Home > 2020 > พฤศจิกายน (Page 2)

ทีมมจธ.ต่อยอดข้อมูลดิจิทัลทางวิศวกรรม ติดตามสภาพอุโบสถวัดราชประดิษฐฯ

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 พลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร “วันนิทรรศการวิชาการ รร.จปร. 2563” ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดแวสดงผลงานทางวิชาการร่วมกับสถาบันภายนอก ในโอกาสนี้คณะวิจัยโครงการ “การพัฒนาข้อมูลดิจิทัล 3 มิติ เพื่อการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษามรดกทางวัฒนธรรม” ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ได้ร่วมถวายรายงานพลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราช โดยเฉพาะงานวิจัยเกี่ยวกับโบราณสถานสำคัญของประเทศไทย โครงการดังกล่าวเป็นงานวิจัยที่ขยายผลต่อยอดจากโครงการ “การใช้ฐานข้อมูลดิจิทัลสำหรับงานวิศวกรรมเพื่อความยั่งยืนในการอนุรักษ์โบราณสถานหรืออาคารโบราณในชุมชน” ภายใต้ชุดโครงการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วยหลักวิศวกรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยคณะวิจัยมุ่งพัฒนากระบวนการประยุกต์ใช้ข้อมูลดิจิทัล 3 มิติทางวิศวกรรม เพื่อการตรวจสอบสภาพโครงสร้างพื้นฐาน สภาพภูมิประเทศ และการรักษามรดกทางวัฒนธรรม อาทิ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุสามมิติสำหรับการประเมินโครงสร้างอาคารและโบราณสถาน วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตลอดจนเผยแพร่องค์ความรู้และกระบวนการใช้ข้อมูลดังกล่าวแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนผ่านกิจกรรมสื่อดิจิทัล นอกจากนี้ยังประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุสามมิติควบคู่กับองค์ความรู้ทางวิศวกรรมสำหรับการประเมินและรักษามรดกทางวัฒนธรรม และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุสามมิติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพภูมิประเทศเพื่อประเมินผลกระทบทางธรรมชาติและภัยพิบัติต่าง ๆ สำหรับโครงการวิจัยการสำรวจด้วยกล้องสแกนวัตถุสามมิติ

Read More

KTC ผนึก KTAM และ SET ร่วมโครงการ “Point to Invest” ลงทุนง่ายๆ เปลี่ยนพอยต์เป็นกองทุนรวม

เคทีซีผนึก KTAM และ SET ร่วมโครงการ “Point to Invest” ลงทุนง่ายๆ เปลี่ยนคะแนนสะสมเป็นกองทุนรวม นางพิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บมจ. บัตรกรุงไทย ร่วมกับ นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “KTAM” และนายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดโครงการ “Point to Invest” ทางเลือกใหม่ เปลี่ยนพอยต์เป็นกองทุนรวม เปิดให้สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีสามารถแลกคะแนน KTC FOREVER เป็นเงินลงทุนในกองทุนรวม โดยใช้คะแนน KTC FOREVER ทุกๆ 1,000 คะแนนเปลี่ยนเป็นหน่วยลงทุนมูลค่า 100 บาท

Read More

ทำอย่างไรให้หายไอเรื้อรัง?

Column: Well – Being เมื่อคุณหายจากไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่แล้ว แต่มีอีกอาการหนึ่งที่ดูเหมือนจะไม่ยอมหาย แถมยังมีทีท่าจะอยู่กับคุณตลอดไปซะอีก ... เฮ้อ ... ทำไงดี? ดร. นิโคล เอ็ม ไทเยอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ประจำซีดาร์ ไซนาย เมดิคอล กรุ๊ป ในลอสแองเจลิส อธิบายว่า ส่วนใหญ่แล้วอาการไข้หวัดจะหายไปใน 7-10 วัน แต่ผลการวิจัยระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้ป่วยไข้หวัดจะยังมีอาการไอต่อไปอีกจนถึงวันที่สิบแปด “อาการไอสามารถเป็นเรื้อรังยาวนานกว่าอาการอื่นๆ เพราะระบบภูมิคุ้มกันยังพยายามต่อสู้เพื่อให้ทางเดินหายใจกลับมาเป็นปกติ” ขณะที่อาการบวมคั่งของเลือดค่อยๆ ดีขึ้น เสมหะหรือน้ำมูกที่ไหลลงคอยังสามารถกระตุ้นไอได้เช่นกัน อาการนี้ดูเหมือนจะคงอยู่ตลอดไป แต่อาการน่าเบื่อนี้จะหายไปได้ในท้ายที่สุด ถ้ายังไอเรื้อรังนานกว่าสองเดือน ให้พบแพทย์ เพราะมันอาจส่งสัญญาณว่าคุณอาจมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ภูมิแพ้ หอบหืด หรือกรดไหลย้อน (คุณควรบอกแพทย์ด้วยว่านอกเหนือจากอาการไอ คุณมีอาการใดอาการหนึ่งของโรคโควิด-19 ร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย) อย่างไรก็ตาม นิตยสาร Prevention นำเสนอวิธีป้องกันและควบคุมอาการไอเรื้อรังให้อยู่หมัดเสียแต่เนิ่นๆ หรือวิธีทำให้บรรเทาลงในทันทีที่มันเริ่มคุกคามคุณดังนี้ ปกป้องตัวเอง วิธีง่ายที่สุดที่จะปลอดภัยจากอาการไอเรื้อรังคือ หลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยให้ได้เป็นลำดับแรก ตั้งแต่ตื่นตัวเกี่ยวกับการล้างมือทุกครั้งหลังออกไปในที่สาธารณะ สัมผัสพื้นผิวที่ใช้ร่วมกัน หรืออยู่ท่ามกลางผู้ป่วย ถ้าคุณรู้สึกมีอาการที่ค่อยๆ

Read More

ข้อตกลง RCEP โอกาสใหม่ของไทย?

การลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) เมื่อช่วงสัปดาห์ผ่านมา กลายเป็นความสำเร็จและความก้าวหน้าครั้งสำคัญของ ASEAN ในการแสวงหาความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนครอบคลุมเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก ภายใต้กรอบ ASEAN+3 และ ASEAN+6 หลังจากที่แต่ละฝ่ายดำเนินความพยายามผลักดันมานานเกือบ 1 ทศวรรษ กลุ่มประเทศที่เข้าร่วมในความตกลง RCEP นอกจากจะประกอบด้วยประเทศในกลุ่ม ASEAN รวม 10 ประเทศแล้ว ยังประกอบด้วย จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมเป็น 15 ประเทศ ซึ่งทำให้ RCEP เป็นเขตการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดย RCEP มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันถึง 27,530 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น ร้อยละ 27.7 ของเศรษฐกิจโลก และเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากมีประชากรรวมกว่า 3,549 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ

Read More

ไทยน้ำทิพย์ เดินหน้าปรับกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจเติบโตพร้อมพันธมิตรก้าวผ่านวิกฤตโควิด 19

บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โคคา-โคลา และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของโคคา-โคล่า ประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น แฟนต้า สไปรท์ มินิทเมด ชเวปส์ และน้ำดื่มน้ำทิพย์ ตอกย้ำความเป็นหนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ด้วยธุรกิจที่ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้อุตสาหกรรมโดยรวมชะลอตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยกลยุทธ์สำคัญที่ครอบคลุมทั้งด้าน ผลิตภัณฑ์ (Product) พันธมิตร (Partnership) และพนักงาน (People) โดยเป็นผลมาจากความสำเร็จของเครื่องดื่มสูตรไม่มีน้ำตาล และความมุ่งมั่นที่จะผลักดันการเติบโตร่วมกันไปพร้อมกับทุกฝ่าย แม้ในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ผลิตภัณฑ์ในพอร์ตโฟลิโอของโคคา-โคล่า ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของไทยน้ำทิพย์ที่ยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเซกเมนต์เครื่องดื่มอัดลม ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 55.2 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้น 0.6 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว โดยสำหรับตลาดน้ำดำ ไทยน้ำทิพย์สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดได้เพิ่มขึ้น 0.6 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 48.2 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ตลาดเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาลก็ขยายตัวถึง 15.8 เปอร์เซ็นต์ โดยมี โค้ก สูตรไม่มีน้ำตาล

Read More

เลขาธิการสภาพัฒน์ เผย GDP ปีหน้าอาจพลิกบวก 4% ย้ำ! วิชาชีพสถาปนิกมีบทบาทสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ACT FORUM ’20 Design + Built หรือ งานสภาสถาปนิก ถือเป็นงานด้านสถาปัตยกรรมงานเดียวแห่งปีที่รวบรวมทุกเรื่องราวด้านสถาปัตยกรรม ออกแบบ และก่อสร้างไว้อย่างครบครัน เริ่มต้นขึ้นแล้ววันนี้ โดยมีกำหนดจัด ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น. ที่ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งในพิธีเปิดมีหนึ่งไฮไลต์สำคัญ นั่นคือการกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "สถาปนิกกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปี 2564" โดย คุณดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยให้เห็นทิศทางของเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2564 ในหลายประเด็นที่น่าสนใจ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่ความหลากหลาย สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้อย่างมาก ส่งผลให้ตัวเลข GDP ในไตรมาส 2 ติดลบอยู่ที่ 12.2% เรียกได้ว่าต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ก่อนหน้านี้ประเมินว่าตัวเลขในไตรมาส

Read More

ธุรกิจการบินอ่วมหนัก ยอดขาดทุนยังพุ่งไม่หยุด

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 และยังไม่มีแนวโน้มที่จะยุติลงโดยง่าย สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในวงกว้างทั้งในภาคการบริการและภาคอุตสาหกรรมโดยหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างสูงคือธุรกิจสายการบิน โดยในระดับโลกจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้หลายประเทศทั่วโลกใช้มาตรการปิดเมือง (lock-down) หรือกระทั่งปิดประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเดินทางเข้ามาแพร่เชื้อโรค ส่งผลให้ปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศที่เข้าหรือออกจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปรับลดลงอย่างมาก ผลจากการปรับลดจำนวนหรือยกเลิกเที่ยวบินในเส้นทางระหว่างประเทศดังกล่าว ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการสายการบินทั่วโลก เพราะในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจการบินต้องประสบกับความยากลำบากจากการแข่งขันด้านราคา และการแทรกตัวเข้ามาของสายการบินโลว์คอสต์ที่รุกคืบเข้ามาช่วงชิงลูกค้าของสายการบินฟูลเซอร์วิสในเส้นทางภายในประเทศและเส้นทางบินระยะสั้นไปจำนวนมาก ขณะที่การบินในเส้นทางระยะยาวก็ต้องแข่งขันกันด้านราคากับผู้ประกอบการอื่นเช่นกัน การหยุดให้บริการทั้งในเส้นทางระหว่างประเทศและในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หลายสายการบินต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินการด้วยการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะด้านค่าใช้จ่ายพนักงานที่คิดเป็นร้อยละ 15-20 ของต้นทุนทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มช่องทางในการหารายได้ใหม่ๆ โดยสายการบินไทยเน้นให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศเพิ่มขึ้น และให้ครัวการบินไทยปรับมาขายอาหารที่ปรุงโดยเชฟของครัวการบินไทย รวมถึงการขายเบเกอรี่ หรือแม้กระทั่ง ปาท่องโก๋ ผ่านทางร้าน Puff & Pie และเอาต์เล็ตอื่นๆ รวมถึงการจัดเที่ยวบินพิเศษบินวนไม่ลงจอดเพื่อสักการะสถานที่มงคลทั่วประเทศ ความพยายามดิ้นรนของสายการบินแต่ละแห่งในห้วงเวลายากลำบากนี้ดำเนินไปโดยไม่ได้จำกัดเฉพาะกรณีของการบินไทยเท่านั้น หากแต่สายการบินอื่นๆ ก็พยายามสร้างช่องทางรายได้ โดยสายการบินไทยแอร์เอเชีย มีการเปิดขายบัตรโดยสารล่วงหน้า และขายเบเกอรี่และเครื่องดื่มผ่านทางเดลิเวอรี่ ขณะที่สายการบินนกแอร์จัดโปรโมชัน “ซื้อก่อน บินทีหลัง” ด้วยการขาย voucher ล่วงหน้าเพื่อนำไปใช้ในช่วง 1 มิถุนายน ถึง 31

Read More

ความล้มเหลวด้านสาธารณสุขของซิมบับเว

Column: Women in wonderland ซิมบับเวเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ไม่มีทางออกสู่ทะเล ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 16 ล้านคน 98% เป็นคนพื้นเมืองผิวดำ ส่วนใหญ่เป็นชาวโซนา ซิมบับเวตกเป็นประเทศในอาณานิคมของอังกฤษ ได้รับเอกราชเมื่อปี 2537 ชาวซิมบับเวมีรายได้ต่อหัวประมาณ 1,027 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 33,891 บาท) ปัญหาใหญ่ของซิมบับเวคือ เงินเฟ้อ เมื่อรัฐบาลภายใต้ Robert Mugabe ออกกฎหมายใหม่ในการจัดสรรที่ดิน โดยได้ยึดคืนที่ดินไร่นาจากคนผิวขาว รัฐบาลอ้างว่าชาวอังกฤษยึดครองที่ดินโดยมิชอบตั้งแต่สมัยที่ซิมบับเวยังเป็นอาณานิคม หลังจากนั้นรัฐบาลก็นำที่ดินเหล่านี้มาแจกให้คนผิวดำไว้ทำกิน แต่รัฐบาลไม่ได้ให้องค์ความรู้กับประชาชนในการนำที่ดินที่ได้รับมาใช้ทำกินให้เกิดประโยชน์ นำไปสู่วิกฤตเงินเฟ้อร้ายแรงในประวัติศาสตร์โลก อาจเรียกได้ว่ารุนแรงเป็นอันดับ 2 ของโลก เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในซิมบับเวนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนแบงก์ชาติของซิมบับเวต้องออกธนบัตรใบละ 1 แสนล้านดอลลาร์ ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นถึง 200 ล้านเท่า ส่งผลให้จำนวนคนว่างงานเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 80% หลายคนตัดสินใจย้ายไปอยู่ประเทศอื่นเพื่อหางานทำ เช่น ประเทศแอฟริกาใต้ เป็นต้น วิกฤตเงินเฟ้อในซิมบับเวไม่เพียงคนส่วนใหญ่จะว่างงานเพิ่มขึ้น แต่ที่ได้รับผลกระทบมากไม่แพ้กันคือ ระบบสาธารณสุข ก่อนหน้าวิกฤตภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลของ

Read More

TCP รวมพลคนรุ่นใหม่ เรียนรู้ “บ้านตุ่นโมเดล” ต้นแบบการจัดการน้ำชุมชน

กลุ่มธุรกิจ TCP รวมพลคนรุ่นใหม่ นำอาสาสมัคร TCP Spirit เรียนรู้ “บ้านตุ่นโมเดล” ต้นแบบการจัดการน้ำชุมชน สานต่อการบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน กลุ่มธุรกิจ TCP จัดกิจกรรม ‘TCP Spirit พยาบาลลุ่มน้ำ ชวนก๊วนไปแอ่วกว๊าน Limited’ นำอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ เรียนรู้ความสำเร็จการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจาก “บ้านตุ่นโมเดล” ต้นแบบการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ณ ชุมชนบ้านตุ่น ตำบลบ้านตุ่น จังหวัดพะเยา พื้นที่ที่มีแหล่งน้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อพ.) และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) โดยกิจกรรมนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ ‘TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย’ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เพื่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ในกิจกรรมครั้งนี้ อาสาสมัครคนรุ่นใหม่ จะได้มีโอกาสเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติในพื้นที่จริง เพื่อที่จะได้เข้าใจและเห็นความสำคัญของการบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ถึงความสำคัญของการจัดการทรัพยากรน้ำ การศึกษาเส้นทางธรรมชาติเพื่อทำความรู้จักกับโครงสร้างของป่าไม้ต้นน้ำ ปัญหาที่เคยเกิดขึ้น การแก้ไขปัญหาและแนวทางแห่งความสำเร็จ การลอกลำเหมือง การทำประปาภูเขาซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านท้องถิ่น รวมถึงการปลูกต้นไม้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารและจัดการผืนป่าต้นน้ำ เช่น ต้นไผ่

Read More

ปตท. รุกหนัก เบนเข็มสู่ไฟฟ้า

การประกาศที่จะขยายการลงทุนเข้าสู่ธุรกิจใหม่ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีนัยสำคัญอยู่ที่การขยายธุรกิจใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูงและมีแนวโน้มเติบโต ทั้งการเข้าสู่ธุรกิจวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และการรุกเข้าสู่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในด้านหนึ่งดูจะเป็นกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของการขับเคลื่อน ปตท. ให้ก้าวเดินต่อไป เป็นการปรับเปลี่ยนที่สอดรับกับทั้งสถานการณ์ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ก่อนหน้านี้ ปตท. เคยระบุว่าทางกลุ่มอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับโครงสร้างธุรกิจไฟฟ้า เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหารจัดการระหว่างเชื้อเพลิงประเภท Conventional ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ น้ำมันและถ่านหิน กับประเภท New Energy ที่ประกอบด้วยพลังงานหมุนเวียน (Renewable) พลังงานรูปแบบใหม่ทั้งยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจให้สอดคล้องกับทิศทางของพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคาดว่าจะมีข้อสรุปภายในช่วงปลายปี 2563 การปรับโครงสร้างธุรกิจดังกล่าวในด้านหนึ่งตั้งอยู่บนฐานของข้อเท็จจริงที่ว่าการเติบโตของพลังงานของโลกในอนาคตจะมุ่งไปสู่พลังงานรูปแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น แม้ว่าในส่วนของการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะยังมีความสำคัญอยู่ในช่วง 10 ปีนี้ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ เพราะถือว่าเป็นพลังงานสะอาดและเป็นพลังงานหลักที่จะมีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานในระยะยาวก็ตาม ระยะเวลาที่ผ่านมาธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่ม ปตท. แม้จะมีบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเป็นแกนหลัก แต่ ปตท. มอบหมายให้บริษัทลูกในเครือ ปตท.

Read More