Home > 2016 (Page 4)

ไชน่าเวิลด์ คาดสิ้นปีมูลค่าการซื้อขายผ้าทะลุ 700 ล้านบาท

  ศูนย์การค้าไชน่าเวิลด์ อาณาจักรผ้าม้วนที่ใหญ่ที่สุดใจกลางพาหุรัด ในเครือกลุ่มเซ็นทรัล เติบโตต่อเนื่อง เป็นแหล่งรวมผ้าม้วนสำหรับค้าปลีก-ค้าส่งรายใหญ่สุดของพาหุรัด  ทำยอดการค้าทะลุเป้า  เลิศวิทย์ ภูมิพิทักษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล เปิดเผยว่า ศูนย์การค้าไชน่าเวิลด์ ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัล ก่อตั้งเมื่อปี 2552 เดิมพื้นที่ส่วนนี้เป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล วังบูรพา แต่เนื่องจากกลุ่มเซ็นทรัลมองเห็นโอกาสของตลาดผ้าม้วน ซึ่งบริเวณชุมชนพาหุรัดเป็นย่านที่โดดเด่นของผ้าม้วนลวดลายต่างๆ คนส่วนใหญ่หากพูดถึงผ้าม้วนจะต้องนึกถึงพาหุรัดเป็นอันดับต้นๆ ทำให้ปรับแผนการตลาดจากเซ็นทรัล วังบูรพา มาเป็นศูนย์การค้าไชน่าเวิลด์  จุดเด่นของไชน่าเวิลด์ ถือเป็นแหล่งรวมผ้าม้วนทุกลวดลายที่ใหญ่ที่สุดในพาหุรัด รวบรวมร้านค้าผ้าม้วนเกือบ 200 ร้านค้า แบ่งเป็นประเภทค้าส่ง 80% และค้าปลีก 20% ประกอบด้วย 3 โซน ได้แก่ ผ้าระดับไฮเอนด์ (Hi-End) เช่น The Cynosure Bangkok (เดอะไซนอชัวร์ บางกอก), Jolie (โจลี่), Cosmo (คอสโม่) โซนผ้าม้วน เช่น DM

Read More

ปลาแอนโชวีของกอลลีอูร์

  Column: From Paris อองรี มาติส (Henri Matisse) อยู่ในกระแสอิมเพรสชั่นนิสต์ เดินทางไปยังเมืองกอลลีอูร์ (Collioure) ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ติดชายแดนสเปน ห่างจากสเปนเพียง 20 กิโลเมตร อยู่ในจังหวัด Pyrénées Orientales แล้วประทับใจแสงแดดอันเจิดจ้าและทะเลสีสวย จึงชักชวนอองเดร เดอแรง (André Derain) ให้มาร่วมวาดรูปด้วย เป็นภาพเขียนที่จัดจ้านด้วยสีสัน จนเป็นกระแสโฟวิสม์ (fauvisme) เสียงร่ำลือเกี่ยวกับกอลลีอูร์ทำให้ต้องไปเยือนเมืองนี้เมื่อหลายปีที่แล้ว บ้านพักเป็นจำพวก bed & breakfast ซึ่งฝรั่งเศสเรียกว่า chambres d’hôtes บ้านอยู่บนเนินที่มองลงมาเห็นทะเลสวย สนนราคาแพงทีเดียวเมื่อเทียบกับช่วงที่ไป เพราะพ้นฤดูท่องเที่ยวแล้ว กล่าวคือกลางเดือนพฤศจิกายน วันที่เดินทางไปถึงคือวันที่ 11 พฤศจิกายน เป็นวันสุดท้ายของฤดูท่องเที่ยวของเมืองนี้ พลันในวันรุ่งขึ้นร้านค้าจำนวนหนึ่งปิดเพราะถึงคราวไปพักผ่อนบ้าง เมืองจึงค่อนข้างเงียบเหงา ถึงกระนั้นชาวเมืองก็ยังคงกิจกรรมปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดนัด ในอดีตกอลลีอูร์เคยเป็นของสเปน ต่อมากษัตริย์หลุยส์ที่ 11 ยึดเมืองไว้เป็นของฝรั่งเศสระหว่างปี 1475-1481 โปรดให้สร้างป้อมปราการ แต่แล้วกษัตริย์ชาร์ลส์ที่

Read More

ปตท. จำหน่ายข้าวจากโครงการ “รวมพลังซื้อข้าวจากชาวนา”

 ปตท. จำหน่ายข้าวสารตรงจากมือชาวนา ณ บริเวณด้านข้างร้านคาเฟ่อเมซอน อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ และอาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ถ.วิภาวดี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เยี่ยมชมการเปิดจำหน่ายข้าว ที่อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ ถ.วิภาวดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “รวมพลังซื้อข้าวจากชาวนา” โดยมีเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และคณะผู้บริหาร ปตท. ให้การต้อนรับ เทวินทร์เปิดเผยว่า ปตท. เพิ่มช่องทางบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนาโดยประสานงานกับเครือข่ายเกษตรกรจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่มต่างๆ หมุนเวียนนำข้าวสารคุณภาพมาจำหน่ายที่อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ และอาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ถ.วิภาวดี ระหว่างวันที่ 7-11 พฤศจิกายน 2559 โดยเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการรวมพลังซื้อข้าวจากชาวนา” ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกร

Read More

ข้าว: ความมั่นคงทางอาหาร และสังคมไทย

  “... ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก...”  กระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2536 นอกจากจะเป็นมิ่งขวัญและให้ความสำคัญแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแล้ว ยังสะท้อนพระวิสัยทัศน์ที่ลุ่มลึกในมิติของความมั่นคงทางอาหารอย่างหาที่เปรียบมิได้ เป็นความมั่นคงในมิติที่แตกต่างออกไปจากความนึกคิดของบรรดาขุนศึกนายพลและผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศในปัจจุบัน ซึ่งเติบโตมาท่ามกลางมิติของความมั่นคงแบบเดิม ที่เน้นย้ำเรื่องการมีอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้สร้างสมดุลแห่งความหวาดระแวง และอาจจะไม่มีความเข้าใจเลยจนพร้อมจะกล่าวล้อเล่นด้วยการไล่ชาวนาไปขายปุ๋ยแทน เมื่อถูกถามว่าจะแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำแต่ราคาปุ๋ยแพงอย่างไร สติปัญญาในการแก้ปัญหาราคาข้าวที่ดำเนินอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบันกลายเป็นการผลิตซ้ำมาตรการที่คณะผู้บริหารชุดปัจจุบันพยายามจะชี้ว่ามีความผิดพลาดในอดีต แต่แล้วในที่สุดก็ด้อยความสามารถที่จะคิดหาวิธีในการแก้ไข เยียวยาให้ไปสู่มิติใหม่ที่ไปไกลกว่าเดิม ข้อเท็จจริงของความคืบหน้าในการแก้ปัญหาว่าด้วยเรื่องข้าวในปัจจุบัน ก็คือ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งการให้ทั้งกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ และกลไกของ คสช. ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบโรงสีและโกดังข้าว ควบคู่กับการพบเกษตรกร พร้อมกับมาตรการช่วยเหลือและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว มาตรการที่ว่านี้ประกอบด้วย สินเชื่อชะลอขายข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาตันละ 13,000 บาท จากฐานการคำนวณที่ว่า ข้าวในปัจจุบันมีราคาอยู่ระหว่างตันละ 9,700-12,000 บาท จึงควรมีราคาเฉลี่ยที่ตันละ 11,000 บาท  โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

Read More

พระราชดำริคืนชีวิตชาวม้ง พลิกไร่ฝิ่นสู่พืชออร์แกนิค

  พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้เคยพระราชทานไว้ในวันเปิดการสัมมนาการเกษตรภาคเหนือ ณ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2524 ความว่า  “...คำว่าชาวบ้านนี้ จะเรียกชาวบ้านก็ได้ ชาวเขาก็ได้ ก็เป็นชาวบ้านทั้งนั้น เคยไปถามชาวเขา พูดถึงเรื่องว่าจะทำโครงการอย่างไร อะไร เราก็ช่วยกันนะ เขาบอกว่า หมู่เฮาก็เป็นคนไทยเหมือนกัน ก็หมายความว่า เป็นคนไทยเป็นชาวบ้านทั้งสิ้น ช่วยกันทำ เขาก็อยากอยู่ในกฎหมาย ทำงานสุจริต หรือถ้าเราทำอะไรที่มีเหตุผล เขาก็จะช่วยรักษาป่า 3 อย่างให้เรา”  ชาวไทยภูเขา หรือชาวเขา ที่ตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศเพื่อนบ้าน มีจำนวนประมาณ 500,000 คน แม้จะเป็นชนกลุ่มน้อย แต่มีวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ของตนเอง ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ลักษณะการดำรงชีพของชาวเขาที่ร่อนเร่ไปตามเทือกเขาสูงห่างไกล รูปแบบของเกษตรกรรมจึงเป็นการทำไร่เลื่อนลอย ไร่ข้าวโพด รวมไปถึงการปลูกฝิ่น ซึ่งจะมีการแผ้วถางป่าเพื่อทำการเกษตรในรูปแบบของตัวเองเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ แม้ว่าในยุคสมัยหนึ่งการปลูกฝิ่น การค้าฝิ่น จะยังเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย จนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายและมีการออกกฎหมายห้ามตั้งแต่การผลิตและการค้า แต่ชาวเขาในช่วงเวลานั้นก็ยังไม่ยอมเลิกปลูกฝิ่น ทั้งเหตุผลในเรื่องราคาสูง เป็นแหล่งรายได้อย่างดีของชาวเขาที่สามารถทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ และเป็นการยากที่เจ้าหน้าที่จากภาครัฐจะเข้าไปควบคุมดูแลได้ทั่วถึง เนื่องจากพื้นที่เป็นยอดเขาสลับซับซ้อน

Read More

แอลกอฮอล์ทำร้ายคนวัยกลางคนมากแค่ไหน

 Column: Well – Being ว่ากันว่าการดื่มไวน์สักแก้วเป็นครั้งคราวถือเป็นคุณต่อร่างกาย แต่เมื่ออายุมากขึ้น รูปแบบการเผาผลาญแอลกอฮอล์ของเราเปลี่ยนไป แม้ดื่มเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างที่เราไม่คาดคิด เมื่ออายุมากขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายเริ่มทำงานช้าลง จึงส่งผลกระทบต่อการเผาผลาญแอลกอฮอล์ด้วย ดร.แอนดริว รอชฟอร์ด แห่งหน่วยงาน DrinkWise อธิบายว่า “ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าขณะที่เราอายุยังน้อย ทำให้แอลกอฮอล์และผลพลอยได้จากการดื่มตกค้างอยู่ในระบบของร่างกายนานขึ้น นอกจากนี้ เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายยังมีน้ำในระบบน้อยลงด้วย ทำให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเข้มข้นขึ้น” นิตยสาร GoodHealth ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า แอลกอฮอล์ทำร้ายร่างกายคุณได้มากแค่ไหนเมื่อคุณมีอายุมากขึ้น ขนาดรอบเอวของคุณ เมื่ออายุมากกว่า 30 ปี ระบบเผาผลาญทำงานช้าลงและร่างกายต้องการพลังงานน้อยลงในการคงน้ำหนักตัวเอาไว้ เมื่อคำนวณจำนวนพลังงานอย่างละเอียด จะเห็นว่าแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่มีพลังงานสูงมาก เอลิสัน แม็คเอลิส นักกำหนดอาหารให้ข้อมูลว่า “ไวน์หนึ่งแก้วขนาด 150 มิลลิลิตร ให้พลังงานถึง 430 กิโลจูลส์ ซึ่งมากกว่าขนมปังกรอบรสช็อกโกแลตหนึ่งแผ่นเสียอีก เมื่อระบบเผาผลาญทำงานช้าลง การดื่มแอลกอฮอล์แต่ละแก้วจึงให้พลังงานในมื้ออาหารนั้นเพิ่มขึ้น ทำให้คุณมีแนวโน้มน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการดื่มแอลกอฮอล์ขณะมีอายุมากขึ้น จึงแนะนำให้คิดว่า แอลกอฮอล์เป็นเหมือนอาหารขยะ หากต้องการดื่มให้ดื่มเป็นครั้งคราวในปริมาณน้อยเท่านั้น ผิวหนังของคุณ เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ระบบในร่างกาย มีผลให้หลอดเลือดขยายตัว เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดเหล่านี้อ่อนแอลงและสูญเสียความสามารถในการหดตัวกลับสู่สภาพเดิม

Read More

“กรีนมาร์เก็ต” เพชรบูรณ์โมเดล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

  แม้ว่าจังหวัดเพชรบูรณ์จะมีสถานที่ท่องเที่ยวติดอันดับต้นๆ และเป็นตัวเลือกอันดับแรกๆ ของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะพื้นที่เขาค้อ ภูทับเบิก อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ซึ่งความนิยมที่ทวีสูงขึ้นทำให้อุตสาหกรรมที่เติบโตเพื่อรองรับการขยายจำนวนของนักท่องเที่ยวเป็นไปแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะพื้นที่ภูทับเบิก จากเดิมที่เคยเป็นสถานที่ที่ถูกจัดสรรให้ชาวเขาใช้สำหรับการเพาะปลูกพืชผักเมืองหนาว หากแต่เหล่านายทุนที่มองเห็นกำไรที่คาดว่าจะได้รับ ทำให้เกิดการเปลี่ยนมือเจ้าของที่ดินทำกิน แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่จะสามารถซื้อขาย แต่เป็นลักษณะของเอกสารสิทธิ์ครอบครองเพื่อใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและทำกินเท่านั้น จากทิวเขาสีเขียวขจี ที่มีแปลงกะหล่ำปลีปลูกเรียงรายทอดยาวเป็นระเบียบ ถูกแปรสภาพเป็นรีสอร์ต เกสต์เฮ้าส์หลังเล็กๆ สีสันสดใสตัดกับสีของธรรมชาติอย่างชัดเจน  กระนั้นเมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ คสช. เข้ามาควบคุมดูแลอย่างจริงจังและตรวจสอบความถูกต้อง ถึงการรุกล้ำผืนป่าภูทับเบิก กรณีดังกล่าวเคยปรากฏให้เห็นถึงการออกแอคชั่นของภาครัฐเมื่อครั้งภารกิจทวงคืนผืนป่าจากพื้นที่เขาใหญ่ ปรากฏการณ์เดียวกันกำลังดำเนินไปบนพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์อย่างภูทับเบิก แม้ว่าภาพข่าวที่แสดงออกมาจะเป็นไปในเชิงติดลบ กระนั้นภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัดเพชรบูรณ์กลับมีนโยบายนำร่องซึ่งสอดคล้องกับนโยบายประชารัฐของรัฐบาลเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานราก โครงการกรีนมาร์เก็ต จังหวัดเพชรบูรณ์ จึงถือกำเนิดขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างปี พ.ศ.2556-2558 พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิดมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี พ.ศ.2557-2558 มีผู้ป่วยเพิ่มเป็นสองเท่าจากปี พ.ศ.2556 โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยมะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ในส่วนของผู้มารับบริการของโรงพยาบาลเพชรบูณ์ พบว่าผู้ป่วยมะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่ สูงเป็นอันดับ 1 และ 2 ของมะเร็งทั้งหมด และสาเหตุของมะเร็งตับส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ป่วยได้รับสารเคมีหรือสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ส่วนมะเร็งลำไส้ใหญ่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารหรือได้รับสารกระตุ้นในระบบทางเดินอาหาร  ปัจจุบันเกษตรกรบางกลุ่มเริ่มมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น และเริ่มมองเห็นช่องทางการหลุดพ้นจากบ่วงความยากจน วงจรการเกษตรแบบเดิมๆ ที่รังแต่จะสร้างภาระหนี้สินที่ไม่รู้จบ และหันมาหาทางเลือกใหม่ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ลดต้นทุน และสามารถให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและดีกว่า อีกทั้งเทรนด์การบริโภคของประชาชนในช่วงนี้จะเน้นหนักและใส่ใจต่อสุขอนามัยมากขึ้น กรีนมาร์เก็ต

Read More

เศรษฐกิจพอเพียง จาก “ปรัชญา” สร้าง “ธุรกิจชุมชน”

  “การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นอันพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย จะเกิดความไม่สมดุล ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เรื่องแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในปี 2517 หรือเมื่อ 50 ปีก่อน ได้รับการพัฒนากลายเป็นปรัชญาสำคัญของประเทศ ภายใต้แนวคิด “3 ห่วง 2 เงื่อนไข”  คือ “พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน” บนเงื่อนไข “ความรู้” และ “คุณธรรม” แม้ในช่วงแรกๆ หลายภาคส่วนยังไม่เข้าใจและเข้าถึง “แก่น” แต่การที่ประเทศไทยสามารถผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจหลายครั้งด้วยแนวคิดดังกล่าว ย่อมถือเป็นข้อพิสูจน์ที่ดีที่สุด ส่งผลให้หลายๆ ธุรกิจน้อมนำแนวคิดปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” สร้างรากฐานการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจไม่แสวงหากำไรจนเกินควร คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด มีคุณภาพ และมีส่วนร่วมในการสร้างการเติบโตของประเทศชาติ เพราะเมื่อเศรษฐกิจประเทศมั่นคง ประชาชนเข้มแข็ง จะส่งผลถึง “กำไร” ขององค์กรธุรกิจด้วย ดังทรงมีพระราชดำรัสถึงเรื่อง “ขาดทุน คือ กำไร  Our

Read More

จาก “ต้มยำกุ้ง” ถึง “หนี้ครัวเรือน” ย้ำปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

  ขณะที่รัฐบาลพยายามสร้างความเชื่อมั่นในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ หลังเจอผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ปัญหาการส่งออกติดลบ การบริโภคภายในประเทศหดตัว และที่สำคัญ คือ วิกฤตหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงสุด แม้มีมาตรการกระตุ้นออกมาหลายรอบ แต่ยังไม่เห็นผลชัดเจนนัก จนดูเหมือนว่า วิกฤตครั้งนี้ทางออกเหนือมาตรการทั้งปวงที่จะช่วยประเทศไทยและคนไทยก้าวผ่านพ้นมรสุม คือ การยึดหลักปฏิบัติตามปรัชญาแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ล่าสุด นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกมาเรียกร้องให้คนไทยมั่นใจศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศและเปลี่ยนความโศกเศร้าของประชาชนเป็นพลังสามัคคีของคนทั้งประเทศ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า โดยน้อมนำหลักปรัชญาและสืบสานพระปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไปใช้เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ  เพราะวิกฤตเศรษฐกิจหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา ปัญหาหลักอยู่ที่ความไม่สมดุลของการพัฒนา จนขาดภูมิคุ้มกันและต้องพึ่งพิงปัจจัยภายนอก เมื่อเศรษฐกิจโลกย่ำแย่ย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่อง ทำให้ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวคิดที่ทันสมัยทุกยุค  หรือแม้ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 เปลี่ยนจากยุค 1.0 เน้นภาคเกษตรกรรม ยุค 2.0 เน้นอุตสาหกรรมเบา ยุค 3.0 เน้นภาคอุตสาหกรรมหนัก และยุค 4.0 ซึ่งเป็นโมเดลล่าสุดที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ Value-Based Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เปลี่ยนแนวคิดจาก

Read More

บิ๊กซี “ห้างคนไทย หัวใจคือลูกค้า” ร่วมจัดพิธีถวายอาลัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

 บิ๊กซี  “ห้างคนไทย หัวใจคือลูกค้า”  ร่วมจัดพิธีถวายอาลัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตามที่มีประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ  เสด็จสวรรคต วันที่ 13 ตุลาคม 2559  นายอัศวิน  เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ห้างค้าปลีกในกลุ่มบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (บีเจซี) นำคณะผู้บริหารและพนักงาน ร่วมถวายราชสักการะและลงนามแสดงความอาลัยหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้แด่ประบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ ณ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาราชดำริห์  นายอัศวิน เปิดเผยด้วยว่า บิ๊กซีทราบดีว่าชาวไทยทุกท่านอยากมีส่วนร่วมในการแสดงออกเพื่อถวายอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ จึงขอเป็นส่วนร่วมในการถวายอาลัย  โดยขอเรียนประชาชนชาวไทยเชิญร่วมน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมลงนามไว้ความอาลัย เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ณ จุดลงนามที่ บิ๊กซี ทุกสาขา ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2559 เวลา 10.00-20.00 น. บริการที่จอดรถฟรี ที่บิ๊กซีทุกสาขาในกรุงเทพและปริมณฑล สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปถวายอาลัย ณ พระบรมมหาราชวัง รวมทั้งบริการรถรับ

Read More