ปัจจัยลบรุมเร้า ธุรกิจค้าปลีก’63 หดตัว
นับเป็นอีกศักราชหนึ่งที่ธุรกิจค้าปลีกของไทยต้องเผชิญกับความวิกฤตรอบด้าน นับตั้งแต่ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ที่ได้รับอิทธิพลจากการฟาดฟันกันระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา การงัดข้อกันในเชิงกลยุทธ์ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกเริ่มระส่ำระสาย และค้าปลีกไทยยิ่งต้องเจอคลื่นลูกใหญ่ซัดกระหน่ำอีกครั้ง ด้วยการบุกเชิงรุกของธุรกิจ E-Commerce ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค และด้วยฐาน Big Data ทำให้บรรดาธุรกิจ E-Commerce สามารถเจาะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ปัจจัยข้างต้นคล้ายเป็นตัวกำหนดทิศทางใหม่ให้กับธุรกิจค้าปลีกไทยไปโดยปริยาย ที่นอกจากจะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์แล้ว โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรที่จะทำให้ค้าปลีกไทยสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้ ทั้งในรูปแบบ offline และ online นอกจากการจะต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีเทคโนโลยีนำหน้าแล้ว สถานการณ์ความเป็นไปทางเศรษฐกิจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการค้าปลีกต้องเผชิญ เมื่อกำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มอ่อนแรงลง โดยมุ่งเน้นไปจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็น และงดใช้จ่ายฟุ่มเฟือย นักวิเคราะห์หลายสถาบันเห็นไปในทางเดียวกันว่า ผู้ประกอบการค้าปลีกไทยจะฝ่าฟันมรสุมนี้ไปได้ก็ต่อเมื่อรู้จักปรับเปลี่ยนตัวเอง รู้จักผู้บริโภค และรู้เท่าทันเทคโนโลยี อุปสรรคข้างต้นสร้างความลำบากให้แก่ธุรกิจค้าปลีกไม่น้อย เพราะแม้ว่าผู้ประกอบการจะมีการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อรักษาฐานลูกค้า หรือการสร้างการเข้าถึงลูกค้าด้วยการลงมาเล่นธุรกิจ E-Commerce ด้วย ทว่า สิ่งที่โลกกำลังเผชิญอยู่ขณะนี้คล้ายเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความยากลำบากให้เกิดขึ้นทั่วโลก กระทั่งรัฐบาลไทยประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม ที่ผ่านมา รวมไปถึงการประกาศปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไวรัส เช่น ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ สถานบันเทิง เป็นต้น การประกาศปิดห้างสรรพสินค้าส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกถูกแช่แข็งไปครึ่งหนึ่ง แม้จะมีการอนุโลมให้พื้นที่ในส่วนของซูเปอร์มาร์เกตยังสามารถเปิดได้ก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยคาดการณ์เอาไว้ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกสูญเสียรายได้ประมาณ
Read More