Home > 2021 (Page 18)

Buddy HomeCare จากมูลนิธิสู่โมเดลธุรกิจ พร้อมดูแลผู้สูงวัยและสร้างโอกาสให้กับเยาวชน

ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จากการคาดการณ์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวภายในปี 2565 และในปี พ.ศ. 2573 ประชากรสูงวัยจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 26.9 ของประชากรทั้งประเทศ สัดส่วนของผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่สัดส่วนของอัตราการเกิด และจำนวนประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง การเตรียมรับมือกับสังคมผู้สูงวัยเป็นประเด็นสำคัญที่ใกล้ตัว แต่ในขณะเดียวกันปัญหาเยาวชนกลุ่มเปราะบางที่ขาดโอกาสทางการศึกษาก็ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่ต้องการการแก้ไขอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน ถึงแม้จะเป็นประเด็นปัญหาต่างวาระ แต่ทั้งสองประเด็นสามารถแก้ไขและเตรียมรับมือไปพร้อมกันได้ ดังที่ “บัดดี้ โฮมแคร์” (Buddy HomeCare) ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุที่เล็งเห็นความเป็นไปได้ จึงได้พยายามพัฒนารูปแบบจากการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุแบบมูลนิธิสู่โมเดลธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้ รวมถึงแก้ปัญหาเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ควบคู่ไปกับการเตรียมรับมือกับสังคมผู้สูงวัยไปพร้อมๆ กัน ปัจจุบันธุรกิจดูแลผู้สูงอายุเกิดขึ้นอย่างมากมายตามจำนวนประชากรผู้สูงวัยที่เพิ่มมากขึ้น และมีหลากหลายบริการให้เลือก “บัดดี้ โฮมแคร์” ถือเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินธุรกิจนี้เช่นกัน แต่สิ่งที่ทำให้บัดดี้ โฮมแคร์ แตกต่างจากโฮมแคร์ทั่วๆ ไป อยู่ที่พนักงานที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุทุกคน ล้วนแล้วแต่เป็นเยาวชนที่ขาดโอกาสด้านการศึกษาทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถือเป็นกลุ่มเปราะบางที่น่าเป็นห่วง “บัดดี้ โฮมแคร์” ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่และศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางภาคเหนือของไทย อย่าง “เชียงใหม่” เป็นธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีการพัฒนาต่อยอดมาจากมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ

Read More

“แสนสิริ” ดึง 13 ศิลปิน ปลุกพลังบวกและให้กำลังใจคนไทยทั้งประเทศ

“แสนสิริ” ดึง 13 ศิลปิน ปลุกพลังบวกและให้กำลังใจคนไทยทั้งประเทศ ส่งต่อทุกรอยยิ้ม ผ่านโลก Virtual ในแคมเปญฟีลกู๊ด “Live Love Joy” ชวนใช้ชีวิตทุกวันอย่างมีความหมายและมีความสุข ดีเดย์ 21 ก.ย. นี้ · แสนสิริ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการปลุกพลังบวกและให้กำลังใจคนไทยทั้งประเทศได้ลุกขึ้นมา ใช้ชีวิตทุกวันอย่างมีความหมายและมีความสุข กับ แคมเปญฟีลกู๊ด “Live Love Joy” ดึง 13 ศิลปินต่างอายุ ต่างเพศวัย ต่างที่มา ร่วมกันครีเอทงานอาร์ตแนว illustration ชิ้นเดียวในโลก 21 กันยายนนี้ ทาง Facebook : Sansiri PLC · ถ่ายทอด Insight คนไทยในช่วงเวลานี้ ที่โหยหาการใช้ชีวิตที่มีความสุขอีกครั้งอย่างที่เคยทำ สู่การพบเจอกันใน Virtual community ของเหล่าบรรดาคาแรกเตอร์บนงานศิลปะ ที่ทำให้ “ความสุขเกิดขึ้นจริงได้”

Read More

ภาวะเครียด เหงาอ้างว้าง หมดไฟ Work From Home เป็นเหตุสังเกตได้

การ Work From Home ไม่ใช่เทรนด์อย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่นั่นเป็นนโยบายเหมาะสมที่ถูกประกาศใช้โดยรัฐบาล ซึ่งมีเป้าหมายให้การทำงานที่บ้านนั้นเป็นแนวทาง ลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเวลานั้นทั้งหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนต่างขานรับนโยบาย ในช่วงแรกของการ WFH หลายคนอาจรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่จะได้ทำงานจากที่บ้านได้ ประหนึ่งว่าได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ ซึ่งแน่นอนว่านอกจากการลดโอกาสการติดเชื้อโควิดแล้ว ยังมีข้อดีโดยเฉพาะ เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าโดยสารขนส่งสาธารณะทุกระบบ นอกจากนี้ ยังได้ประหยัดเงินที่ปกติแล้วจะถูกใช้ไปกับการจับจ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยระหว่างวัน จากแหล่งชอปปิงในพื้นที่ใกล้สำนักงาน หรือบางคนอาจได้ลดค่าใช้จ่ายในการสังสรรค์หลังเลิกงานมากขึ้น แม้ว่าการทำงานที่บ้านจะมีข้อดีหลายด้าน แต่ตอนนี้หลายคนคงเห็นแล้วว่าข้อเสียก็มีมากเช่นเดียวกัน และแน่นอนว่าหลายคนอาจประสบกับปัญหาของการทำงานที่บ้านเข้าให้แล้ว ความเหงา อ้างว้าง มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มักจะโหยหาความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ อยู่เสมอ การทำงานในรูปแบบปกตินั้น มนุษย์ทำงานมักจะมีการพบปะพูดคุยและเปลี่ยนบทสนทนาระหว่างกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนระหว่างแผนก บทสนทนาที่มักเกิดขึ้นระหว่างการเดินไปชงกาแฟ การเดินออกไปรับประทานอาหาร และไม่ว่าบทสนทนานั้นจะเกี่ยวกับงานหรือเป็นแค่การนินทา เมาท์มอย ล้วนแต่ช่วยให้คลายเหงา ลดความเครียดจากการทำงานได้ทั้งสิ้น คล้ายกับเป็นการระบายความอึดอัดอย่างหนึ่ง ทว่า เมื่อการทำงานแบบ WFH โอกาสที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์แบบเดียวกันกับที่เคยเกิดขึ้นในออฟฟิศนั้นเป็นเรื่องยาก แม้ว่าจะยังมีการพูดคุยหรือทักทายกับเพื่อน แต่เป็นรูปแบบออนไลน์ แม้จะได้เห็นหน้ากัน แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นย่อมไม่เหมือนกันแน่นอน หรือในบางรายอาจไม่มีเวลาที่จะทักทายกับใครเลย ความเครียด-หมดไฟ “บ้าน” ถูกกำหนดไว้ภายใต้กรอบการเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อนจากความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการทำงาน เป็นพื้นที่ที่เราสามารถมาผ่อนคลายด้วยกิจกรรมสันทนาการเล็กๆ เช่น การดูละคร ดูภาพยนตร์ ซีรีส์

Read More

สหพัฒน์ วางศิลาฤกษ์ ‘KingBridge Tower’ ปักธงเป็นอาคารสำนักงานที่สูงที่สุดในไทย

เครือสหพัฒน์ วางศิลาฤกษ์โครงการอาคารสำนักงาน ‘KingBridge Tower’ ภายใต้แนวคิด ‘The Spirit of Synergy’ ผสานพลังเพื่อมุ่งสร้างความสำเร็จ ปักธงเป็นอาคารสำนักงานที่สูงที่สุดในไทย บนถนนพระราม 3 บริษัท สห แคปปิตอล ทาวเวอร์ จำกัด (Saha Capital Tower Co., Ltd.) ในเครือสหพัฒน์ วางศิลาฤกษ์โครงการ ‘KingBridge Tower’ อาคารสำนักงานให้เช่า สัญลักษณ์แห่งใหม่ (Iconic Building) บนถนนพระราม 3 รังสรรค์ขึ้นด้วยความใส่ใจในคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคาร ผสานเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำสมัยให้กลมกลืนไปกับพื้นที่สีเขียวภายใต้แนวคิด ‘The Spirit of Synergy’ ผสานพลังเพื่อมุ่งสร้างความสำเร็จ โดยมี คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ พร้อมด้วย คุณวิชัย กุลสมภพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง

Read More

อสังหาฯ ไทยไม่ใช่แค่ขาลง แต่เป็นวิกฤตในวิกฤต

ทิศทางของตลาดอสังหาฯ ไทยในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา พบว่าการเติบโตและอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านของดีมานด์และซัปพลาย ส่วนหนึ่งมาจากการขยายตัวของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนแบบราง เป็นเหตุให้โครงการต่างๆ เลือกพื้นที่คู่ขนานไปกับเส้นทางรถไฟทั้งบนดินและใต้ดิน ซึ่งเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความต้องการบ้านหลังแรกประเภทที่อยู่อาศัยแนวตั้ง และกลุ่มนักเก็งกำไรในตลาดอสังหาฯ ได้เป็นอย่างดี ในเวลานั้นผู้ประกอบการเปิดโครงการใหม่เพื่อป้อนซัปพลายเข้าระบบอย่างต่อเนื่อง ทว่าในด้านของดีมานด์แม้จะมีอยู่จริง แต่ไม่ใช่ว่าทุกดีมานด์จะดูดซับซัปพลายออกไปได้ เมื่อขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อแหล่งธนาคารพาณิชย์เริ่มมีเงื่อนไขเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการวางเงินดาวน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการ LTV ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบังคับใช้ เพื่อป้องกันหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นในระบบ กระทั่งซัปพลายที่อยู่อาศัยแนวตั้งเริ่มล้นตลาด และเวลาต่อมาเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ด้วยมูลเหตุปัจจัยทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ ความซบเซาของตลาดอสังหาฯ ค่อยๆ ปรากฏชัดขึ้นตั้งแต่โควิดแพร่ระบาดระลอกแรกในปี 2563 เชื้อไวรัสโควิดสร้างความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจไทยในทุกอุตสาหกรรม ยอดการเปิดโครงการใหม่ ยอดการจองที่อยู่อาศัยค่อยๆ ลดลงตามลำดับ กระทั่งปีนี้ 2564 สถานการณ์เลวร้ายไม่มีท่าทีจะเบาบางลง อีกทั้งยังเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดในกลุ่มแรงงาน ทั้งในธุรกิจก่อสร้าง แรงงานในภาคการผลิต จนในที่สุดรัฐบาลประกาศให้ล็อกดาวน์สถานที่ก่อสร้างเพื่อสกัดกั้นไม่ให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่เพิ่ม ธุรกิจอสังหาฯ ไทยเริ่มเข้าสู่ขาลงนับตั้งแต่เกิดสภาวะโอเวอร์ซัปพลาย แต่ปัจจุบันคงต้องเรียกว่านี่เป็นวิกฤตในวิกฤต สถานการณ์โควิดที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้สร้างบาดแผลขนาดใหญ่ให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ สภาพการณ์ปัจจุบันคงไม่ใช่แค่การเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอีกต่อไป แต่เป็นสภาวะถดถอย แม้ธุรกิจอสังหาฯ จะไม่ได้เป็นอุตสาหกรรมหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย กระนั้นภาคอสังหาฯ ก็มีมูลค่าคิดเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีประเทศ นอกจากนี้ ความสำคัญของธุรกิจอสังหาฯ ยังเชื่อมโยงกับอีกหลายธุรกิจ เช่น

Read More

ไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมสมาพันธ์การขายตรงโลก ครั้งที่ 16 มุ่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการขายตรง

6-7 ต.ค. นี้ ไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมสมาพันธ์การขายตรงโลก ครั้งที่ 16 มุ่งเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการขายตรงและนักธุรกิจอิสระ สู่ความสำเร็จโลกยุคใหม่ สมาคมการขายตรงไทย (TDSA) หนึ่งในสมาชิกของสมาพันธ์การขายตรงโลก (WFDSA) เตรียมพร้อมจัดงานประชุมสมาพันธ์การขายตรงโลก ครั้งที่ 16 ในรูปแบบออนไลน์ (WFDSA World Congress XVI – Virtual Edition) ระหว่างวันที่ 6-7 ตุลาคม 2564 หลังโชว์ศักยภาพจนได้รับเลือกจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานในครั้งนี้ รวมเหล่าวิทยากรพิเศษทั้งผู้บริหารระดับซีอีโอ นักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ และนักกฎหมาย มาร่วมแชร์มุมมองเปิดรหัสสู่ความสำเร็จร่วมกันของผู้ประกอบการขายตรงและนักธุรกิจอิสระจากทั่วทุกมุมโลก มั่นใจธุรกิจขายตรงมีความพร้อมสู่การเติบโตในอนาคต นายกิจธวัช ฤทธีราวี นายกสมาคมการขายตรงไทย เปิดเผยภาพรวมธุรกิจขายตรงโลกว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจขายตรงทั่วโลกในช่วงสองปีที่ผ่านมา คือ Digital Disruption และการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แต่ในปี 2563 ธุรกิจขายตรงทั่วโลกยังคงมีอัตราการเติบโตด้วยมูลค่าตลาดรวม 179.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเติบโต 5.8% และมีจำนวนนักธุรกิจอิสระทั่วโลกมากกว่า

Read More

เคทีซีปรับกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจสินเชื่อ ท่ามกลางสถานการณ์แห่งความไม่แน่นอน

สภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้ตลาดสินเชื่อมีความไม่แน่นอนและเปราะบางสูง แม้ยังมีความต้องการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายเพื่อดำรงชีพ แต่จากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มซบเซาได้ส่งผลกระทบต่อรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ ทำให้การขับเคลื่อนธุรกิจสินเชื่อท่ามกลางสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายและเต็มไปด้วยความท้าทาย ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า ไตรมาสแรกของปี 2564 ตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันปรับตัวลดลง -2.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้ผู้บริโภคเกิดความระมัดระวังในการใช้จ่ายและการขอสินเชื่อมากขึ้น บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี หนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดสินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต ยอมรับว่าการทำธุรกิจสินเชื่อบุคคลในปี 2564 ไม่ใช่เรื่องง่ายและท้าทายสูงในการที่จะผลักดันให้พอร์ตลูกหนี้เติบโตท่ามกลางวิกฤต ควบคู่ไปกับการบริหารคุณภาพลูกหนี้ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งในปีนี้เคทีซียังมุ่งรักษาเสถียรภาพของคุณภาพพอร์ตลูกหนี้เป็นหลัก จึงปรับเกณฑ์การอนุมัติให้รัดกุมมากขึ้น ทำให้ยอดลูกหนี้ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลของเคทีซี ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ 29,480 ล้านบาท ในขณะที่ภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมอยู่ที่ 637,849 ล้านบาท ลดลง 2.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีจำนวนสมาชิกอยู่ที่ 802,971 ราย ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 4.6% และ NPL เท่ากับ 3.0% ซึ่งต่ำกว่าอุตสาหกรรมที่อยู่ที่ 3.5% โดยยอดการปล่อยสินเชื่อในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาลดลงกว่า

Read More

โออาร์ เปิดสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น รูปแบบ Concept Station แห่งแรก ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น สร้างคุณค่าให้ชุมชน

นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานในพิธีเปิดสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น และร้านคาเฟ่ อเมซอน บริษัท อยุธยาจังหวัดพาณิชย์ จำกัด โดยมี นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (โออาร์) ผู้ตรวจราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง และ นายอนันต์ หาญพานิช ผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น บริษัท อยุธยาจังหวัดพาณิชย์ จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น บริษัท อยุธยาจังหวัดพาณิชย์ จำกัด จ.พระนครศรีอยุธยา นายภานุ เปิดเผยว่า การปรับปรุงสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น ของบริษัท อยุธยาจังหวัดพาณิชย์ จำกัด ซึ่งเป็นสถานีบริการน้ำมันที่ก่อตั้งมาตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2483

Read More

หัวเว่ยชี้โครงข่ายใยแก้วนำแสงเต็มรูปแบบเป็นปัจจัยหลักช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

ภายในงานประชุม 2021 Asia-Pacific Target Network Conference เมื่อเร็วๆ นี้ นายริชาร์ด จิน ประธานสายผลิตภัณฑ์ใยแก้วนำแสงของหัวเว่ย กล่าวว่า การส่งสัญญาณผ่านใยแก้วนำแสงเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยหัวเว่ยมีความมุ่งมั่นสร้างโครงข่ายใยแก้วนำแสงเต็มรูปแบบที่มีความอัจฉริยะ เปี่ยมประสิทธิภาพ และมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ความต้องการใช้งานเครือข่ายที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้งานแบนด์วิดท์โครงข่ายที่สูงขึ้น การติดตั้งโครงข่าย 5G ในวงกว้างส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายสัญญาณแบบไร้สายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2568 อัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อเดือนโดยเฉลี่ยต่อผู้ใช้หนึ่งรายจะอยู่ที่ 28 GB ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากนี้ทำให้ต้องมีโครงข่ายใยแก้วนำแสงอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อส่งมอบแบนด์วิดท์ที่สูงยิ่งขึ้นด้วย ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดนี้ ผู้คนเลือกที่จะเรียนออนไลน์หรือทำงานทางไกลมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ทั่วโลกจึงมีการเร่งขยายการเดินสายใยแก้วนำแสงตรงไปยังที่พักอาศัย หรือ FTTH (Fiber to the Home) เพื่อมอบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับกิกะบิต และตอบสนองความต้องการแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทั้งนี้ สำหรับธุรกิจองค์กร 85% ของบริการในภาคธุรกิจดังกล่าวจะปรับย้ายไปอยู่บนเทคโนโลยีคลาวด์แทน ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการเชื่อมต่อคุณภาพสูงเพื่อเชื่อมระหว่างบริการนั้น ๆ กับเทคโนโลยีคลาวด์ ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีในการรวมระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้ตามบ้านหรือสำนักงานเป็นหนึ่งเดียว (Fixed–mobile convergence

Read More

ไบโอซายน์ เปิดนวัตกรรมช่วยชาติ ผลิตชุดตรวจโควิด RT PCR รายแรกของไทย

ไบโอซายน์ เปิดนวัตกรรมช่วยชาติ ผลิตชุดตรวจโควิด RT PCR รายแรกของไทย ประหยัดค่าใช้จ่ายผู้ป่วย-รัฐบาล แก้ปัญหาขาดแคลนชุดตรวจ ทดแทนการนำเข้า อ.ย. รับรอง ใช้ในโรงพยาบาล-แล็บหลายแห่ง กลุ่มไบโอซายน์ โชว์ศักยภาพนักวิจัยไทยฝีมือระดับสากล พัฒนาชุดตรวจโควิด แบบ RT PCR มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ได้เป็นรายแรกของไทย แก้ปัญหาขาดแคลนชุดตรวจ ลดการนำเข้า เร่งขยายกำลังผลิตรองรับผู้ป่วยใหม่ นสพ.ธนวัฒน์ คงเจริญสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ไบโอซายน์ แอนิมัล เฮลธ์ จำกัด เปิดเผยว่า “กลุ่มบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและผลิตชุดตรวจโควิด-19 แบบ Real Time PCR เป็นรายแรกของไทย โดยผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 และได้มีการนำไปใช้ในการตรวจผู้ป่วยโควิด-19 ที่โรงพยาบาล และห้องแล็ปปฏิบัติการชั้นนำต่างๆ ซึ่งการที่เราสามารถผลิตชุดตรวจโควิด-19 แบบ Real Time PCR ได้ภายในประเทศนั้น

Read More