ห้ามไขมันทรานส์ สุขภาพบนบริโภคนิยม
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่าด้วยการให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหรือ “ไขมันทรานส์” เป็นอาหารที่ห้ามผลิต ห้ามนำเข้า และห้ามจำหน่าย ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ได้สร้างความตื่นตัวให้กับสังคมไทยไม่น้อยเลย แม้ว่าในการวิจัยและศึกษาทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นที่รู้กันในวงกว้างและสากลว่า “ไขมันทรานส์” หรือที่เรียกกันว่า “Trans Fat” เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ และมีความพยายามเรียกร้องให้รัฐควบคุมไขมันทรานส์มาโดยตลอด เพราะปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acid) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน “Partially Hydrogenated Oils” ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ก่อนที่จะนำไปสู่การออกคำสั่งให้เลิกใช้ “ไขมันทรานส์” ในอาหารเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับในอีก 180 วันนับจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งหมายความว่าภายในเดือนมกราคม 2562 ไขมันทรานส์จะเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับสังคมไทย ผลของการประกาศห้ามผลิต ห้ามนำเข้า และห้ามจำหน่าย “ไขมันทรานส์” ก่อให้เกิดคำถามและกระแสความใฝ่รู้เกี่ยวกับไขมันทรานส์ ว่าแท้จริงแล้วคืออะไรและมีอันตรายร้ายแรงอย่างไร จนเป็นเหตุให้ต้องมีคำสั่งในลักษณะดังกล่าวออกมา ขณะเดียวกัน ความตื่นตัวใฝ่รู้ในเรื่องไขมันทรานส์ในอาหารซึ่งมีวางจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาด ทำให้หลายฝ่ายเกิดความกังวลในมิติของความปลอดภัยในอาหารขึ้นมาแบบเฉียบพลัน และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาของหลักทรัพย์บริษัทผู้ประกอบการอาหารในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้รับผลกระทบในเชิงลบไปโดยปริยาย อาหารในกลุ่ม “เบเกอรี” ซึ่งมีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ จาก
Read More