Home > การบินไทย

การบินไทยประกาศทิศทางการเติบโตสู่ขอบฟ้าใหม่แห่งความภูมิใจ “Fly for The New Pride”

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศเส้นทางสู่การเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนภายใต้แนวคิด “Fly for The New Pride” สู่ขอบฟ้าใหม่แห่งความภูมิใจ เพื่อมุ่งสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจภายใต้การบริหารจัดการของทีมผู้บริหารมืออาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ หลังจากได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและผลลัพธ์ในการฟื้นฟูกิจการมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการปรับโครงสร้างองค์กรสู่ก้าวใหม่ในฐานะบริษัทเอกชน การปรับฝูงบินและเส้นทางการบิน การปรับปรุงการให้บริการและประสิทธิภาพการดำเนินงาน ตลอดจนการปรับโครงสร้างค่าตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงาน เตรียมทะยานสู่ความสำเร็จในอุตสาหกรรมการบินครั้งใหม่ที่ต่างจากเดิม และร่วมส่งเสริมความแข็งแกร่งให้ตลาดทุนไทยด้วยการกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในช่วงไตรมาส 2 ปี 2568 นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลากว่า 3 ปีที่ผ่านมา การบินไทยได้ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการอย่างเคร่งครัด จนได้รับผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่คาดหวังเป็นอย่างดี แผนฟื้นฟูกิจการนี้เปรียบเสมือนการพลิกโฉมองค์กรครั้งสำคัญ ทั้งในด้านการปรับโครงสร้างองค์กรที่พ้นจากสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ สู่ก้าวใหม่ในฐานะบริษัทเอกชนที่ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัว และมีความโปร่งใส โดยผลงานที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็น การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อลดค่าใช้จ่าย การปรับกลยุทธ์ฝูงบินและเส้นทางการบินเพื่อเพิ่มรายได้และสร้างกำไรในทุกเส้นทางบิน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินงาน การปรับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการคัดเลือกและประเมินบุคลากรที่โปร่งใส รวมถึงการปรับโครงสร้างทางการเงินอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียม และเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของการบินไทย” การปรับโครงสร้างองค์กรของการบินไทยมีการดำเนินการที่สำคัญประกอบด้วย การปรับลดขนาดองค์กร โดยลดจำนวนพนักงานลง

Read More

ธุรกิจการบินอ่วมหนัก ยอดขาดทุนยังพุ่งไม่หยุด

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 และยังไม่มีแนวโน้มที่จะยุติลงโดยง่าย สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในวงกว้างทั้งในภาคการบริการและภาคอุตสาหกรรมโดยหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างสูงคือธุรกิจสายการบิน โดยในระดับโลกจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้หลายประเทศทั่วโลกใช้มาตรการปิดเมือง (lock-down) หรือกระทั่งปิดประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเดินทางเข้ามาแพร่เชื้อโรค ส่งผลให้ปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศที่เข้าหรือออกจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปรับลดลงอย่างมาก ผลจากการปรับลดจำนวนหรือยกเลิกเที่ยวบินในเส้นทางระหว่างประเทศดังกล่าว ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการสายการบินทั่วโลก เพราะในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจการบินต้องประสบกับความยากลำบากจากการแข่งขันด้านราคา และการแทรกตัวเข้ามาของสายการบินโลว์คอสต์ที่รุกคืบเข้ามาช่วงชิงลูกค้าของสายการบินฟูลเซอร์วิสในเส้นทางภายในประเทศและเส้นทางบินระยะสั้นไปจำนวนมาก ขณะที่การบินในเส้นทางระยะยาวก็ต้องแข่งขันกันด้านราคากับผู้ประกอบการอื่นเช่นกัน การหยุดให้บริการทั้งในเส้นทางระหว่างประเทศและในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หลายสายการบินต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินการด้วยการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะด้านค่าใช้จ่ายพนักงานที่คิดเป็นร้อยละ 15-20 ของต้นทุนทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มช่องทางในการหารายได้ใหม่ๆ โดยสายการบินไทยเน้นให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศเพิ่มขึ้น และให้ครัวการบินไทยปรับมาขายอาหารที่ปรุงโดยเชฟของครัวการบินไทย รวมถึงการขายเบเกอรี่ หรือแม้กระทั่ง ปาท่องโก๋ ผ่านทางร้าน Puff & Pie และเอาต์เล็ตอื่นๆ รวมถึงการจัดเที่ยวบินพิเศษบินวนไม่ลงจอดเพื่อสักการะสถานที่มงคลทั่วประเทศ ความพยายามดิ้นรนของสายการบินแต่ละแห่งในห้วงเวลายากลำบากนี้ดำเนินไปโดยไม่ได้จำกัดเฉพาะกรณีของการบินไทยเท่านั้น หากแต่สายการบินอื่นๆ ก็พยายามสร้างช่องทางรายได้ โดยสายการบินไทยแอร์เอเชีย มีการเปิดขายบัตรโดยสารล่วงหน้า และขายเบเกอรี่และเครื่องดื่มผ่านทางเดลิเวอรี่ ขณะที่สายการบินนกแอร์จัดโปรโมชัน “ซื้อก่อน บินทีหลัง” ด้วยการขาย voucher ล่วงหน้าเพื่อนำไปใช้ในช่วง 1 มิถุนายน ถึง 31

Read More

ฟื้นฟู การบินไทย ทางเลือกเพื่ออยู่รอด?

การตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่นำไปสู่มติยกเลิกแผนฟื้นฟูตามมติเดิมของ คนร. เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 และนำเสนอแผนใหม่ในการประชุม คนร. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ภายใต้แนวทางการนำการบินไทย เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายของไทย เพราะเห็นว่า หากยังยึดแนวทางแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ จะไม่เปลี่ยนอะไรมาก จึงหันมาเปลี่ยนวิธีในการแก้ปัญหา กลายเป็นจังหวะก้าวสำคัญที่สั่นสะเทือนสถานภาพของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการอุ้มชูจากรัฐมาอย่างยาวนานไปโดยปริยาย เพราะการแก้ไขปัญหาตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายครั้งนี้ จะทำให้การบินไทยพ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจไปเลย ไม่ใช่แค่ลดชั้นเป็นรัฐวิสาหกิจระดับ 3 เพื่อให้การดำเนินงานคล่องตัวและลดทอนอำนาจของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ขององค์กรแห่งนี้ลง ข้อเท็จจริงก่อนนำมาสู่ทางเลือกเพื่อความอยู่รอดครั้งนี้เกิดขึ้นจากเหตุที่ว่าการเพิ่มเงินจากการคํ้าประกันเงินกู้ของกระทรวงการคลัง หรือหาเงินทุนเพื่อมาลงทุนเพิ่มสำหรับการบินไทยภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันดูจะเป็นสิ่งที่ยากลำบากและไม่สอดรับกับความเป็นไปในธุรกิจการบินที่กำลังเผชิญกับอุปสรรค ทางออกว่าด้วยการฟื้นฟูการบินไทยภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องมีขั้นตอนทำไปพร้อมกับการปรับโครงสร้างผู้บริหารการบินไทย เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้จึงดูจะเป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากกว่า สถานะของการบินไทย ณ สิ้นปี 2562 มีภาวะขาดทุนสะสม 19,383.39 ล้านบาท มีภาระหนี้สินรวม 244,899.44 ล้านบาท มีสินทรัพย์อยู่ 256,664 ล้านบาท ขณะที่การมีเครื่องบินจอดทิ้งรอขายอยู่หลายลำอาจทำให้สินทรัพย์ด้อยค่าลงไปมาก ทำให้มีส่วนของผู้ถือหุ้นเหลือเพียง 11,765.11 ล้านบาท ถ้าคิดเป็นอัตราส่วนของหนี้สินต่อทุน (D/E ratio) คือ 20.81:1 หมายความว่ามีภาระหนี้สูงกว่าส่วนของทุนมาก ซึ่งนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง

Read More

สายการบินเร่งปรับตัว รับสมรภูมิเดือดบนฟากฟ้า

ธุรกิจการบินของไทย ดูจะเป็นธุรกิจที่มีความเคลื่อนไหวเป็นที่น่าจับตามองมากกลุ่มหนึ่งในรอบปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุเพราะการปรับเปลี่ยนและการรุกคืบของกลุ่มทุนใหม่ๆ เข้าสู่พื้นที่การแข่งขันที่มีความเข้มข้นนี้กำลังส่งผลต่อภูมิทัศน์และกรอบการดำเนินธุรกิจให้มีความวูบไหวอย่างมีนัยสำคัญ เพราะในขณะที่การบินไทย สายการบินแห่งชาติ ซึ่งดำเนินการตามแผนปฏิรูปองค์กรระยะที่ 3 ภายใต้แนวคิด “การเติบโตอย่างยั่งยืน” ยังคงบันทึกผลขาดทุนสุทธิในไตรมาสที่ 2/2560 ในระดับขาดทุนสุทธิ 5,208 ล้านบาท ขณะที่ในไตรมาส 3/2560 ยังบันทึกผลขาดทุนสุทธิอีกกว่า 1,800 ล้านบาท ความพยายามของการบินไทยในการพลิกฟื้นสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมาแม้จะประสบความสำเร็จพอสมควร เมื่อปรากฏว่าอัตราการใช้ประโยชน์เครื่องบินต่อวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากระดับ 11.6 ชั่วโมงต่อเครื่องต่อวัน ในไตรมาส 3 ของปี 2559 มาสู่ระดับ 12.1 ชั่วโมงต่อเครื่องต่อวัน ขณะที่ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK: Available Seat Kilometer) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) อยู่ในระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 78.2 สูงกว่าปีก่อนซึ่งอยู่ในระดับร้อยละ 73.5 โดยมีจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งสิ้นประมาณ 5.99-6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 แม้ว่าผลการดำเนินงานของการบินไทยและบริษัทย่อยในไตรมาส 3/2560

Read More

แผนฟื้นฟูการบินไทย เพื่ออนาคตระยะยาวหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า?

 กว่าครึ่งทศวรรษที่สายการบินแห่งชาติอย่างการบินไทย ให้บริการขนส่งบนน่านฟ้าด้วยความสุภาพและยิ้มสยามเป็นอัตลักษณ์ หากจะเปรียบการบินไทยเป็นคนคนหนึ่ง คงไม่ยากหากจะจินตภาพถึงคนทำงานที่เกือบปลดระวางเพราะกรำงานมาอย่างหนัก แน่นอนว่าช่วงชีวิตของคนทำงานย่อมเจอกับหลายเหตุการณ์ การบินไทยเองก็เช่นกัน กว่า 50 ปีที่ดำเนินกิจการมามีช่วงเวลาที่สร้างรอยยิ้มให้ทั้งผู้บริหารและผู้ถือหุ้น กระทั่งปี พ.ศ. 2551 ปีแรกที่นับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เมื่อการบินไทยประสบสภาวะขาดทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาท  กระทั่งการมาถึงของสายการบิน Low Cost ทำให้ธุรกิจการบินมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ผู้บริโภคมีทางเลือกเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าเป็นการดีต่อผู้บริโภคเมื่อมีสินค้าหรือบริการที่มีความหลากหลาย ไม่เป็นการผูกขาดทางการค้า หากแต่การยืนหยัดที่จะตรึงราคาเดิม ภายใต้เงื่อนไขด้านบริการที่สูงกว่า ส่งผลให้ต้นทุนต่อเที่ยวบินต่อที่นั่งสูงกว่าสายการบินอื่นๆ ที่บินในเส้นทางเดียวกัน ผลสรุปจึงกลายเป็นการติดลบทางบัญชีอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2556 ขาดทุน 12,047 ล้านบาท และ ปี 2557 ขาดทุน 15,573 ล้านบาท กระทั่งผลประกอบการครึ่งปีแรก พ.ศ. 2558 ขาดทุน 8 พันล้านบาท โดยไตรมาสแรกของปี 2558 (มกราคม – มีนาคม) ผลการดำเนินงานของการบินไทย มีกำไรอยู่ที่ 4.4

Read More

ประเมินศักยภาพการบินอาเซียน ฤา สายการบินแห่งชาติพ่าย low cost?

 ข่าวความเป็นไปของสายการบินแห่งชาตินามการบินไทย ที่กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างและฟื้นฟูธุรกิจจากที่ประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องและสะสมยาวนาน ไม่เพียงแต่สั่นคลอนองค์กรธุรกิจแห่งนี้โดยลำพังเท่านั้น หากแต่ยังก่อให้เกิดคำถามถึงศักยภาพการแข่งขันของประเทศในห้วงยามที่กำลังจะเดินหน้าเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไปโดยปริยายด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศต่างมีสายการบินแห่งชาติหรือ flag carrier ซึ่งเป็นประหนึ่งธงนำในการสื่อแสดงสัญลักษณ์และความจำเริญก้าวหน้าของแต่ละประเทศไปสู่สาธารณชนในระดับนานาชาติ และต่างมีภูมิหลังที่มาในฐานะวิสาหกิจของรัฐที่ได้รับการคุ้มครองและสนับสนุนมาอย่างยาวนาน แต่ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมการบินได้ปรับเปลี่ยนไปอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการบินในระดับนานาชาติถูกบีบอัดด้วยข้อจำกัดและส่วนต่างของผลกำไรที่ลดลงอย่างมากในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา และเป็นผลให้สายการบินแต่ละแห่งต้องเร่งปรับปรุงการบริหารจัดการทั้งในมิติของการลดต้นทุนการดำเนินการและการเร่งสร้างความเติบโตทางรายได้ควบคู่ไปด้วย ประเด็นที่น่าสนใจติดตามก็คือ อุตสาหกรรมการบินถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากมิติของรายได้ ซึ่ง International Air Transport Association (IATA) ระบุว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการบินมีรายได้เพิ่มจาก 3.69 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2004 มาสู่ระดับ 7.46 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2014 หรือเพิ่มขึ้นเท่าตัวเลยทีเดียว แม้แนวโน้มของอุตสาหกรรมการบิน จะยังปรากฏแสงเรืองรอง นั่นก็มิได้หมายความว่าผู้ประกอบการสายการบินจะสามารถคาดหมายและบันทึกตัวเลขผลกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำและสม่ำเสมอลงในรายงานผลประกอบการเช่นในอดีต ซึ่งคงเป็นสิ่งที่หาได้ยากในสถานการณ์ปัจจุบัน ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมการบินในระดับนานาชาติยังเติบโตต่อเนื่องอยู่ที่การเกิดขึ้นและขับเคลื่อนของสายการบินประเภท Low-Cost Carriers (LCCs) ซึ่งครอบครองส่วนแบ่งตลาดการบินอยู่ในสัดส่วนที่มากถึงร้อยละ 25 และยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนา ขณะเดียวกันสายการบิน low-cost เหล่านี้ก็สามารถเบียดแทรกเข้าไปทำตลาดและเติมเต็มช่องว่างในตลาดที่พัฒนาแล้วได้อีกด้วย กล่าวเฉพาะสำหรับตลาดการบินในอาเซียนซึ่งถือเป็นตลาดการบินที่มีการเติบโตและแข่งขันสูงที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก พบว่ากว่าร้อยละ 60

Read More