Home > การท่องเที่ยว (Page 2)

มาเก๊า โรดโชว์กระตุ้นท่องเที่ยว ชวนสัมผัสประสบการณ์อันลิมิเต็ด

หากเอ่ยถึง “มาเก๊า” หลายคนอาจรู้จักมาเก๊าในมิติการเป็นเมืองแห่งกาสิโน ภาพยนตร์จีนหลายเรื่องนำเสนอเรื่องราวที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับกาสิโนให้คนไทยได้คุ้นชิน นั่นเพราะอุตสาหกรรมหลักที่ทำเงินให้มาเก๊าคือ อุตสาหกรรมการเล่นเกม (พนัน) และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มาเก๊าอยู่ภายใต้อาณานิคมของโปรตุเกสจนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2542 จากนั้นอำนาจอธิปไตยเหนือมาเก๊าย้ายมาที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้หลักการ “หนึ่งประเทศสองระบบ” โดยเป็นเขตบริหารพิเศษของจีนเป็นเวลา 50 ปี จนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2592 สาเหตุที่มาเก๊าอยู่ภายใต้อาณานิคมของโปรตุเกสไม่ใช่เหตุจากการพ่ายแพ้สงครามแต่อย่างใด แต่เกิดจากความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างพ่อค้าชาวโปรตุเกสและคนในท้องถิ่น ทำให้โปรตุเกสขอเช่าพื้นที่มาเก๊าจากจีน และพัฒนาจนกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญสำหรับการค้า สินค้าหลักคือชา และผ้าไหม นอกจากนี้ โปรตุเกสยังอนุมัติให้มาเก๊าพัฒนาอุตสาหกรรมเกม จนทำให้มาเก๊ากลายเป็นอุตสาหกรรมกาสิโนแห่งแรกของเอเชีย แต่วันนี้ฉากทัศน์ของมาเก๊ากำลังเปลี่ยนไป ภาพงานศิลปะที่ถูกประดับอยู่บนผนังของอาคารบ้านเรือน อาคารเก่า สิ่งก่อสร้างที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวด้านกีฬา สิ่งเหล่านี้ถูกฉายให้เห็นผ่านโลกโซเชียล เพื่อเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวได้ไปสัมผัสประสบการณ์พิเศษในแบบฉบับของตัวเอง ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Experience Macao Unlimited” มาเรีย เฮเลน่า เดอ เซนน่า เฟอร์นานเดซ ผู้ว่าการท่องเที่ยวมาเก๊า บอกกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ในโอกาสที่มาจัดโรดโชว์เพื่อโปรโมตการท่องเที่ยวมาเก๊า “เราเห็นศักยภาพของตลาดไทย และให้ความสำคัญกับตลาดนักท่องเที่ยวคนไทยมาตั้งแต่ก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

Read More

มิตซุย ฟูโดซัง รีเทล เมเนจเม้นท์ ยักษ์ใหญ่ด้านศูนย์การค้าและเอาท์เล็ตจากญี่ปุ่น บินมาเปิดตัวกับชาวไทย รับการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว

ภายหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น พร้อมๆ กับการทยอยเปิดประเทศแบบเต็มรูปแบบของประเทศญี่ปุ่น ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่กลับเข้ามาเที่ยวประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด บริษัท มิตซุย ฟูโดซัง รีเทล เมเนจเม้นท์ จำกัด ได้เดินทางมาจัดงานแถลงข่าวเพื่ออัพเดตและประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์การค้าและเอาท์เล็ต พร้อมด้วยข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการต่างๆ รวมไปถึงการเปิดตัวสาขาใหม่ล่าสุด ตลอดจนการแนะนำ Mitsui Garden Hotels โรงแรมในเครือ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่จะเดินทางไปเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น สำหรับบริษัท มิตซุย ฟูโดซัง รีเทล แมเนจเมนท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินกิจการศูนย์การค้ากว่า 70 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น อาทิ MITSUI OUTLET PARK, DiverCity Tokyo Plaza ย่านโอไดบะ ในกรุงโตเกียว หรือ LaLaport เป็นต้น โดยก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นั้น จำนวนตัวเลขนักท่องเที่ยวจากประเทศไทยได้มีการเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี โดยในปี 2562 จำนวนชาวไทยที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นมีทั้งหมดประมาณ 1.32 ล้านคน และหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของการท่องเที่ยวก็คือการช้อปปิ้ง

Read More

TRAViZGO INNOTECH กางแผนเชิงรุก รับการท่องเที่ยวฟื้นตัว ก้าวขึ้นสู่สตาร์ทอัพระดับเซนทอร์

TRAViZGO INNOTECH กางแผนเชิงรุก รับการท่องเที่ยวฟื้นตัว หลังระดมทุนได้กว่า 500 ล้านบาท ก้าวขึ้นสู่สตาร์ทอัพระดับเซนทอร์ (Centaur) ตอกย้ำความเป็นผู้นำของ Travel Tech อันดับ 1 ของไทย TRAViZGO INNOTECH บริษัท Travel Tech Startup อันดับ 1 ของไทย ประกาศความพร้อมหลังได้รับการลงทุนกว่า 500 ล้านบาท ในช่วงโควิด ทรานฟอร์มทั้งรูปแบบธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐานและคน ชูกลยุทธ์ “The BEST” มัดใจกลุ่มเป้าหมายด้วยความคุ้มค่าในทุกข้อเสนอผ่านทุกช่องทางบริการ ตอกย้ำความเป็นที่ 1 เจ้าของแพลตฟอร์มท่องเที่ยวของไทย พร้อมเป็นตัวแทนประเทศไทยเดินหน้าสู่ท็อป 100 บริษัทเทคโนโลยีแห่งเอเชีย นายณัฐเศรษฐ วงศ์วัฒนากานต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทราวิซโก อินโนเทค จำกัด กล่าวว่า ก่อนสถานการณ์โควิดราวปี 2019 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามากว่า 39

Read More

ยกเลิก Test & Go ไทยเตรียมลุยท่องเที่ยวเต็มสูบ

อย่างที่ทราบกันดีว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลเสียต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศไทยที่พึ่งพารายได้จากต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งภาคการส่งออก การลงทุน การท่องเที่ยว แม้ว่าการค้าระหว่างประเทศจะเคยหยุดชะงักในช่วงแรกของการระบาด ทว่า ปัจจุบันกลับมีทิศทางที่สดใสและมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่การลงทุนยังคงต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะยังมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกล้วนมีส่วนต่อการตัดสินใจของนักลงทุนจากต่างชาติว่าจะย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นหรือไม่ ในขณะที่การท่องเที่ยวที่เคยสร้างรายได้ให้ประเทศไทยอย่างมหาศาล โควิด-19 ได้สร้างบาดแผลฉกรรจ์ไว้จนผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเยียวยาตัวเองได้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา สภาพการณ์ปัจจุบันที่การติดเชื้อเริ่มเข้าสู่ภาวะทรงตัว แม้จะยังมีผู้ติดเชื้อหลักหมื่นคนต่อวัน ทว่า ความรุนแรงของโรคค่อยๆ ลดลง เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้รับวัคซีน และไทยเปิดประเทศเพื่อการท่องเที่ยวมาแล้วระยะหนึ่ง กระนั้นด้วยเงื่อนไขที่เคร่งครัดสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามา ผู้ประกอบการท่องเที่ยวส่วนใหญ่มองว่า เงื่อนไขดังกล่าวไม่เอื้ออำนวยให้การท่องเที่ยวไทยได้ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวไทยมีส่วนสำคัญต่อการจ้างงานในภาคบริการ ที่ในช่วงการระบาดอย่างหนักจนต้องประเทศปิดประเทศ แรงงานที่อยู่ในระบบนี้ถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก นั่นส่งผลโดยตรงต่อรายได้และหนี้สินที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น โดยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย หนี้ครัวเรือนไทยเมื่อสิ้นปี 2564 อยู่ที่ 90.1% ของจีดีพี เพิ่มขึ้น 10.2% เมื่อเทียบกับปี 2562 ก่อนที่จะมีการระบาดของโควิด-19 อยู่ที่ 79.9% ของจีดีพี หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากการขาดรายได้ของประชาชน อันมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ลดลงอย่างมาก เกิดภาวะว่างงาน หรือชั่วโมงการทำงานลดลง รายได้ลดลง ความหวังที่จะให้เศรษฐกิจทั้งระบบขับเคลื่อนคือการผ่อนปรนมาตรการด้านการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ายังประเทศไทยมากขึ้น เมื่อเงื่อนไขต่างๆ ลดลง

Read More

“สยามพิวรรธน์” ร่วมฟื้นเศรษฐกิจและท่องเที่ยว เตรียมจัดมหกรรมเที่ยวไทย สร้างเม็ดเงินสะพัดกว่า 500 ล้านบาท

“สยามพิวรรธน์” มุ่งมั่นยืนหยัดเคียงข้างคนไทย ร่วมฟื้นเศรษฐกิจและท่องเที่ยวไทยต่อเนื่อง สร้างเม็ดเงินสะพัดกว่า 500 ล้านบาท เตรียมจัดมหกรรมเที่ยวไทยรวมโรงแรมหรูและดีลสุดพิเศษ!! นับตั้งแต่ในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลต่อทั้งเศรษฐกิจไทยและทั่วโลกหลายคนได้รับผลกระทบจากจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ทั้งร่างกาย หรืออาจจะตกงาน ขาดรายได้ แต่ประเทศไทยไม่เคยแห้งแล้งน้ำใจ ทุกคนยังช่วยเหลือกันเพื่อฝ่าเหตุการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีกชั้นนำ เจ้าของและผู้บริหารศูนย์การค้าสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของ “ไอคอนสยาม” และสยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพฯ เป็นองค์กรที่ได้ประกาศความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนตั้งแต่แรกว่าจะอยู่เคียงข้างคนไทยในยามวิกฤติ ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ในทุกๆ ด้านตอกย้ำวิสัยทัศน์ผู้นำความคิดสร้างสรรค์ The Visionary ICON โดยมุ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างคุณค่าสมประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย (Creating Shared Values) ให้เกิดขึ้นในสังคม เป็นผู้ริเริ่มช่วยเหลือผู้ประการท่องเที่ยว เปิดพื้นที่จัดมหกรรมเที่ยวไทยผนึกโรงแรมหรูระดับเวิลด์คลาสนำเสนอแพคเกจที่พักและโปรโมชั่นสุดคุ้ม เพื่อให้คนไทยได้ช่วยเหลือกันร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ล่าสุดเตรียมจัดมหกรรมเที่ยวไทยต่อเนื่องครั้งที่ 7 ภายใต้ชื่องาน “Siam Paragon Thailand’s Luxury Summer Escape” ระหว่างวันที่ 14-20 ก.พ.นี้ ณ แฟชั่นฮอลล์

Read More

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสะดุด โอมิครอนทำทรุดทั้งระบบ

คงเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนคือตัวดับฝันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง แม้ว่าก่อนหน้าหลายภาคส่วนจะทำเพียงแค่จับตา และคาดการณ์สถานการณ์ไปในทางบวกว่า โอมิครอนจะไม่กระทบภาคการท่องเที่ยวของไทยเท่าใดนัก แต่หลังจากเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่เป็นต้นมา จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น และมีหลายคลัสเตอร์ในหลายจังหวัด กระทั่งกระทรวงสาธารณสุขต้องประกาศแจ้งการเตือนภัยด้านสาธารณสุขจากระดับ 3 เป็นระดับ 4 ซึ่งมาตรการมีตั้งแต่การปิดสถานที่เสี่ยง ทำงานจากที่บ้าน 50-80 เปอร์เซ็นต์ ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ ใช้ระบบกักตัวผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ และรัฐบาลยกเลิกมาตรการเข้าประเทศแบบ Test&Go และปิดการลงทะเบียน Thailand Pass ชั่วคราว ซึ่งทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง ไม่ใช่เพียงในประเทศไทยเท่านั้นที่ประกาศใช้มาตรการควบคุมเข้มงวดสูงสุด ในขณะที่อีกหลายประเทศทั่วโลกที่เกิดการระบาดอย่างหนักก็เช่นเดียวกัน เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เป็นต้น ผลคือนักท่องเที่ยวต่างชาติยกเลิกการเดินทางเพราะมีการระบาดจากประเทศต้นทาง เป็นเหตุให้โรงแรมและที่พักต่างๆ ถูกแจ้งยกเลิกการจอง หรือเลื่อนกำหนดเวลาการเข้าพัก ตั้งแต่ 25-50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากสถานการณ์การเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เริ่มปรากฏชัดว่าอาจไม่เป็นไปตามเป้าแล้ว การท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทยก็ดูจะห่างไกลกับคำว่าประสบความสำเร็จเช่นกัน ซึ่งนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า โครงการทัวร์เที่ยวไทยภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณ 5,000 ล้านบาท ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายนนี้ โครงการดังกล่าวมีคนใช้สิทธิเดินทางท่องเที่ยวผ่านบริษัททัวร์น้อยมาก

Read More

อนาคตท่องเที่ยวไทย บนรอยทางความหวังอันเลือนราง

เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่จะส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ไม่เป็นไปอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาที่เป็นตัวแปรสำคัญทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นในเวลาไม่นาน หลายประเทศที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลตา ต้องนำมาตรการล็อกดาวน์กลับมาใช้เป็นการด่วน ซึ่งเป้าหมายหลักล้วนอยู่ที่การสกัดไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่ระบาดลุกลามจนยากเกินจะควบคุม ถึงกระนั้นความพยายามของภาครัฐที่จะเปิดประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยก็เกิดขึ้นภายใต้โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ โครงการที่หลายคนตั้งความหวังว่าจะประสบความสำเร็จ อันจะนำไปสู่การเปิดโครงการแซนด์บ็อกซ์ในจังหวัดอื่นๆ ต่อไป เช่น จังหวัดเชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี สงขลา ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2564 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติภายใต้ Special Tourist Visa (STV) เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยต่อเนื่องและในเดือนกรกฎาคม 2564 การเปิดโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักท่องเที่ยวต่างชาติทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยสูงเกิน 1 หมื่นคนในรอบ 10 เดือน หลังจากที่ไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์เปิดดำเนินการมาครบสองเดือน มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาแล้วประมาณ 24,000 คน โดยเป็นการจองห้องพักตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ซึ่งมีการจองไปกว่า 430,000 คืน ก่อนหน้านี้มีการเปิดเผยตัวเลขรายได้ที่เข้ามาในจังหวัดภูเก็ตช่วงภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ โดย นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า หลังจากเปิดดำเนินการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ในเดือนแรกมีรายได้ประมาณ 829 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 58,982 บาทต่อทริป แบ่งเป็นค่าที่พักมากที่สุด 282

Read More

ททท. ผนึก ‘ขายหัวเราะ’ ฟื้นฟูท่องเที่ยวมิติใหม่โดยใช้การ์ตูน พร้อมเปิดเกาะขายหัวเราะ จ.ตราด อย่างเป็นทางการ

ททท. ผนึก ‘ขายหัวเราะ’ จ่อฟื้นฟูท่องเที่ยวมิติใหม่โดยใช้การ์ตูน พร้อมเปิดเกาะขายหัวเราะ จ.ตราด อย่างเป็นทางการ หวังชวนคนไทยเที่ยวแบบ Next Normal หลังผ่านวิกฤตโควิด-19 หลังจากที่โลกของการเดินทางต้องหยุดนิ่งมานานนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ล้วนโหยหาความสุขจากการเดินทาง จึงมีการคาดการณ์ว่าการท่องเที่ยวจะฟื้นคืนกลับมาเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว แต่สิ่งสำคัญคือการบูรณาการแผนการฟื้นฟูการท่องเที่ยวเพื่อรับกระแส Next Normal ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตราด ได้เล็งเห็นแลนด์มาร์ค หนึ่งของจังหวัด จึงเกิดเป็นไอเดียและความร่วมมือกันในครั้งนี้ระหว่างททท. และขายหัวเราะ นายอิษฎา เสาวรส ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตราดกล่าวถึงที่มาของการร่วมมือกันกับขายหัวเราะในครั้งนี้ว่า เกิดจากความเข้ากันพอดีของสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดตราด กับภาพจำของหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ ที่แฟนการ์ตูน และนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดตราดได้พบกับเกาะแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกาะนกนอก เชื่อมมาจากเกาะนกใน และเกาะกระดาด เกาะนี้จะมีจังหวะที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมาในช่วงน้ำลด ซึ่งทำให้เห็นพื้นที่เกาะเล็กน้อยและมีต้นตะบันขึ้นอยู่เพียงโดดๆ เพียงต้นเดียว ทำให้มีลักษณะเหมือนแก๊กติดเกาะของการ์ตูนขายหัวเราะ ทำให้นักท่องเที่ยวพากันเรียกเกาะนี้ว่า ‘เกาะขายหัวเราะ’ จนกลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวแลนด์มาร์คสำคัญของจังหวัดตราดในที่สุด ทางททท.สำนักงานตราด จึงเชิญขายหัวเราะมาร่วมส่งเสริมโปรโมตเกาะแห่งนี้ในนาม ‘เกาะขายหัวเราะ’ อย่างเป็นทางการโดยมีความตั้งใจที่จะร่วมมือกันตั้งรับ ฟื้นฟู และส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถานการณ์โรคโควิด 19 คลี่คลาย

Read More

นับถอยหลังภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ นำร่องกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว

ภูเก็ต เป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่มักจะติดอันดับจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว โดยเมื่อปี 2020 จากผลการจัดอันดับโดย CEOWORLD นิตยสารด้านธุรกิจของสหรัฐอเมริกา ภูเก็ตติดอันดับ 9 ในการเป็นจุดหมายปลายทางที่ดีที่สุดของโลกสำหรับนักเดินทางเพื่อธุรกิจ ขณะที่การจัดอันดับของ U.S. News & World Report รายงานการจัดอันดับ 30 สถานที่ท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2563-2564 พบว่า จังหวัดภูเก็ตติดอยู่ในอันดับ 10 ของรายการนี้ ด้านมาสเตอร์การ์ด เคยเผยผลสำรวจเมืองสุดยอดจุดหมายปลายทางของโลกเพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อน พบว่า ภูเก็ตติด 1 ใน 10 เมืองที่นักท่องเที่ยวเลือกที่จะเดินทางมา โดยเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนที่นิยมเดินทางมาเที่ยวพักผ่อนที่ภูเก็ตมากที่สุด และระหว่างท่องเที่ยวที่ภูเก็ตนักท่องเที่ยวจะใช้เงินคนละประมาณ 4,700 บาท หรือ 239 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ด้วยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ตที่เป็นเกาะ และยังมีเกาะน้อยใหญ่รายล้อม ทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม อาหาร วัฒนธรรม ประเพณี หรือแม้แต่อาคารบ้านเรือนที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน สไตล์ชิโนโปรตุกีส จึงทำให้ภูเก็ตกลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี กระทั่งในที่สุด ภูเก็ตเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก และเมื่อแทบทุกประเทศมีคำสั่งปิดประเทศเพื่อรับมือกับวิกฤตโควิด การเดินทางระหว่างประเทศถูกระงับ

Read More

ท่องเที่ยวไทยอ่วม ถึงเวลาต้องปรับตัว

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งคุกคามสังคมโลกและยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติลงโดยง่ายเช่นในปัจจุบันนี้ นอกจากจะส่งผลให้ธุรกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไปต้องปรับตัวให้สอดรับกับวิถีใหม่ หรือ New Normal เพื่อที่จะขับเคลื่อนต่อไปข้างหน้าแทนที่จะหยุดนิ่งเหมือนช่วงที่ผ่านมา อาจให้ภาพของความคลี่คลายในสถานการณ์ หากแต่ในความเป็นจริงอนาคตที่วางอยู่เบื้องหน้าดูจะอึมครึมและปราศจากสัญญาณเชิงบวกอยู่ไม่น้อย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจสำหรับเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลจากการแพร่ระบาดซึ่งเริ่มต้นในช่วงปลายของไตรมาสที่ 1 ส่งผลให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 กลายเป็นไตรมาสที่ย่ำแย่ที่สุด เนื่องเพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งระบบหยุดชะงัก การผลิตและการส่งออกไม่สามารถกระทำได้ ซึ่งเมื่อเริ่มมีการผ่อนปรนมาตรการป้องกันให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลากหลายเริ่มกลับมาดำเนินการได้ภายใต้มาตรการที่คลี่คลายลง ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะพ้นจุดต่ำสุดและกำลังจะฟื้นตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ หากแต่ในความเป็นจริงตลอดช่วงเวลาของไตรมาสที่ 3 ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายนพร้อมกับการสิ้นสุดปีงบประมาณ สถานการณ์โดยรอบกลับไม่ได้บ่งชี้ถึงสัญญาณการฟื้นตัวมากนัก มิหนำซ้ำยังมีลักษณะที่พร้อมจะจมดิ่งไปหาจุดต่ำสุดใหม่ได้ตลอดเวลาอีกด้วย เพราะแม้หลายฝ่ายจะพยายามปลอบประโลมว่าด้วยการทยอยฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่นั่นก็อาจใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี หรืออาจยาวนานถึง 5 ปีนับจากนี้ เหตุที่เป็นดังนี้ในด้านหนึ่งก็เนื่องเพราะประเทศไทยพึ่งพารายได้จากการส่งออกที่ผูกพันกับกำลังซื้อของคู่ค้าในต่างประเทศ ซึ่งหากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้นตัวโอกาสที่จะมีคำสั่งซื้อก็จะชะลอตัวต่อไป ขณะเดียวกันด้วยเหตุที่ไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก ความหวังที่ว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาเดินทางสร้างรายได้ให้กับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องก็อาจต้องใช้เวลานานไม่ต่ำกว่า 2 ปี การคาดการณ์ในลักษณะดังกล่าวตั้งอยู่บนฐานความคิดที่ว่า หลักประกันความปลอดภัยจาก COVID-19 โดยเฉพาะวัคซีนยังไม่มีการพัฒนาได้สำเร็จ โดยหลายฝ่ายประเมินเบื้องต้นว่าวัคซีนที่ได้ผลในการจัดการกับ COVID-19 น่าจะคิดค้นได้เร็วที่สุดภายในเดือนกันยายนปีหน้า และกว่าที่วัคซีนจะเข้าถึงประชากรส่วนใหญ่ทั่วโลกและประเทศกำลังพัฒนา ก็น่าจะยาวนานไปจนถึงปี 2022 ดังนั้น แนวโน้มที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่เทียบเท่าก่อนเกิดการระบาด ก็น่าจะอยู่ในช่วงปลายปี 2022 หรืออีกประมาณ 2 ปีนับต่อจากนี้ ก่อนหน้านี้

Read More