Home > 2020 (Page 46)

ประเทศไทยหลัง COVID-19 และการกำหนดทิศทางในอนาคต

การดำเนินไปของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้สร้างความเสียหายต่อมวลมนุษยชาติอย่างกว้างขวางและในหลากหลายมิติ ไม่ได้จำกัดเฉพาะอยู่ที่ประเด็นสุขภาพและการสาธารณสุขเท่านั้น หากแต่ยังมีประเด็นว่าด้วยพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมที่กระทบต่อความเป็นไปและการดำเนินชีวิตของประชาชนอีกด้วย ดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการควบคุมโรค COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา จึงไม่ควรพิจารณาจากจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อเท่านั้น หากยังต้องพิจารณาและประเมินด้วยว่า ภายใต้มาตรการที่นำเสนอออกมาโดยกลไกภาครัฐนั้น ได้นำไปสู่หรือสร้างผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปอย่างไรบ้าง และกลไกรัฐมีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับหรือเยียวยาต่อผลกระทบดังกล่าวอย่างไรหรือไม่ ประเด็นที่น่าสนใจจากกรณีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในระดับนานาชาติอยู่ที่นอกจากจะมีการกล่าวถึงจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต และประเด็นว่าด้วยมาตรการการรับมือและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคแล้ว ยังให้ความสำคัญต่อประเด็นอื่นๆ ควบคู่ไปด้วยทั้งสภาพความถดถอยทางเศรษฐกิจ ปัญหาคนว่างงานและความอดอยาก หรือแม้กระทั่งผลกระทบต่อเยาวชนโดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการศึกษา หากแต่สำหรับสังคมไทย ดูเหมือนว่าศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. จะมุ่งเน้นไปที่การแพร่ระบาดของโรค โดยละเลยที่จะพิจารณาประเด็นและผลกระทบแวดล้อมว่าด้วยเศรษฐกิจ แรงงาน และการศึกษา ที่ทำให้ขาดมิติในเชิงบูรณาการ และมีแนวโน้มที่จะต้องย้อนกลับมาแก้ไขปัญหาอื่นๆ ด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นไปโดยปริยาย ผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ทำให้หลายธุรกิจต้องปิดหรือหยุดกิจการลงส่งผลให้มีคนตกงานรวมกว่า 10 ล้านคน และมีผู้ลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือเยียวยาจากมาตรการของรัฐรวมกว่า 28 ล้านคน ท่ามกลางความล่าช้าและขาดความชัดเจนของการดำเนินการภาครัฐ ซึ่งทำให้ประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนจำนวนมากไม่ได้รับความช่วยเหลือ และต้องดำเนินชีวิตอยู่ท่ามกลางการขาดรายได้มานับเดือน ข้อน่าสังเกตประการหนึ่งนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรค COVID-19 อยู่ที่การกล่าวถึงบุคลากรทางการแพทย์ในฐานะที่เป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญต่อการต่อสู้กับโรคระบาดครั้งนี้ ทั้งในมิติของการรักษาพยาบาล และการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งควรได้รับกำลังใจและความชื่นชม หากแต่สังคมไทยอาจมองข้ามความสำคัญจำเป็นของการพัฒนาบุคลากรด้านการสาธารณสุข ที่มีทัศนะของการวางแผนและบริหารจัดการที่มีความเชื่อมโยงกับมิติทางสังคมอื่นๆ เพื่อรองรับกับวิกฤตทางสาธารณสุขที่อาจเกิดมีขึ้นอีกในอนาคต ภาพของการขอรับบริจาคหรือแม้กระทั่งข้อเท็จจริงที่ว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์จำนวนมากขาดแคลนในสถานการณ์ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยไม่ได้มีการประเมินสถานการณ์หรือเตรียมการเพื่อรองรับต่อการระบาดของโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก ซึ่งหากมีการเตรียมการดีพอสังคมไทยอาจใช้เงินงบประมาณในการบริหารงานด้านสาธารณสุขนี้ในจำนวนไม่ถึง

Read More

สปอนเซอร์ ผุดแคมเปญ “เสียเหงื่ออย่างมีเป้าหมาย” เชิญชวนชาวไทย “เสียเหงื่อ” พิชิตโควิด-19 ไปด้วยกัน

“สปอนเซอร์” โดยกลุ่มธุรกิจ TCP เปิดตัวแคมเปญ “เสียเหงื่ออย่างมีเป้าหมาย” เชิญชวนชาวไทย “เสียเหงื่อ” พิชิตโควิด-19 ไปด้วยกัน เครื่องดื่มเกลือแร่ “สปอนเซอร์” ภายใต้กลุ่มธุรกิจ TCP ปล่อยแคมเปญเสียเหงื่ออย่างมีเป้าหมาย (Sweat with Purpose) ชวนคนไทยทุกคนร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ที่จะเติมพลังใจให้สดชื่นผ่อนคลายความตึงเครียดจากสถานการณ์โควิด-19 พร้อมเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกาย และทำประโยชน์ให้กับสังคมร่วมกัน ผ่าน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ “เสียเหงื่อเพื่อชนะ” “เสียเหงื่อเพื่อชาติ” และ “เสียเหงื่อเพื่อช่วย” จัดเต็มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนจนถึงตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ นายศุภชัย จุนเกียรติ ผู้อำนวยการสายงานการตลาดโกลเบิล กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า “กว่า 1 เดือนที่คนไทยร่วมแรงร่วมใจหยุดกิจกรรมทางสังคม ส่งผลให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ทุกคนยังคงต้องอยู่บ้าน ควบคุมระยะห่างทางกายภาพเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ ด้วยเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ที่ต้องการลดจำนวนการติดเชื้อให้ได้มากที่สุด สปอนเซอร์จึงขอเป็นอีกแรงในการสนับสนุนภารกิจครั้งสำคัญนี้ ด้วยการออกแคมเปญ ‘เสียเหงื่ออย่างมีเป้าหมาย’ เพื่อเสริมสุขภาพกาย และสุขภาพใจ ให้คนไทยผ่อนคลายจากความตึงเครียด ผมเชื่อว่าคนไทยเมื่อตั้งใจทำอะไรด้วยเป้าหมายจะสำเร็จเสมอ และพวกเราจะผ่านความท้าทายของวิกฤตนี้ไปด้วยกันในไม่ช้า” สปอนเซอร์ จุดพลุเปิดแคมเปญ

Read More

ชาวบุรีรัมย์ทำธนาคารอาหารสู้ภัยโควิด แนะภาคเกษตรต้องปรับตัวตลอดห่วงโซ่

สกสว.เผยชาวบ้านลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ร่วมกันพลิกฟื้นที่ดินว่างเปล่าหันมาปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อเป็นธนาคารอาหารของหมู่บ้านสู้ภัยโควิด-19 ในช่วงกักตัวปิดหมู่บ้าน ขณะที่นักวิชาการด้านสหกรณ์แนะหลังเปิดเมือง ภาคเกษตรต้องปรับตัวสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภค พัฒนามาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์ภายใต้มาตรฐานสุขอนามัย ผศ.อุทิศ ทาหอม หัวหน้าโครงการ "รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทุนทางวัฒนธรรม เพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนบ้านห้วยหวายพัฒนา ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์" อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนการจากฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า ตนและคณะวิจัยชาวบ้านได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่แหล่งน้ำหนองโดนให้เป็นพื้นที่ “กินได้ เที่ยวได้ ขายได้” เมื่อมีปัญหาวิกฤตโควิด-19 ชาวบ้านจึงร่วมกันปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานสำหรับเป็นธนาคารอาหาร (Food Bank) หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทางการได้สี่งปิดการเข้าออกหมู่บ้าน ชาวชุมชนบ้านห้วยหวายพัฒนาต้องกักตัว กักอาหาร เว้นห่างระยะ ตนจึงขยายผลงานวิจัยด้วยการชักชวนชาวบ้านร่วมกันพลิกฟื้นพื้นที่ว่างเปล่าของชุมชนบ้านห้วยหวายพัฒนารอบคูสระหนองโดน จำนวน 15 ไร่ ที่ทิ้งไว้เฉย ๆ ให้เกิดประโยชน์ ทำแปลงผักปลอดสารพิษจำนวน 51 แปลง กลายเป็นพื้นที่ทำกินของชุมชนและสร้างฐานอาหารรับมือวิกฤตโควิด-19 “แปลงผักปลอดสารพิษที่ชาวชุมชนได้ร่วมกันปลูก เมื่อได้ผลผลิตแล้วก็แบ่งกันทั้งชุมชน นอกจากการบริโภคในครัวเรือนแล้วยังนำไปขายในตลาดอำเภอลำปลายมาศ และมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อในชุมชน กลายเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ ทำให้ชาวบ้านไม่ต้องออกไปซื้อหาอาหารภายนอกซึ่งเสี่ยงต่อการติดโรค และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ การที่ชุมชนได้ยกระดับฐานทรัพยากร

Read More

เพอร์เฟค เผยยอดโอนไตรมาสแรก ทำได้ดีกว่าคาด พร้อมรุกการตลาดเต็มรูปแบบ ดีเดย์ 1 พ.ค.นี้

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เตรียมแผนรุกทำการตลาดเต็มรูปแบบ เริ่ม 1 พฤษภาคมนี้ หลังสถานการณ์ โควิด-19 มีแนวโน้มดีขึ้น ที่ผ่านมามีมาตรการดูแลลูกค้าอย่างดีและยังทำยอดขายได้ต่อเนื่อง เผยผลงานไตรมาสแรกคาดว่าจะมียอดโอน 2,900 ล้านบาท ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ และยังจะมีรายได้ต่อเนื่องเข้ามาในเดือนเมษายน พร้อมเตรียมวงเงินไว้แล้วเพื่อชำระคืนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนมิถุนายนนี้ นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แม้ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดอย่างรุนแรงของไวรัสโคโรนา เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสแรกของปี อย่างไรก็ดี ผลการดำเนินงานของบริษัทไตรมาส 1/2563 เป็นไปในทิศทางที่ดีกว่าที่ประมาณการไว้ โดยคาดว่าจะมียอดโอนกรรมสิทธิ์บ้านและคอนโดประมาณ 2,900 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาซึ่งทำได้ 3,733 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 22% ภาพรวมในไตรมาสแรกบริษัทมียอดโอนเพิ่มขึ้นทุกเดือน และคาดว่าในเดือนเมษายนยังจะมียอดโอนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เพราะแม้ว่าเดือนเมษายนจะมีมาตรการล็อคดาวน์ แต่บริษัทยังสามารถทำยอดขายได้เป็นที่น่าพอใจ และเน้นย้ำในมาตรการป้องกันและดูแลลูกค้าให้ปลอดภัยและสะดวกสบายในช่วงที่มีการระบาดของไวรัส อาทิ การเปิดจุดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคราคาพิเศษในสโมสร ดำเนินการโดยออลล์ดีเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการไปจับจ่ายในห้างสรรพสินค้า การมอบประกันโควิด-19 ให้กับลูกค้า การทำความสะอาดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมด การตรวจคัดกรองบุคคลเข้าโครงการ เป็นต้น "ด้านภาพรวมโครงการยังได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้า

Read More

โควิด-19 ซ้ำเติม ตลาดแรงงานไทยวิกฤต

ตลาดแรงงานไทยถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีความเปราะบางมากเป็นพิเศษ นั่นเพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดสภาวะวิกฤตกับเศรษฐกิจ แรงงานไทยที่แม้ไม่ใช่ด่านหน้าที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทว่ากลับเป็นกลุ่มที่ได้รับแรงปะทะเสมอ การเลิกจ้าง ตัวเลขการว่างงาน เป็นภาพสะท้อนทิศทางความเป็นไปที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ ไม่จำเพาะเจาะจงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น ตลาดแรงงานทั่วโลกก็เช่นกัน คล้ายกับว่าความมั่นคงของสถานภาพแรงงานจะดีร้าย ขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การเติบโตที่ลดลงของเศรษฐกิจไทยในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่งทยอยปิดตัวลง อันนำมาสู่การเลิกจ้างแรงงาน ซึ่งตัวเลขการว่างงานในเดือนธันวาคม 2562 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยคือ มีผู้ว่างงานจำนวน 367,000 คน เพิ่มขึ้น 18,000 คน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2561 ที่มีตัวเลขผู้ว่างงาน 349,000 คน บาดแผลของแรงงานทั้งในและนอกระบบจากสภาวะเศรษฐกิจซบเซายังไม่หายดี ภัยร้ายที่เสมือนคลื่นระลอกใหม่ ซัดเข้ามากระหน่ำซ้ำเติม กดหัวให้กราฟของผู้มีงานทำต่ำลง หากจะกล่าวว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายก็ดูจะไม่แปลกนัก เพราะทั้งไทยและทั่วโลกต่างเคยเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคมาหลายต่อหลายครั้ง ทว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 กลับสร้างความเสียหายในระบบแตกต่างไปจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในครั้งก่อนๆ มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทำให้ระบบเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดถูกฟรีซไว้ชั่วคราว หลายอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องโดยตรง ภาคการบริการ ภาคธุรกิจ SMEs ตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดเล็ก หรือกลุ่มธุรกิจที่สายป่านไม่ยาว เป็นผลให้แรงงานที่อยู่ในกลุ่มนี้ต้องพบเจอกับความเสี่ยงอีกครั้ง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (Economic Intelligence Center)

Read More

หน้ากากผ้าบาราโหม-ปัตตานียอดพุ่ง ช่วยแรงงานกลับจากมาเลเซียมีรายได้

เครือข่ายวิจัย สกสว. ปัตตานี กลุ่มบาราโหมบาร์ซา พลิกวิกฤตเป็นโอกาสในช่วงโควิด-19 ชักชวนแรงงานที่กลับจากมาเลเซียทำหน้ากากผ้าลวดลายมลายู สร้างรายได้ตกเดือนละ 1.2 แสนบาท ยอดซื้อส่วนใหญ่มาจาก กทม. เพราะเป็นงานศิลป์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใคร นางฟารีดา กล้าณรงค์ หัวหน้ากลุ่มบาราโหมบาร์ซา และวิทยากรศูนย์เรียนรู้การท่องเที่ยวอารยธรรมปัตตานี ในฐานะเครือข่ายวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในโครงการ “วิจัยและพัฒนาศักยภาพเยาวชนนอกระบบจังหวัดชายแดนใต้สู่การเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชายแดนภาคใต้” เปิดเผยว่า ตนได้พลิกวิกฤตเป็นโอกาสในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายใต้แนวคิดการนำสิ่งที่มีอยู่มาสร้างสรรค์เป็นลวดลายบนงานหัตถกรรม จากที่ทำผ้าบาติกด้วยบล๊อกไม้โดยประยุกต์เอามรดกทางประวัติศาสตร์ของชุมชนบาราโหม มาสร้างจุดเด่นในการสืบสานศิลปวัฒธรรมให้ลูกหลานของชุมชนและเผยแพร่แก่สังคม ด้วยการทำหน้ากากผ้าแทนหน้ากากอนามัยที่ขาดแคลน โดยด้านนอกใช้ผ้าฝ้ายพิมพ์ลวดลายเครื่องถ้วยชามโบราณที่ขุดพบในพื้นที่แล้วนำมาทำบล็อกไม้ ด้านในเป็นผ้ามัสลินหรือผ้าสาลู ซึ่งขั้นตอนการทำได้ศึกษาเปิดดูจากอินเตอร์เน็ต ล่าสุดกลุ่มบาราโหมบาร์ซาได้จัดทำ “ลือปัสบาติก” ที่มีความพิเศษจากที่อื่นด้วยลวดลายคงความเป็นอัตลักษณ์ของปัตตานี ใช้สี 4 ราชินีในตำนานของชาวปาตานี การออกแบบที่ไม่เหมือนใคร สินค้าสะดวกต่อการพกพา โดยในคอลเลคชั่นใหม่ของบาราโหมบาร์ขณะนี้เน้นผ้าบาติกวัยรุ่น ใน 1 เซต ราคา 450 บาท ประกอบด้วยผ้าลือปัสเพจ (ผ้าอเนกประสงค์ ใช้เป็นผ้าคลุมศีรษะหรือผ้าพันคอ) กระเป๋าใส่ผ้าลือปัน และหน้ากากป้องกันโรค ซึ่งผ้าเซตดังกล่าวได้ถ่ายทอดเรื่องราวศิลปะบนพื้นผ้าบาติกพิมพ์ลายด้วยบล๊อกไม้แห่งปัตตานี โดดเด่นด้วยลวดลายประวัติศาสตร์สู่งานหัตถกรรมร่วมสมัย

Read More

อาคเนย์ เปิดช่องทางรับฝากร้านออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชั่น S PLUS+ ช่วยเหลือพันธมิตรสู้ภัยโควิด-19

อาคเนย์ กลุ่มธุรกิจประกันและการเงิน หนึ่งในสายธุรกิจหลักของบริษัท เครือไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น S PLUS+ เปิดตัวแคมเปญ “S PLUS+ ฝากร้าน สร้างโอกาส” บริการรับฝากร้านบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจรับมือสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 นางสาวภารณี เชิดวิศวพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานการตลาด อาคเนย์ กลุ่มธุรกิจประกันและการเงิน ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น S PLUS+ “กิน เที่ยว ช้อป เช็คกรมธรรม์ครบจบในแอปเดียว” ที่มีสมาชิกกว่า 100,000 ราย กล่าวว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 บริษัทฯ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้างโอกาสช่วยเหลือลูกค้าและคู่ค้าทางธุรกิจของอาคเนย์ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในปัจจุบัน ด้วยการเปิดบริการรับฝากร้านพร้อมโปรโมชั่นผ่านแอปพลิเคชั่น S PLUS+ โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ – 31 พฤษภาคม 2563 “บริษัทฯ มีความห่วงใยทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ปัจจุบัน เราในฐานะที่มีช่องทางประชาสัมพันธ์และมีฐานลูกค้าบนโลกออนไลน์ จึงขอเปิดพื้นที่ให้ลูกค้าและคู่ค้าอาคเนย์สามารถทำธุรกิจผ่านโซเชียลมีเดียบนช่องทางของ S PLUS+

Read More

เส้นทางของ Didier Raoult

Column: From Paris Covid-19 ทำให้รู้จักชื่อ Didier Raoult ศาสตราจารย์นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ ผู้พบว่ายา chloroquine และ hydroxychloroquine สามารถใช้กับผู้ที่ติดเชื้อ Covid-19 จนสร้างความแตกแยกในวงการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ของฝรั่งเศส Didier Raoult เกิดที่เมือง Dakar ประเทศเซเนกัล (Sénégal) พ่อเป็นแพทย์ทหาร พื้นเพชาวนอร์มองดี (Normandie) ผู้ก่อตั้งสถาบันวิจัยอาหารในแอฟริกา ส่วนแม่เป็นพยาบาล ครอบครัวย้ายกลับฝรั่งเศส ตั้งรกรากที่เมืองมาร์เซย (Marseille) ขณะที่เขาอายุ 10 ขวบ เขาเรียนไม่ดี พออายุ 17 ปี ลาออกจากโรงเรียนเพื่อไปทำงานในเรือพาณิชย์เป็นเวลา 2 ปี ในปี 1972 เขากลับมาสอบมัธยมปลายด้านวรรณคดี และเข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ของมาร์เซย เพราะเป็นวิชาเดียวที่พ่อจะออกค่าใช้จ่ายให้ ผลการเรียนขณะเป็นอินเทิร์นทำให้ไม่ได้เรียนสาขาที่อยากเรียน จึงต้องมาเรียนด้านโรคติดเชื้อเฉกเช่นเดียวกับตา เขาพูดเสมอว่าต้องการเป็นคนเก่งที่สุดในโลก เขาเดินทางไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกาจนได้รับปริญญาเอก ผลการเรียนดีเลิศจนสถาบันแพทย์แห่งหนึ่งต้องการให้เขาร่วมทีมด้วย แต่เขาเลือกเดินทางกลับฝรั่งเศส ได้เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเมืองมาร์เซย Didier Raoult

Read More

เซ็ง เหงา เครียด จิตใจแย่ แนะ 6 วิธีจัดการอารมณ์ช่วงกักตัวอยู่บ้านอย่างสร้างสรรค์

เซ็ง เหงา เครียด จิตใจแย่ ภัยทางอ้อมโควิด 19 มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ แนะ 6 วิธีจัดการอารมณ์ช่วงกักตัวอยู่บ้านอย่างสร้างสรรค์ เตือนผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการดื่มอย่างเป็นอันตราย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกทั้งเรื่องงาน ชีวิตส่วนตัว รวมถึงระบบสังคมและเศรษฐกิจ ถูกแปรเปลี่ยนอย่างกระทันหันจนยากที่จะปรับตัว หลายคนต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) ในขณะที่บางคนยังต้องออกไปทำงานข้างนอกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนกิจกรรมสำหรับการผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว รับประทานอาหารนอกบ้าน และกิจกรรมการเข้าสังคมอื่น ๆ ก็ต้องหยุดชะงักเพราะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ (Social Distancing) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกับภาวะทางอารมณ์และจิตใจมากมาย จนอาจเรียกได้ว่าปัญหาทางด้านจิตใจคือมหันตภัยระลอกที่ 2 ของการแพร่ระบาดนี้ อีกหนึ่งอันตรายที่ตามมาจากความเครียดและการกักตัวอยู่บ้านไม่ได้พบเจอผู้คน คือการดื่มอย่างเป็นอันตราย ซึ่งในหลายประเทศพบว่าเกิดความเสี่ยงที่ประชาชนจะดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดเพื่อรับมือกับความเครียด โดยในประเทศออสเตรเลียพบว่ามีการกักตุนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และประชาชนมีพฤติกรรมดื่มหนักขึ้น ในขณะที่แนวโน้มลักษณะเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีอาชญากรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดพ่วงตามมาด้วย เช่น ความรุนแรงภายในครอบครัว ด้านประเทศไทย ได้มีการส่งเสริมให้ผู้บริโภคระมัดระวังการดื่มเพื่อให้สามารถครองสติสัมปชัญญะ ไม่นำไปสู่การทะเลาะวิวาท อาชญากรรม และสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงในช่วงไวรัสระบาด มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ (มปอ.)

Read More

MBK ส่งแคมเปญ MBK Let’s move on เสริมขายของออนไลน์หนุนผู้ประกอบการ ชวนผู้บริโภคเดินไปต่อด้วยกัน

ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ส่งแคมเปญ MBK Let’s move on เสริมขายของออนไลน์หนุนผู้ประกอบการ ชวนผู้บริโภคเดินไปต่อด้วยกัน หลังจากศูนย์การค้าในเครือเอ็ม บี เค หนุนร้านอาหารและร้านค้าบางประเภท ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดขายได้แบบสั่งกลับบ้านและเดลิเวอรี่ เปิดขายและจัดโปรโมชั่นพิเศษเอาใจลูกค้าเต็มที่ ได้ผุดแคมเปญ MBK Let’s move on เพื่อช่วยผู้ประกอบการร้านค้าที่ได้รับผลกระทบ และเตรียมความพร้อมเปิดศูนย์การค้า หากภาครัฐและกรุงเทพมหานครไฟเขียว เริ่มจาก MBK Let’s Move On Live ให้ร้านค้ายกทัพขบวนสินค้าหลากหลาย ทั้งเสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ความงาม โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูปแบรนด์ดัง มาไลฟ์สดขายสินค้าทุกสัปดาห์ เพิ่มช่องทางสร้างรายได้ให้ร้านค้า เพิ่มทางเลือกในการจับจ่าย ให้นักช้อปทั่วประเทศ นายสมพล ตรีภพนารถ กรรมการผู้จัดการธุรกิจศูนย์การค้า บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ศูนย์การค้าเครือเอ็มบีเค ประกอบด้วย เอ็ม

Read More