Home > คอมมูนิตี้มอลล์ (Page 2)

เดอะ สตรีท รัชดา พร้อมกลับมาให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เอาใจสังคมคนนอนดึก เติมเต็มครบทุกไลฟ์สไตล์คนเมือง

กระแสร้านค้าและร้านอาหาร รวมถึงบริการ 24 ชั่วโมง กำลังมาแรงในกลุ่มคนเมืองรุ่นใหม่ที่ชอบใช้ชีวิตช่วงกลางคืน ศูนย์การค้า เดอะ สตรีท รัชดา ไลฟ์สไตล์คอมมูนิตี้มอลล์วิถีคนเมือง จึงกลับมาเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงอีกครั้ง หลังจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อตอบโจทย์และเติมเต็มทุกไลฟ์สไตล์ที่ไม่ยึดติดเรื่องเวลา โดยได้รวบรวมร้านค้า ร้านอาหารแบรนด์ดังต่างๆ ไว้เพื่อรองรับลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์นอนดึก ชอบใช้ชีวิตตอนกลางคืน หรือคนที่เลิกงานดึกก็สามารถมาใช้บริการ หรือรับประทานอาหารให้อิ่มท้องได้ตลอด สำหรับร้านที่พร้อมเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงในศูนย์การค้า เดอะ สตรีท รัชดา ได้แก่ Starbucks, KFC, Oishi Ramen, Kakashi, Burger King, A Ramen, Foodland supermarket, ZZ all day restaurant, Jetts 24 hours Fitness, ห้องซ้อมดนตรี Horizon Music และไปรษณีย์ไทย นอกจากนี้

Read More

“สเตเดี้ยม วัน” ผุดสปอร์ตฮับ ฟื้นตำนานตลาดหลังสนามศุภฯ

การเปิดตัว “สเตเดี้ยม วัน (Stadium One)” บนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ บริเวณหลังสนามกีฬาแห่งชาติ โดยตั้งเป้าพัฒนาโครงการเป็นคอมมูนิตี้มอลล์แนวใหม่ “สเตเดี้ยม ออฟ ไลฟ์” (Stadium of Life) ศูนย์รวมค้าปลีกกีฬาและไลฟ์สไตล์ของคนรักการออกกำลังกายครบวงจร ด้านหนึ่งถือเป็นความท้าทายของกลุ่มนักธุรกิจคนรุ่นใหม่ในการบุกเบิกตลาดอสังหาริมทรัพย์ฉีกแนว แต่อีกด้านหนึ่ง สเตเดี้ยม วัน กำลังจะพลิกฟื้นตำนานตลาดสนามศุภชลาศัยให้กลับมาคึกคักอีกครั้งภายใต้รูปแบบธุรกิจที่มีสีสันมากขึ้น ตามแผนเบื้องต้น สเตเดี้ยม วัน ซึ่งกำหนดจะเปิดให้บริการภายในเดือนธันวาคม 2560 จะประกอบด้วย 3 โซนหลัก คือ โซนร้านค้าปลีก (Sport Retail) มีร้านค้าปลีก จำนวน 129 ร้าน พื้นที่ค้าปลีก 5,000 ตารางเมตร โซนอาคารกีฬาในร่ม (Active Lifestyle) พื้นที่ 5,600 ตร.ม. และลานอีเวนต์ (Event in Action)

Read More

แผน “ฮาบิโตะ” ดัน Sansiri Hub

 การแตกไลน์ธุรกิจคอมมูนิตี้มอลล์ “ฮาบิโตะ” ของ “แสนสิริ” เป้าหมายอาจไม่ใช่แค่การสร้างมูลค่าเพิ่มหรือกระจายความเสี่ยงด้านการลงทุน  แต่งานนี้วางแผนชุดใหญ่ภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้างเมือง หลังจากซุ่มเงียบขยายอาณาจักรย่านรามอินทรา พัฒนาโครงการบ้านยึดฐานลูกค้าได้อย่างเหนียวแน่นและแตกไลน์ธุรกิจการศึกษา เปิด “โรงเรียนสาธิตพัฒนา” เติมเต็มความเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีอาณาเขตครอบคลุมเนื้อที่มากกว่า 700 ไร่ ปัจจุบัน โรงเรียนสาธิตพัฒนาถือเป็นโรงเรียนสาธิตเอกชนที่ได้รับการยอมรับในตลาดการศึกษา โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการสร้างโรงเรียนที่ดีที่สุดให้เด็กด้วยระบบการเรียนการสอนแบบเดียวกับโรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยรัฐ มีทีมอาจารย์จากโรงเรียนสาธิต รวมถึงคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ามาพัฒนาหลักสูตรตามหลักสากล และที่สำคัญมีแนวคิดต้องการขยายโรงเรียนแห่งใหม่ด้วย   กรณีโรงเรียนสาธิตพัฒนาจึงถือเป็น “จิ๊กซอว์” ตัวหนึ่งที่สามารถต่อยอดแผนการสร้าง “เมืองแสนสิริ” ให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งในความจริงเป็นแนวคิดที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์อีกหลายๆ แห่งต้องการแจ้งเกิด แต่ดูเหมือนยังไม่ประสบความสำเร็จ 100%  ขณะที่มององค์ประกอบต่างๆ ของ “แสนสิริ” หัวเรือใหญ่ ทั้งอภิชาติ จูตระกูล ในฐานะประธานอำนวยการ และเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ สามารถอ่านเกมและจับกระแสไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ กอบโกยรายได้ยอดขาย รวมถึงฉีกแนวสร้างบริการหลังการขายจนกลายเป็นกลยุทธ์การตลาดที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ค่ายอื่นๆ ต้องเดินตาม จุดแข็งอย่างโปรแกรมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีสีสัน ดูมีระดับและทันสมัย ภายใต้ชื่อ “Sansiri Family” ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเปิดตัว “Sansiri Lounges”

Read More

เลาะริมตลิ่งเจ้าพระยา แลนด์แบงก์สู่คอมมูนิตี้มอลล์

 ย้อนหลังไปราว 6-7 ปีที่แล้ว การเดินทางจากจังหวัดนนทบุรีมายังกรุงเทพฯ เส้นทางทางน้ำถือเป็นเส้นทางที่กำหนดเวลาได้แน่นอนกว่าทางบก ที่ต้องเสี่ยงเจอกับปัญหาการจราจรติดขัด หรือมลพิษจากไอเสียรถ เรือด่วนเจ้าพระยาคือหนึ่งในตัวเลือกอันดับแรกที่แม้จะไม่รวดเร็วเท่าพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์และล้อยาง แต่เสน่ห์สองข้างทางริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ชวนมองตลอดเส้นทาง ช่วยลดความน่าเบื่อในการเดินทางลงได้เยอะ บ้านเรือนไม้ริมน้ำสีขาว สีฟ้า ที่ยกพื้นสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วมเวลาที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และวิถีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่นั่งทำกิจวัตรประจำวันกันนอกชาน ยิ่งเชิญชวนให้อยากจะเข้าไปสัมผัสประสบการณ์หรือมีบ้านริมน้ำกับเขาบ้าง ทิวทัศน์ริมแม่น้ำทั้งสองฝั่งไม่ทำให้อารมณ์ครึ้มใจจางลงได้เลยแม้จะถูกน้ำกระเซ็นใส่หน้ายามที่เรือกระทบคลื่นที่เกิดจากเรือบรรทุกสินค้าที่แล่นสวนไป  ปัจจุบันการพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาจากทั้งกลุ่มทุนทั้งในและนอกประเทศ ทั้งทุนใหญ่ทุนเล็ก จะส่งผลให้วิวทิวทัศน์ริมตลิ่งเจ้าพระยาเปลี่ยนแปลงไปบ้าง บางพื้นที่จะเปลี่ยนแปลงจากบ้านไม้ไปสู่อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ในบางพื้นที่ถึงจะมีการพัฒนาแต่ก็ยังพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะรักษาสไตล์เดิมๆ เอาไว้  การแข่งขันเพื่อแย่งชิงพื้นที่ริมแม่น้ำขนาดใหญ่ นอกจากทุนที่หนาแล้วยังอาจจะต้องอาศัยโครงข่ายทางธุรกิจในการดำเนินการ และเมื่อสู้ราคาที่ดินไม่ไหว ทำให้ต้องมองย้อนกลับมายังพื้นที่ริมน้ำขนาดเล็กที่เป็นแลนด์แบงก์ดูจะเป็นเรื่องที่ท้าทายอยู่ไม่น้อย เมื่อทายาทรุ่นที่ 3 ของบริษัทเรือด่วนเจ้าพระยาอย่าง ณัฐปรี พิชัยรณรงค์สงคราม กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุภัทราเรียลเอสเตท จะปั้นท่ามหาราชที่เดิมทีเป็นท่าเรือเอกชนรายเดียวบนเกาะรัตนโกสินทร์ ให้กลายเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ที่ชื่อว่า “ท่ามหาราช”  บนเนื้อที่ 3 ไร่ของโครงการนี้ ถูกออกแบบในสไตล์โคโลเนียลฟิวชั่น แบ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น จำนวน 7 อาคารและจับเอาไลฟ์สไตล์ของผู้คนที่มีความผูกพันกับสายน้ำมาใส่เอาไว้ในตลาดติดแอร์แห่งนี้ ตั้งแต่ร้านอาหารเครื่องดื่ม แฟชั่นและความงาม ตลาดพระ มวยไทย พื้นที่สำหรับจัดแสดงงานศิลปะ

Read More