จากมาตรการของภาครัฐที่มีเป้าประสงค์ที่จะสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นผลให้ร้านค้า ร้านอาหาร ไม่สามารถเปิดให้ผู้บริโภคเข้ามานั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้ ทำได้เพียงการบริการซื้อกลับบ้าน
เหตุผลดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องมองหาช่องทางอื่นในการจำหน่ายอาหาร เพียงหวังให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แม้เม็ดเงินที่จะเข้ามาอาจไม่เท่ากับช่วงเวลาในสถานการณ์ปกติ
Food Delivery จึงเป็นทางออกที่ดูจะเหมาะเจาะกับสถานการณ์อันยากลำบากนี้ บริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชันจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทย โดยมุ่งหวังจะเข้ามาเป็นตัวกลางระหว่างร้านอาหารและผู้บริโภค แม้เข้ามาดำเนินธุรกิจอยู่ในไทยได้ระยะหนึ่งแล้วก็ตาม
ทว่า ยังไม่สามารถสร้างความนิยมได้มากนักในช่วงแรก ทั้งจากการที่ยังมีร้านค้าเข้าร่วมใช้บริการไม่มากนัก รวมไปถึงข้อจำกัดของเส้นทางการขนส่ง และพนักงานขับรถส่งอาหารยังมีไม่มากพอ
ปัจจุบัน Food Delivery แอปพลิเคชันแทบจะกลายเป็นแอปพลิเคชันพื้นฐานที่ปรากฏอยู่บนอุปกรณ์สื่อสารของคนไทย และช่วงเวลาที่สถานการณ์อันเลวร้ายที่สร้างข้อจำกัดการเข้าถึงร้านอาหารของผู้บริโภคในการนั่งรับประทานอาหารภายในร้าน นับตั้งแต่ที่โคโรนาไวรัสระบาดในไทยตั้งแต่ต้นปี 2563
หากพูดถึงในแง่มุมของผลประโยชน์ที่ร้านอาหารจะได้จากการเข้าร่วมแอป นั่นคือ Food Delivery แอปพลิเคชัน เป็นเสมือนเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ร้านอาหาร ร้านค้า มีโอกาสสร้างรายได้ในช่วงเวลาวิกฤตเพิ่มขึ้น เจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวที่ใช้บริการแอปพลิเคชันส่งอาหารถึงสองค่ายบอกกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ว่า “ถึงจะโดนหักค่าคอมมิชชั่นที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ต้องยอม อย่างน้อยก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เราจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ในเมื่อเราเห็นว่าช่องทางนี้สร้างรายได้แน่ๆ ทำไมจะไม่ทำล่ะ ถึงเวลาที่เราต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง”
ขณะที่ร้านอาหารขนาดเล็กหรือร้าน Street food หลายร้านคล้ายกับถูกกระแสความนิยมของแอปพลิเคชัน Food Delivery เข้ามาแผ่อิทธิพล ซึ่งมีตัวเลขรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาเป็นแรงจูงใจ กระทั่งตัดสินใจเข้าร่วมเป็นผู้ใช้บริการในระยะแรก ทว่า
Food Deliveryค่า GPฟู้ด ดิลิเวอรี่โควิด-19 Read More