Home > Vanida Toonpirom (Page 8)

สมรภูมิน้ำอัดลม 62,000 ล้าน กับการแก้เกมของ “เอส” จากไทยเบฟฯ

ตลาดน้ำอัดลมเมืองไทยมีมูลค่ารวมกว่า 62,000 ล้านบาท แบ่งเป็นน้ำดำ 75% และน้ำสี 25% มีผู้เล่นเบอร์ใหญ่ที่ครองตลาดอย่าง “โค้ก” ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 54% ในขณะที่ “เป๊ปซี่” ครองส่วนแบ่งการตลาดที่ 30% ตามมาด้วยแบรนด์สัญชาติไทยอย่าง “เอส” ในเครือไทยเบฟฯ ที่แม้จะตามมาห่างๆ แต่กำลังตีตื้นขึ้นมาทุกขณะ ท่ามกลางการขับเคี่ยวที่ดุเดือดของ 2 แบรนด์ใหญ่ เอส (est) เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2555 โดยมีบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ก่อนที่จะเข้าไปอยู่ภายใต้กลุ่มบริษัทไทยเบฟเวอเรจ อาณาจักรยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องดื่มในระยะต่อมา สำหรับ บมจ. เสริมสุข ถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานอุตสาหกรรมน้ำอัดลมในประเทศไทยมากว่า 6 ทศวรรษ โดยเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ในการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มโคล่า ภายใต้เครื่องหมายการค้า “เป๊ปซี่” ในประเทศไทย จากเป๊ปซี่โค อินค์. สหรัฐอเมริกา มาตั้งแต่ปี 2496 กระทั่งปี 2555 บริษัท เป๊ปซี่โค

Read More

อิน สาริน – ไท้ วสุวัส ปั้นแบรนด์ Holiday Pastry จากร้านขนมออนไลน์ สู่ Food Retail

หากเอ่ยชื่อ “อิน-สาริน รณเกียรติ” เชื่อว่าหลายคนคงจะคุ้นหน้าคุ้นตากันอยู่ไม่น้อย ในบทบาทการเป็นนักแสดงซีรีส์ชื่อดังหลายๆ เรื่อง ทั้งบท “ภูผา” ในซีรีส์ชุดลูกผู้ชาย หรือบท “พ่อเพิ่ม” ในละครเรื่องทองเอก หมอยา ท่าโฉลง รวมถึงผลงานสร้างชื่อในซีรีส์วายออริจินัลเรื่องแรกของช่อง 3HD อย่าง “คุณหมีปาฏิหาริย์” แต่นอกจากการเป็นนักแสดงแล้ว อีกหนึ่งบทบาทที่น่าจับตาไม่แพ้กัน คือการเป็นเจ้าของแบรนด์ Holiday Pastry ร้านขนมสุดฮิต ที่มีนักธุรกิจหนุ่มทายาทตระกูลดังอย่าง “ไท้-วสุวัส คูหาเปรมกิจ” เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และที่สำคัญเขากำลังต่อยอดสร้างการเติบโตให้กับ Holiday Pastry จากร้านขนมออนไลน์ สู่การเป็น Food Retail ที่รวบรวมความอร่อยจากทุกมุมโลกมาไว้ที่ไทย Holiday Pastry เปิดตัวครั้งแรกในฐานะร้านขนมออนไลน์ เมื่อปี 2563 ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ด้วยความแปลกใหม่และรสชาติของตัวขนม โดยมีพระเอกของร้านอย่าง “Premium Basque Burnt Cheesecake” ชีสเค้กหน้าไหม้สัญชาติสเปน, “Fountain Chocolate

Read More

Duck Donuts จากนอร์ทแคโรไลนา สู่สยามดิสคัฟเวอรี่

ตลาดโดนัทเมืองไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง เมื่อ Duck Donuts โดนัทชื่อดังจากรัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา บินตรงมาเปิดสาขาในไทย ปักหมุดสยามดิสคัฟเวอรี่เป็นสาขาแรก พร้อมชิงส่วนแบ่งตลาดมูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท และเป็นหนึ่งในตัวเลือกให้กับเหล่าคนรักโดนัท ตลาดโดนัทในเมืองไทยเป็นอีกหนึ่งตลาดขนมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งมูลค่าตลาดที่สูงถึง 3,500 ล้านบาท และผู้เล่นที่หลากหลายทั้งแบรนด์ใหญ่ที่มีหลายร้อยสาขาทั่วประเทศ ไปจนถึงแบรนด์เล็กๆ สไตล์โฮมเมด ปี 2521 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของตลาดโดนัทในไทย โดยมีสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ และสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ในนามบริษัท ไทยแฟรนไชซิ่ง จำกัด เป็นผู้บุกเบิก ด้วยการนำเข้าแบรนด์โดนัทชื่อดังจากสหรัฐอเมริกาอย่าง “มิสเตอร์ โดนัท” (MISTER DONUT) เข้ามาเปิดในไทย โดยปักหมุดสยามสแควร์เป็นสาขาแรก กระทั่งปี 2546 มิสเตอร์ โดนัท จึงได้เข้าไปอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG มิสเตอร์ โดนัท ถือเป็นผู้นำในตลาดโดนัท ที่ครองส่วนแบ่งสูงกว่า 52%

Read More

เปิดบ้านยูนิลีเวอร์ ‘U-House 2.0’ บริษัทขวัญใจคนรุ่นใหม่

เดือนกันยายนที่ผ่านมา ยูนิลีเวอร์คว้ารางวัล HR Asia Best Companies to Work For in Asia Awards 2023 สุดยอดองค์กรดีเด่นที่น่าทำงานมากที่สุดในเอเชีย ประจำปี 2566 ที่จัดโดย HR Asia นิตยสารชั้นนำด้านทรัพยากรบุคคลของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นรางวัลที่ได้รับเป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน นอกจากนั้น จากการสำรวจ 50 บริษัทที่คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วยมากที่สุดประจำปี 2566 ของ WorkVenture ที่ประกาศผลไปเมื่อต้นปี ยูนิลีเวอร์ยังติดอันดับที่ 13 จากบรรดา 50 บริษัทชั้นนำของไทยอีกด้วย และล่าสุดยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ยังทุ่มงบประมาณกว่า 30 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงสำนักงานใหญ่บริเวณถนนพระราม 9 สู่การเป็น ‘U-House 2.0’ สำนักงานใหญ่โฉมใหม่ เพื่อรองรับการทำงานแบบ “Hybrid Working” รูปแบบการทำงานแห่งอนาคตที่กำลังเข้ามามีบทบาทในหลายๆ องค์กร ทำไมยูนิลีเวอร์ถึงเป็นองค์กรที่ครองใจคนรุ่นใหม่

Read More

ยูโอบีจับกลุ่มธุรกิจครอบครัว ส่งต่อแบบไม่สะดุด สร้างเครือข่ายระดับอาเซียน

ธุรกิจครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุว่า ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนไทยที่เป็นธุรกิจครอบครัวจำนวนถึง 451 บริษัท หรือคิดเป็นสัดส่วน 57% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด รวมกันประมาณ 8 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 43% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดทั้งหมด โดยอายุเฉลี่ยของบรรดาบริษัทเหล่านี้อยู่ที่ประมาณ 34 ปี อีกทั้งยังเกิดการจ้างงานราวๆ 920,000 คน คิดเป็น 53% แม้ธุรกิจครอบครัวจะมีสัดส่วนเกินครึ่งในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกทั้งยังมีแต้มต่อในเรื่องความเป็นเจ้าของและรากฐานทางธุรกิจที่ถูกวางไว้อย่างแข็งแกร่งจากรุ่นแรก แต่ถึงกระนั้นการสานต่อธุรกิจครอบครัวให้เติบโตต่อเนื่องและส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นยังคงเป็นโจทย์ที่ท้าทาย ที่ผ่านมาธุรกิจครอบครัวจำนวนมากที่สามารถสร้างชื่อและเจริญรุ่งเรืองในยุคก่อตั้ง แต่กลับไม่สามารถส่งต่อธุรกิจสู่ทายาทรุ่นต่อไปได้อย่างราบรื่น หรือแม้กระทั่งต้องยุติการทำธุรกิจก็มีไม่น้อยเช่นกัน จนมีคำพูดที่หลายๆ คนคุ้นหูอย่าง “การสร้างธุรกิจเป็นเรื่องยากแล้ว แต่การรักษาธุรกิจให้อยู่รอดและเติบโตได้เป็นเรื่องที่ยากกว่า” โดยอัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวทั่วโลก ตามข้อมูลจาก The Family Firm Institute ระบุว่า รุ่นที่ 1 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวอยู่ที่ 100%, รุ่นที่ 2 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัว 30%, รุ่นที่ 3 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัว

Read More

3 ทศวรรษ โรงพยาบาลบางมด ผู้บุกเบิกศัลยกรรมความงามของไทย

หากพูดถึงศัลยกรรมความงามแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ ปัจจุบันการทำศัลยกรรมเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากคลินิกและโรงพยาบาลด้านความงามที่ผุดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เรื่องของศัลยกรรมความงามยังไม่เปิดกว้างนักและถือว่ายังเป็นช่วงแห่งการบุกเบิก ซึ่งหนึ่งในผู้บุกเบิกที่สำคัญและไม่กล่าวถึงไม่ได้คือ “โรงพยาบาลบางมด” โรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกบนถนนพระราม 2 ที่ไม่เพียงมีชื่อเสียงด้านการรักษาพยาบาล แต่ยังสร้างชื่อด้านศัลยกรรมความงามมาอย่างยาวนานถึง 3 ทศวรรษ โรงพยาบาลบางมดเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในย่านถนนพระราม 2 มีจุดเริ่มต้นมาจากการเป็นคลินิกขนาดเล็ก ก่อนที่จะขยายเป็นโพลีคลินิก จนคนไข้เพิ่มขึ้นจึงมีการขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 50 เตียงเมื่อปี 2526 กระทั่งก่อตั้งเป็นโรงพยาบาลบางมดขนาด 100 เตียงขึ้นเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2531 และเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2538 โรงพยาบาลบางมดจึงได้ขยายขนาดสู่โรงพยาบาลขนาด 400 เตียงในที่สุด สมัยแรกเริ่มโรงพยาบาลยังไม่มีแผนกศัลยกรรม แต่ในยุคนั้นถนนพระราม 2 เป็นถนนที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีเคสที่ต้องทำศัลยกรรมอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการผ่าตัดใบหน้า แต่ในสมัยนั้นการทำศัลยกรรมส่วนใหญ่เป็นเพื่อการรักษา ส่วนศัลยกรรมความงามยังอยู่ในวงจำกัด ซึ่งนั่นเป็นการจุดประกายให้กับนายแพทย์สุรสิทธิ์ อัศดามงคล ประธานกรรมการบริหาร และผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลบางมด ให้ตัดสินใจบินไปศึกษาต่อเฉพาะทางเพิ่มเติมด้านศัลยกรรมที่สหรัฐอเมริกา เพื่อกลับมาเปิดศูนย์ศัลยกรรมความงามขึ้นที่โรงพยาบาลบางมดอย่างเป็นทางการ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้คนไข้ที่รอรับการรักษาเป็นจำนวนมาก และนับว่า

Read More

ยูโอบีรายงานผลการศึกษา ASEAN Consumer Sentiment Study 2023 เผยความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจของผู้บริโภค และเทรนด์ธนาคารดิจิทัล

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย รายงานผลการศึกษาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอาเซียน หรือ ASEAN Consumer Sentiment Study 2023 พบทัศนคติโดยรวมของผู้บริโภคในประเทศไทยยังเป็นไปในทิศทางบวก แต่มีความระมัดระวังมากขึ้น พร้อมเตรียมปรับตัวให้เข้ากับสภาวะเศรษฐกิจที่อาจชะลอตัว ส่วนเทรนด์ด้านธนาคารดิจิทัลและช่องทางการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือและอีวอลเล็ตมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ASEAN Consumer Sentiment Study (ACSS) คือรายงานศึกษาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอาเซียน ที่จัดทำโดยธนาคารยูโอบีเป็นประจำทุกปี โดยรายงานปีที่ 4 ฉบับล่าสุดนี้ ธนาคารยูโอบีได้ร่วมมือกับ บริษัท เดอะ บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด หรือ BCG บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก จัดทำขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2566 เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจาก 5 ประเทศในอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม ทำไมต้องโฟกัสที่อาเซียน? - อาเซียนเป็นหนึ่งในกลุ่มเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกและมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของโลก - ภายในปี 2573

Read More

หัวเว่ยเปิดเผยรายงาน Data Center 2030 มุ่งหน้าพัฒนานวัตกรรมและศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคต

หัวเว่ยเปิดเผยรายงาน Data Center 2030 มุ่งหน้าพัฒนานวัตกรรมและศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคต หัวเว่ยเปิดเผยรายงาน Data Center 2030 ในงานมหกรรม HUAWEI CONNECT 2023 เพื่อตอกย้ำเป้าหมายด้านการบุกเบิกการพัฒนานวัตกรรมเชิงอุตสาหกรรม โดยรายงานดังกล่าวยังเผยถึงข้อมูลเชิงลึกเรื่องอนาคตของศูนย์ข้อมูล รวมถึงการกำหนดคุณลักษณะสำคัญ พร้อมกับการนำเสนอสถาปัตยกรรมอ้างอิงใหม่ ในโลกอัจฉริยะยุคปัจจุบัน ศูนย์ข้อมูลนับเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานพลังการประมวลผลประสิทธิภาพสูงสุด โดยในช่วงสามปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ร่วมมือกับนักวิชาการ, ลูกค้า, พาร์ทเนอร์ และสถาบันวิจัยมากกว่า 100 ราย และจัดงานเวิร์กช็อปมากกว่า 50 ครั้ง เพื่อหานิยามของศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคต โดยได้รวบรวมความคิดเห็นจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญทั้งวงในและวงนอกอุตสาหกรรมเอาไว้ในรายงานฉบับดังกล่าว นายไมเคิล หม่า รองประธานและประธานฝ่ายบริหารกลุ่มผลิตภัณฑ์ไอซีทีและโซลูชันของหัวเว่ย ได้เปิดเผยรายงานชื่อว่า Data Center 2030 และขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ ‘บุกเบิกอนาคตศูนย์ข้อมูล เพื่อก้าวสู่ยุคอัจฉริยะ’ (Exploring the Future of Data Centers to Lead the Intelligent Era) โดยเขาคาดการณ์ว่าความต้องการด้านศักยภาพการประมวลผลจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทว่าการเติบโตของพลังการประมวลผลขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่จำกัด ดังนั้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมศักยภาพการประมวลผลจะเป็นทิศทางหลักของการพัฒนาศูนย์ข้อมูลในอนาคต ซึ่งภาคอุตสาหกรรมเองก็พร้อมที่จะเปิดรับการพลิกโฉมในครั้งนี้ เพื่อมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการระหว่างศักยภาพการประมวลผลและข้อจำกัดของทรัพยากร รายงาน Data Center 2030 ได้ระบุถึงสถานการณ์ในอนาคต 5 ประการที่มีผลต่อการพัฒนาศูนย์ข้อมูลในทศวรรษหน้า รวมทั้งเสนอการบูรณาการเชิงนวัตกรรมด้านพลังงาน, การประมวลผล, การส่งต่อข้อมูล, ข้อมูล, และประสิทธิภาพของการดำเนินงาน นี่ถือเป็นครั้งแรกในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่รายงานได้ออกมาเปิดเผยคุณสมบัติทางเทคนิค 6 ประการหลักของศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคต และอธิบายความท้าทายในการพัฒนาอย่างชัดเจนและเป็นระบบ

Read More

กลุ่มธุรกิจ TCP กับภารกิจด้านความยั่งยืน “การเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero จากพันธสัญญาสู่การปฏิบัติ”

กลุ่มธุรกิจ TCP จัดงานประชุมด้านความยั่งยืนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้แนวคิด “Net Zero Transition...From Commitment to Action” หรือ “การเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero จากพันธสัญญาสู่การปฏิบัติ” ปลุกพลังอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เร่งลงมือหนุนประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero สัญญาณเตือนและทิศทางระดับประเทศ ปัจจุบัน ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศอันดับที่ 9 จาก 180 ประเทศทั่วโลกที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ดังนั้น ทั้งภาคอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว เกษตรกรรม และกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ จึงมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญ นอกจากนี้ ยังมีกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ ระดับโลกที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นอีกบททดสอบหนึ่งสำหรับภาคธุรกิจ เปลี่ยนจากการดำเนินการโดยสมัครใจไปสู่ข้อกำหนดที่เป็นทางการร่วมกัน ทั้งนี้ รายงานล่าสุดของธนาคารโลก (2022) แนะนำทางออกให้ไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจหรือ GDP เติบโตขึ้น 1.2% จากปีฐาน หรือเพิ่มขึ้น 0.1-0.2% ต่อปีภายในปี 2030 และมีโอกาสสร้างงานได้ถึง 160,000

Read More

เทรนด์ Pet Humanization มาแรง ดันธุรกิจสัตว์เลี้ยงโต ธุรกิจอื่นปรับตัว

การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้พฤติกรรมการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงของคนเปลี่ยนไป เพราะผู้คนต้องอยู่บ้านและได้ใช้เวลาอยู่กับสัตว์เลี้ยงมากขึ้น จนเกิดเป็นเทรนด์การเลี้ยงสัตว์ที่เรียกว่า “Pet Humanization” ที่สัตว์เลี้ยงได้รับการดูแลเสมือนสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว ประกอบกับสังคมปัจจุบันที่แนวโน้มประชากร Gen Z, Gen Y และประชากรสูงอายุนิยมเลี้ยงสัตว์แก้เหงามากขึ้น อีกทั้งครอบครัวสมัยใหม่มักมีลูกน้อยลงหรือเลือกที่จะไม่มีลูกเลย และเลือกที่จะเลี้ยงสัตว์แทน ซึ่งล้วนทำให้เทรนด์ Pet Humanization ขยายตัวมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทั้งการดูแลสุขภาพ สินค้า และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เติบโตอย่างก้าวกระโดด และในขณะเดียวกันยังส่งผลให้ธุรกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม ร้านอาหาร รวมถึงคมนาคม ต่างก็ปรับตัวเพื่อรับกับกระแสความนิยมที่เกิดขึ้น สัตวแพทย์หญิง กฤติกา ชัยสุพัฒนากุล ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ให้ข้อมูลไว้ว่า ตลาดสัตว์เลี้ยงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด โดยข้อมูลจาก Euromonitor ระบุว่า ภาพรวมตลาดสัตว์เลี้ยงของไทย ซึ่งประกอบด้วย มูลค่าสัตว์เลี้ยง อาหารสัตว์เลี้ยง ของเล่น และอื่นๆ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดสัตว์เลี้ยงของไทยในปี 2561 มีมูลค่าตลาด 31,000 ล้านบาท

Read More