Home > 2012 (Page 13)

เศรษฐกิจโลกในกำมือผู้หญิงชื่อ Angela Merkel

เศรษฐกิจโลกกำลังตกอยู่ในอันตรายและจะรอดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้หญิงเพียงคนเดียว “ทุกคน ไปที่เรือชูชีพเดี๋ยวนี้!!!!” คือสัญญาณอันตรายที่ตลาดกำลังส่งออกมาว่าเศรษฐกิจโลกกำลังตกอยู่ในอันตรายอย่าง ใหญ่หลวง นักลงทุนจึงพากันเร่งรีบกว้านซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่าง สหรัฐฯ เยอรมนี และประเทศที่ถูกมองว่า “ปลอดภัย” ซึ่งมีเพียงหยิบมือเดียว และยังลดจำนวนลงเรื่อยๆ ในขณะที่นักลงทุนยอมควักกระเป๋าจ่ายเงินซื้อพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีอายุ 2 ปี และเต็มใจที่จะจ่ายเงินซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลอเมริกัน ที่ต้องถือนานถึง 10 ปี ด้วยดอกเบี้ยหน้าตั๋วเพียงน้อยนิดไม่ถึง 1.5% นั้น นักลงทุนเหล่านั้นกำลังแสดงว่าพวกเขากลัวว่าเศรษฐกิจโลกจะซบเซา หรือจะเกิดภาวะเงินฝืดไปอีกนานหลายปี ไม่ว่าสิ่งที่นักลงทุนกลัวจะเกิดขึ้นหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ คือมีอะไรบางอย่างที่ผิดปกติมากๆ กำลังเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลกอยู่ในขณะนี้ “อะไรบางอย่าง” นั้นคือเศรษฐกิจโลกกำลังตกอยู่ในอันตราย และหายนะครั้งใหญ่ทางการเงินโลกกำลังจะเกิดขึ้น ขณะนี้เศรษฐกิจ กำลังอ่อนแอทั่วโลก ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในกลุ่มประเทศ euro zone กำลังดิ่งลึก ตัวเลขคนมีงานทำที่เบาหวิวติดต่อกัน 3 เดือนของ สหรัฐฯ แสดงว่าการฟื้นตัวของสหรัฐฯ ก็กำลังมีปัญหา หันไปทางประเทศตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ ก็ดูเหมือนหัวจะชนเพดานแล้วเช่นกัน GDP ของบราซิลขณะนี้โตช้ากว่าของญี่ปุ่นเสียอีก ส่วนอินเดียก็กำลังแย่เลยทีเดียว แม้กระทั่งจีน

Read More

“ศูนย์กลางการค้าข้าว” เส้นทาง “ข้าวไทย” ในตลาดโลก

คำถามที่เกี่ยวเนื่องกับการก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี พ.ศ.2558 ที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้นำในการส่งออกข้าวของโลกจะใช้โอกาสนี้ในการปรับตัวและยกระดับสถานะการผลิต การค้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมข้าวไทยได้อย่างไร ทำอย่างไรที่จะสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรม ข้าวของไทยทั้งระบบ โดยเฉพาะชาวนาไทยที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ ข้าวเปลือก สามารถมีความมั่นคง และศักดิ์ศรีในอาชีพนี้ นอกเหนือจากการส่งออกข้าวคุณภาพดี ซึ่งเป็นที่ต้องการทั่วโลก สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศทั้งในแง่จำนวนและมูลค่า สุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (สายธุรกิจข้าวและอาหาร) และกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด ให้ทัศนะว่า AEC มีหลายมุมมองที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องให้ความสนใจ เพราะที่ผ่านมากลุ่มประเทศผู้นำเข้าอย่างประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีนโยบายให้หน่วยงานของรัฐผูกขาดการนำเข้า ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นประหนึ่งการปิดกั้นการทำการตลาด ข้าวไทยคุณภาพดี ระหว่างภาคเอกชนของไทยและภาคเอกชนของประเทศเหล่านั้น เพราะหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จะนำเข้าข้าวคุณภาพปานกลาง คือ ข้าวขาว 10-25% แทนที่จะนำเข้าข้าวหอมมะลิที่เป็นสินค้าคุณภาพจากไทย หากมีการเปิดเสรีทางการค้าจะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนของไทยร่วมมือกับภาคเอกชนของประเทศเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้น และสามารถสร้างตลาดข้าวคุณภาพดี เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้ ซึ่งอยากจะรับประทานข้าวหอมมะลิไทย ขณะเดียวกันในกรณีข้าวเปลือกและข้าวสารของประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศกัมพูชา ซึ่งผลิตได้ล้นเหลือจากการบริโภค

Read More

คาดเอเชียนำเข้าเพิ่มขึ้น

เอชเอสบีซีเผยบทวิเคราะห์การค้าโลก คาดอินเดียและจีนจะมีมูลค่าการนำเข้าเติบโตแซงหน้ามูลค่าการส่งออกในอีก 5 ปีข้างหน้า และมองว่าไทยจะได้ประโยชน์จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของจีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลัก การคาดการณ์ของเอชเอสบีซี สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกที่เริ่มเห็นได้ชัดว่าตลาดเกิดใหม่ที่เติบโตจากการส่งออกจะกลายเป็นศูนย์กลางของการค้าในระดับโลก และเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโต ของเศรษฐกิจโลก จุฑามาส เรืองวณิช ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเครือข่ายธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ระบุว่าจีนและอินเดียเป็นคู่ค้าหลักของประเทศในแถบเอเชียรวมทั้งไทย การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของสองเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ในเอเชียจึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทยในการเติบโตธุรกิจการค้ากับจีนและอินเดีย มูลค่าการนำเข้าของจีนจะเติบโตแซงหน้ามูลค่าการส่งออก ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 5.1 และร้อยละ 4.7 ตามลำดับ เป็นผลจากความต้องการสินค้าทั่วไปและสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกของจีนไปยังประเทศ ที่พัฒนาแล้วมีมูลค่าลดลง ขณะเดียวกันอินเดียจะกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกและนำเข้าที่เติบโตเร็วที่สุดของเอเชีย โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 5 และร้อยละ 7 ตามลำดับ ทั้งนี้จีนเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย โดยมูลค่าส่งออก ของไทยไปจีนคิดเป็นร้อยละ 12 ของมูลค่าส่งออกรวม ซึ่งสูงกว่า การส่งออกของไทยไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปอย่างมาก การนำเข้าที่เติบโตเพิ่มขึ้นของจีนจะช่วยกระตุ้นการส่งออกของไทย ในครึ่งปีหลัง ในช่วงเวลาที่สหภาพยุโรปยังอยู่ในภาวะถดถอย การนำเข้าของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจหลักของ เอเชียเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลงทุนเพื่อก่อสร้างและฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์น้ำท่วม รวมทั้งการลงทุนใหม่ โดยกระทรวงพาณิชย์เผยมูลค่าการส่งออกของไทย

Read More

ฐาปน สิริวัฒนภักดี “แม่โขง” เจเนอเรชั่นใหม่

“ช่วงเวลา 10 ปี เป็นช่วงที่ได้ความรู้มากมาย เปลี่ยนจากวัยเรียนเป็นวัยทำงาน ความคิดต่างๆ เหมือนเรียนจบแล้วไปสมัครงานบริษัท มีเลิร์นนิ่งเคิร์ฟ เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ ปรับตัวรับสิ่งใหม่ๆ ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมา มองย้อนกลับไป ผมสนุกกับการทำงาน ผ่านเรื่องราวมาพอสมควร ได้ทำงานใกล้ชิดกับคุณพ่อ ใกล้ชิดกับผู้บริหารอาวุโสหลายท่านร่วมทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับคุณพ่อจนมาถึงผู้บริหารยุคใหม่ที่ผมมีโอกาสเชิญชวนได้ทำงานร่วมกัน ได้โอกาสเรียนรู้มากมาย เป็นคุณค่าของชีวิตของผมในช่วง 10 ปี" ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์กับ ผู้จัดการ 360 ํ ด้วยบุคลิกอ่อนน้อม สุภาพ ซึ่งได้รับถ่ายทอด “ยีน” จากเจริญ สิริวัฒนภักดี แบบ 100% วันนี้ฐาปนกลายเป็นนักธุรกิจหนุ่มวัยไม่ถึงสี่สิบที่มีภาระบริหารบริษัทในเครือมากที่สุดถึง 106 บริษัท ดูแล 4 กลุ่มธุรกิจหลักคือ กลุ่มธุรกิจสุรา ทั้งสุราขาว สุราผสม

Read More

Moly Care ปั้นแบรนด์ไทย ก้าวสู่ตลาด AEC

แบรนด์ Moly care หนึ่งในแบรนด์เอสเอ็มอีไทย ที่มีความฝันจะก้าวไปสู่ตลาด AEC ได้เตรียมตัวล่วงหน้ามาเป็นเวลา 5 ปี โดยใช้โมเดลธุรกิจแฟรนไชส์เป็นยุทธศาสตร์รุกและรับในเวลาเดียวกัน ความคืบหน้าในการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ทั้ง 10 ประเทศที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 เริ่มจากธุรกิจการค้า (trading) ได้สร้างความกระตือรือร้นให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีในประเทศไทยเริ่มมองหาโอกาสอย่างต่อเนื่อง แม้ในประเทศไทยจะมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 2 ล้านราย ทว่ายังมีจำนวนน้อยที่ให้ความสนใจการเปิดเสรีการค้าภายใต้ความร่วมมือ AEC อาจเป็นเพราะยังไม่เข้าใจความหมายอย่างถ่องแท้และไม่รู้สภาพการแข่งขันว่าจะเผชิญกับสิ่งใด ในขณะที่เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ยังไม่เห็นโอกาส แต่เอสเอ็มอีอย่างบริษัท โมลี จำกัด กลับเตรียมตัวล่วงหน้ามาเป็นเวลา 5 ปี และมีเป้าหมายชัดเจนที่จะออกไปขยายและเติบโตในตลาด AEC บริษัท โมลี จำกัด ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ถือหุ้นโดยครอบครัวกาญจนบัตร 100 เปอร์เซ็นต์ ให้บริการภายใต้แบรนด์โมลี แคร์ บริการล้างสี ดูดฝุ่น

Read More

TMB Stand by ME

แม้จะมีคนเอ่ยว่า แนวคิด ME ของธนาคารทหารไทย หรือ TMB จะเป็นเพียงแค่โปรโมชั่นดอกเบี้ยสูงเท่านั้น และ “บุญทักษ์ หวังเจริญ” ซีอีโอก็ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องนี้ หากแต่ ME ได้ก้าวผ่านบริการเงินฝากประจำต่างจากธนาคารอื่นในปัจจุบันไปอีก 2 ก้าว หลังจากธนาคารทหารไทยเปิดตัวแนวคิดฝากเงินใหม่ภายใต้คำว่า ME bank ไปเกือบ 4 เดือน ปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากลูกค้าไม่น้อย โดยเฉพาะลูกค้าที่มา จากธนาคารอื่นร้อยละ 90 เป็นคำบอกเล่าของบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่ ธนาคารทหารไทย (TMB) ME bank เป็นธนาคารรูปแบบใหม่ ที่เกิดขึ้นจากนโยบายของธนาคารภายใต้คอนเซ็ปต์ Make THE Difference ทำอย่าง ต่อเนื่องมา 3 ปี เพื่อเปลี่ยนแปลงการให้บริการด้านการเงินในรูปแบบเดิมๆ ที่มีมากว่า 60 ปีของประวัติศาสตร์ธนาคารไทย ME bank เป็นบริการที่ตอกย้ำชัดเจน ถึงการให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

Read More

เทคโนโลยีแห่งอนาคตโปรเจ็กเตอร์พกพาอัจฉริยะ

ในช่วงเวลาไม่ถึงสิบปี หากมองย้อนกลับไปเราจะเห็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของกล้องถ่ายรูปขนาดจิ๋วที่ปัจจุบันกลายเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ไปเสียแล้วสำหรับโทรศัพท์มือถือในยุคสื่อสารไร้พรมแดนและ Social Network อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แต่ทราบหรือไม่ครับว่า ในช่วงเวลาสิบปีเดียวกันนี้มีอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วไม่แพ้กัน ซึ่งเทคโนโลยีนั้นก็คือโปรเจ็กเตอร์ขนาดจิ๋วหรือในภาษาอังกฤษนิยมเรียกกันว่า Pico Projector นั่นเอง เพียงช่วงเวลาสิบปี โปรเจ็กเตอร์ได้ถูกพัฒนาจากเดิมที่มีขนาดใหญ่และหนักยิ่งกว่า สมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง มาจนเหลือขนาด กลไกฉายภาพที่เล็กจิ๋วประมาณเหรียญสิบบาทเท่านั้น เพียงพอที่จะฝังลงไปในอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กที่ขนาดพอๆ กันกับ iPhone 4s รุ่นล่าสุดได้ ความรวดเร็วในการพัฒนาโปรเจ็กเตอร์พกพานี้ได้ดึงดูดความสนใจจากเหล่าผู้ผลิต นักวิจัย ไม่เว้นแม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Sumsung และ Apple โดยในปี 2012 Sumsung ได้เปิดตัว Sumsung Galaxy Beam ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนติดโปรเจ็กเตอร์เครื่องแรกของบริษัทอย่างเป็นทางการ แล้ว ในส่วนของบริษัท Apple ขณะนี้ มีโปรเจ็กเตอร์มือถือหลายรุ่นจากบริษัทผู้ผลิตโปรเจ็กเตอร์รายต่างๆ ที่รองรับการทำงานแบบ Plug & Play กับอุปกรณ์จำพวก iPhone และ iPad แม้ว่าทางค่าย Apple

Read More

เฟซบุ๊กกับการสร้างประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ

ประเด็นของเฟซบุ๊กนี่เขียนเท่าไรก็ไม่มีวันหมด เพราะมีประเด็นใหม่ๆ มาให้พูดถึงอยู่เรื่อย ล่าสุดหลังจากเฟซบุ๊กเข้าตลาดพร้อมกับราคา IPO ที่ 38 เหรียญสหรัฐ ราคาก็ค่อยๆ ลดลงมาเรื่อยๆ นับจากราคาวันเปิดตลาดที่ขึ้นไปสูงสุดถึง 45 เหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มว่าจะลดลงไปเรื่อยๆ อีกจนกว่าหุ้นเฟซบุ๊กจะหาราคาที่สมดุลของตัวเองเจอ แต่ประเด็นเรื่องราคาที่ขึ้นลงอาจจะไม่สำคัญเท่าข้อกล่าวหาที่ว่าเฟซบุ๊กกำลังจะทำลายวัฒนธรรมหลายๆ อย่างของซิลิกอน วัลเลย์ ซิลิกอน วัลเลย์เป็นที่ที่สร้างนวัตกรรมต่างๆ ขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ คอมพิวเตอร์กราฟิก เว็บไซต์ที่ช่วยให้เราสามารถขายสินค้าหรือจ่ายเงินซื้อสินค้ากับคนแปลกหน้า ได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ebay.com หรือ paypal.com และอื่นๆ อีกมากมายเช่นเดียวกับกูเกิลที่เคยเป็นหุ้น IPO ด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ที่สุดในโลก ที่มิใช่เพียงจะประสบความสำเร็จด้านธุรกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในชีวิตของเราอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยล่าสุดพวกเขาพยายามที่จะทำให้ หนังสือในห้องสมุดทุกแห่งเป็นรูปแบบดิจิตัลให้หมด รวมถึงการสอนให้รถขับเองให้ได้ หลายๆ คนเริ่มตั้งคำถามกับเว็บไซต์อย่างเฟซบุ๊ก Zynga LinkedIn Groupon ว่า พวกเราได้อะไรจากเว็บไซต์เหล่านี้ ในขณะที่มีผลสำรวจว่าเราใช้เวลาออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กและเว็บไซต์แนวโซเชียลเน็ตเวิร์กจำนวนหลายชั่วโมงต่อวัน ซึ่งดูจะเป็นการเสียเวลาไปโดย เปล่าประโยชน์หรือไม่ ในขณะที่ไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม

Read More

อาหาร GMO ปัญหาใกล้ตัวและใหญ่ระดับโลก

เมือง Dendermonde ในเบลเยียม มีการเปิดพิจารณาคดีเกี่ยวกับพืชดัดแปลงตัดแต่งพันธุกรรม (genetically-modified organism (GMO) เมื่อเดือนพฤษภาคม มีนักเคลื่อนไหว 11 คนถูกฟ้องร้องในข้อหา ทำลายแปลงทดลองปลูกมันฝรั่ง GMO? คดีนี้ไม่เพียงเป็นที่สนใจในเบลเยียม แต่ยังเป็นที่สนใจไปทั่วโลก และเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อภาคการเกษตรของไทยด้วย ทั้งที่เป็นคดีความที่เกิดขึ้นในประเทศที่ห่างไกลจากไทย เพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คำถามที่โยงคดีความที่เกิดขึ้นในเบลเยียมกับสถานการณ์ด้านอาหารในไทย คือคำถามที่ว่า “เราจะสร้างความมั่นคงทางอาหารและต่อสู้กับความหิวโหยที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้อย่างไร โดยไม่สูญเสียการควบคุมการผลิตและจัดจำหน่ายอาหาร” ประเด็นความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นสำคัญมากในประเทศอย่างเช่นไทย เพราะความอยู่ดีกินดีของคนไทยจำนวนมากขึ้นอยู่กับภาคเกษตรกรรมที่จะต้องให้ผลผลิตสูงเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก ด้วย บริบทเช่นนี้จึงมีคำถามเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาว่า ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความมั่นคงในการผลิตพืชพาณิชย์ ซึ่งไม่ใช่ปัญหาใหม่ การเกษตรกำเนิดขึ้นในโลกเมื่อประมาณ 5,000-6,000 ปีล่วงมาแล้ว บนผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ระหว่างแม่น้ำไทกริส และยูเฟรติสในตะวันออกกลาง สมัยนั้น สังคมมนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม มนุษย์เปลี่ยนวิถีจากการใช้ชีวิตเป็นนักล่าและนักเก็บ ที่ต้องย้ายถิ่นที่อยู่ตลอดเวลาเพื่อหาอาหาร เรียนรู้ที่จะอยู่กับที่และดำรง อยู่ได้ด้วยการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อการพัฒนาเกษตร ก้าวหน้ามากขึ้น การผลิตอาหารเหลือกิน สามารถนำไปเลี้ยงคนอื่นๆ ได้ ก่อให้เกิดอาชีพหลากหลาย ทั้งหมดนี้คือกระบวนการ ที่หากขาดไปก็คงจะไม่มีเมืองและชีวิตทันสมัยในเมืองเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม

Read More

ดวงอาทิตย์กับความปรวนแปรของโลก

ท่ามกลางภัยพิบัติทางธรรมชาติและความปรวนแปรของภูมิอากาศที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในทศวรรษนี้ ชีวิตคนเดินดินอย่างเราก็มีแต่ความไม่แน่นอนและความสับสนสงสัยว่าต้นสายปลายเหตุมันมาจากอะไรกันแน่ และควรจะปรับตัวไปในทิศทางไหน จึงจะอยู่รอดปลอดภัย ควรจะเชื่อนักวิทยาศาสตร์หรือนักโหราศาสตร์ดี ขณะที่สภาวะเศรษฐกิจและการเมืองกำลังร้อนแรงไปทั่วโลก สภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติก็ร้อนระอุด้วยเช่นกัน ภัยพิบัติรุนแรงที่เกิดขึ้นหลายครั้งได้มีการกล่าวอ้างว่ามีมูลเหตุมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) บ้าง รังสีที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ (sunspots, solar winds, solar storms) บ้าง สนามแม่เหล็กโลกเบี่ยงเบนไปบ้าง และดวงจันทร์ที่เลื่อนลอยออกไปจากแรงดึงดูดของโลกบ้าง เราจึงจำเป็นต้องขุดคุ้ยข้อมูลขึ้นมาจากเว็บไซต์แหล่งต่างๆ และประมวลทำความเข้าใจถึงคำกล่าวอ้างต่างๆ ที่แพร่สะพัดอยู่ว่ามีน้ำหนักมากน้อยแค่ไหน โลกร้อนขึ้น! เพราะรังสีที่ลุกโพลงจากดวงอาทิตย์ หรือการเผาผลาญเชื้อเพลิงของมนุษย์ IPCC ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติออกมาป่าวประกาศ ว่า มีหลักฐานยืนยันมากมายว่าโลกร้อนด้วยฝีมือมนุษย์ แต่ก็มีนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งเห็นแย้งว่าเหตุที่โลกร้อนขึ้นน่าจะเป็น เพราะรังสีร้อนแรงที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์เสียมากกว่า นักวิชาการกลุ่มหลังนี้ ได้อ้างข้อมูลการสำรวจของยานอวกาศ Ulysses ซึ่งเป็นยานตรวจวัดรังสีดวงอาทิตย์ และสังเกตจุดดับและพายุสุริยะ (sunspots, solar winds) และส่งข้อมูลมายังโลกอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจพบว่า sunspots ที่ผิวของดวงอาทิตย์มีจำนวนเพิ่มขึ้น ในขณะที่อุณหภูมิของโลกก็ร้อนตามไปด้วย ฉะนั้น sunspots เหล่านี้ต้องมีอิทธิพลที่ทำให้โลกของเราร้อนขึ้นเป็นแน่ ปฏิกิริยาการปล่อยรังสีของดวงอาทิตย์ที่นักวิชาการกลุ่มแย้งอ้างถึงนั้น ปรากฏว่ามีขึ้นมีลงเป็นประจำทุกๆ

Read More