Home > ธุรกิจค้าปลีก (Page 2)

บทเรียนปิด “โตคิวพาราไดซ์” ทาคาชิมายะ ท้าสู้ศึกค้าปลีก

1 กุมภาพันธ์ 2562 “โตคิว พาราไดซ์พาร์ค” ปิดตัวอย่างเป็นทางการ หลังเปิดให้บริการได้เพียง 3 ปีเศษๆ ซึ่งกระแสข่าวล่าสุด กลุ่มสยามพิวรรธน์และเอ็มบีเค ในฐานะผู้บริหารศูนย์การค้าพาราไดซ์ ยังอยู่ระหว่างการพูดคุยเพื่อพลิกกลยุทธ์หาแม็กเน็ตตัวใหม่เข้ามาปลุกพื้นที่และฝ่าวิกฤตครั้งใหญ่ หากย้อนกลับไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2558 กลุ่มโตคิวออกมาเปิดเผยถึงการร่วมทุนกับบริษัท พาราไดซ์ รีเทล จำกัด ในเครือบริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) จัดตั้งบริษัท พีที รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด สัดส่วนการร่วมทุน 50:50 และทุ่มงบลงทุนรวม 400 ล้านบาท เช่าพื้นที่ศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค 13,000 ตารางเมตร ผุดห้างสรรพสินค้าโตคิว สาขาพาราไดซ์ พาร์ค แยกออกจากห้างโตคิว สาขาเอ็มบีเค เวลานั้น กลุ่มสยามพิวรรธน์และเอ็มบีเคต่างหมายมั่นว่า ห้างสายพันธุ์ญี่ปุ่นจะเพิ่มแรงดึงดูดกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง รองรับการขยายตัวของสังคมเมืองหลวง โดยเฉพาะเขตพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก ซึ่งประเมินข้อมูลมีกลุ่มคนรายได้สูง กลุ่มครอบครัวระดับ เอ และ บี

Read More

บิ๊กซี รุกไตรมาสสุดท้าย เร่งฟอร์แมตใหม่สู้ศึกปีหน้า

บิ๊กซีใช้โอกาสฉลองครบรอบ 25 ปี ชิมลางจัดรายการ “Big C Expo 2018” ครั้งแรกเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ชนิดตัดหน้าคู่แข่งยักษ์ใหญ่ “เทสโก้ โลตัส” ซึ่งกะเก็งแผนเปิดมหกรรมจับจ่ายส่งท้ายปี “เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์โป” ต่อเนื่องจากปีก่อน เหมือนเป็นการประกาศสงครามค้าปลีกครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า โดยเตรียมทุ่มเม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท อัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ห้างค้าปลีกในกลุ่มบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี ในเครือทีซีซี กรุ๊ป กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างการจัดทำแผนธุรกิจและยุทธศาสตร์การลงทุนในปี 2562 คาดจะแล้วเสร็จภายใน 6 สัปดาห์ข้างหน้า โดยเม็ดเงินลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาทจะครอบคลุมการขยายเครือข่ายธุรกิจบิ๊กซีทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ทั้งในแง่ความหลากหลายของสินค้าและบริการ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด “ช่วง 2 ปีที่ผมเข้ามาบริหารบิ๊กซี

Read More

เสี่ยเจริญดัน BJC บุกจีน ปักหมุดบิ๊กซี ยึดอาเซียน

บิ๊กซี ภายใต้การบริหารของบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC ได้เวลาเปิดฉากรุกตลาดอาเซียนอย่างเป็นทางการตามแผนขยายอาณาจักรค้าปลีกของเจริญ สิริวัฒนภักดี หลังจากใช้เวลากว่า 2 ปี ปรับกระบวนทัพต่างๆ โดยเตรียมปักหมุดห้างบิ๊กซีไฮเปอร์มาร์เก็ต 3 สาขาแรก ในประเทศมาเลเซีย กัมพูชา และลาว เพื่อสร้างเครือข่ายการกระจายสินค้าที่กว้างขวางและเชื่อมต่อจาก “อาเซียน” สู่ประเทศยักษ์ใหญ่อย่าง “จีน” ด้วย เบื้องต้น ทั้ง 3 สาขาจะเปิดตัวภายในปี 2562 หรืออย่างช้าไม่เกินต้นปี 2563 พร้อมๆ กับแผนขยายสาขาธุรกิจค้าปลีกแบรนด์ต่างๆ ในเครือ ซึ่งบีเจซีลุยปักหมุดไว้อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดในเวียดนาม บีเจซีผุดห้างค้าปลีกค้าส่ง เอ็มเอ็ม เมกะมาร์เก็ต (MM Mega Market) มากถึง 19 สาขา และร้านสะดวกซื้อบีสมาร์ท (B’s Mart) อีก 144

Read More

“สยามพิวรรธน์” ชน “เซ็นทรัล” ผุดโอเอซิส ลักชัวรีเอาท์เล็ต

“สยามพิวรรธน์ทำศูนย์การค้า 40 กว่าปี พัฒนาและลงทุนอภิมหาโปรเจกต์ในกรุงเทพฯ เป็นหลัก สร้างเดสทิเนชั่นของเมืองหรือของประเทศประสบความสำเร็จ มีความเชื่อมั่นและแข็งแรง หลายคนถามตลอดว่าเมื่อไหร่จะออกต่างจังหวัด วันนี้เรากำลังจะก้าวออกนอกกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เป็นก้าวย่างสำคัญและไม่ใช่การทำศูนย์การค้าแบบเดิมอีกแล้ว” ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ กล่าวถึงทิศทางการลงทุนครั้งใหม่และแผนการร่วมทุนกับไซม่อน พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป บริษัทอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก ซึ่งใช้เวลาเจรจาแนวคิดและประสบการณ์ต่างๆ กว่าจะตกผลึกยาวนานร่วม 1 ปี เพื่อสร้าง “เมือง” หรือโอเอซิสแห่งใหม่ของประเทศไทยที่ตั้งเป้าดึงดูดผู้คนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกันได้ทุกวัน โดยมี “ลักชัวรีพรีเมียมเอาท์เล็ต” เป็นแม็กเน็ตชิ้นสำคัญ แน่นอนว่า ธุรกิจเอาท์เล็ตไม่ใช่โมเดลค้าปลีกรูปแบบใหม่ในตลาดไทย แต่มีมานานมากกว่า 20 ปี โดยบริษัท เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท จำกัด ของปรีชา ส่งวัฒนา ที่ต้องการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ “Flynow” ในช่วงธุรกิจในเมืองไทยเจอวิกฤตเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” ในราคาที่ไม่บวกค่าขนส่งและค่าการตลาด ภายใต้แนวคิด “คุณภาพส่งออก ราคาผู้ผลิต” เวลานั้น เอาท์เล็ทฟลายนาวสามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบน เนื่องจากสินค้าของเอฟเอ็นเป็นแบรนด์เสื้อผ้าระดับพรีเมียมและมีสินค้าอื่นๆ เช่น เครื่องนุ่งห่ม

Read More

“เจริญ” รุกเกม Synergy กินรวบค้าปลีก-อสังหาฯ

เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของอาณาจักรธุรกิจแสนล้าน “ทีซีซีกรุ๊ป” ดูเหมือนจะเร่งเดินหน้าแผน Synergy ธุรกิจค้าปลีก “บิ๊กซี” กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือ โดยเฉพาะโครงการเกิดใหม่ในทำเลทองตามแนวรถไฟฟ้า ซึ่งจะเปิดให้บริการอีกหลายเส้นทาง ชนิดที่ยึดเครือข่ายทั่วกรุงเทพมหานคร ที่สำคัญ บิ๊กซีเองกำลังใช้จังหวะนี้ยกเครื่องสาขาใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายและแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ ทั้งเทสโก้โลตัสและกลุ่มเซ็นทรัล หลังจากทุ่มเม็ดเงินกว่า 2 แสนล้านบาท ฮุบกิจการ “บิ๊กซี” ในประเทศไทยจากกลุ่มคาสิโนเมื่อปี 2559 เพื่อหวังเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญตามแผนขยายธุรกิจค้าปลีกอย่างครบวงจรของทีซีซีกรุ๊ป ตั้งแต่ธุรกิจศูนย์การค้าหลากหลายรูปแบบสู่ธุรกิจค้าปลีกปลายน้ำทุกโมเดล ทั้งห้างค้าส่ง ไฮเปอร์มาร์เก็ต ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต จนถึงร้านสะดวกซื้อ ที่ผ่านมา อัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี ในฐานะซีอีโอ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ใช้เวลาปรับระบบต่างๆ เพื่อแก้จุดอ่อนทั้งหมดของ “บิ๊กซี” แต่ต้องยอมรับว่า บิ๊กซียังต้องเสริมจุดแข็งหลายด้าน โดยเฉพาะการรีโนเวตสาขาเก่าเพื่อสร้างความสดใหม่การเพิ่มแม็กเน็ตสินค้าต่างๆ ตามเทรนด์การบริโภคของกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

Read More

นับถอยหลัง “ไอคอนสยาม” ศึกค้าปลีกโค้งน้ำเจ้าพระยา

นับถอยหลังอีกไม่กี่เดือน อภิมหาโครงการ “ไอคอนสยาม” ของกลุ่มร่วมทุน 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ คือ สยามพิวรรธน์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (ในเครือซีพี) จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ พร้อมๆ กับการเริ่มต้นลุยสมรภูมิค้าปลีกริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาระลอกใหม่ที่มีทั้ง “เอเชียทีค” ของเจริญ สิริวัฒนภักดี และโครงการ “ล้ง 1919” ของกลุ่มตระกูลหวั่งหลี ที่ฉีกแนวเจาะกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบแนวศิลปวัฒนธรรมชนชาติจีน แน่นอนว่า โค้งน้ำเจ้าพระยากำลังจะพลิกโฉมอีกครั้ง ซึ่งหัวเรือใหญ่ไอคอนสยาม ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ ย้ำกับสื่อมาตลอดว่า ไอคอนสยามจะเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่สร้างเมืองแห่งความรุ่งโรจน์อันเป็นนิรันดร์ (The Icon of Eternal Prosperity) จุดประกายคุณค่าของแม่น้ำเจ้าพระยา 3 เรื่อง เรื่องแรก คือการสัญจรไปมาทุกระบบการขนส่ง สอง คือเรื่องเศรษฐกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด และสาม คือการพัฒนาชุมชนรอบๆ โดยตั้งเป้าหมายดึงดูดผู้คนเข้ามาใช้ชีวิต ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมกว่า

Read More

“คาราบาว” ปูพรมค้าปลีก ปลุก “ซีเจ” เจาะฐานยักษ์

เสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดสงครามค้าปลีกครั้งใหญ่ หลังเข้าถือหุ้นในบริษัท ซีเจ เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด และใช้เวลาปรับระบบต่างๆ จนเข้าที่ทั้งหมด โดยประกาศเป้าหมายจะผลักดันยอดขาย “ซีเจ เอ็กซ์เพรส” แตะ 20,000 ล้านบาท ผุดสาขาให้ได้ 665 แห่งในทุกจังหวัดทั่วประเทศ และแต่งตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในปี 2563 ที่สำคัญ ซีเจ เอ็กซ์เพรสจะเป็นเครือข่ายค้าปลีกที่เชื่อมโยงและต่อยอดอาณาจักรธุรกิจของคาราบาวกรุ๊ปอย่างครบวงจร ปัจจุบันคาราบาวกรุ๊ปมีทั้งโรงงานผลิตสินค้าและโรงงานบรรจุ รวมทั้งจ้างโรงงานอื่นผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของตัวเอง (Own Brand) หรือเฮาส์แบรนด์ ซึ่งมีกาแฟกระป๋องพร้อมดื่มเป็นสินค้าหลัก และล่าสุดมีบริษัท สหมิตรร่วมเป็นพันธมิตรผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งน้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอก เครื่องปรุงรส ปลากระป๋อง ขนมขบเคี้ยว และเร่งเพิ่มไลน์สินค้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 200-300 รายการ ขณะเดียวกัน มีบริษัท ตะวันแดง ดีซีเอ็ม

Read More

สงครามค้าปลีก “วันไพร์ส” แบรนด์เกาหลีเร่งแซงญี่ปุ่น

สงครามค้าปลีกกลุ่ม “One Price Store” แข่งขันกันดุเดือด แม้ “ไดโซะ (Daiso)” ต้นตำรับร้านร้อยเยนจากญี่ปุ่น ในฐานะผู้บุกเบิกตลาดไทยเป็นเจ้าแรกเมื่อ 15 ปีก่อน ยังสามารถยึดตำแหน่งผู้นำในเซกเมนต์นี้ แต่ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้เล่นหน้าใหม่แห่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่ง โดยเฉพาะแบรนด์สไตล์เกาหลี ที่เริ่มรุกขยายฐานเจาะกลุ่มแฟนคลับวัยรุ่นตามกระแสคลื่นวัฒนธรรมเกาหลีที่ยังร้อนแรงต่อเนื่อง แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบกัน วัฒนธรรมญี่ปุ่นสอดแทรกเข้าสู่ประเทศไทยมายาวนานกว่าวัฒนธรรมเกาหลี สีสันอาจดูคล้ายกัน แต่กระแสความแรงต่างกัน กระแสเกาหลี (Korean Wave) หรือ “Hallyu” ซึ่งเป็นศัพท์ที่นักหนังสือพิมพ์ชาวจีนบัญญัติขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1990 หมายถึงกระแสความเย็นของความนิยมเกาหลีที่ค่อยๆ คืบคลานมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยถือเป็นปรากฏการณ์เหนือความคาดหมายของนักวิชาการหรือบรรดาสื่อมวลชน เพราะเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมข้ามชาติที่ข้ามพ้นอิทธิพลทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคมของชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา กระแสนี้ก่อตัวมากว่าสิบปีและยังมีแนวโน้มมาแรง เป็นความนิยมชมชอบทางวัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลี (Korean Pop Culture) ที่มาจากภาพยนตร์ เพลงป๊อป และดารานักร้องเกาหลี จนสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศเกาหลีใต้เป็นเงินมากกว่า 4,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่านการส่งออกวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ ในประเทศไทย กระแสเกาหลีเริ่มต้นช่วงปี 2544 จากความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง My Sassy Girl

Read More

เมียงดง มิดิโอะ รีเทลเกาหลีบุกไทย

โมเดิร์นเทรดเริ่มมีสีสันแปลกตามากขึ้น เมื่อทุนเกาหลีเริ่มเข้ามาบุกตลาดค้าปลีกเมืองไทย ต่อยอดจากธุรกิจร้านอาหาร ร้านกาแฟ เครื่องสำอาง และธุรกิจศัลยกรรมความงาม ที่ได้รับความนิยมตามกระแสคลื่นวัฒนธรรมเกาหลีที่ไหลเข้ามาต่อเนื่อง มีกลุ่มแฟนคลับเกาะติดเทรนด์อย่างเหนียวแน่น แม้ขณะนี้ยังไม่มีนักลงทุนเกาหลีเข้ามาบุกเบิกศูนย์การค้าขนาดใหญ่ แต่มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการชิมลางขยายธุรกิจของกลุ่มบริษัทล็อตเต้ (Lotte) ผู้ประกอบกิจการธุรกิจขนาดใหญ่และร้านค้าสินค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) รายใหญ่ในเกาหลีใต้ โดยเช่าพื้นที่ขนาด 10,000 ตร.ม. เปิดร้านค้าระดับเวิลด์คลาส เพื่อทดลองใช้ไทยเป็นฐานการลงทุน และทำตลาดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากขยายสาขาดิวตี้ฟรีชอปในประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เนื่องจากกลุ่มล็อตเต้มีธุรกิจในเครือข่ายจำนวนมาก ทั้งธุรกิจอาหาร ร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า โรงแรม สวนสนุก ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจการเงิน ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไอที รวมถึงธุรกิจที่อยู่อาศัย กลุ่มเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ล่าสุด กลุ่มสเปเชียลตี้สโตร์ของเกาหลีเริ่มบุกรีเทลตามมาอีกระลอก อย่าง อาร์โควา (Arcova Korean Lifestyle Stores) ร้านจำหน่ายสินค้าราคาเดียว เริ่มต้นที่ 50 บาท ซึ่งเน้นสินค้าเจาะกลุ่มวัยรุ่น คนทำงาน คนรุ่นใหม่ มีสินค้ามากกว่า

Read More

เทสโก้งัดแผนดึงคู่ค้าไทย ลุยตลาดอังกฤษสู้เบร็กซิท

“เทสโก้โลตัส” งัดแผนดึงเครือข่ายผู้ประกอบการไทยเข้าไปเจาะตลาดอังกฤษ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ “วิน-วิน” รอบด้าน เพราะไม่ใช่แค่การเสริมศักยภาพสร้างเครือข่ายคู่ค้า เร่งยอดส่งออกและขยายพอร์ตสินค้า แต่มากไปกว่านั้น บริษัทแม่ในอังกฤษกำลังดิ้นรนเสริมจุดแข็งทุกด้าน เพื่อต่อสู้กับผลพวงจากกรณี “เบร็กซิท” (Brexit) โดยเฉพาะสถานการณ์ธุรกิจค้าปลีกในสหราชอาณาจักรที่พลิกโฉมครั้งใหญ่ จอห์น คริสตี้ ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส และประธานผู้นำนักธุรกิจฝ่ายสหราชอาณาจักร สภาผู้นำนักธุรกิจไทย-อังกฤษ เปิดเผยว่า เทสโก้ โลตัส ในฐานะผู้นำธุรกิจค้าปลีกของไทยที่มีสาขากว่า 1,900 แห่งทั่วประเทศ มีบทบาทสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในไทย โดยเป็นช่องทางการขายและสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานสินค้าเพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศผ่านกลุ่มเทสโก้มานานกว่า 10 ปี ทั้งสินค้าประเภทอาหารสด เช่น ผลไม้ เนื้อไก่ เนื้อกุ้ง สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องเขียน ของเล่นเด็ก ไปยังตลาดยุโรปกลางและเอเชียผ่านกลุ่มเครือข่ายธุรกิจเทสโก้ใน 10 ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักร ประเทศไทย มาเลเซีย ไอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี โปแลนด์ สโลวะเกีย อินเดีย และจีน แต่สำหรับปี 2561

Read More