Home > 2016 (Page 2)

ก้าวใหม่ของนักวิจัยไทย ปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่เป็นยา

  สตรอว์เบอร์รี่ นับเป็นผลไม้เมืองหนาวที่คนไทยนิยมบริโภค แม้ว่าในปัจจุบันจะมีสตรอว์เบอร์รี่สายพันธุ์ต่างๆ มากมายให้เลือก แต่พันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดน่าจะเป็น “สตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 80”  แม้จะมีกลิ่นหอม รสชาติหวาน สีและรูปทรงที่สวยงาม อีกทั้งยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรของไทย แต่ข้อด้อยบางประการของสตรอว์เบอร์รี่ของไทยนั้น คือ มีสารแอนโทไซยานินน้อย ผิวบาง ช้ำเสียง่าย ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการขนส่ง ครั้งนี้นับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญยิ่งของนักวิจัยคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีโครงการปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการผลิตแอนโทไซยานิน และการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  ซึ่งหากงานวิจัยครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์ จะทำให้ได้สตรอว์เบอร์รี่สายพันธุ์ใหม่ที่มีปริมาณแอนโทไซยานินสูงขึ้น เป็นประโยชน์ทางโภชนาการต่อผู้บริโภค  กระนั้นนักวิจัยกลุ่มนี้ ซึ่งนำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เคยประสบความสำเร็จจากงานวิจัยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 80 แบบไร้ไวรัสสำเร็จเป็นแห่งแรกของไทย เมื่อปี พ.ศ.2558 ซึ่งในครั้งนั้นใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมานานกว่า 2 ปี และผลงานวิจัยในครั้งนั้น ทำให้คณะวิจัยได้ต้นพันธุ์ที่มีลักษณะลำต้นสมบูรณ์แข็งแรง และให้ผลผลิตในปริมาณมากอีกทั้งยังปราศจากการเข้าทำลายของโรค ซึ่งการประสบความสำเร็จเพียงเรื่องเดียวก็ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าดีพอ เมื่อหมุดหมายใหม่ของนักวิจัยคณะนี้ นับเป็นย่างก้าวที่สำคัญ และทวีความยากในงานวิจัยมากขึ้นหลายเท่าตัว  กับโจทย์ใหม่ที่ว่า ทำอย่างไรให้สตรอว์เบอร์รี่มีคุณประโยชน์สูง รับประทานเป็นยามากกว่าแค่กินเป็นผลไม้  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) จึงได้การสนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการผลิตแอนโทไซยานินและการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ” แก่ผู้ช่วยศาสตราจารย์

Read More

ทีซีซี ผนึก “บิ๊กซี” ปูพรมฮุบค้าปลีก

  การทุ่มเม็ดเงินกว่า 2 แสนล้านบาท ฮุบกิจการ “บิ๊กซี” ในประเทศไทยจากกลุ่มคาสิโนเมื่อเดือนมีนาคม 2559 ถือเป็นการต่อจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญตามแผนขยายธุรกิจค้าปลีกอย่างครบวงจรของทีซีซีกรุ๊ป ตั้งแต่ธุรกิจศูนย์การค้าหลากหลายรูปแบบสู่ธุรกิจค้าปลีกปลายน้ำทุกโมเดล ทั้งห้างค้าส่ง ไฮเปอร์มาร์เก็ต ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ ซูเปอร์มาร์เก็ตจนถึงร้านสะดวกซื้อ ที่กำลังปลุกปั้นแบรนด์อย่างเข้มข้นในตลาดอาเซียน  ระยะเวลากว่า 9 เดือน อัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และในฐานะซีอีโอ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ดึงฐาปนี สิริวัฒนภักดี ภรรยา ซึ่งเป็นลูกสาวคนเล็กของเจริญ สิริวัฒนภักดี เข้าไปปรับระบบต่างๆ เพื่อแก้จุดอ่อนทั้งหมดของ “บิ๊กซี” เพราะการต่อสู้กับยักษ์ใหญ่อย่าง “เทสโก้ โลตัส” และกลุ่มเซ็นทรัล ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะการสร้างความมั่นใจให้คู่ค้าและผู้บริโภคเห็นถึงศักยภาพ “ทีซีซี” ในฐานะยักษ์ค้าปลีกอีกราย  ขณะเดียวกัน อัศวินต้องเร่งเขย่าแบรนด์ค้าปลีกทั้งหมดในเครือบีเจซี เพื่อสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง โดยหวังใช้แบรนด์ “บิ๊กซี”

Read More

“ฟ็อกซ์” ฟ้อง ธ.กรุงเทพ 2,500 ล้านบาท กรณีไม่จ่ายแบงก์การันตี

 ฟ็อกซ์ เน็ตเวิร์ค กรุ๊ป เอเชีย ยื่นเรื่องต่อศาลที่ฮ่องกงและไทย ฟ้องธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กรณีไม่จ่ายแบงก์การันตีสำหรับค่าลิขสิทธิ์การออกอากาศรายการของฟ็อกซ์ แทนบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) 2 ยักษ์ใหญ่ธุรกิจดิจิทัลทีวี ที่ยุติการให้บริการไปแล้ว ฟ็อกซ์ได้ทำสัญญาให้สิทธิ์การออกอากาศรายการต่างๆ แก่จีเอ็มเอ็มและซีทีเอช ตั้งแต่ปี 2556 โดยทั้ง 2 บริษัทค้างชำระค่าสิทธิ์การออกอากาศดังกล่าวเป็นมูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท และต้องชำระดอกเบี้ยกรณีจ่ายล่าช้า ซึ่งธนาคารกรุงเทพเป็นผู้ออกแบงก์การันตีค้ำประกันการชำระเงินให้กับจีเอ็มเอ็มและซีทีเอช และตั้งแต่ปี 2558 ธนาคารกรุงเทพไม่ได้ทำตามสัญญาจ่ายแบงก์การันตีแทน 2 บริษัทดังกล่าว “ฟ็อกซ์ มีความผูกพันอย่างยาวนานต่ออุตสาหกรรมสื่อในประเทศไทย เรามุ่งมั่นที่จะนำเสนอรายการบันเทิง และรายการกีฬาระดับคุณภาพแก่ผู้ชมชาวไทย” ซูบิน กานเดเวีย ประธานบริษัท ฟ็อกซ์ เน็ตเวิร์ค กรุ๊ป ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และตะวันออกกลาง กล่าว และ “เรื่องนี้ทำให้เราผิดหวังเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคารที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของประเทศไทย

Read More

สารอาหารสำคัญที่ขาดไม่ได้

  Column: Well – Being คุณอาจคิดว่าอาหารที่บริโภคอยู่ทุกวันนี้ก็มีคุณค่าครบถ้วนดีอยู่แล้ว แต่คุณยังมีปัญหาเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ หรือไม่สบายเรื้อรังอยู่ใช่ไหม  สาเหตุอาจเป็นเพราะขาดสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อร่างกาย นิตยสาร GoodHealth รายงานผลสำรวจของ CSIRO เมื่อเร็วๆ นี้ที่สรุปว่า เมื่อเทียบกับคำแนะนำด้านโภชนาการแห่งชาติ ชาวออสเตรเลียได้คะแนนเพียง 61 จากคะแนนเต็ม 100 สำหรับคุณภาพของอาหารที่พวกเขาจัดหามาบริโภค ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อร่างกายและชาวออสเตรเลียมักขาด ไอโอดีน เราทุกคนต้องการไอโอดีนเพื่อผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต การพัฒนาสมอง และระบบเผาผลาญที่สมบูรณ์ ศาสตราจารย์เครสเวลล์ อีสต์แมน ผู้มีบทบาทในการผลักดันให้เสริมไอโอดีนในขนมปังและขนมอบที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบ กล่าวว่า “ภาวะขาดสารไอโอดีนเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของโรคความผิดปกติทางสมองที่ป้องกันได้ ภาวะขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ส่งผลให้ทารกในครรภ์มีไอคิวต่ำลงถึง 15 จุด และนำไปสู่โรคทางระบบประสาทและปัญหาด้านพฤติกรรมในเด็กเหล่านั้น” ในผู้ใหญ่ที่มีไอโอดีนต่ำ ทำให้เกิดปัญหาด้านภาวะเจริญพันธุ์และระบบเผาผลาญ ส่วนใหญ่เราได้ไอโอดีนจากเกลือหรือขนมปังเสริมไอโอดีน ดังนั้น การตัดอาหารเหล่านี้ออกจากโภชนาการ ย่อมเป็นสาเหตุของการขาดไอโอดีนได้ นอกจากนี้ สภาพภูมิศาสตร์และคุณภาพของดินก็มีผลเช่นกัน สัญญาณชัดเจนที่สุดของภาวะขาดสารไอโอดีนในผู้ใหญ่คือ โรคคอพอก โดยต่อมไทรอยด์บริเวณด้านหน้าของลำคอมีขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ ยังมีอาการอื่น ๆ เช่น ผิวหนังแห้ง ผมร่วง และร่างกายอ่อนล้า แหล่งสารไอโอดีนที่สำคัญ คือ อาหารทะเล สาหร่ายทะเล นม

Read More

ฐาปน สิริวัฒนภักดี ภารกิจเร่งด่วน ยึด “อาเซียน”

  ฐาปน สิริวัฒนภักดี ตั้งเป้าหมายการเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจรตั้งแต่วันแรกที่ก้าวเข้ามาบริหารบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เมื่อปี 2551 และเป็นเป้าหมายสูงสุดเดียวกันกับเจริญ สิริวัฒนภักดี ตั้งแต่วันแรกที่ประกาศตั้งบริษัท ไทยเบฟเวอเรจฯ รวมกิจการผลิตเบียร์และสุราเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์ เมื่อปี 2546  ต้องถือว่า “ไทยเบฟ” ยุคแรก ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ปรับโครงสร้างองค์กรและโครงสร้างธุรกิจ เพื่อปลุกปั้นภาพลักษณ์ใหม่ พลิกโฉมหน้าจากยักษ์ใหญ่ผูกขาดตลาดเหล้า ซึ่งเป็นธุรกิจสีเทาที่อิงอยู่กับอิทธิพลและอำนาจการเมืองตั้งแต่อดีตยุคสุราแม่โขง ล้างภาพตั้งแต่ครั้งเจอกลุ่มม็อบต่อต้านการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างหนัก เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจจากสไตล์เถ้าแก่รุ่นเก่าเป็น “ผู้บริหารมืออาชีพ” เพื่อสร้างความโปร่งใสในการจำหน่ายสินค้าตามระบบการค้าเสรี ขณะเดียวกัน เร่งขยายธุรกิจเครื่องดื่มอย่างครบวงจรมากขึ้น ทั้งธุรกิจสุรา ธุรกิจเบียร์ ธุรกิจเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ และธุรกิจอาหาร แต่ยังมีธุรกิจเหล้าเบียร์เป็นตัวสร้างรายได้หลักของบริษัท  ปลายปี 2557 ฐาปน สิริวัฒนภักดี ในฐานะกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ประกาศยุทธศาสตร์ Vision 2020 เพื่อเป็นโรดแมพดำเนินธุรกิจช่วง 6 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2563

Read More

5 สิ่งที่ชาวต่างชาติเรียนรู้หลังมาเปิดออฟฟิศในอาเซียน

ปัจจุบันบริษัทสตาร์ทอัพในยุโรปจำนวนมากกำลังทยอยขยายตลาดมาสู่อาเซียนมากขึ้น หลังจากที่ยอดขายบนโลกออนไลน์ของภูมิภาคนี้อยู่ในลำดับต้นๆ ของโลกSaleduck ก็เป็นหนึ่งในบริษัทสตาร์ทอัพคูปองออนไลน์จากยุโรปที่เลือกแลนด์ดิ้งที่ประเทศมาเลเซีย และใช้ออฟฟิศแห่งนี้เป็นฐานบัญชาการโดยจ้างพนักงานหลายๆ ชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาทำงานที่สำนักงานแห่งนี้ แต่ภายหลังจากเริ่มเปิดออฟฟิศไประยะหนึ่ง General Manager ของ Saleduck อย่างโรซานน์ ฮอร์เทนเชียส ก็พบว่า มีหลายสิ่งที่เธอเข้าใจผิด ทำผิดพลาดและขาดความเข้าใจ จนกระทั่งได้เรียนรู้เพิ่มเติมภายหลังจากเริ่มตั้งออฟฟิศที่ประเทศแห่งนี้ ในบทความนี้โรซานน์ได้มาแชร์ประสบการณ์บอกเล่าสำหรับคนที่เริ่มทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อที่จะเป็นแบบอย่างให้กับนักธุรกิจ หรือกลุ่มคนอื่นที่สนใจ หรือเลือกจะมาขยายออฟฟิศในต่างประเทศ1. เรื่องสวัสดิการและสิทธิประโยชน์โรซานน์เผยว่าสิ่งหนึ่งที่ออฟฟิศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แตกต่างจากออฟฟิศในยุโรป ก็คือวัฒนธรรมสวัสดิการในออฟฟิศ โดยในยุโรปนั้น พนักงานจำนวนมากชื่นชอบสวัสดิการ เช่น ขนมนมเนย มุมกาแฟสด และอีเวนท์อย่างเช่นการออกไปรับประทานอาหารร่วมกันในคืนวันศุกร์ แต่นั่นไม่ใช่กับในประเทศมาเลเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อพนักงานส่วนใหญ่ต้องการจะใช้เวลาในวันศุกร์ร่วมกับครอบครัว และเพื่อนฝูงของเขาเอง ไม่ใช่กับพนักงานในออฟฟิศ  ขณะเดียวกันการชักชวนผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามให้ออกไปดื่มแอลกอฮอล์ด้วยกันแทบเป็นไปไม่ได้ในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นหลัก รวมถึงอาหารที่ผู้นับถือศาสนาแตกต่างกัน มักจะต้องการประเภทอาหารที่ต่างกันออกไป จนหลายครั้งเป็นเรื่องยากที่จะรับประทานอาหารร่วมกันได้อย่างหลากหลาย นอกจากนี้บริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่มีสวัสดิการเป็นประกันสุขภาพที่ครอบคลุมถึงคนในครอบครัว ซึ่งเป็นเรื่องที่หาได้ยากในยุโรป โดยหลังจากเปิดเว็บไซต์ภาคภาษาไทย ก็ได้เรียนรู้ว่าบริษัทจำนวนมากไม่เฉพาะเพียงประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงมาเลเซีย และสิงคโปร์ที่มีสวัสดิการในทำนองเดียวกันให้ด้วย2. ค้นหาผู้มีประสบการณ์ผิดที่สิ่งถัดมาที่ทำผิดพลาดก็คือการพยายามหาผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำการตลาดออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ซมาอย่างยาวนาน เพราะตลาดอีคอมเมิร์ซเพิ่งบูมในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นการหาคนที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงเป็นเรื่องที่ยากมาก ทาง Saleduck จึงเปลี่ยนแผนมารับบุคคลที่เรียนรู้เร็วและมีความตื่นตัวที่ดี และหากมีความรู้หรือประสบการณ์เกี่ยวกับบริษัทออนไลน์ดังๆ อย่างเช่น

Read More

จับตา “บ.วัฒนภักดี” การรุกเข้าคลุมสื่อของ “ฐาปน”?

  การประกาศมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 6/2559 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งมีเนื้อหาหลักอยู่ที่การอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทขึ้นอีกจำนวน 200,000,000 บาท เป็นจำนวน 419,999,865 บาท  โดยการเพิ่มทุนครั้งนี้ ดำเนินไปด้วยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 200,000,000 หุ้นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เพื่อจัดสรรและเสนอขายให้แก่ บริษัท วัฒนภักดี จำกัด ที่มี ฐาปน สิริวัฒนภักดี และ ปณต สิริวัฒนภักดี เป็นกรรมการบริษัท ในราคาหุ้นละ 4.25 บาท รวมเป็นมูลค่า 850,000,000 บาท ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น 47.62% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ข่าวดังกล่าวไม่เพียงแต่จะถือเป็นข่าวใหญ่ที่มีฐานะ big deal ในแวดวงธุรกิจและวงการสื่อในช่วงท้ายปีนี้เท่านั้น หากแต่ในความเป็นจริงยังเป็นภาพสะท้อนการรุกคืบทางธุรกิจของกลุ่มไทยเบฟ และโดยเฉพาะจังหวะก้าวของฐาปน สิริวัฒนภักดี ในฐานะที่เป็นหัวเรือใหญ่ขององค์กรที่กำลังจะก้าวเดินสู่วิสัยทัศน์ 2020

Read More

บทเรียนจากอินเดีย: ยกเลิกธนบัตร เพื่อปราบโกง?

  ภาพแห่งความโกลาหลของประชาชนที่มาเข้าแถวรอแลกธนบัตรมูลค่าใบละ 500 และ 1,000 รูปีที่ถูกประกาศยกเลิกและกำลังจะมีสถานะกลายเป็นเพียงเศษกระดาษไร้ค่าหากไม่นำมาแลกเป็นธนบัตรใหม่ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2559 นอกจากจะดำเนินไปด้วยความตื่นตระหนกอย่างกว้างขวางแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อกลไกเศรษฐกิจของอินเดียในห้วงเวลาปัจจุบันอย่างไม่อาจเลี่ยง การประกาศยกเลิกธนบัตรทั้งสองชนิดดังกล่าว ของนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ในด้านหนึ่งดำเนินไปท่ามกลางเหตุผลของความพยายามในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นและผู้ถือครองเงินนอกระบบในประเทศ  การขจัดธนบัตรปลอม และการตัดแหล่งเงินสนับสนุนของขบวนการก่อการร้ายเพื่อให้เงินผิดกฎหมายหรือเงินที่ได้มาจากการทุจริตคอร์รัปชั่นถูกขจัดออกจากระบบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวนโยบายที่โมดีได้ใช้หาเสียงในช่วงก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 แม้ว่าการประกาศยกเลิกธนบัตรดังกล่าวจะได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่จำเป็นในการปราบปรามเงินนอกระบบและการคอร์รัปชั่น และจะทำให้ปริมาณเม็ดเงินที่คาดว่าจะมีจำนวนมากกว่าสองแสนล้านเหรียญสหรัฐที่อยู่นอกระบบของอินเดีย หลั่งไหลเข้ามาเติมเต็มสู่ระบบธุรกิจ บัญชีของธนาคาร และที่สำคัญเป็นภาษีและรายได้เข้าสู่รัฐ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลภายใต้การนำของนเรนทรา โมดี ได้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม (GST: Goods and Services Tax Bill) ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2017 โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ได้รับการประเมินว่าเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งสำคัญของอินเดียอีกด้วย แต่ผลของประกาศยกเลิกธนบัตรอย่างฉับพลันครั้งนี้ ในด้านหนึ่งกลายเป็นเหตุให้ประชาชนชาวอินเดียจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญกับความยากลำบากในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือทางการเงินทั้งบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ซึ่งนำไปสู่ความไม่พึงพอใจและการเข้าแถวแลกธนบัตรใหม่ที่ต้องเผชิญกับข้อเท็จจริงที่ว่ามีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการอีกด้วย ขณะเดียวกัน รัฐบาลอินเดียยังได้ลดจำนวนเงินที่อนุญาตให้แลกจาก 4,500 รูปี เหลือ 2,000 รูปี เนื่องจากสงสัยว่าหลายคนรับจ้างกลุ่มขบวนการอาชญากรรมมาฟอกเงินด้วยการแลกหรือฝากธนบัตรเก่าก่อนถึงกำหนดเส้นตาย 30

Read More

เคทีซีจัดกิจกรรม “เคทีซีส่งภาษามือชวนน้องตามรอยพระบิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย”

  เคทีซีจัดกิจกรรม “เคทีซีส่งภาษามือชวนน้องตามรอยพระบิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย” เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยนางพจนีย์พร ชำนาญภักดี ผู้อำนวยการ - ทรัพยากรบุคคล  พร้อมด้วยนางสายใจ สังขพันธ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ นำคณะครูและนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษา โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ สื่อมวลชน และพนักงานรวมกว่า 80 คน เข้าร่วมกิจกรรม “เคทีซีส่งภาษามือชวนน้องตามรอยพระบิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย” เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มีต่อวงการเกษตรไทย  โดยกิจกรรมมุ่งหมายให้น้องๆ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเรียนรู้การทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะกระบวนการปลูกข้าวครบวงจรแบบเกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่การเลือกเมล็ดพันธุ์ เตรียมดิน การหว่าน การดูแลรักษาต้นข้าวในนา การเก็บเกี่ยว การนวดข้าว การเก็บรักษา และการบรรจุภัณฑ์ พร้อมร่วมกิจกรรมเวิร์คช้อป “พี่สอนน้องปลูกข้าวในกระถาง” เพื่อให้น้องๆ นำกลับไปปลูกต่อที่โรงเรียนต่อไป เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและเรียนรู้เรื่องการเกษตรด้วยตนเอง โดยมีนายพิภัทร์ ศรีคำ ชาวนาวิถีเกษตรอินทรีย์ เจ้าของนาทองดี เป็นวิทยากร

Read More

ทางแพร่ง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ จำกัดความคิด ละเมิดสิทธิ ฉุดเศรษฐกิจดิจิทัล?

  เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) นับเป็นอีกหนึ่งนโยบายที่สำคัญของไทยที่ถือเป็นฟันเฟืองชิ้นใหม่ ที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ชูเป็นธงนำหน้าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย  ทั้งนี้การเดินหน้าในเรื่องเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้นทำให้ต้องมีการร่างกฎหมายเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลจำนวน 8 ฉบับ ซึ่งเป็นการเสนอแก้ไขกฎหมายเดิม 4 ฉบับ และเสนอกฎหมายใหม่ 4 ฉบับ และหนึ่งในนั้นคือ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่.. พ.ศ. ..) หากแต่ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 (ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ฯ) ที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาทบทวนนั้น หลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นห่วงใยต่อร่างแก้ไข พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ดังกล่าวว่า อาจจะส่งผลกระทบในเชิงลบที่อาจรวมไปถึงเสรีภาพการแสดงออกของสื่อ การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจยุคดิจิทัลและสถาบันการเงินต่างๆ ในประเทศไทย  อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มักจะถูกพ่วงเข้ามาในการฟ้องร้องจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทต่อประชาชน ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่กำลังกังวลในกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน  ซึ่งเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างแก้ไข พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ที่ได้รับเสนอจากกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร ซึ่งร่างแก้ไข พ.ร.บ. ดังกล่าวกำลังอยู่ในวาระการพิจารณาของสภานิติบัญญติแห่งชาติ (สนช.) ต่อมาในวันที่ 5 มิถุนายน 2559 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทย เครือข่ายพลเมืองเน็ต

Read More