Home > 2019 > พฤศจิกายน (Page 5)

‘โค้ก’ ส่งแคมเปญชวนผู้บริโภค “เปลี่ยนมื้อธรรมดา เป็นช่วงเวลาพิเศษ” ร่วมฉลองช่วงเวลาของความสุขผ่านมื้ออาหาร

‘โค้ก’ ส่งแคมเปญชวนผู้บริโภค “เปลี่ยนมื้อธรรมดา เป็นช่วงเวลาพิเศษ” ร่วมฉลองช่วงเวลาของความสุขผ่านมื้ออาหาร กับกิจกรรมการตลาดเน้นสร้างประสบการณ์ครบ 360 องศา เครื่องดื่ม ‘โค้ก’ โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย ส่งแคมเปญ ‘เปลี่ยนมื้อธรรมดา เป็นช่วงเวลาพิเศษ’  ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการฉลองช่วงเวลาของความสุขระหว่างมื้ออาหาร จับอินไซต์ ‘เรื่องกินเรื่องใหญ่’ ชูความผูกพันระหว่างวัฒนธรรมอาหารกับคนไทยพร้อมเป็นสื่อกลางในการร่วมสร้างช่วงเวลาดีๆ ระหว่างมื้ออาหารกับเพื่อน ครอบครัว หรือคนที่รัก เตรียมสื่อสารและสร้างเอนเกจเม้นต์กับผู้บริโภคผ่านทางกิจกรรมทางการตลาดสุดยิ่งใหญ่ครบ 360 องศา เต็มรูปแบบทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมถึงอีเวนต์สุดพิเศษที่ ‘โค้ก’ เตรียมชูความพิเศษของอาหารสตรีทฟู้ดของไทย มาเป็นความภาคภูมิใจในการสร้างความความเชื่อต่อความสัมพันธ์บนโต๊ะอาหารที่ยาวที่สุดในโลก ท้าทายสถิติจากกินเนสส์ เวิลด์ เร็คคอร์ด (Guinness Book of World Record) ไปจนถึงเทศกาลดนตรีสุดยิ่งใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ ‘Coca-Cola Presents Siam Music Festival 2019’ สิ้นปีนี้ นางสาวมัณฑนา หล่อไกรเลิศ ผู้อำนวยการการตลาด บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า

Read More

ถอดรหัสผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมไอทีในระดับประเทศ จากเมกะเทรนด์ “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” และ “สมาร์ทซิตี้”

“ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” และ “สมาร์ทซิตี้” คือกระแสระดับเมกะเทรนด์ที่ทั่วโลกต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเราก็กำลังก้าวเข้าสู่โลกอันชาญฉลาดที่ทุกสิ่งเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ด้วยเทคโนโลยีไอซีที ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงต้องปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการทำงานในองค์กร พัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง แต่อะไรคือความหมายที่แท้จริงของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นและสมาร์ทซิตี้ เมกะเทรนด์เหล่านี้จะส่งผลต่อสังคมอย่างไร และที่สำคัญที่สุดคือประเทศไทยมีความพร้อมแค่ไหนกับเมกะเทรนด์ดังกล่าว นายเอ็ดวิน เดียนเดอร์ หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น และรองประธานธุรกิจภาครัฐกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ได้ให้ข้อมูลไว้ในโอกาสที่มาร่วมเวทีงาน Digital Thailand Big Bang 2019 ในหัวข้อ “องค์ความรู้อันก้าวหน้า – รากฐานของโลกดิจิทัล” เพื่อถอดรหัสว่าภาพรวมของอุตสาหกรรมไอซีทีของไทยและของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในอนาคตอันใกล้นี้ อะไรคือ “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นไม่ใช่แพลตฟอร์มไอที แต่คือเมกะเทรนด์ที่เป็นแนวคิด เป็นไอเดียที่จะช่วยให้องค์กร รัฐบาล หรือแม้แต่ประเทศยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับตัวเองได้ หากมองภาพรวมของอุตสาหกรรมต่างๆ ในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นว่ามีองค์กรจำนวนไม่น้อยที่แรกเริ่มไม่ได้มาจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับด้านดิจิทัล แต่ผันตัวเองมาเป็นบริษัทด้านดิจิทัลในภายหลัง ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ บริษัทหัวเว่ยที่หลังจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล บริษัทมีบุคลากรเพิ่มขึ้นมากกว่า 16,000 คนภายในเวลาไม่ถึง 5 ปี ซึ่งเรื่องนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากบริษัทไม่ตอบรับกับเทรนด์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ข้อมูลจากไอดีซีระบุว่า การลงทุนด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นทั่วโลกจะมีมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2563

Read More

โอกาสและการเติบโต ธุรกิจกาแฟในไทย

เมล็ดกาแฟที่ผ่านการคั่วด้วยความร้อน ส่งกลิ่นโชยกรุ่น ปล่อยสารเคมีที่ชื่อว่า “กาเฟอีน” ปลุกผู้คนให้ตื่นจากภวังค์และการหลับใหลได้เป็นอย่างดี การบริโภคกาแฟของคนไทยไม่ใช่เพียงเพื่อใช้คุณสมบัติจากเครื่องดื่มชนิดนี้ เพื่อปลุกให้ตื่นจากความง่วงงุนยามเช้าหรือยามบ่ายเท่านั้น ทว่า กาแฟยังเป็นเครื่องดื่มที่บ่งบอกรสนิยมและความชอบของผู้บริโภคได้ชัดเจน และตัวเลขที่บอกว่า คนไทยบริโภคกาแฟประมาณ 300 แก้วต่อคนต่อปี หรือราว 0.5-1 กิโลกรัม ต่อคนต่อปี น่าจะทำให้เข้าใจอัตราการขยายตัวและเติบโตของธุรกิจกาแฟในไทยได้สูงถึง 15-30 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าตลาดการบริโภคกาแฟในไทยจะมีตัวเลขสูงขึ้นทุกๆ ปี แต่แท้จริงแล้วคนไทยยังมีการบริโภคกาแฟน้อยกว่าประเทศอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น อย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ฯลฯ ถึงจะชัดเจนเรื่องปริมาณการบริโภคกาแฟของคนไทยที่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงนัก แต่ด้วยมูลค่าธุรกิจร้านกาแฟในไทยนับตั้งแต่ปี 2560 ที่มีมูลค่าสูงถึง 2.12 หมื่นล้านบาท และสูงขึ้นอีกในปี 2561 ที่ 2.34 หมื่นล้านบาท สำหรับปี 2562 ที่มีการคาดการณ์กันว่ามูลค่าธุรกิจร้านกาแฟอาจสูงถึง 2.58 หมื่นล้านบาท (ข้อมูลจากศูนย์อัจฉริยะ เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร) แต่กลับมีผู้เล่นทั้งหน้าเก่า หน้าใหม่ พร้อมกระโจนเข้าร่วมแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ด้วยมูลค่าตลาดกาแฟที่สูงถึงหมื่นล้านบาท อาจจะเป็นสาเหตุให้นักลงทุนหันมาจับธุรกิจนี้มากขึ้น ส่งผลให้แบรนด์กาแฟทั้งจากต่างประเทศและโลคอลแบรนด์ ตบเท้าเข้ามาในตลาด และมีร้านกาแฟ หรือคาเฟ่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมของเมือง

Read More

บจธ. เร่งจัดตั้งธนาคารที่ดิน เพิ่มโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ

ที่ดินเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและมีบทบาทสำคัญ ทั้งเป็นปัจจัยการผลิตและศูนย์รวมของความเป็นครอบครัวและชุมชน การขาดแคลนที่ดินทำกินและไม่สามารถเข้าถึงที่ดินอันเกิดจากการกระจุกตัวในการถือครองที่ดินจึงสร้างความเหลื่อมล้ำและปัญหาให้เกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินของภาคการเกษตรอันเป็นรากฐานของประเทศไทย ประเทศไทยมีเนื้อที่ประมาณ 321 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำการเกษตร 102.5 ล้านไร่ จากจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ มีผู้ถือครองที่ดินเพียง 15 ล้านราย โดยที่ 20% แรกของกลุ่มผู้ร่ำรวยที่ดินเหล่านั้น ถือครองที่ดินรวมกันเกือบ 80% ของโฉนดที่ดินทั้งประเทศ บางรายครอบครองที่ดินมากถึง 600,000 ไร่ ขณะที่คนส่วนใหญ่อีก 80% ถือครองที่ดินรวมกันเพียง 20% เท่านั้น ปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกินและโอกาสในการเข้าถึงที่ดิน ส่วนหนึ่งเกิดจากการกระจุกตัวของการถือครองและปัญหาการเก็งกำไรที่ดิน ทำให้ที่ดินถูกทิ้งร้างและไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สูญเสียพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร เกษตรกรจำนวนไม่น้อยไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง บางรายต้องเช่าที่ดินจากนายทุน บางรายมีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์อยู่เพียงเล็กน้อย เมื่อประสบกับปัญหาผลผลิตและนโยบายภาคการเกษตรที่ล้มเหลว ผลผลิตล้นตลาด ราคาตก ก่อให้เกิดภาวะหนี้สิน นำมาซึ่งการสูญเสียที่ดินทำกินในที่สุด เกษตรกรส่วนหนึ่งจำต้องละทิ้งถิ่นฐานและอาชีพเดิม เพื่อเข้ามาหางานทำในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ชาวนาชาวไร่ที่ประสบปัญหาต่างเรียกร้องให้รัฐบาลผู้มีบทบาทหน้าที่โดยตรงเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ถือเป็นปัญหาสำคัญ เร่งด่วน และเป็นโจทย์หินของทุกรัฐบาล ที่ผ่านมาภาครัฐพยายามหาหนทางแก้ไข โดยผ่านกระบวนการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรรายย่อยและผู้ยากไร้ ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน ทั้งรูปแบบการให้เอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดินแบบพิเศษ การให้สิทธิ์ในการใช้ที่ดินแบบมีเงื่อนไข การให้เช่าซื้อหรือผ่อนส่งระยะยาว ให้สิทธิ์เช่าที่ดินในราคาถูก โดยการนำที่ดินของรัฐบาล ที่สาธารณประโยชน์

Read More