Home > Vanida Toonpirom (Page 21)

สถานการณ์แรงงานไทย ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลง

ภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอันสืบเนื่องมาจากวิกฤตโควิด-19 ที่ดำเนินมามากกว่า 2 ปี ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศและต่อสถานการณ์ของแรงงานอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ปี 2563 ปีแรกแห่งวิกฤตโควิด ถือเป็นปีที่ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบอย่างหนัก เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจทั้งภาคการท่องเที่ยว การส่งออก การบริโภค และการลงทุน ชะงักงัน หลายบริษัทต้องเลิกจ้างพนักงานหรือแม้กระทั่งปิดกิจการ อีกทั้งมาตรการเยียวยาจากภาครัฐยังไม่ชัดเจนนัก ส่งผลให้ตัวเลขผู้ว่างงานพุ่งสูง โดยมีอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.69 เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2562 ที่ร้อยละ 0.98 หรือมีจำนวนผู้ว่างงานประมาณ 6.5 แสนคน ในขณะที่ปี 2564 มีการเรียนรู้และปรับตัว รวมถึงใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจควบคู่กับมาตรการทางสาธารณสุขเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดไปพร้อมกัน ในส่วนของกระทรวงแรงงานได้มีการนำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อพยุงการจ้างงาน ได้แก่ 1. ลดเงินสมทบ เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพผู้ประกันตน ซึ่งพบว่ากว่าร้อยละ 85 สามารถกลับไปทำงานได้ ถ้าไม่มีตรงนี้อาจจะเห็นคนว่างงานพุ่งสูงถึง 2-3 ล้านคน 2. นโยบายภาครัฐที่กระตุ้นการจ้างงานใหม่และการบริโภคภายในประเทศ เช่น จ๊อบ เอ็กซ์โป (Job Expo) ที่จะโฟกัสในกลุ่มของนักศึกษาจบใหม่โดยเฉพาะ รวมถึงโครงการรักษาการจ้างงานของกลุ่มเอสเอ็มอี มาตรการคนละครึ่ง และ ม.33

Read More

สายงานมาแรงแห่งปี 2565 จากดิจิทัลดิสรัปชันถึงโควิดดิสรัปชัน

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญๆ ทั้งจากดิจิทัลดิสรัปชันที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแวดวงต่างๆ จนมาถึงยุคโควิดดิสรัปชันที่ส่งผลกระทบและสร้างแรงสั่นสะเทือนทั้งต่อการใช้ชีวิต การทำงาน การดำเนินธุรกิจ รวมถึงตลาดแรงงานด้วยเช่นกัน ปัจจุบันตลาดแรงงานของไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป ล่าสุด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ได้ทำการสำรวจทิศทางและสถานการณ์ของตลาดแรงงานไทย ของปี 2565 พบว่า ทิศทางของตลาดแรงงานและภาพรวมความต้องการแรงงานมีทิศทางดีขึ้นกว่าสถานการณ์โควิดรอบแรก เมื่อปี 2563 องค์กรและผู้ประกอบการพร้อมเดินหน้าธุรกิจด้วยมาตรการด้านความปลอดภัยและป้องกันความเสี่ยงต่างๆ มีการนำเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานมากขึ้น และมีแนวโน้มปรับตัวไปสู่รูปแบบของธุรกิจใหม่ (New Economy) ที่ต้องวางแผนด้านกำลังคน การสรรหาบุคลากร และพัฒนาบุคลากรเพื่อให้ตอบโจทย์การทำงานปัจจุบันสู่อนาคต นอกจากนี้ยังพบว่าความต้องการบุคลากรในตลาดแรงงานมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความต้องการทักษะใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์การทำงานในปัจจุบันและการจ้างงานยุคใหม่ ด้านความต้องการของนายจ้างส่วนใหญ่ยังอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ๆ ในแต่ละภูมิภาค เช่น สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ระยอง, ชลบุรี, อยุธยา, ฉะเชิงเทรา, เชียงใหม่, นครราชสีมา และสงขลา เป็นต้น โดยที่นายจ้างส่วนใหญ่ต้องการแรงงานในลักษณะหมุนเวียนในประเทศและประจำพื้นที่ 10 อันดับ

Read More

พ.ร.บ. อากาศสะอาดและนวัตกรรม ความหวัง-ทางออกของปัญหา PM2.5

“ฝุ่นพิษ PM2.5” ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพและเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมามีความพยายามจากหลายฝ่ายเพื่อหาทางแก้ปัญหาและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นให้เบาบางลง และที่ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญและน่าจับตาคือ ความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่รวมตัวผลักดันร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดฉบับเครือข่ายอากาศสะอาด (พ.ร.บ. อากาศสะอาด) นำเสนอต่อรัฐสภา เพื่อหวังเป็นเครื่องมือที่จะมาแก้ปัญหา PM2.5 เป็นที่ทราบกันดีกว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 เป็นมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศอย่างฝังลึก และเป็นสิ่งที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่ทุกปี จากการติดตามสถานการณ์ PM2.5 โดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษ จํานวน 64 สถานี ใน 34 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2562-2564 สถานการณ์ PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานในช่วงต้นปีและปลายปี โดยเฉพาะในเมืองขนาดใหญ่ที่มีการจราจรหรือบรรทุกขนส่งหนาแน่น เขตอุตสาหกรรม พื้นที่ก่อสร้าง และพื้นที่มีการเผาในที่โล่ง เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แม่ฮองสอน เชียงราย น่าน ลำปาง แพร่ นครสวรรค์ และสระบุรี เป็นต้น โดยแหล่งกำเนิดหลักๆ

Read More

ค่ายอสังหาฯ เปิดเกมรุกปีเสือ จับทำเลทอง พร้อมอัดโปรฯ ดุ

ค่ายอสังหาริมทรัพย์ “โนเบิล-แสนสิริ-แอล.พี.เอ็น.” เปิดเกมรุกประเดิมศักราชใหม่ ยึดทำเลทองใกล้ห้างและแนวรถไฟฟ้า พร้อมอัดโปรโมชั่นเดือดทั้งลด-ทั้งแถม มั่นใจภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2565 จะฟื้นตัวขึ้นจากปีก่อน แม้จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ อย่าง “โอมิครอน” ก็ตาม หลังจากเผชิญกับวิกฤตโควิดที่ส่งผลต่อภาคอสังหาริมทรัพย์มากว่า 2 ปี หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าปี 2565 นี้จะเป็นปีแห่งการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทำได้ครอบคลุม ประกอบกับภาครัฐมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ที่เป็นข้อจำกัดมากขึ้น ทั้งต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองบ้าน-คอนโดเหลือ 0.01% ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม บ้านใหม่และบ้านมือสอง รวมถึงการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อที่อยู่อาศัย (มาตรการ LTV) จากธนาคารแห่งประเทศไทย เป็น 100% จนถึงสิ้นปี 2565 (จากเดิมที่เพดาน LTV สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ที่ระดับ 70-90%) และมีการผ่อนปรนให้ต่างชาติเข้ามาถือครองอสังหาริมทรัพย์ในไทยได้ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการที่กล้าเดินหน้าต่อมากขึ้น ประเดิมที่ บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) “NOBLE” ที่ถือครองโครงการที่อยู่อาศัยในทำเลชั้นนำของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นหลัก

Read More

‘ดินสไลด์-บ้านทรุด’ ภัยพิบัติที่ไม่อาจมองข้าม

วันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา เกิดเหตุดินสไลด์ในพื้นที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนประชาชนกว่า 20 หลังคาเรือน จากการตรวจสอบพบว่า เดิมทีพื้นที่ที่ถล่มนั้นเคยเป็นบ่อเลี้ยงปลามาก่อน แต่ได้มีการถมและปล่อยให้เช่า ประกอบกับการถมดินไม่มีความแข็งแรงที่เพียงพอ อีกทั้งยังอยู่ติดกับบ่อที่เกิดจากการตักดินขายของเอกชน จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดดินสไลด์ในครั้งนี้ ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์ดินสไลด์จนสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน พฤศจิกายน 2564 – เกิดเหตุดินทรุดตัวเป็นหลุมกว้างภายในสวนทุเรียน อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี ระหว่างการขุดเจาะบ่อบาดาล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ตุลาคม 2564 – เกิดเหตุดินสไลด์ บริเวณถนนกัลปพฤกษ์ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร โดยจุดดังกล่าวมีการขุดหลุมเพื่อซ่อมท่อประปา ทำให้คนงานได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ธันวาคม 2563 – เกิดเหตุดินสไลด์ทับบ้านเรือนประชาชนบริเวณ อ.เบตง จ.ยะลา จากฝนที่ตกต่อเนื่องมานานหลายวัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต นี่เป็นเพียงบางเหตุการณ์ที่หยิบยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นภาพความเสียหายที่เราไม่อาจมองข้ามได้เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าสาเหตุของการเกิดดินสไลด์มีทั้งปัจจัยจากดินฟ้าอากาศและจากการกระทำของมนุษย์ นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้เผยถึงสาเหตุของดินสไลด์ที่ อ.บางพลี ในครั้งนี้ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีการขุดบ่อดินขนาด 400 ไร่ เพื่อนำดินไปขาย โดยมีแนวคันดินกว้างประมาณ

Read More

“การนอน” เรื่องง่ายๆ ที่อาจจะไม่ง่าย

เชื่อว่าหลายคนคงเคยตั้งใจว่าวันนี้จะนอนให้เต็มอิ่ม แต่พอล้มตัวลงนอนจริงๆ กลับคิดนู่นคิดนี่จนนอนไม่หลับ พลิกไปพลิกมาจนน่าหงุดหงิด หรือหลับไปแล้ว แต่จู่ๆ ดันสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึก ต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่กว่าจะข่มตาให้หลับต่อได้ ยิ่งช่วงนี้เรื่องชวนเครียดมีมากมายเหลือเกิน ทั้งสถานการณ์โควิดที่กลายพันธุ์กันเป็นว่าเล่น สภาพเศรษฐกิจ ราคาข้าวของที่พุ่งสวนทางกับรายได้ ทำให้หลายคนข่มตานอนได้ยากเต็มที “การนอนหลับ” เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการมีสุขภาพที่ดี จำนวนชั่วโมงในการนอนของแต่ละคนนั้นย่อมไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สำหรับตัวเลข 7-8 ชั่วโมง เป็นเพียงค่าเฉลี่ยในการนอนของวัยผู้ใหญ่เท่านั้น ซึ่งการนอนหลับที่เพียงพอสามารถวัดได้จากความรู้สึกที่ตื่นมาด้วยความสดชื่น รู้สึกว่านอนได้อิ่ม และไม่อ่อนเพลียช่วงกลางวัน แม้ว่าการนอนจะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่กลับพบปัญหาที่เกี่ยวกับการนอนไม่น้อยเลยทีเดียว และหลายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนเป็นสัญญาณเตือนว่าสุขภาพร่างกายกำลังต้องการการเยียวยาและฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน - การนอนไม่หลับ (Insomnia) ต้องใช้เวลานานกว่าจะสามารถหลับได้ นอนหลับๆ ตื่นๆ หรือตื่นเร็วกว่าปกติแล้วไม่สามารถหลับต่อได้ ซึ่งเป็นอาการที่มักเกิดร่วมกับความผิดปกติของร่างกายและจิตใจ เช่น จากความเครียดสะสม - อาการตื่นกลางดึก (Middle Insomnia) อีกหนึ่งประเภทในโรคนอนไม่หลับ โดยจะมีอาการตื่นนอนตอนช่วงกลางดึกในเวลาเดิมซ้ำๆ และกว่าจะกลับไปหลับต่อได้อาจต้องใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 2 ชั่วโมง แต่การตื่นกลางดึกอาจเป็นรูปแบบของการนอนหลับตามธรรมชาติได้ หากสามารถกลับไปนอนต่อภายใน 1 ชั่วโมง - นอนกรน (Snoring) เป็นอีกหนึ่งปัญหาเกี่ยวกับการนอนที่พบได้บ่อย และพบมากในผู้ชายและผู้ป่วยภูมิแพ้ไซนัส ซึ่งการกรนขึ้นอยู่กับลักษณะท่าทางการนอน -

Read More

“เรือนแก้ว เกษมสวัสดิ์ศรี” กับภารกิจ ติดสปริง “เคทีซี พี่เบิ้ม” พร้อมโตแบบก้าวกระโดด

เคทีซีประกาศสร้างกำไรนิวไฮระลอกใหม่ ชู “เคทีซี พี่เบิ้ม” สินเชื่อมีหลักประกัน สู่การเป็น New S Curve พร้อมปรับเป้าการเติบโตแบบก้าวกระโดด จาก 1,000 ล้านบาท สู่ 11,500 ล้านบาทในปี 2565 ภายใต้การนำของผู้บริหารรุ่นใหม่อย่าง “เรือนแก้ว เกษมสวัสดิ์ศรี” แม้ว่าปีที่ผ่านมาเป็นอีกหนึ่งปีแห่งความท้าทายของภาคธุรกิจในยุคโควิด-19 แต่บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี ยังคงขับเคลื่อนองค์กรก้าวข้ามความท้าทายและสามารถสร้างผลกำไรในระดับที่วางไว้ อีกทั้งยังประกาศเดินเครื่องธุรกิจในปี 2565 ตั้งเป้าดันพอร์ตเกินแสนล้านบาท เพื่อสร้างกำไรนิวไฮระลอกใหม่หลังวิกฤตโควิด-19 นายระเฑียร ศรีมงคล ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคทีซี เชื่อมั่นว่าในอนาคตอันใกล้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี และเป็นโอกาสที่จะผลักดันธุรกิจของเคทีซีให้เติบโตและมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างสถิติใหม่ของการทำกำไรสูงสุดมากกว่า 6 พันล้านบาท กับพอร์ตสินเชื่อที่เกินแสนล้านบาท โดยกลยุทธ์หลักในปีนี้จะเน้นขยายธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกันอย่าง “เคทีซี พี่เบิ้ม” และพัฒนาแพลตฟอร์ม “MAAI BY KTC” ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ต่อยอดมาจากระบบคะแนนสะสมอย่าง KTC Forever ที่ถือเป็นจุดแข็งของเคทีซี

Read More

SODEXO ชู “Flexible Model” กลยุทธ์สู่การเติบโตก้าวข้ามวิกฤตโควิด

ชื่อของ “โซเด็กซ์โซ่” อาจจะไม่เป็นที่พบเห็นได้บ่อยนัก แต่บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสแห่งนี้กลับเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังบริษัทชั้นนำมากมาย และมีสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ กว่า 56 ประเทศทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย และที่สำคัญมีผลประกอบการและการเติบโตชนิดที่เรียกได้ว่า “ไม่ธรรมดา” โซเด็กซ์โซ่ หรือ Sodexo ก่อตั้งขึ้นที่เมืองมาร์เซย์ (Marseilles) ประเทศฝรั่งเศส ในปี 1966 โดยเริ่มต้นธุรกิจด้วยการให้บริการด้านอาหารและโภชนาการแก่โรงเรียน โรงพยาบาล และสถาบันต่างๆ ก่อนจะขยายธุรกิจสู่การให้บริการหลากหลายรูปแบบทั้งบริหารวิศวกรรมอาคาร ซ่อมบำรุง รักษาความปลอดภัย บริการพนักงานต้อนรับและจุดบริการข้อมูล ทำความสะอาด ดูแลสวนและภูมิทัศน์ พร้อมขยายตลาดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยในปี 2004 หรือใน พ.ศ. 2547 สำหรับโซเด็กซ์โซ่ ประเทศไทย ยังคงมีแกนหลักของธุรกิจเช่นเดียวกับบริษัทแม่จากฝรั่งเศส อย่างธุรกิจการให้บริการด้านอาหารสำหรับลูกค้าในธุรกิจสถานพยาบาล องค์กรทั่วไป นักเรียนในสถานศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนนานาชาติ รวมถึงพนักงานที่แท่นขุดเจาะนอกชายฝั่งซึ่งถือเป็นจุดแข็งที่สร้างรายได้ให้กับธุรกิจได้อย่างดี อีกหนึ่งส่วนที่สำคัญคือการให้บริการด้านอาคารที่ครอบคลุมทั้งด้านเทคนิคและวิศวกรรมอาคาร (Hard Services) อย่างการดูแลซ่อมบำรุงอาคาร บริการก่อสร้าง บริหารโครงการ บริการระบบปรับอากาศและประปา บริการด้านสิ่งแวดล้อม บริหารการจัดการขยะ บริการจัดการเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมถึงบริการทั่วไป

Read More

“อาร์โนด์ เบียเลคกิ” Work Life Balance ใช้การวิ่งมาประยุกต์ในการทำงาน

“ผมเป็นคนไทยไปแล้วครับ” บทสนทนาที่เริ่มต้นด้วยภาษาไทยชัดถ้อยชัดคำจนเดาแทบไม่ออกว่ามาจากชาวฝรั่งเศส อย่าง “อาร์โนด์ เบียเลคกิ” ประธานบริหารแห่ง โซเด็กซ์โซ่ ประเทศไทย ผู้ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองไทยมากว่า 26 ปี จนกลายเป็นคนไทยอย่างเต็มตัว อาร์โนด์ เบียเลคกิ (Arnauld Bialecki) เกิดและเติบโตที่ฝรั่งเศส หลังจากสำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมฟิสิกส์จากสถาบัน Ecole Centrale de Marseille ประเทศฝรั่งเศส เขาได้เริ่มงานแรกในประเทศไทยเมื่อ 26 ปีที่แล้ว ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางชีวิตในเมืองไทยที่ยาวนานมาเกือบ 3 ทศวรรษ หลังจากหมดสัญญาการทำงานกับสังกัดแรก เขายังคงทำงานต่อที่เมืองไทยในสายงาน Facility Management ดูแลตลาดในเอเชียแปซิฟิก ก่อนที่จะเข้ามาร่วมงานกับ บริษัท โซเด็กซ์โซ่ ประเทศไทย ในกลุ่มโซเด็กซ์โซ่ บริษัทสัญชาติฝรั่งเศส ผู้นำด้านการบริการครบวงจรทั้งบริการต้อนรับ รักษาความปลอดภัย บริการทำความสะอาด บำรุงรักษาอาคารและเครื่องจักร บริการด้านอาหาร และบริหารอุปกรณ์เทคโนโลยีทางการแพทย์ ในปี พ.ศ. 2555 ปัจจุบันอาร์โนด์ดำรงตำแหน่งประธานบริหารและผู้อำนวยการ กลุ่มลูกค้าองค์กร เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ไทย,

Read More

จับทิศทางอสังหาฯ ปี 65 รอเวลาฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ

ปี 2564 ที่ผ่านมาถือเป็นปีที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เผชิญกับความท้าทายและผันผวนสูง จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งอุตสาหกรรม ทั้งแรงงานก่อสร้าง ผู้ประกอบการอสังหาฯ รวมถึงผู้บริโภคที่แม้จะมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย แต่จากสภาพเศรษฐกิจที่เปราะบางรวมถึงหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นทำให้ต้องชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไป แต่มีการคาดการณ์ว่าปี 2565 อสังหาฯ จะเริ่มฟื้นตัวตามสภาพเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการเน้นระบายสต็อกคงค้างควบคู่ไปกับการเปิดโครงการใหม่เข้าสู่ตลาด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินและความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค และยังเป็นตัวแปรสำคัญของภาคธุรกิจหลักของประเทศ ก่อนหน้านี้เคยมีการคาดการณ์กันว่าปี 2564 จะเป็นปีที่อสังหาฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาดของโควิดระลอกแรก แต่สถานการณ์กลับยังผันผวนเนื่องจากการแพร่ระบาดยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและยืดเยื้อ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชะลอการซื้อ ทำให้ภาพรวมของอสังหาฯ ในปีที่ผ่านมายังไม่ฟื้นตัวตามที่คาด ผลสำรวจของ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ระบุว่า 3 ใน 4 ของผู้บริโภคชาวไทย (71%) ยังมีความต้องการที่อยู่อาศัย แต่เลือกที่จะชะลอการซื้อออกไปก่อน โดย 39% วางแผนจะซื้อบ้านภายใน 1-2 ปี ส่วนอุปสรรคสำคัญที่มีผลต่อการซื้อที่อยู่อาศัยมาจากการขาดรายได้ในช่วงโควิด-19 ถึง 66% รองลงมาคือราคาที่อยู่อาศัย 63% ตามมาด้วยความไม่แน่นอนทางการเมืองและธนาคารไม่อนุมัติสินเชื่อบ้านในสัดส่วนเท่ากันที่ 37% นอกจากนี้ 80%

Read More