Home > 2015 (Page 8)

จับกระแส WellBeing เทรนด์ยอดนิยมที่กลายเป็นเงิน

 ความตื่นตัวในการรักษาสุขภาพพลานามัยและสร้างเสริมสุขภาวะของผู้คนในสังคมไทย ดูเหมือนจะเป็นกระแสที่ดำเนินอยู่ต่อเนื่องยาวนานและมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อไปอีกได้ไกล ไม่ใช่เฉพาะในประเด็นว่าด้วยพัฒนาการของกิจกรรมที่มีรูปแบบหลากหลายมากขึ้น และแพร่กว้างไปยังกลุ่มชนทุกระดับสังคมเท่านั้น หากแต่ยังประกอบส่วนด้วยมิติเชิงพาณิชย์ที่น่าจับตามองด้วย เพราะก่อนหน้านี้ สถานที่ออกกำลังกายหรือที่เรียกโดยรวมว่า fitness center นั้น มักจะเลือกทำเลที่ตั้งให้อยู่ใกล้อาคารสำนักงาน หรือแม้แต่ฝังตัวอยู่ในศูนย์การค้า โดยหวังว่าจะสามารถยึดกุมกลุ่มเป้าหมายและฐานลูกค้าได้กว้างขวาง ซึ่งดูเหมือนจะประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง มูลค่าการตลาดของธุรกิจฟิตเนสเซ็นเตอร์ในประเทศไทยได้รับการประเมินว่ามีมูลค่าสูงถึงประมาณ 5,000 ล้านบาท โดยมีฐานสมาชิกผู้ใช้บริการไม่น้อยกว่า 2 แสนราย และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 10-15% ต่อปี สอดรับกับกระแสสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การแข่งขันในธุรกิจฟิตเนสก็ดำเนินไปอย่างเข้มข้นไม่แพ้กัน และมีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ พยายามเบียดแทรกเข้ามาในสังเวียนนี้อย่างต่อเนื่องและทำให้ ฟิตเนส เฟิร์สท์ ซึ่งอยู่ในฐานะผู้นำตลาดในปัจจุบันไม่สามารถนิ่งนอนใจ เพราะนอกจากจะมีฟิตเนสรายใหญ่อย่าง เวอร์จิ้น แอคทีฟ ฟิตเนส รุกคืบเข้ามาแล้วยังมีผู้ประกอบการรายอื่นๆ พร้อมเข้าปันส่วนแบ่งนี้ด้วย อย่างไรก็ดี ประเด็นว่าด้วยค่าสมาชิกและค่าบริการรวมถึงการแทรกเสริมเพื่อชักชวนให้ซื้อแพ็กเกจสุขภาพหลายรูปแบบของ fitness center เหล่านี้ดูจะเป็นกรณีที่รบกวนใจกลุ่มลูกค้าไม่น้อยเลย ยังไม่นับรวมถึงกรณีการล้มหายไปของ California WOW แบรนด์ฟิตเนสชื่อดังที่ติดตามมาด้วยประเด็นการฉ้อโกงในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสั่นคลอนภาพรวมของธุรกิจนี้ไปโดยปริยาย ปัจจัยสำคัญในการแข่งขันของธุรกิจฟิตเนสประการหนึ่ง นอกจากจะอยู่ที่ความครบครันพรั่งพร้อมของอุปกรณ์ และผลของการออกกำลังกายแล้ว ความหลากหลายของคลาสออกกำลังกาย ก็นับเป็นปัจจัยหนุนเสริมซึ่งทำให้ในช่วงที่ผ่านมาฟิตเนสแต่ละแห่งต้องเติมโปรแกรมโยคะหรือมวยไทย ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในคลาสออกกำลังกายด้วย ข้อเท็จจริงด้านหนึ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กับฟิตเนสเซ็นเตอร์เหล่านี้ก็คือ ความพยายามสร้างโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีความหลากหลายเพื่อสนองตอบกับความต้องการของผู้ใช้บริการ

Read More

เคทีซีและเลิฟ อันดามันชวนเปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวราชินีแห่งอันดามัน “เกาะรอก”

  เคทีซีและเลิฟ อันดามันชวนเปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวราชินีแห่งอันดามัน “เกาะรอก” แบบสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ในราคาเพียง 5,555 บาท “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท เลิฟ อันดามัน จำกัด สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส และโรงแรมโฟโต้ (Foto Hotel) จัดทริปสุดเอ็กซ์คลูซีฟ “Premiere Exclusive Koh Rok” เปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวเกาะรอก ราชินีแห่งเกาะอันดามัน เกาะที่มีหาดทรายนุ่ม น้ำทะเลใสที่สุดแห่งหนึ่ง  แพ็คเกจ 3 วัน 2 คืน บริหารงานโดยเลิฟ อันดามัน บริษัทนำเที่ยวทางเรือชั้นนำ เดินทางโดยสายการบิน บูติก แอร์ไลน์ “บางกอกแอร์เวย์ส” เข้าพักที่โรงแรมสุดฮิพ “โฟโต้” หาดกะตะ ภูเก็ต พิเศษ!! สำหรับสมาชิกบัตรเครดิต  เคทีซี 30 ท่าน สามารถจองแพ็คเกจในราคาเพียง 5,555 บาท

Read More

ไปรษณีย์ไทย ผนึกกำลัง ลาซาด้า ต่อยอดบริการโลจิสติกส์ครบวงจร

  บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ผนึกกำลัง บริษัท ลาซาด้า จำกัด ต่อยอดธุรกิจโลจิสติกส์แบบครบวงจร เสริมศักยภาพผู้ประกอบการ e-Commerce อำนวยความสะดวกในการจัดส่งสินค้ามากขึ้น พร้อมผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซียน โดยคาดว่าจะเริ่มให้บริการร่วมกันได้ภายในสิ้นปี 2558 นายปิยะวัตร์ มหาเปารยะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ อาวุโส รักษาการในตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าวถึง ความร่วมมือกับ บริษัท ลาซาด้า จำกัด ในครั้งนี้ว่า สำหรับความร่วมมือในการจัดส่งสินค้า e-Commerce กับ ลาซาด้า นั้น ปัจจุบัน ไปรษณีย์ไทย ได้ให้บริการแก่ลาซาด้าในรูปแบบของการจัดส่งสินค้า ณ ที่อยู่ผู้รับ หรือ Door to Door รวมทั้งการจัดส่งสินค้าพร้อมเรียกเก็บเงิน ณ ที่อยู่ โดยเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา และมีผลตอบรับที่ดีในการให้บริการ

Read More

เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง จากนักมวยเงินแสน สู่นักธุรกิจเงินล้าน

  เมื่อครั้งยังโลดแล่นอยู่บนสังเวียนผ้าใบ ชัยชนะในการชกถือเป็นเป้าหมายสำคัญของเจริญทอง เกียรติบ้านช่อง ยอดนักมวยไทยที่เคยคว้าแชมป์มาแล้วหลายต่อหลายรุ่น แม้ปัจจุบันจะแขวนนวมและร้างราเวทีมวยที่เต็มไปด้วยการแข่งขันมานาน หากแต่บนสังเวียนธุรกิจ เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง กลับมาลงนวมอีกครั้งในนาม เจริญ ชูมณี โดยมีเป้าหมายในการดำเนินกิจการต่างไปจากนักธุรกิจคนอื่นๆ ที่มุ่งเน้นไปที่กำไร ผลตอบแทนอันมหาศาล แต่เป็นความสุขใจที่ได้สืบทอดและมีส่วนในการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยให้กับคนรุ่นใหม่ได้ศึกษา ในนาม “เจริญทอง มวยไทย ยิม” เจริญทอง มวยไทย ยิม นับเป็นผลงานชิ้นโบแดงของเจริญ ชูมณี หรือ “ครูเป็ด” ในฐานะนักธุรกิจ ซึ่งเจริญทองผันตัวเองจากนักชกเงินแสนมาเป็นนักธุรกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 แม้ว่าแรกเริ่มนั้น เจริญทอง มวยไทย ยิม จะดำเนินธุรกิจในลักษณะค่ายมวยที่ส่งนักชกรุ่นใหม่ลงสู่สังเวียนผ้าใบตามรอยของตน หากแต่ในภายหลังมีการปรับเปลี่ยนจากการเป็นค่ายมวยสู่รูปแบบของยิม ที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจการออกกำลังกายในแบบมวยไทยได้เข้ามาสัมผัส เมื่อมองในตลาดภาพรวมความต้องการของผู้บริโภค เทรนด์การดูแลสุขภาพเป็นกระแสที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้รูปแบบการออกกำลังกายมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้ง ฟิตเนส โยคะ พิลาทีส หรือ Body Combat  ซึ่งการฟุตเวิร์กบนสังเวียนธุรกิจของเจริญทอง นับว่าทำได้ไม่เลวเลย เมื่อตัดสินใจหยิบเอาเทรนด์นี้มาเป็นแนวการสร้างธุรกิจของตน นับว่าเป็นการออกหมัดที่เข้าเป้าและตรงจุด แม้ในช่วงแรกที่เริ่มชก เจริญทองจะออกหมัดไม่ตรงนัก หากแต่การมีปณิธานในเรื่องที่ต้องการเผยแพร่ศิลปะการต่อสู้แบบมวยไทย

Read More

ECLIPSE YOGA PILATES สุขภาวะที่แตกต่างและเพลิดเพลิน

  หากใครที่กำลังมองหาสตูดิโอโยคะ เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะและความรื่นรมย์ทางจิตใจ แต่ไม่ต้องการความจำเจกับบทเรียนและการฝึกหัดอาสนะในแบบเดิมๆ เชื่อว่า Eclipse Yoga Pilates อาจเป็นทางเลือกของคำตอบที่น่าสนใจไม่น้อยเลย  เพราะเพียงแค่ย่างก้าวแรกที่ผ่านพ้นจากโลกภายนอกเข้าไปสู่สตูดิโอแห่งนี้ ก็สามารถสัมผัสได้ถึง mood และ tone ที่เป็นกันเอง ไม่แข็งเกร็งเหมือนสตูดิโอโยคะแห่งอื่นๆ ที่อาจทำให้นักเรียนน้อยมือใหม่ต้องคอยกังวลใจกับการจัดวางอากัปกิริยาให้เหมาะสม  แนวความคิดที่เป็นประหนึ่งฐานรากของ Eclipse Yoga Pilates ในด้านหนึ่งอยู่ที่ความพยายามกลับไปหาปรัชญาพื้นฐานของโยคะที่แม้จะมีอาสนะคอยกำกับ แต่ก็ดำเนินไปอย่างไม่จำเป็นต้องยึดติดกับท่วงท่าหรือถูกกำหนดโดยกรอบของสภาวะแวดล้อม หากดำเนินไปอย่างอิสระจากการกำหนดรู้ภายใน  “โยคะในสตูดิโอ โดยทั่วไปมีข้อจำกัดหลายประการ แต่โยคะที่แท้จริงคือการไม่ผูกมัดหรือถูกจำกัดอยู่ในกรอบ ซึ่ง Eclipse Yoga Pilates พยายามทำลายกำแพงความคิดที่ติดยึดกับรูปแบบเดิมๆ ให้เปิดรับการนำเสนอสิ่งนี้ ซึ่งนี่เป็นจุดต่างสำคัญที่ทำให้ Eclipse Yoga Pilates เป็นสตูดิโอที่มีเสน่ห์และเปิดกว้างสำหรับทุกเพศทุกวัย” ครูบี สกุลยา หิรัญพรกุล หนึ่งในคุณครูโยคะของ Eclipse Yoga Pilatesบอก “ผู้จัดการ 360  ํ”  ความแตกต่างอีกประการหนึ่งที่ทำให้ Eclipse Yoga Pilates แตกต่างจากสตูดิโอโยคะแห่งอื่นๆ น่าจะอยู่ที่การนำโยคะมาผนวกกับ Physical

Read More

Four Four Bravo และ 3 ทศวรรษที่สูญหาย ของ Jaffna

Column: AYUBOWAN หากกล่าวถึงหัวเมืองสำคัญที่อุดมด้วยสีสันและประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศรีลังกา เชื่อว่า 1 ในหัวเมืองเหล่านั้นต้องจารึกชื่อของ Jaffna ไว้เป็นส่วนหนึ่งในแผนที่เดินทางของนักสำรวจความเป็นมาและเป็นไปของผืนแผ่นดิน Serendib แห่งนี้ เพราะอดีตกาลของ Jaffna สามารถสืบย้อนหลังกลับไปได้ไกลถึงกว่า 2,000 ปีก่อนคริสตกาล หรือเมื่อกว่า 4,000 ปีล่วงมาแล้ว เรียกได้ว่าพบหลักฐานของการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ในคาบสมุทร Jaffna นี้ก่อนที่ตำนานการสร้างบ้านแปงเมืองของศรีลังกาจะเริ่มต้นขึ้นเสียอีก และหอสมุดแห่งเมือง Jaffna ก็คงเป็นแหล่งที่เก็บรวบรวมหลักฐานข้อมูลทั้งอดีตกาลอันจำเริญ และประวัติศาสตร์ยุคใหม่ที่ขมขื่นไว้ให้ได้ค้นหาอย่างรอบด้าน ความเป็นไปของ Jaffna เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ไม่เฉพาะต่อพัฒนาการในศรีลังกาเท่านั้น หากยังมีรากฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อมโยงไปสู่อินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนบนผืนแผ่นดินใหญ่อย่างยากจะแยกออก โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า ราชอาณาจักร Jaffna หรือ Jaffna Kingdom (1215-1624) เกิดขึ้นจากการถอยร่นและรุกรานเข้ามาตั้งถิ่นฐานของกองกำลังที่นำโดย Kalinga Magha จากอินเดีย ก่อนที่จะสถาปนาราชวงศ์ Aryacakravarti ที่มีรากฐานยึดโยงกับประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของชาวทมิฬ และจักรวรรดิโบราณของชาวทมิฬ 3 ราชวงศ์ทั้ง Chola, Chera และ Pandyan รวมถึงศูนย์กลางใน Tamil

Read More

สร้างสรรค์ไลฟ์สไตล์ยูนิฟอร์ม เป็นครั้งแรกในไทย

มร. ฮิเดสึกุ อาซาดะ (แถวบน ที่ 4 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ(ร่วม) บริษัท ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ มร.คาร์ล กูเดียร์ (แถวบน ที่ 4 จากซ้าย) หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มด้านบริการลูกค้า บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และนายธีรศักดิ์ อรุณเริ่มวัฒนะ (แถวบน ที่ 3 จากซ้าย) ผู้อำนวยการกลุ่ม ด้านการสื่อสารเพื่อสร้างแบรนด์และบริหารสื่อโฆษณา บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น

Read More

คริสติออง ลาครัวซ์กับพิพิธภัณฑ์กอนญัก-เจย์

 Column: From Paris แม้ในวันนี้จะไม่มีห้างสรรพสินค้าลา ซามาริแตน (La Samaritaine) แล้วก็ตาม แต่ชาวปารีเซียงก็ยังพันผูกกับชื่อนี้ พร้อมกับหวังว่าสักวันหนึ่งห้างนี้จะคืนกลับ ทว่าจนทุกวันนี้โครงการของกลู่ม LVMH ในการปรับปรุงอาคารหลายหลังของห้างดังในอดีตแห่งนี้ยังไม่อาจสรุปลงตัวได้ ผู้ให้กำเนิดลา ซามาริแตนหรือเรียกกันสั้นๆ ว่าซามาริแตน คือ แอร์เนสต์ กอนญัค (Ernest Cognacq) ซึ่งเป็นพ่อค้าหาบเร่ที่ลา โรแชล (La Rochelle) และมาแสวงโชคที่ปารีส เริ่มจากการทำงานตามห้าง แล้วตั้งแผงขายของ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงออกไปทำงานต่างจังหวัดก่อนที่จะกลับมาปารีส คราวนี้ตั้งแผงตรงปั๊มน้ำชื่อลา ซามาริแตนแถวปงต์ เนิฟ (Pont Neuf) ต่อมาเช่าร้านกาแฟเพื่อขายของตรงมุมถนน rue du Pont-Neuf และ rue de la Monnaie ได้ลูกค้าจากย่านเลส์ อาลส์ (Les Halles) และจากห้าง A la Belle Jardinière

Read More

Bawah โมเดลดูแลชุมชน บนนิคมอุตสาหกรรมทวาย

 การเข้ามารับสัมปทานในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) นั้นต้องทำมากกว่าการศึกษาถึงความเป็นไปได้ของโครงการรวมไปถึงผลกระทบต่อชุมชนบริเวณใกล้เคียง เมื่อโครงการข้างต้นจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการพัฒนามหาศาล แม้จะเคยผ่านงานอย่างนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมาแล้ว หากแต่ อิตาเลียนไทยยังต้องพยายามทำความเข้าใจธรรมชาติของชาวทวาย ดูเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกครั้งที่มีการพัฒนาพื้นที่เพื่อภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องมีการเวนคืนที่ดิน ซึ่งในส่วนนี้เองที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชาวชุมชน  Relocation Area คือพื้นที่ที่ภาครัฐจัดสรรเพื่อรองรับการอพยพย้ายถิ่นฐานของประชาชน โดยมีรายงานระบุว่า รัฐบาลเมียนมามีพื้นที่ต้องจัดการ 3 พื้นที่หลัก คือ 1. ปะกอว์ซูน (Pagaw Zoon) ขนาด 2,160 ไร่ เพื่อรองรับการย้าย 10 หมู่บ้าน 2,300 ครอบครัว 2. บาวาห์ (Bawah) พื้นที่ 1,855 ไร่ รองรับการย้าย 5 หมู่บ้าน 1,850 ครอบครัว และ 3. ปันดินอิน (Pandin in) มีเพียงชาวประมงพื้นถิ่นเพียง 52 ครอบครัว ขณะที่ผู้รับผิดชอบโครงการสร้าง

Read More

เช็กสุขภาพ ITD โปรเจ็กต์ทวายจะสบายดีไหม

 หลายคนอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ธุรกิจที่เริ่มต้นจากศูนย์เป็นเรื่องยาก” และเข้าใจว่ากว่าจะประสบความสำเร็จคงต้องเจอกับปัญหาและอุปสรรคนานัปการ โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายก็ไม่ต่างกัน เมื่อโครงการนี้มีจุดเริ่มต้นที่ “ศูนย์” กิโลเมตร โครงการมูลค่ามหาศาลบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ หรือ Southern Corridor ที่เกี่ยวพันสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ไทย และญี่ปุ่น เข้าไว้ด้วยกัน แม้ในช่วงแรกญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวาในนครย่างกุ้ง มากกว่าก็ตาม เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายอาจเรียกได้ว่าเป็นมหากาพย์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เมื่อโครงการนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2008 หากนับเวลาจนถึงปัจจุบันกลับปรากฏความคืบหน้าเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ นับว่าล่าช้ามากเมื่อเทียบกับโครงการขนาดเดียวกัน สาเหตุของความล่าช้าที่เกิดขึ้นอาจมาจากรูปแบบการทำงานระบบราชการของเมียนมาที่ค่อนข้างใส่ใจในรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งอาจส่งผลให้บริษัทที่รับผิดชอบโครงการไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้สะดวกนัก และแม้ว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการระดับ G2G แต่การขาดเสถียรภาพของรัฐบาลทั้งสองประเทศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้โครงการทวายก้าวหน้าไปได้ช้ามาก  ทั้งนี้บริษัท อิตาเลียน ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ผู้ที่ได้สิทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่ภายใต้สัมปทานระยะเวลา 50 ปี และสามารถขยายได้อีก 25 ปี ดูจะมีเรื่องให้น่ากังวลไม่น้อย เมื่อแรกเริ่มจำเป็นต้องควักเงินลงทุนไปล่วงหน้า ทั้งๆ ที่ ITD และคู่สัญญากลุ่มธุรกิจร่วมทุนเพิ่งจะจรดปากกาในสัญญาสัมปทานโครงการทวายในระยะแรกกับคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558

Read More