Home > 2015 > มิถุนายน (Page 2)

“สก๊อต” ทุ่มงบ 30 ลบ. เปิดตัว “สก๊อต คอลลาเจน-เลฟอัพ” ต่อยอดไลน์สินค้า

“สก๊อต” เดินหน้าคิดค้นเครื่องดื่มคอลลาเจนสูตรใหม่เจาะตลาดบิวตี้ ทุ่มงบ 30 ล้านบาท เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “สก๊อต คอลลาเจน-เลฟอัพ (Scotch Collagen-LeffUp)” ตอบโจทย์ความต้องการกลุ่มผู้หญิงวัยทำงานอายุ 28 ปีขึ้นไปที่ต้องการดูแลตัวเองให้ดูดีตลอดเวลา เน้นกลยุทธ์การตลาดแบบครบวงจร มั่นใจสามารถโกยยอดขาย 100 ล้านบาท ภายในสิ้นปี สมโภช ชวาลเวชกุล กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด

Read More

ศึกโซลาร์รูฟท็อป กลยุทธ์ใหม่ปลุกอสังหาฯ

 การเดินหน้าโครงการนำร่องระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์สำหรับบ้านและอาคาร หรือ “โซลาร์รูฟท็อปเสรี” ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยวางแผนอนุมัติให้ชาวบ้านกว่า 1 ล้านครัวเรือน สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เอง ด้านหนึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนของนโยบายรัฐและปฏิบัติการที่เห็นเป็นรูปธรรม อีกด้านหนึ่งกำลังเปิดเกมใหม่ในการแข่งขัน โดยเฉพาะการประกาศรุกธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์แบบเต็มตัวของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์อย่าง “เสนาดีเวลลอปเม้นท์” กลายเป็นเจ้าแรกในตลาดที่เปิดขายบ้านติดโซลาร์รูฟท็อป ที่ผ่านมา ในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เน้นการเกาะกระแสสิ่งแวดล้อมไปที่รูปแบบบ้าน เช่น “ศุภาลัย” ออกแบบบ้านเพื่ออนุรักษ์พลังงาน  มีบานหน้าต่างขนาดใหญ่ รับแสงธรรมชาติ และรับลมพัดผ่าน ใช้กระจกอนุรักษ์พลังงาน สุขภัณฑ์รุ่นประหยัดน้ำ และหลอดประหยัดพลังงาน  ส่วน “แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์” ชูคอนเซ็ปต์ “LPN Green” ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ใช้หลอดไฟแอลอีดี จัดสรรพื้นที่จอดรถแบบพิเศษสำหรับรถยนต์ประเภทอีโคคาร์ สร้างสวนขนาดใหญ่กว่า 4 ไร่ นำน้ำทิ้งจากการใช้งานของชุมชนมาบำบัดจนได้มาตรฐานเพื่อนำกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ และลดการพึ่งพาเครื่องปรับอากาศ ออกแบบโครงการให้ระบายอากาศด้วยระบบธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งโครงการกรีนคาแนล (Green Canal) ของบริษัทโมเดิร์นกรีนกรุ๊ป (Modern Green Group) ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งประกาศตัวว่าเป็นโครงการที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่เป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้ารองรับสาธารณูปโภคส่วนกลาง ไม่ใช่ “โซลาร์รูฟท็อป”

Read More

เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ ดันบิ๊กไอเดีย “Solar City”

  เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ มองบทเรียนครั้งสำคัญจากมหาอุทกภัย ปี 2554 ที่กินระยะเวลายาวนานมากกว่า  6  เดือน ความสูญเสียที่ประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 12.8 ล้านคน และประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท จนเป็นภัยพิบัติติดอันดับโลก  เกิดเป็น “แรงผลัก” ที่พลิกเปลี่ยนแนวคิดการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเครือเสนากรุ๊ป ไม่ใช่แค่การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อสนองความต้องการกลุ่มลูกค้าแบบเดิมๆ แต่ทุกโครงการหลังจากนั้นจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการประหยัดพลังงาน เพื่อลดการกอบโกยจากธรรมชาติให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะแนวคิดที่จะทำให้ “บ้านทุกหลัง” ของเสนากรุ๊ปเป็นอีกจุดเริ่มต้น เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างประเทศไทยเป็น “Solar City” อย่างที่หลายๆ ประเทศกำลังเดินหน้าให้เกิดขึ้นจริง “เหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 ทำให้เราเห็นภาพผลกระทบและอันตรายจากภัยธรรมชาติที่ควบคุมไม่ได้ มันเป็นไปได้ขนาดนั้น และสร้างความเสียหายมากมายเหลือเกิน บริษัทจึงเริ่มศึกษาเรื่องพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง” เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการบริหาร บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “ผู้จัดการ360 ํ” โปรเจกต์แรกจากแรงผลักเริ่มต้นขึ้นทันที ในฐานะผู้บริหารเสนากรุ๊ป ใช้เวลาศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เกือบ 3 ปี วิจัยการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Read More

ถอดสูตรธุรกิจ “เสนากรุ๊ป” “แตกไลน์-พลิกเกม” สู้วิกฤต

  ระยะเวลามากกว่า 10 ปีที่เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ เข้ามารับไม้ต่อจาก “ธีรวัฒน์” ในฐานะเจนเนอเรชั่นที่ 2 พร้อมๆ กับโจทย์ทางธุรกิจ โดยเฉพาะบทเรียนจากวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ปี 2540 และระเบิดเศรษฐกิจอีกหลายลูก ซึ่งกลุ่มอสังหาริมทรัพย์มักได้รับผลกระทบอย่างหนัก การปรับเปลี่ยนและขยายไลน์กลายเป็นสิ่งที่เสนากรุ๊ปนำมาพลิกสถานการณ์หนีรอดได้ทุกครั้ง ซึ่งรวมถึงการรุกธุรกิจพลังงานกับพันธมิตรยักษ์ใหญ่ “บี.กริม.พาวเวอร์” ครั้งล่าสุดด้วย   “เสนากรุ๊ป” ไม่ใช่บริษัทเล็กๆ ในวงการ แม้ครอบครัว “ธัญลักษณ์ภาคย์” เริ่มจากกิจการร้านขายลอดช่องย่านตลาดเก่าบางรัก เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ซึ่งธีรวัฒน์มักยืนยันเช่นนั้นเสมอ กระทั่งเข้ามาจับธุรกิจโรงงานไม้ปาร์เกต์ จำหน่ายและติดตั้งวัสดุก่อสร้าง    แต่วันหนึ่ง เมื่อธุรกิจสร้างบ้านจัดสรรเฟื่องฟูมาก คนติดตั้งวัสดุก่อสร้างเริ่มมองเห็นอนาคตที่ใหญ่กว่ารออยู่ข้างหน้า  ปี 2536 ธีรวัฒน์ก่อตั้งบริษัท กรุงเทพเคหะกรุ๊ป เดินหน้ารุกธุรกิจบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และอาคารพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้โครงการเสนาวิลล่า หลังจากนั้นอีก 3 ปี เริ่มดำเนินการโครงการบ้านเดี่ยวขนาดใหญ่ภายใต้ชื่อ โครงการวิลล่า รามอินทรา และเสนา แกรนด์โฮม จนกระทั่งปี

Read More

ซีพี เบอร์เกอร์ ดึง “หมาก-มาร์กี้-ต่อ” ชวนบินไกลไปเซย์ชีสถึงนิวยอร์ก

ซีพี เบอร์เกอร์ ดึง “หมาก-มาร์กี้-ต่อ” ชวนบินไกลไปเซย์ชีสถึงนิวยอร์ก เมืองเบอร์เกอร์ชื่อดัง กับแคมเปญล่าสุด “ซีพี เบอร์เกอร์ ชวน เซย์ ชีส อิน นิวยอร์ค” 2 มิ.ย. – 2 ส.ค. นี้

Read More

AMBALANGODA: เมืองหน้ากาก

 Column: AYUBOWAN สังคมทุกวันนี้ ดูจะอยู่ยากขึ้นเป็นลำดับนะคะ แม้นว่าก่อนหน้านี้จะมีถ้อยความเปรียบเทียบประหนึ่งว่าโลกนี้เป็นโรงละครโรงใหญ่ที่ทุกสรรพชีวิตต่างมีบทบาทซับซ้อนซ่อนเงื่อน แต่ในสมัยปัจจุบัน นอกจากจะยอกย้อนอย่างยิ่งแล้ว สังคมมนุษย์ยังยั่วแยง ย้อนแย้งหนักหนาขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ยังไม่นับรวมถึงหน้ากากคุณธรรมและความดี ที่หลายท่านพยายามใส่ทับหัวโขนให้ต้องลำบากตรากตรำทั้งศีรษะและใบหน้าอย่างน่าฉงน จนบางครั้งแอบนึกสงสัยไม่ได้ว่าเมื่อส่องกระจกเห็นเงาตัวเองแล้ว แต่ละท่านจะตะลึงในภาพเบื้องหน้าเหล่านั้นบ้างไหมและอย่างไร เมื่อกล่าวถึงหน้ากาก ทำให้นึกถึงเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งของศรีลังกา ซึ่งขึ้นชื่อเรืองนามว่าเป็นถิ่นฐานที่ผลิตหน้ากากไม้และหุ่นกระบอก หนึ่งในศิลปหัตถกรรมที่สะท้อนฐานคติและแนวความคิด ความเป็นไปของสังคมศรีลังกาในยุคที่ตกอยู่ใต้อาณัติของเจ้าอาณานิคมได้เป็นอย่างดี Ambalangoda เมืองชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเฉียงใต้ของศรีลังกา ห่างจากโคลัมโบลงไปทางใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร คือเมืองที่ว่านี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของทั้งพิพิธภัณฑ์หน้ากาก และสำนัก Maha Ambalangoda School of Kolam และ Nambimulla School of Kolam ซึ่งต่างเป็นสำนักที่ช่วยสืบทอดประเพณีการเต้นรำหน้ากากให้ยืนยาวมาจนปัจจุบัน จากพื้นฐานที่ผูกพันอยู่กับวิถีความเชื่อว่าด้วยเรื่องภูตผี เหล่ามารร้าย โรคภัยไข้เจ็บและเทพผู้พิทักษ์แล้ว หน้ากากเหล่านี้ยังแนบแน่นกับการร้องเล่นเต้นรำ ที่เป็นไปเพื่อประกอบส่วนในพิธีสำคัญของราชสำนักและมีประวัติการณ์สืบย้อนไปในอดีตได้นานกว่า 4 ศตวรรษ หลังจากที่คณะนาฏศิลป์จากอินเดียใต้เดินทางเข้ามาในศรีลังกาในช่วงที่โปรตุเกสเริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนแถบนี้ และดูเหมือนว่า หน้ากากจะถูกสงวนไว้ให้กับราชสำนัก มากกว่าที่จะเป็นไปเพื่อประชาชนทั่วไป แต่เมื่อสังคมอาณานิคมซึ่งทอดยาวต่อเนื่องท่ามกลางการเปลี่ยนมือระหว่างชาติตะวันตก ทั้งโปรตุเกส ดัตช์ และอังกฤษ ควบคู่กับความเสื่อมถอยลงของราชสำนักศรีลังกา การเต้นรำหน้ากาก (mask

Read More

ปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์ที่อยู่รอบตัวเรา

 “ถ้าจะกล่าวว่าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอยู่รอบตัวและผูกพันกับชีวิตคนเราตลอดเวลา เราได้สัมผัสและเกี่ยวข้องตั้งแต่ ตื่นนอน จับแปรงสีฟันจนถึงปิดไฟเข้านอนเลยทีเดียว ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งของอุปโภคบริโภคล้วนมีส่วนเกี่ยวพันกับวิถีชิวิตของเราในแต่ละวันอย่างปฏิเสธไม่ได้" ถ้าเอ่ยถึงพลังงาน หรือปิโตรเคมี บางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ในขณะที่ความเป็นจริงกลับเป็นสิ่งที่ได้สัมผัสทุกวัน และมีความเชื่อมโยงย้อนไปตั้งแต่การขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม คือน้ำมันและก๊าซธรรมชาติส่งต่อไปยังกระบวนการกลั่นคือโรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คือการนำสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มาจากปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติเข้าสู่กระบวนการผลิตที่ได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น เช่น เอทิลีน โพรพิลีน เบนซีน เป็นต้น และถือเป็นจุดเริ่มต้นของวัตถุดิบ ก่อนจะถูกแปรรูปสู่ขั้นกลางจนถึงขั้นปลายได้แก่ กลุ่มพลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ถูกนำมาพัฒนาเป็นสินค้าอุตสาหกรรมต่อเนื่องสู่ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับมนุษย์  สารเคมีที่สำคัญ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโอเลฟินส์ ได้แก่ เอทิลีน โพรพิลีน ฯลฯ อีกกลุ่มคือ อะโรเมติกส์ ได้แก่ เบนซิน โทลูอินและไซลีน กลุ่มโอเลฟินส์ ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกชนิดต่างๆ เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (พีวีซี) พอลิเอทิลีน (พีอี) นอกจากนั้นยังใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารเคมีอีกหลายชนิด เช่น ลิเนียร์แอลกอฮอล์ ซึ่งใช้ผลิตผงซักฟอก กลุ่มอะโรเมติกส์ใช้เป็นตัวทำละลายและใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารเคมีอื่นๆ นี่คือจุดเริ่มต้นของวัตถุดิบก่อนจะถูกแปรรูปสู่ขั้นกลางจนถึงขั้นปลาย ได้แก่ กลุ่มพลาสติก

Read More

ฟัว กราส์ มีปัญหา

 Column: From Paris อาหารจานอร่อยของฝรั่งเศสมีหลายอย่าง อร่อยจนลืมโรคภัยที่อาจถามหา อาหารจานอร่อยบางจานเป็นอาหารท้องถิ่นของภาคต่างๆ ด้วยเหตุนี้ยามไปอัลซาส (Alsace) จะขอชิม choucroute หรือที่รู้จักกันในภาษาเยอรมันว่า sauerkraut อีกทั้ง baeckeofe ต้มเนื้อสามชนิดอันมีเนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อหมูต้มกับมันฝรั่ง อาจใส่หอมใหญ่และแครอตได้ด้วย ทว่าต้องเลือกร้านที่ไม่ใส่เนื้อวัวเพราะไม่กินเนื้อวัวมานานแล้ว ไหนจะ tarte flambée แผ่นแป้งบางที่มีหน้าแฮมและหอมใหญ่ใส่เนยแข็งแล้วอบ และไม่ลืมดื่มเบียร์ด้วย เพราะชาวอัลซาสนิยมดื่มเบียร์ ไปเที่ยวชายทะเลของนอร์มองดี (Normandie) ถามหาอาหารทะเลที่มาเป็นถาดและซุปปลา–soupe de poisson ไปทางใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองมาร์เซย (Marseille) ไม่ลืม bouillabaisse ซุปปลาหลายชนิดที่ใส่หอยแมลงภู่ด้วย ถ้าไปเที่ยวถิ่นภูเขาแถบซาวัว (Savoie) ก็ต้องชิม tartiflette เนยแข็ง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนยแข็ง reblochon) ผัดกับมันฝรั่ง หอมใหญ่และหมูสามชั้นหมักเกลือที่เรียกว่า lardon และไส้กรอก อาหารจานเด่นของภาคตะวันตกเฉียงใต้คือเป็ดต้มเค็ม–confit de canard และที่ขาดไม่ได้คือฟัว กราส์ foie gras  อันที่จริง

Read More

Bioplastic Hub เข็มมุ่งธุรกิจสีเขียวของ PTTGC

 นอกเหนือจากการวางแผนลงทุนเพื่อขยายฐานทางธุรกิจไปยังต่างแดนแล้ว เข็มมุ่งและเป้าหมายของ PTTGC ในระยะถัดไปจากนี้ ยังอุดมด้วยวิสัยทัศน์ที่ท้าทายในการก้าวสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าประสงค์ที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตพลาสติกชีวภาพ หรือ Bioplastic Hub ในภูมิภาคอาเซียน เข็มมุ่งทางธุรกิจที่ว่านี้ ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงและข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางเชื่อมประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน และมีสถานะเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมไปโดยปริยาย  ขณะเดียวกัน หากประเมินจากความได้เปรียบด้านทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งประเทศไทยก็มีศักยภาพของการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากปริมาณการผลิต มันสำปะหลัง และอ้อย ซึ่งพืชเกษตรทั้งสองถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตพลาสติกชีวภาพ ความมุ่งหมายของ PTTGC ที่จะเป็น Bioplastic Hub ของอาเซียน จึงอาจไม่ใช่เรื่องที่เกินเลยจากความเป็นจริงนัก  ทั้งนี้ พลาสติกชีวภาพมีการพัฒนาอย่างมากในประเทศที่มีบทบาทในเศรษฐกิจโลก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ในขณะที่ผู้บริโภคให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ความต้องการพลาสติกชีวภาพก็เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 1 ล้านตันต่อปี เป็น 3 ล้านตันต่อปี ซึ่งผลจากความตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมากให้ความสนใจขยายธุรกิจมาสู่ธุรกิจสีเขียว (green business) มากขึ้น  ซึ่งในจำนวนนี้มีองค์กรธุรกิจด้านพลังงานอย่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รวมอยู่ด้วย โดย

Read More