร รวมศูนย์อาหาร สถาบันความงาม ศูนย์สุขภาพ โรงภาพยนตร์ และห้างสรรพสินค้า  โดยเปิดศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา สาขาลาดพร้าว เป็นแห่งแรก และใช้เวลาบุกโครงการในทำเลต่างๆ อย่างต่อเนื่อง  ปัจจุบัน ซีพีเอ็นบริหารศูนย์การค้าภายใต้แบรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลพลาซา และเซ็นทรัลเฟสติวัล ทั้งสิ้น 30 โครงการ อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 13 โครงการ ต่างจังหวัด 17

Read More

แสนสิริ ลุยแผนสร้าง HUB ปั่นทำเลทอง ราคาพุ่งพรวด

   การเปิดตัวอาณาจักร ที77  สุขุมวิท 77 ทั้งโครงการเต็มเนื้อที่ 50 ไร่ของยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์ “แสนสิริ” นอกจากประกาศรุกธุรกิจรีเทลมอลล์ “ฮาบิโตะ” สาขาแรกแล้ว ยังแจ้งเกิดโมเดลธุรกิจใหม่ที่รอต่อยอดสู่ทำเลอื่นๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้าง “HUB” พลิกที่ดินแหล่งชุมชน กลายเป็นทำเลทองระดับพรีเมียม หลังจากนำร่องเปิดขายโครงการแรกเมื่อ 8 ปีก่อน  ณ วันนี้ สำรวจราคาขายคอนโดมิเนียมใน ที77 พุ่งพรวดมากกว่า 25% แตะ ตร.ม. ละ 100,000-110,000 บาท และขายเกลี้ยงหมดทุกโครงการ โดยล่าสุดเปิดขายโครงการสุดท้าย คอนโดมิเนียม “โมริ เฮาส์” จำนวน 262 ยูนิต มูลค่าโครงการ 1,800 ล้านบาท เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา ราคาเริ่มต้นยูนิตละ 4 ล้านบาท สามารถทำยอดขายเกินเป้าหมายและมียอดขายจากลูกค้าในญี่ปุ่น ฮ่องกง รวมถึงสิงคโปร์เข้ามาแล้วกว่า 700

Read More

“ฮาบิโตะ” รุกเซกเมนต์ใหม่ สตาร์ทอัพคอมมูนิตี้มอลล์

  หลังจากใช้เวลาเกือบ 10 ปี ยึดที่ดินย่านถนนสุขุมวิท 77 ก่อร่างสร้างอาณาจักร T77 ล่าสุด บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้ฤกษ์ต่อจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญ  “ฮาบิโตะ รีเทลมอลล์” เติมเต็มเมืองแห่งใหม่ และมากกว่านั้น ยังหมายถึงการทดสอบโมเดลธุรกิจ เพื่อกระจายความเสี่ยงในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังต้องรอการเลือกตั้งและรัฐบาลในอนาคต   ขณะเดียวกัน การประกาศตัวรุกเข้าสู่สมรภูมิค้าปลีก เจาะเซกเมนต์ตลาดคอมมูนิตี้มอลล์ถือเป็นเกมธุรกิจต่างจากเดิม แม้รีเทลมอลล์ขนาดกลางมีความง่ายในแง่พื้นที่และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แต่ที่ผ่านมามีบริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายรายแห่เข้ามาลงทุนผุดโครงการ แต่สุดท้ายเจอปัญหาขาดทุนอย่างหนัก  อุทัย อุทัยแสงสุข รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานพัฒนา โครงการคอนโดมิเนียม บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คอมมูนิตี้มอลล์หลายแห่งไม่ประสบความสำเร็จ สาเหตุสำคัญเกิดจากการไม่มีชุมชนของตัวเอง หรือไม่มีกลุ่มลูกค้าหลัก ซึ่งหากพิจารณาองค์ประกอบการสร้างคอมมูนิตี้มอลล์ โดยเฉพาะกรณีฮาบิโตะ คือมีพื้นที่และทำเลที่เหมาะสม ใจกลางเมือง มีจำนวนประชากร ในพื้นที่ประมาณ 5,000 ครอบครัว หรือเป็นที่ดินติดถนนใหญ่ เนื้อที่ไม่ต่ำกว่า

Read More

ทีซีซีปักหมุดสามย่าน ดัน “นิวยอร์ก” เมืองไทย

  แผนขยายอาณาจักรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเจริญ สิริวัฒนภักดี เกมกินรวบพื้นที่ทำเลทองตลอดเส้นถนนพระราม 4 เดินหน้าต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดปักหมุดโครงการ “สามย่านมิตรทาวน์” บนที่ดินผืนใหญ่ 13 ไร่ หัวมุมถนนพญาไท-พระราม 4 โดยมีบริษัทในเครือ “โกลเด้นแลนด์” เป็นผู้พัฒนาโครงการและหมายมั่นจะปลุกทำเลย่านนี้ไม่ต่างจาก “มหานครนิวยอร์ก” ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญของโลก รายละเอียดของโครงการ “สามย่านมิตรทาวน์” กำหนดคอนเซ็ปต์ “สมาร์ทมิกซ์ยูส” มีพื้นที่ก่อสร้างรวม 22,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารสำนักงานอัจฉริยะ (Artificial Intelligence Building) สูง 35 ชั้น พื้นที่รวม 65,000 ตร.ม. โดยพัฒนาเป็นอาคารอัจฉริยะที่สามารถคิดและประมวลผลการบริหารอาคารจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์สมาร์ทโฟนผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีหลายประเทศในโลกเริ่มใช้งาน เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและสิงคโปร์  ส่วนที่ 2 อาคารพักอาศัย สูง 35 ชั้น พื้นที่รวม 36,000 ตร.ม.

Read More

อสังหาฯ รับผลเศรษฐกิจทรุด รอครึ่งหลังส่งสัญญาณกลับหัว

  ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 ที่แม้จะได้รับการโหมประโคมว่ากระเตื้องตื่นขึ้นมาบ้างแล้ว ยังไม่สามารถบ่งบอกทิศทางและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้มากนัก โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาผ่านความเป็นไปของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ดูเหมือนจะอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่องยาวนาน ความพยายามของภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านอสังหาริมทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมาดูจะได้รับความสนใจและผลักให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความเคลื่อนไหวขยับขยายตัวขึ้นบ้าง แต่หลังจากมาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อเดือนเมษายน สถานการณ์ของธุรกิจก็กลับมาสู่สภาวะที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่าจะดำเนินไปในทิศทางใด ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายรายยังมีปริมาณสินค้าล้นเกินอยู่ในมือเป็นจำนวนมาก และส่งผลให้เกิดการชะลอตัวที่จะเปิดโครงการใหม่ๆ ออกสู่ตลาด และบางส่วนได้ปรับเปลี่ยนวิถีธุรกิจและกลุ่มเป้าหมายไปสู่ตลาดระดับกลางและบนมากขึ้น ด้วยเหตุที่เชื่อว่าผู้บริโภคในกลุ่มนี้ยังมีสุขภาพทางเศรษฐกิจที่ดีอยู่พอสมควร กระนั้นก็ดี แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในช่วงเดือนพฤษภาคมมีทิศทางชะลอตัวลงจากก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด หลังจากสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ ซึ่งมีส่วนดึงกำลังซื้อล่วงหน้าไปบางส่วนและทำให้ประชาชนชะลอการซื้อบ้านใหม่ลงไปพอสมควร และเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องเร่งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายด้วยหวังจะระบายสต็อกที่อยู่อาศัยที่เหลืออยู่ พร้อมกับการลดหย่อนยกเว้นค่าโอน ค่าจดจำนอง ในอัตราพิเศษให้ใกล้เคียงกับช่วงมีมาตรการกระตุ้น ซึ่งอาจหนุนเสริมยอดจำหน่ายได้อีกบางส่วน ปรากฏการณ์ของความชะลอตัวในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม และอาจจะทอดยาวออกไปอีก 1-2 เดือนจากนี้ ไม่ใช่สิ่งที่เหนือความคาดหมายของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และสถาบันการเงิน ซึ่งต่างพยายามกระตุ้นยอดปล่อยสินเชื่อด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าที่มีความมั่นคงทางการเงิน  แต่สำหรับลูกค้ากลุ่มเสี่ยง อัตราดอกเบี้ยกลายเป็นประหนึ่งน้ำหนักที่พร้อมจะหน่วงนำให้ต้องจ่อมจมกับภาระหนี้หนักขึ้นไปอีก และมีโอกาสที่จะทำให้สัดส่วนรายได้กับหนี้สินดำเนินไปแบบที่ไม่มีหนทางจะออกจากวังวนของการก่อหนี้เพิ่ม และจะยิ่งทำให้สถานการณ์การแบกหนี้เพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่รวดเร็วกว่าเดิมอีกด้วย ความป่วยไข้ทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ในห้วงเวลาปัจจุบัน ว่าด้วยภาวะหนี้สินครัวเรือน ได้รับการยืนยันล่าสุดว่าเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับ 11 ล้านล้านบาทหรือกว่าร้อยละ 81 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และกลายเป็นปัจจัยหลักที่ไม่เพียงส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งระบบไม่สามารถขยายตัวได้ในช่วงที่ผ่านมาเท่านั้น หากยังจะเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถก้าวเดินไปสู่อนาคตอีกด้วย ผลพวงจากสถานการณ์เศรษฐกิจและปัญหาหนี้ครัวเรือนดังกล่าวนี้ ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มคอนโดมิเนียมระดับราคาต่ำกว่า 5 หมื่นบาทต่อตารางเมตรหรือมีราคาขายอยู่ที่ยูนิตละ 2 ล้านบาท กลายเป็นกลุ่มน่าจับตามองเป็นพิเศษ เพราะเป็นกลุ่มที่มียูนิตเหลือขายอยู่เป็นจำนวนมากคิดเป็นกว่าร้อยละ 60 ของสต็อกที่มีมูลค่ารวมมากถึง 8

Read More

“ทีซีซีแลนด์” เร่งปักหมุด นับถอยหลังยึดอาเซียน

 “ทีซีซีแลนด์” ก้าวสู่ยุทธศาสตร์ขั้นที่ 2 ตามแผนขยายเครือข่ายสร้าง “ลิงค์เกจ” ยึดตลาดอาเซียน หลังจากเมื่อ 4 ปีก่อน เจริญ สิริวัฒนภักดี เปิดตัว “เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนท์” คอมมูนิตี้มอลล์ตัวแรกของกลุ่มและโครงการไลฟ์สไตล์ริมน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย พร้อมประกาศวิสัยทัศน์ต้องการเป็นผู้นำธุรกิจศูนย์การค้าและตลาดเฉพาะทางในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) มีสาขากระจายอยู่ในทุกประเทศของภูมิภาค  ล่าสุด อาณาจักรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มศูนย์การค้า หรือ Retail Developer ซึ่งปรับโครงสร้างแยกเป็น 2 บริษัท ด้านหนึ่งให้บริษัท ทีซีซีแลนด์ แอสเสท เวิรด์ จำกัด ที่มีโสมพัฒน์ ไตรโสรัส นั่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารกุมบังเหียนหลัก เดินหน้าปักหมุดศูนย์การค้า 5 แบรนด์หลัก ประกอบด้วย เอเชียทีค เกตเวย์ เซ็นเตอร์พอยท์ พันธุ์ทิพย์ และบ๊อกซ์สเปซ กระจายตามจุดหลักๆ ของประเทศ  อีกด้านหนึ่งมีบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) ซึ่งปณต สิริวัฒนภักดี นั่งแท่นประธานเจ้าหน้าที่บริหารลุยนโยบายพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบ

Read More

“เอฟวายไอ” จุดพลุ ทีซีซีเร่งปลุก “พระราม 4”

 ทันทีที่โครงการอาคารสำนักงาน “เอฟวายไอ เซ็นเตอร์” จิ๊กซอว์ใหม่ชิ้นแรกตามแผนปลุกย่านพระราม 4 ของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” เปิดตัวในไตรมาสแรก หรืออย่างช้าที่สุดไม่เกินกลางปี 2559 การโหมโรงเปิดเกมขยายอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ชุดใหญ่จะเริ่มต้นขึ้น พร้อมๆ กับการเดินหน้าเชื่อมต่อบิ๊กโปรเจ็กต์บริเวณหัวมุมถนนพระรามสี่ตัดกับถนนวิทยุ เนื้อที่อีกกว่า 92 ไร่ ตามแผนเบื้องต้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในฐานะเจ้าของที่ดิน กำหนดผังพัฒนาโครงการ 92 ไร่ เป็นโครงการมิกซ์ยูส ประกอบด้วยอาคารที่อยู่อาศัย โรงแรม อาคารสำนักงานให้เช่า ศูนย์การค้า ศูนย์การศึกษา ศูนย์สุขภาพ และศูนย์วัฒนธรรม ซึ่งปณต สิริวัฒนภักดี ลูกชายคนเล็กของเจริญ ในฐานะประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของโปรเจ็กต์ เคยระบุว่า บริษัทวางแนวทางพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ต้นแบบสำหรับคุณภาพชีวิตคนเมืองครบวงจรและเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ พื้นที่รวม 62 ไร่  ส่วนอีก 30 ไร่ เป็นพื้นที่เปิดโล่ง โครงสร้างพื้นฐาน และพื้นที่สีเขียว รวมทั้งสองส่วนใช้เงินลงทุนหลายหมื่นล้านบาท  สำหรับเอฟวายไอเซ็นเตอร์ หรือ

Read More

พระราม 4 บูม “อสังหา-รีเทล” พรึ่บ

 แลนด์ลอร์ดรายใหญ่อย่าง “เครืออรรถกระวี” ประกาศปัดฝุ่นที่ดินของตระกูล ผุดโครงการคอมมูนิตี้มอลล์ “สวนเพลิน มาร์เก็ต” แม้เหตุผลข้อหนึ่งเกิดจากเงื่อนไขใหม่ในกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่มากไปกว่านั้น ทำเลย่านพระราม 4 มีการพัฒนาศักยภาพมากขึ้นและสามารถยกระดับเป็นเขตธุรกิจใจกลางเมือง (Central Business District: CBD) แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ  โดยเฉพาะโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบ “มิกซ์ยูส” รวมมูลค่าหลายหมื่นล้านบนถนนพระราม 4 จะทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่กลางปี 2559 เริ่มจากโครงการเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ (FYI Center) ของบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริเวณสี่แยกถนนรัชดาภิเษกตัดพระราม 4 จะมีทั้งอาคารสำนักงานสูง 12 ชั้น และโรงแรมขนาด 239 ห้อง มูลค่าโครงการกว่า 5,000 ล้านบาท ส่วนโครงการ 92 ไร่ หัวมุมถนนพระราม 4 ตัดถนนวิทยุ หรือที่ดิน ร.ร.เตรียมทหารเดิม

Read More

“โชว์ ดีซี” ดิ้นอีกรอบ ปั้นแลนด์มาร์ค “พระราม 9”

 3 ปีก่อน “โชว์ ดีซี คอร์ป” เปิดตัวในฐานะบริษัทร่วมลงทุนระหว่างนักลงทุนชาวไทยกับชาวมาเลเซีย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยวางแผนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ในตลาดเกิดใหม่ในอาเซียน ประเดิมโครงการแรกในประเทศไทย ใช้ชื่อ “SHOW DC” มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 3,000-5,000 ล้านบาท แต่โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้างอย่างเงียบๆ จนกระทั่งปี 2558 “โชว์ ดีซี” กลับมาเผยโฉมอีกครั้งและเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ใหม่อย่างสิ้นเชิง ปรับรูปแบบจากเดิมจะเป็นศูนย์การกระจายสินค้าครบวงจรธุรกิจรูปแบบใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ จับกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ประกอบด้วยศูนย์ค้าปลีก ศูนย์ค้าส่ง ศูนย์บริการ ศูนย์โชว์รูม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์โลจิสติกส์ คลังจัดเก็บและจัดส่งสินค้า รองรับทุกระดับการค้าขายในกลุ่มธุรกิจแฟชั่น สินค้าตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ไอที เครื่องเสียงเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุปโภคบริโภค และครัวกลางสำหรับธุรกิจอาหารและภัตตาคาร เพื่อรองรับการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)  กลายเป็น “ศูนย์การค้าและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ครบวงจร” หรือ Show Destination Center ภายใต้แนวคิด “Shop & Enjoy” ในเนื้อที่ทั้งโครงการ 27

Read More

จาก “เลห์แมน” สู่ “คูนแคปปิตอล” ทุนอสังหาฯ พลิกโมเดลธุรกิจ

  ช่วงเวลาไม่ถึง 1 ปี กลุ่มนารายณ์พร็อพเพอร์ตี้เดินหน้าเปลี่ยนยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ หลังดึงอรฤดี ณ ระนอง อดีตผู้พลิกโฉมบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) จากธุรกิจอุตสาหกรรมสังกะสีเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ เข้ามานั่งเก้าอี้ผู้บริหารระดับสูง  ไม่ใช่แค่การเปิดศึกบุกตลาดไฮเอนด์จนถึงระดับซูเปอร์ลักชัวรี แต่ยังสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ตั้งบริษัทลูก “นายณ์เอสเตท” ทำหน้าที่ขยายโครงการในลักษณะการร่วมทุนกับพันธมิตรกลุ่มแลนด์ลอร์ด หรือพาร์ตเนอร์ที่สามารถเข้าถึงที่ดินผืนงามใจกลางเมือง ซึ่งนับวันจะหายากมากขึ้นและราคาสูงลิบลิ่ว อรฤดีในฐานะกรรมการบริหารบริษัท นารายณ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท นายณย์ เอสเตท ประเดิมยุทธศาสตร์จับมือร่วมทุนกับบริษัท คูน แคปปิตอล ผุดโครงการบ้านหรูหลังใหญ่ในทำเลทองย่านสุขุมวิท ท่ามกลางสมรภูมิคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าที่ยักษ์อสังหาฯ กำลังเปิดศึกผุดโปรเจกต์อย่างดุเดือด  เริ่มจาก “ควอเตอร์ 39” เป็นทาวน์โฮม จำนวน 15 ยูนิต เนื้อที่ 2 ไร่เศษ ราคาเริ่มต้น 38.6 ล้านบาท ถึงเกือบ 60 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 680 ล้านบาท ตามด้วย “ควอเตอร์

Read More