Home > Vanida Toonpirom (Page 26)

OUR Khung BangKachao ใช้ธรรมชาติรักษาธรรมชาติ

พื้นที่สีเขียวเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุขและคุณภาพชีวิตของคนเมือง การมีพื้นที่สีเขียวที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมกับจำนวนประชากร สามารถเข้าถึงได้ง่าย จึงเป็นตัวชี้วัดการบริหารจัดการเมืองที่มีประสิทธิภาพ แต่การพัฒนาของเมืองที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและแผ่กว้างอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ที่ดินส่วนใหญ่ถูกพัฒนาไปในเชิงพาณิชย์ พื้นที่สีเขียวเดิมถูกแทนที่ด้วยตึกสูง ห้างสรรพสินค้า ลานจอดรถ และนับวันจะลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจนน่าใจหาย ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของเมือง หลายฝ่ายเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงมีความพยายามในการรักษาและเพิ่มจำนวนพื้นที่สีเขียวเพื่อทดแทนกับที่เสียไป “OUR Khung BangKachao” คืออีกหนึ่งโครงการที่มีเป้าหมายในการพัฒนาและรักษาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า พื้นที่ที่ทำหน้าที่เสมือนปอดให้กับคนเมือง “คุ้งบางกะเจ้า” เป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่กว่า 12,000 ไร่ที่โอบล้อมด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา ครอบคลุมพื้นที่ 6 ตำบลของอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีคุณค่าทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม โดดเด่นทางระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะมีความสมบูรณ์ของพื้นดินอันเกิดจากการสะสมของตะกอนปากแม่น้ำ มีพันธุ์ไม้กว่า 80 ชนิดในพื้นที่ อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติและชุมชน จนได้รับการยกย่องให้เป็น The Best Urban Oasis Of Asia จากนิตยสาร Time เมื่อปี 2549 และที่สำคัญยังถือเป็นปอดตามธรรมชาติให้กับคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลอีกด้วย แต่จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการพัฒนาเมืองที่มีอย่างต่อเนื่อง ย่อมส่งผลกระทบต่อคุ้งบางกระเจ้าอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ทำให้พื้นที่สีเขียวที่มีอยู่ลดลง เกิดปัญหาดินและน้ำเค็มขึ้น

Read More

แมคโดนัลด์ส่งแคมเปญรักษ์โลก ลุยสร้างร้านกรีนดีไซน์สาขาแรกในไทย

แมคไทยส่งแคมเปญรักษ์โลก ชูนโยบายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมลุยสร้างร้านกรีนดีไซน์สาขาแรกในไทย บริษัท แมคไทย จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจอาหารบริการด่วนภายใต้แบรนด์แมคโดนัลด์ในประเทศไทย เดินหน้า ชูนโยบายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เปิดตัวแคมเปญ ‘รักษ์โลก งดหลอด’ รณรงค์งดใช้หลอดพลาสติกกับเครื่องดื่มต่างๆ ของแมคโดนัลด์ และทดลองใช้ถังขยะรีไซเคิลมาใช้แยกขยะพลาสติกออกจากขยะทั่วไปใน 4 สาขา นำบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติผ่านการรับรองจาก Forest Stewardship Council™ (FSC) ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดด้านการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนมาใช้แทนบรรจุภัณฑ์พลาสติก พร้อมเดินหน้าสร้างร้านแมคโดนัลด์กรีนดีไซน์รักษ์โลกสาขาแรกในประเทศไทย “แมคไทยต้องการเติบโตแบบยั่งยืนโดยการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อแสดงจุดยืนที่ชัดเจนผ่านนโยบายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบแนวคิด The Journey for GOOD ในมิติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม หรือ Good Planet ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยรักษาและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย” นายธันยเชษฐ์ เอกเวชวิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท แมคไทย จำกัด กล่าว แคมเปญ ‘รักษ์โลก งดหลอด’ เป็นการรณรงค์เชิญชวนให้ลูกค้างดการใช้หลอดพลาสติกกับเครื่องดื่ม ผ่านสื่อต่างๆ ภายในร้านแมคโดนัลด์ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้

Read More

ขันลงหินบ้านบุ หัตถกรรมที่กำลังเลือนหาย

เสียงตีโลหะดังแว่วออกมาเป็นจังหวะจากอาคารไม้หลังหนึ่งที่ฝังตัวอยู่ใน “ชุมชนบ้านบุ” ชุมชนเล็กๆ ริมคลองบางกอกน้อย ยิ่งเดินเข้าไปใกล้ เสียงที่เข้ามากระทบโสตประสาทยิ่งแจ่มชัดและหนักหน่วงมากขึ้น พร้อมกับไอร้อนระอุที่ลอยมากระทบกับผิวกาย ภาพของคุณลุงคุณป้าที่อายุเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 60 ปี กำลังขะมักเขม้นกับชิ้นงานที่อยู่ตรงหน้า เพื่อรังสรรค์ “ขันลงหิน” งานหัตถกรรมที่งดงาม มีคุณค่า แต่นับวันจะหาผู้สานต่อได้ยากยิ่ง คือต้นกำเนิดของเสียงและความร้อนที่กระจายอยู่ทั่วบริเวณ การทำขันลงหินหรือขันบุคืออาชีพเก่าแก่ที่ทำกันในครัวเรือนมาตั้งแต่สมัยอยุธยา คำว่า “บุ” คือการตีให้เข้ารูป ใช้กับงานโลหะ ซึ่งขันลงหินนี้นิยมนำมาใส่ข้าวสวยสำหรับใส่บาตรเพราะจะทำให้ข้าวมีกลิ่นหอม หรือใส่น้ำดื่มเพราะจะทำให้น้ำเย็นชื่นใจ จนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก จึงมีการอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ พร้อมพกพาองค์ความรู้ในวิชาช่างบุลงหินติดตัวมาด้วย จนกลายมาเป็น “ชุมชนบ้านบุ” อย่างในปัจจุบัน อีกหนึ่งชุมชนที่มีงานหัตถกรรมอันเป็นมรดกสืบทอดกันมาในชุมชนมายาวนานมากกว่า 200 ปี ขันลงหินของชาวบ้านบุใช้กรรมวิธีผลิตแบบโราณ โดยใช้ทองสัมฤทธิ์ อันเป็นโลหะที่เกิดจากการหลอมทองแดง ดีบุก และเศษสัมฤทธิ์เข้าด้วยกันในเตาถ่านไม้ซากซึ่งให้ความร้อนสูง ก่อนที่จะเทโลหะผสมที่ได้ลงบน “ดินงัน” นำก้อนทองที่ได้มาเผาแล้วตีซ้ำจนได้รูปร่างเป็นภาชนะตามความต้องการ หรือที่เรียกว่าการบุนั่นเอง แต่งรูปทรงอีกครั้งบนไม้กลาง ย้ำเนื้อโลหะให้แน่นด้วยการ “ลาย” บนกะล่อน กลึงผิวด้านนอกซึ่งมีเขม่าจับจากการเผาบนแกน “ภมร” ตะไบขอบภาชนะ และต่อด้วยการขัดโดยการใช้หินในการขัดจนขึ้นเงา อันเป็นที่มาของคำว่า “ลงหิน” นั่นเอง ขั้นตอนการทำขันลงหินของชาวบ้านบุนั้น

Read More

มาตรการบรรเทา PM2.5 เมื่อปัญหาฝุ่นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ

ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา ไทยยังคงเผชิญกับสภาวการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เราหายใจหายคอได้ไม่คล่องนัก ทั้งสภาวะความฝืดเคืองของเศรษฐกิจ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่สร้างความหวาดวิตกไปทั่วโลก และปัญหาฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐานที่เรื้อรังมานาน จนทำให้หน้ากากป้องกันฝุ่นแทบจะกลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของร่างกายไปแล้ว ช่วง 2-3 ปีมานี้ เราต้องดำเนินชีวิตประจำวันภายใต้ฝุ่นละอองขนาดเล็กขนาด 2.5 ไมครอน หรือ ฝุ่น PM2.5 ที่คลุมเมืองอยู่เป็นระลอก และนับวันสถานการณ์ดูจะรุนแรงและขยายวงมากขึ้น จนทำให้ประเทศไทยมักถูกจัดอยู่ในลำดับต้นๆ ของเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก ปัญหาค่าฝุ่น PM2.5 ที่เกินมาตรฐานนับเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากสร้างผลกระทบในวงกว้าง ทั้งผลต่อสุขภาพเพราะสารพิษในฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้โดยตรง เกิดการระคายเคือง ทำลายอวัยวะของระบบทางเดินหายใจ และยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ไม่เพียงผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ในมิติของค่าเสียโอกาสจากประเด็นด้านสุขภาพ การท่องเที่ยว และภาคธุรกิจอื่นๆ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล คิดเป็นเม็ดเงินรวมประมาณ 3,200-6,000 ล้านบาท (ภายในกรอบเวลา 1 เดือน ระหว่างวันที่ 5 ม.ค. - 5

Read More

ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ เดินหน้าโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม รองรับ EEC

ปัจจุบันโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่มีมูลค่าการลงทุนหลายแสนล้านบาท กลายเป็นโครงการแห่งชาติที่สำคัญและกำลังได้รับการขับเคลื่อนจากรัฐบาลอย่างเต็มสูบ อีอีซีเป็นโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 โดยระยะแรกเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่ครอบคลุมจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อส่งเสริมการลงทุน ยกระดับอุตสาหกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจ คมนาคม และโลจิสติกส์ต่อไปในอนาคต ระยะเวลาที่ผ่านมาการขับเคลื่อนอีอีซีถือว่ามีความคืบหน้าออกมาให้เห็นเป็นระยะ มีการลงนามความร่วมมือทางธุรกิจและการลงทุนกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อการเตรียมความพร้อม ทั้งโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง- สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) การพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ไม่เฉพาะการเร่งพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม และการลงทุนจากต่างชาติเท่านั้น แต่เรื่องของคน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่อยู่รายรอบต่างก็สำคัญ แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมนำมาซึ่งขยะและของเสียต่างๆ มากมาย การบริหารจัดการขยะในพื้นที่อีอีซีจึงเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักและบรรจุลงในแผนพัฒนาด้วยเช่นกัน สถานการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่อีอีซีนั้น พบว่าปัจจุบันมีปริมาณขยะสะสมมากถึง 6 ล้านตัน โดยปี 2561 ที่ผ่านมา ปริมาณขยะอยู่ที่ 4.2 พันตันต่อวัน และคาดว่าในปี

Read More

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ: From Waste to Energy ทางออกของปัญหาขยะล้นเมือง?

ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลภาวะทางอากาศ น้ำเสีย และสัตว์น้อยใหญ่ที่ต้องจบชีวิตจากเศษซากพลาสติกอันเป็นผลผลิตจากมนุษย์ ที่ปรากฏเป็นข่าวให้เห็นอยู่บ่อยครั้งนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นผลพวงจากปัญหาขยะล้นเมืองแทบทั้งสิ้น “ขยะ” ยังคงเป็นปัญหาสากลที่หลายประเทศกำลังเผชิญอยู่ รวมถึงประเทศไทยเอง ที่ดีกรีความเข้มข้นของปัญหาดูยังไม่ลดน้อยถอยลงไปเลย และยังคงสร้างผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อสิ่งแวดล้อม มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตร่วมโลก ปริมาณขยะนับวันจะเพิ่มสูงมากขึ้น อันเนื่องมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ชุมชนเกิดการขยายตัว วิถีชีวิตที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เกิดการบริโภคที่มากขึ้น รวมถึงการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งล้วนแต่เป็นตัวเร่งปริมาณขยะให้ทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว จากสถิติของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 27.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 1.64 แต่มีปริมาณขยะมากถึง 10 ล้านตันที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี การสร้างความตระหนักรู้ในการลดปริมาณขยะ ตามหลัก 3R คือ Reduce Reuse Recycle คัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางเพื่อนำไปรีไซเคิล ลดการใช้ทรัพยากร ลดการใช้พลาสติก ตลอดจนการนำกลับมาใช้ซ้ำ ที่สังคมกำลังตื่นตัวและรณรงค์กันอยู่ในตอนนี้ นับเป็นความเคลื่อนไหวที่สำคัญและเป็นการแก้ปัญหาขยะที่ตรงจุดและยั่งยืน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมาตรการในการจัดการขยะที่เหมาะสม ทั้งขยะมูลฝอยทั่วไปจากครัวเรือนและขยะจากภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีวิธีการกำจัดที่แตกต่างกันก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ต้องให้น้ำหนักและความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เดิมทีมีการใช้วิธีการเผาและเทกองเพื่อฝังกลบ (Landfill) ในการจัดการขยะ แต่วิธีดังกล่าวกลับสร้างผลกระทบและปัญหาอื่นๆ ตามมา ทั้งควันและกลิ่นจากการเผาขยะ

Read More

ชุมชนมีวนา มีคน มีป่า มีกิน เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน

ปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ 171.2 ล้านไร่ จากพื้นที่ประเทศไทยทั้งสิ้น 321 ล้านไร่ แต่ชั่วระยะเวลาเพียง 50 ปี พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายไปมากกว่า 98 ล้านไร่ ซึ่งการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ที่เกิดขึ้นนั้น นอกจากการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าที่ยังคงปรากฏเป็นข่าวให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการพื้นที่ในการทำเกษตรกรรมของชาวบ้านด้วยเช่นกัน ความต้องการพื้นที่ทำกินของเกษตรกรเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการรุกล้ำพื้นที่ป่าและนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่พิทักษ์ป่า ซึ่งไม่เพียงทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงจนส่งผลต่อระบบนิเวศ เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงเท่านั้น แต่วิถีการเกษตรที่ใช้สารเคมีดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังส่งผลกระทบต่อธรรมชาติโดยรวม เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำ ส่งผลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ปัจจุบันปัญหาการลดจำนวนลงของพื้นที่ป่า ตลอดจนการใช้สารเคมีในแวดวงการเกษตรที่ส่งผลต่อธรรมชาติเริ่มเป็นที่ตระหนักรู้ของสังคมมากขึ้น ประชาชน ภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชนต่างเล็งเห็นความสำคัญและพยายามหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว “โครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า” หรือที่รู้จักในชื่อ “กาแฟมีวนา” คือหนึ่งในความเคลื่อนไหวภาคเอกชนที่ไม่เพียงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าเท่านั้น แต่ยังต้องการส่งเสริมความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้อยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืนอีกด้วย ปี พ.ศ. 2553 มูลนิธิสายใยแผ่นดินได้เริ่มโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่าขึ้นที่ป่าต้นน้ำแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งของภาคเอกชนที่เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าและปัญหาสิ่งแวดล้อม ป่าต้นน้ำแม่ลาวถือเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดของจังหวัดเชียงราย วิถีดั้งเดิมของชาวบ้านคือการปลูกชาทำเมี่ยงเพื่อเลี้ยงชีพ แต่เมื่อการเกษตรแบบใหม่ที่นิยมใช้สารเคมีเข้ามา บวกกับความต้องการของตลาดทำให้ชาวบ้านหันมาปลูกเสาวรสซึ่งเป็นไม้เลื้อยและต้องการแสงในการเจริญเติบโตสูง ชาวบ้านต้องตัดไม้ทำลายป่าเพื่อเปิดพื้นที่รับแสง อีกทั้งการปลูกเสาวรสยังต้องใช้สารเคมีอย่างมากในการดูแลรักษาให้ปลอดโรคและแมลง ทำให้ป่าต้นน้ำแม่ลาวอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง มูลนิธิสายใยแผ่นดินพยายามศึกษาเพื่อหาทางแก้ไข พบว่า “กาแฟ” เป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน และสามารถปลูกอยู่ร่วมกับป่าได้โดยไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า เพราะกาแฟเป็นพืชที่ต้องการร่มเงาสูง เติบโตได้ดีในพื้นที่ใต้ร่มไม้ จึงได้ริเริ่มโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่าขึ้นที่ป่าต้นน้ำแม่ลาว เป็นอันดับแรก

Read More

บจธ. เร่งจัดตั้งธนาคารที่ดิน เพิ่มโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ

ที่ดินเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและมีบทบาทสำคัญ ทั้งเป็นปัจจัยการผลิตและศูนย์รวมของความเป็นครอบครัวและชุมชน การขาดแคลนที่ดินทำกินและไม่สามารถเข้าถึงที่ดินอันเกิดจากการกระจุกตัวในการถือครองที่ดินจึงสร้างความเหลื่อมล้ำและปัญหาให้เกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินของภาคการเกษตรอันเป็นรากฐานของประเทศไทย ประเทศไทยมีเนื้อที่ประมาณ 321 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำการเกษตร 102.5 ล้านไร่ จากจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ มีผู้ถือครองที่ดินเพียง 15 ล้านราย โดยที่ 20% แรกของกลุ่มผู้ร่ำรวยที่ดินเหล่านั้น ถือครองที่ดินรวมกันเกือบ 80% ของโฉนดที่ดินทั้งประเทศ บางรายครอบครองที่ดินมากถึง 600,000 ไร่ ขณะที่คนส่วนใหญ่อีก 80% ถือครองที่ดินรวมกันเพียง 20% เท่านั้น ปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกินและโอกาสในการเข้าถึงที่ดิน ส่วนหนึ่งเกิดจากการกระจุกตัวของการถือครองและปัญหาการเก็งกำไรที่ดิน ทำให้ที่ดินถูกทิ้งร้างและไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สูญเสียพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร เกษตรกรจำนวนไม่น้อยไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง บางรายต้องเช่าที่ดินจากนายทุน บางรายมีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์อยู่เพียงเล็กน้อย เมื่อประสบกับปัญหาผลผลิตและนโยบายภาคการเกษตรที่ล้มเหลว ผลผลิตล้นตลาด ราคาตก ก่อให้เกิดภาวะหนี้สิน นำมาซึ่งการสูญเสียที่ดินทำกินในที่สุด เกษตรกรส่วนหนึ่งจำต้องละทิ้งถิ่นฐานและอาชีพเดิม เพื่อเข้ามาหางานทำในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ชาวนาชาวไร่ที่ประสบปัญหาต่างเรียกร้องให้รัฐบาลผู้มีบทบาทหน้าที่โดยตรงเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ถือเป็นปัญหาสำคัญ เร่งด่วน และเป็นโจทย์หินของทุกรัฐบาล ที่ผ่านมาภาครัฐพยายามหาหนทางแก้ไข โดยผ่านกระบวนการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรรายย่อยและผู้ยากไร้ ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน ทั้งรูปแบบการให้เอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดินแบบพิเศษ การให้สิทธิ์ในการใช้ที่ดินแบบมีเงื่อนไข การให้เช่าซื้อหรือผ่อนส่งระยะยาว ให้สิทธิ์เช่าที่ดินในราคาถูก โดยการนำที่ดินของรัฐบาล ที่สาธารณประโยชน์

Read More

ฮอยอัน: ฉันรัก (อาหาร) เธอจัง

อาคารสไตล์โคโลเนียลสีเหลืองมัสตาร์ดที่เรียงรายอย่างเป็นระเบียบ อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของประวัติศาสตร์ ผสานกับวิถีชีวิตดั้งเดิมอย่างมีชีวิตชีวาและกลมกลืน กลายเป็นมนตร์เสน่ห์ดึงดูดผู้คนต่างที่ต่างถิ่นมาเยือน สถานที่ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองมรดกโลกที่ยังมีลมหายใจ เมืองเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ตอนกลางของเวียดนาม...ฮอยอัน.... ฮอยอัน (Hoi An) เมืองขนาดเล็กตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลจีนใต้ทางตอนกลางของประเทศเวียดนาม ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่เจริญรุ่งเรืองและเป็นเมืองท่าใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชาวต่างชาติทั้งจีน ญี่ปุ่น ดัตช์ และอินเดีย เข้ามาทำการค้าขายและตั้งถิ่นฐานอยู่จำนวนมาก จนเกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความเป็นอยู่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2542 องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียนเขตเมืองเก่าของฮอยอันให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เพราะถือเป็นตัวอย่างเมืองท่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยคริศต์ศตวรรษที่ 15-19 ที่มีการผสมผสานศิลปะและสถาปัตยกรรมของท้องถิ่นและต่างชาติได้อย่างมีเอกลักษณ์ อีกทั้งยังมีการอนุรักษ์อาคารบ้านเรือนให้คงอยู่ในสภาพเดิมไว้ได้อย่างดี จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “เมืองมรดกโลกที่ยังคงมีลมหายใจ” ภายในเขตเมืองเก่าเรียงรายด้วยอาคารสีเหลืองมัสตาร์ดอันเป็นสถาปัตยกรรมที่เกิดจากการผสมผสานอาคารสไตล์โคโลเนียลฝรั่งเศสกับสถาปัตยกรรมแบบจีนที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ กลางคืนเมืองจะสว่างไสวไปด้วยโคมกระดาษหลากสี สร้างบรรยากาศโรแมนติกและแสนจะมีเสน่ห์ นอกจากความงดงามของอาคารบ้านเรือนและวิถีชีวิตแล้ว อาหารการกินก็เป็นอย่างที่จะทำให้เราตกหลุมรักฮอยอันได้ง่ายๆ อาหารเวียดนามในแต่ละภาคมีเอกลักษณ์แตกต่างกัน อันเนื่องมาจากสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศที่ทอดตัวยาวไปตามแนวชายฝั่งทะเล ผสานกับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและพืชพรรณธัญญาหาร อีกทั้งได้รับอิทธิพลจากจีนและฝรั่งเศสสมัยที่เข้ามาปกครองเวียดนาม ที่ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของวัฒนธรรมการกินอีกด้วย สำหรับฮอยอันนั้นอุดมไปด้วยร้านอาหารตั้งแต่ร้านข้างทางหรือสตรีทฟู้ด แผงลอย ไปจนถึงร้านอาหารหรูๆ แทรกซึมอยู่ทุกพื้นที่ของเมือง อาหารหลากประเภท ที่สำคัญรสชาติถูกปากแทบทุกร้าน พอจะแนะนำให้ได้รู้จักได้บางส่วน เริ่มจากจานแรกถ้ามาฮอยอันแล้วไม่ควรพลาด นั่นคือ “Cao Lâu” (เกาเลา) เป็นก๋วยเตี๋ยวซิกเนเจอร์ของฮอยอัน ประกอบด้วยหมูปรุงรสคล้ายหมูแดง (หมักด้วยน้ำตาล เกลือ พริกไทย

Read More

วิศวกรรมกับการอนุรักษ์ บทบาทเพื่อโบราณสถานไทย

ประเทศไทยมีแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์กระจายอยู่ทั่วประเทศ บางแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก บางแห่งได้รับการรับรองจากกรมศิลปากร และมีหลายแห่งที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศ ดึงดูดนักท่องเที่ยวในแต่ละปีได้เป็นจำนวนมาก แต่กระนั้นภาพความทรุดโทรมและพังทลายของแหล่งโบราณสถาน ทั้งจากภัยตามธรรมชาติและกลไกของกาลเวลา รวมไปถึงปัญหาการบูรณะที่คลาดเคลื่อนจากความถูกต้องก็ถูกนำเสนอออกมาให้เห็นไม่น้อยเช่นเดียวกัน ปัจจุบันโบราณสถานของไทยจำนวนมากอยู่ในสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงทางโครงสร้าง เกิดการแตกร้าว ทรุด พังทลาย และเสี่ยงต่อการเสียหายที่ไม่อาจซ่อมแซมให้กลับคืนมาได้อีก ที่ผ่านมาประเทศไทยขาดข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาปรับปรุง บูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน ขาดความสามารถในการประเมินความเสียหายของโบราณสถานที่แม่นยำและมีความละเอียด ขาดความชำนาญในการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันและองค์ความรู้สมัยใหม่อันจะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์เข้ามาช่วยในการบูรณะซ่อมแซม ทำให้โบราณสถานหลายแห่งไม่ได้รับการดูแลและบูรณะอย่างเป็นระบบ “การเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานควรนำเอาองค์ความรู้สมัยใหม่ที่มีความเหมาะสมและยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ เพื่อเก็บข้อมูลลักษณะสภาพปัจจุบัน และวิเคราะห์ความมั่นคงของโครงสร้าง ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์โบราณสถาน นอกจากนี้ จะต้องมีการบำรุงรักษาและบูรณะซ่อมแซม รวมถึงประเมินและติดตามสภาพโบราณสถานเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ทราบถึงความเร่งด่วนของการบำรุงรักษาและบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานแต่ละแห่ง เพื่อวางแผนบำรุงรักษาให้โบราณสถานมีความแข็งแรงและมั่นคงสืบไป” รศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวถึงที่มาของโครงการวิจัย “การอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานตามหลักวิศวกรรม” การวิจัยที่จะเข้ามาช่วยให้โบราณสถานในเมืองไทยได้รับการอนุรักษ์ที่เป็นระบบและยั่งยืนมากขึ้น โครงการวิจัยดังกล่าวเน้นการพัฒนาแนวทางเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานอย่างยั่งยืน โดยใช้หลักการทางวิศวกรรมที่เหมาะสมและมีความทันสมัย ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จากหลากสถาบันการศึกษา โดยมี รศ.ดร.นคร ภู่วโรดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ “ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานให้ยั่งยืน ปัญหาสำคัญคือเราขาดข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจที่จะดำเนินการใดๆ ในอนาคต

Read More