Home > Vanida Toonpirom (Page 20)

“นักสืบของอดีต” จากการวิจัยสู่บอร์ดเกม ย่อยงานวิชาการพร้อมเติมความสนุก

ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์เป็นประเด็นสำคัญที่ควรทำความเข้าใจและไม่ควรถูกละเลย แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าประเด็นดังกล่าวจะเน้นหนักไปทางวิชาการที่เข้าถึงและเข้าใจได้ไม่ง่ายนัก จนกลายเป็นถูกละเลยไปในที่สุด จะดีแค่ไหนถ้างานวิชาการที่ดูเหมือนเข้าใจยาก ถูกย่อยให้เข้าใจง่าย พร้อมเติมความสนุกในรูปแบบของ “บอร์ดเกม” ที่กำลังเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆ คน บอร์ดเกมชุด “นักสืบของอดีต” เป็นการต่อยอดจากโครงการวิจัย “มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์กับพลวัตทางวัฒนธรรมบนพื้นที่สูง ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ของ ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยมีศุภร ชูทรงเดช และวริศ โดมทอง เป็นผู้ออกแบบและพัฒนา เพื่อนำอดีตมาสร้างเป็นอนาคต และกระจายองค์ความรู้เข้าไปถึงคนทุกระดับโดยเฉพาะเยาวชน โดยบอร์ดเกมชุดนักสืบของอดีตนั้นจะนำเอาความรู้ทางวิชาการที่ได้จากการวิจัยดังกล่าวทั้งทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ มาจำแนก แยก ย่อย พร้อมนำเสนอใหม่ในรูปแบบของบอร์ดเกมที่เข้าถึงได้ง่าย น่าสนใจ และสนุก เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมากขึ้น “บอร์ดเกมเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการสื่อสารงานวิจัยที่ซับซ้อน นำไปสู่การเรียนรู้ที่เข้าถึงได้ง่าย ผ่านประสบการณ์ร่วมที่เกิดขึ้นระหว่างงานวิจัยและกลไกของเกมกระดาน และเป็นนวัตกรรมขนาดพกพาที่เสริมสร้างพฤติกรรมด้านการปะทะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนความคิด ลดช่องว่างระหว่างวัย และช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ของผู้เล่นในทุกระดับบนพื้นฐานของการเล่นแบบเผชิญหน้า ผ่านการใช้อุปกรณ์ที่จับต้องได้เป็นสื่อกลาง ซึ่งประสบการณ์ร่วมที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ผู้เล่นที่มาจากต่างถิ่นฐาน ต่างภาษา และต่างวัฒนธรรม เกิดความเข้าใจ

Read More

ถ้ำผีแมนโลงลงรัก-แหล่งโบราณคดีปางมะผ้า ขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์แห่งแม่ฮ่องสอน

เป็นเวลากว่าสองทศวรรษที่ทีมนักโบราณคดีและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา นำโดย ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช ร่วมกันขุดค้นแหล่งโบราณคดีตามถ้ำและเพิงผาต่างๆ ที่กระจายอยู่ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จนค้นพบหลักฐานสำคัญที่เป็นดั่งขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์ของแม่ฮ่องสอน “แม่ฮ่องสอน” เป็นจังหวัดเล็กๆ ทางชายแดนด้านตะวันตกของภาคเหนือที่ถูกจัดอันดับว่าเป็นจังหวัดที่มีรายได้ต่อครัวเรือนต่ำเกือบที่สุดของประเทศ และถูกมองว่าเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงยาก การสัญจรไปมาลำบาก ด้วยภูมิประเทศที่เป็นภูเขาเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กลับพบว่าแม่ฮ่องสอนกำลังมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในหลายๆ ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ที่เน้นให้การศึกษามีลักษณะของการสืบค้นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อเป็นฐานความรู้ในการพึ่งตนเอง และเพื่อสร้างอำนาจให้กับท้องถิ่นทั้งในเรื่องการจัดการทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจรัฐ ทำให้ช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา ได้เกิดโครงการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ขึ้นอย่างมากมายในหลายพื้นที่ของจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่มีมากกว่า 200 ชิ้น ซึ่งผลงานวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าแท้ที่จริงแล้วแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีความรุ่มรวยทั้งมรดกทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ที่สามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับจังหวัดได้ “โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน” งานวิจัยเชิงพื้นที่ระยะยาวที่บูรณาการศาสตร์ของโบราณคดี มานุษยวิทยา สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์เข้าไว้ด้วยกัน อันมี ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

Read More

รพ. ธรรมศาสตร์ฯ ดึงจุดเด่นมู่งสู่ทอป 3 ชูศูนย์ข้อเทียมแบบครบวงจรเป็นเรือธง

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ วางกลยุทธ์ก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลเชี่ยวชาญระดับตติยภูมิขั้นสูง และโรงเรียนแพทย์ชั้นนำ โฟกัสจุดเด่นเตรียมเปิดศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง ชูศูนย์ข้อเทียมแบบครบวงจรเป็นต้นแบบ พร้อมพัฒนาต่อยอดการบริการเพื่อรองรับผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม ช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่โรงพยาบาลทุกแห่งต่างต้องทุ่มสรรพกำลังและทรัพยากรที่มีเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่ง รพ. ธรรมศาสตร์ฯ เองถือเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่มีบทบาทสำคัญในช่วงโควิดที่ผ่านมา ตั้งแต่กระบวนการคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด การรักษาผู้ป่วยโควิด จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม และสร้างห้องไอซียูความดันลบรองรับผู้ป่วยกว่า 42 ห้อง ซึ่งนับว่ามากที่สุดในประเทศ รวมไปถึงการเป็นศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด และล่าสุดคือการอำนวยความสะดวกในการทำ Home Isolation สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง แน่นอนว่าการต้องรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ภาพรวมของโรงพยาบาลดูชะงักลงไปบ้าง แต่ถึงกระนั้น รพ. ธรรมศาสตร์ฯ ก็ได้วางแผนในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของโรงพยาบาลในระยะยาวควบคู่ไปพร้อมกัน รศ. นพ.ณัฐพล ธรรมโชติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากายภาพ รพ. ธรรมศาสตร์ฯ เปิดเผยกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ว่า “ทิศทางการดำเนินงานต่อจากนี้ เราวางเป้าหมายให้ รพ. ธรรมศาสตร์ฯ เป็นทอป 3 ของโรงพยาบาลเชี่ยวชาญระดับตติยภูมิขั้นสูง และโรงเรียนแพทย์ชั้นนำ ซึ่งตอนนี้มีทั้ง รพ.

Read More

“ดร.ศุภชัย สุขะนินทร์” กับเส้นทางแห่งนักลงทุนมืออาชีพ

เชื่อแน่ว่าหลายๆ คนต้องคุ้นเคยกับแบรนด์ร้านโดนัทชื่อดังอย่างดังกิ้น โดนัท (Dunkin' Donuts), ร้านกาแฟโอปองแปง, ร้านไอศกรีม บาสกิ้น ร็อบบิ้นส์ รวมถึงร้านอาหารสุดเก๋อย่างเกรย์ฮาวด์ คาเฟ่ ที่ปัจจุบันต่อยอดออกไปหลากหลายแบรนด์ ซึ่งแบรนด์ต่างๆ ที่กล่าวมาล้วนแต่เป็นแฟรนไชส์ชื่อดังที่อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท มัดแมน จำกัด (มหาชน) หนึ่งในหลายๆ บริษัทที่มีนักลงทุนมืออาชีพอย่าง ดร.ศุภชัย สุขะนินทร์ นั่งเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร “ผู้จัดการ 360 องศา” มีโอกาสได้พูดคุยกับ ดร.ศุภชัย สุขะนินทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเงิน การลงทุน ที่คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงนี้มามากกว่า 30 ปี และเป็นหนึ่งในนักลงทุนที่น่าจับตามอง จากธุรกิจอินเทอร์เน็ต สู่การลงทุนในสินค้าเกษตรล่วงหน้า ก่อนจะเข้าสู่ธุรกิจอาหารและคลังสินค้า “ผมเริ่มต้นจากการทำสตาร์ตอัปตั้งแต่ตอนอายุ 25 โดยก่อตั้งบริษัทสยามเว็บขึ้นมา เป็นธุรกิจอินเทอร์เน็ตยุคแรกๆ ซึ่งช่วงนั้นเป็นยุคที่ดอตคอมกำลังบูม เราจึงใช้เทคโนโลยีนั้นมาสร้างรายได้ซึ่งถือว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นก็ไปลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ก่อนที่จะขยายการลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ตามมา” การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าไม่ว่าจะเป็นข้าว มัน ยางพารา น้ำตาล ถือเป็นหนึ่งในการลงทุนที่นักลงทุนจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจนอกเหนือจากการลงทุนในทองคำและตลาดหุ้น ซึ่ง ดร.ศุภชัยเองก็ฉวยโอกาสเข้าสู่วงการนี้เช่นกัน โดยได้ลงทุนผ่านบริษัท

Read More

“ไฟว์เวล” จับกระแสโลก ปูทางนักลงทุนไทยสู่การลงทุนยุคดิจิทัล

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้นในทุกมิติ ทั้งการแพทย์ การศึกษา การทำงาน รวมไปถึง “การลงทุน” ที่แบบเดิมเป็นการลงทุนในตลาดหุ้น ทองคำ ไวน์ หรือการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเป็นหลัก แต่เมื่อโลกกำลังเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล การลงทุนย่อมเปลี่ยนโฉมหน้าไปด้วยเช่นกัน คำว่า Metaverse, Deep Technology, Cryptocurrency หรือแม้กระทั่ง NFT คือเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาอยู่ในการรับรู้ของคนสังคมและมีบทบาทในชีวิตมากขึ้นในทุกขณะ และยิ่งไปกว่านั้นยังถือเป็นโอกาสในการลงทุนในโลกยุคใหม่ที่เป็นหมุดหมายของถนนหลายสาย การประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก Facebook เป็น “Meta” ของมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตา เมื่อองค์กรระดับโลกอย่างเฟซบุ๊กกำลังมุ่งหัวเรือเข้าสู่โลกแห่ง Metaverse โลกที่เทคโนโลยีผสานกับชีวิตจริง ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในเกมอย่างที่เคยเป็นมาเท่านั้น แต่ปัจจุบันถูกนำไปใช้ในวงกว้างทั้งการประชุม, การจัดงานอีเวนต์, อีคอมเมิร์ซ, วงการแพทย์, อสังหาริมทรัพย์ และในกลุ่มธุรกิจต่างๆ ซึ่งเว็บไซต์ Bloomberg ได้มีการคาดการณ์ไว้ว่า ภายในปี 2024 Metaverse จะกลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงถึง 8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 27 ล้านล้านบาท และเป็นแพลตฟอร์มสำคัญจุดเปลี่ยนพลิกชะตาธุรกิจ ในขณะที่กระแสเงินดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซีและ

Read More

“ไทยวา” บุกตลาดไทย-ต่างประเทศ รุกไบโอพลาสติก ปักหมุดบลูโอเชียนใหม่

“ไทยวา” ประกาศเดินหน้าขยายธุรกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ ตั้งเป้าขึ้นเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมทุ่มงบก้อนโตลงทุนด้านนวัตกรรมและไบโอพลาสติก ปักหมุดบลูโอเชียนแห่งใหม่รับเทรนด์โลกสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นห้วงเวลาแห่งความท้าทายและยากลำบากทั้งในแง่ของการใช้ชีวิตและการดำเนินธุรกิจอันเนื่องมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ทุกอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับความท้าทายและต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่สำหรับ “ไทยวา” ผู้ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมรายใหญ่ของเมืองไทย ผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลัง รวมถึงผลิตภัณฑ์วุ้นเส้นและเส้นก๋วยเตี๋ยวที่คุ้นเคยกันในชื่อแบรนด์ มังกรคู่ กิเลนคู่ และโรส ยังคงสามารถนำพาธุรกิจให้ก้าวข้ามโจทย์ยากนี้ไปได้ ด้วยยอดขายมากกว่า 9,105 ล้านบาทในปี 2564 เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ถึง 28% ซึ่งหัวเรือใหญ่ของบริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) อย่าง นายโฮ เรน ฮวา เปิดเผยว่า “ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ไทยวาเองก็เผชิญกับความท้าทายเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการของบริษัทฯ ในปี 2564 ถือว่าแข็งแกร่งมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับใช้นวัตกรรมเพื่อลดต้นทุนการผลิต พัฒนาสินค้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการบริหารการขายและการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และจุดแข็งของเราคือ การเป็น Developing agent supply

Read More

เปิดมุมมองใหม่กับนวัตกรรมการรักษาโควิด-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่อยู่กับเรามากว่า 2 ปี และกลายพันธุ์อย่างรวดเร็วจนตามแทบไม่ทัน ทำให้หลายๆ ฝ่ายทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ประชาชน และองค์กรต่างๆ ต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งแนวทางการรักษาและมุมมองโควิด-19 ต่อการปรับตัวสู่ชีวิตวิถีใหม่ ที่ผ่านมามีการจัดประชุมและเสวนาในเวทีต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงงานเสวนาล่าสุดที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมาในหัวข้อ “เปิดมุมมองใหม่กับนวัตกรรมการรักษาโควิด-19” เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลเชิงลึกตลอดจนภาพรวมของการรับมือกับโควิด-19 ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำการศึกษาวิจัยทางคลินิกและการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เป็นเวลากว่า 2 ปี เปิดเผยว่า สิ่งที่ท้าทายที่สุดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ คือการต้องทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้แม้เป็นเรื่องที่ไม่เคยทำได้มาก่อน รวมทั้งต้องหาข้อมูลใหม่ๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ให้ได้อย่างทันท่วงที “วัคซีน” และ “ยา” เพื่อป้องกันและรักษาคืออาวุธที่สำคัญ ศ.พญ.ศศิโสภิณ เน้นย้ำว่า ประเด็นสำคัญที่ต้องจับตามองคือ “การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส” เพราะภายในระยะเวลา 2 ปี โลกต้องต้องเผชิญหน้ากับไวรัสที่กลายพันธุ์ไปถึง 5 สายพันธุ์ ทั้งอัลฟา เบตา แกมมา เดลตา จนมาถึงโอมิครอน เพราะฉะนั้นการมีวัคซีนเพื่อเป็นอาวุธในการต่อสู้กับการกลายพันธุ์ของไวรัสจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก

Read More

No sugar added/Sugar Free อ่านฉลากสักนิด ก่อนหยิบลงตะกร้า

No sugar added/Sugar free ที่ปรากฏอยู่บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มกลายเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงบนโลกโซเชียลอีกครั้ง โดยเฉพาะสายรักสุขภาพที่มักจะพลิกดูฉลากก่อนหยิบของลงตะกร้าทุกครั้ง ว่าแท้ที่จริงแล้วเหมือนหรือต่างกันอย่างไร “ไม่เติมน้ำตาล” คือไม่มีน้ำตาลเลยจริงๆ ใช่หรือไม่? และถ้าไม่มีน้ำตาลแต่ทำไมยังมีรสหวานอยู่? No sugar added ปราศจากน้ำตาล? มาที่คำแรกอย่าง “No sugar added” ถ้าเห็นฉลากนี้แล้วคิดว่าอาหารหรือผลิตภัณฑ์นั้นไม่มีน้ำตาล คุณกำลังคิดผิด เพราะแท้ที่จริงแล้วคำว่า No sugar added ไม่ได้หมายถึงไม่มีน้ำตาล แต่เป็นฉลากที่บอกให้เรารู้ว่า หมายถึงผู้ผลิตไม่ได้มีการเติมน้ำตาลเพิ่มลงไปเท่านั้นเอง แต่ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ยังคงมีน้ำตาลตามธรรมชาติที่มีอยู่ในส่วนประกอบและวัตถุดิบอยู่ เช่น น้ำตาลที่มีอยู่ในผลไม้ ผัก น้ำผึ้ง นม และยังคงให้ความหวานอยู่ด้วยเช่นกัน ส่วนฉลาก “Sugar Free” หมายถึง ผลิตภัณฑ์นั้นมีน้ำตาลอยู่ในปริมาณที่น้อยกว่า 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค และส่วนใหญ่จะใช้สารให้ความหวานมาทดแทนการใช้น้ำตาล (Artificial sweeteners) โดยสารให้ความหวานนั้นก็ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สารให้ความหวานไม่ให้พลังงานหรือน้ำตาลเทียม เช่น แอสปาแตม

Read More

“บุญศิริ หัสสรังสี” ติดอาวุธธุรกิจด้วยเทคโนโลยี เสริมแกร่งสู่การเติบโตในยุคดิจิทัล

ปัจจุบัน “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน” กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาธุรกิจและเสริมศักยภาพให้องค์กรทั่วโลก หลายองค์กรในประเทศไทยเองก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยต่อยอดและพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อปรับให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะนี้ “ผู้จัดการ 360 องศา” มีโอกาสได้พูดคุยกับ “บุญศิริ หัสสรังสี” ผู้บริหารรุ่นใหม่ แห่งบริษัท สเฟรียร์เอท จำกัด (SPHERE8) บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการวางกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี ถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และความสำคัญของเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเป็นอาวุธเสริมความแกร่งให้กับองค์กรให้สามารถเติบโตและก้าวสู่ตลาดโลกได้ “เรามองว่าไม่ช้าก็เร็วทุกองค์กรต้องปรับตัวและทรานส์ฟอร์ม เพราะโลกมันหมุนไปแล้ว โควิด-19 ทำให้เราเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีต่างๆ มากขึ้น กรอบความคิดของผู้คนและองค์กรเปลี่ยนไป พร้อมเปิดรับและนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดและไปต่อได้ หากองค์กรไหนเตรียมพร้อมหรือปรับตัวได้ก่อน ก็จะได้เปรียบมากกว่า และที่สำคัญยังสามารถไปแข่งขันในระดับสากลได้อีกด้วย” บุญศิริเน้นย้ำถึงความสำคัญของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันต่อองค์กรยุคใหม่ แต่บุญศิริมองว่ากระบวนการสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันนั้น จำเป็นต้องเริ่มจากการวางกลยุทธ์ พร้อมมองหาเทคโนโลยีหรือโซลูชันที่เหมาะสมมาใช้ในการพัฒนาองค์กร ซึ่งแน่นอนว่าจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยวางกลยุทธ์ และจับคู่เครือข่ายทางเทคโนโลยี เพื่อเป็น “ทางลัด” สำหรับการเตรียมความพร้อมให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปได้อย่างเติบโตและยั่งยืนในยุคดิจิทัลนี้ “สเฟียร์เอท” จึงถือโอกาสนี้เข้ามาเป็นตัวกลางและ “ทางลัด” ให้กับองค์กรต่างๆ เพื่อผลักดันให้ธุรกิจไทยเติบโตต่อไปได้ในยุคแห่งดิจิทัล โดยวางโพสิชันตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวางกลยุทธ์ที่เน้นเทคโนโลยี เป็นที่ปรึกษาในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เฟ้นหาเทคโนโลยีและจับคู่ทางธุรกิจทั้งในและจากต่างประเทศ (Tech Scouting & Business Matching) โดยมีจุดแข็งด้านพันธมิตรที่มีอยู่ในหลายประเทศ

Read More

GWM เล็งขึ้นแท่นผู้นำรถยนต์ไฟฟ้าในไทย เดินเครื่องเต็มกำลัง หลังตลาดมีแนวโน้มสดใส

ปัจจุบันผู้บริโภคในไทยเริ่มหันมาใช้ “รถยนต์ไฟฟ้า” แทนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลกันมากขึ้น เพื่อเป็นการลดการปล่อยคาร์บอนและสร้างมลพิษทางอากาศ ทำให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามาแรงอย่างต่อเนื่อง ค่ายรถยนต์ทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ต่างทยอยเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ เพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาดก้อนโต ตัวเลขที่น่าสนใจจากงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2021 พบว่า ภายในงานมียอดจองรถยนต์ทั้งสิ้น 31,583 คัน และยอดจองรถมอเตอร์ไซต์อีกกว่า 3,000 คัน ในจำนวนยอดจองรถยนต์ทั้งหมดนั้น 25% เป็นรถยนต์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนหรือร่วมขับเคลื่อน โดยแบ่งเป็นกลุ่มรถไฮบริด 70% กลุ่มรถปลั๊ก-อิน ไฮบริด 17% และรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV 13% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนเทรนด์ของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า ทิศทางการแข่งขันในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ของค่ายรถต่างๆ ทั้งญี่ปุ่น จีน และตะวันตกคึกคักมากขึ้น และในอนาคตรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่จะกลายมาเป็นรถยนต์มาตรฐานใหม่แทนที่รถยนต์ใช้น้ำมันนั้นก็ใกล้เข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งภาครัฐของไทยเองก็มีมาตรการออกมาเพื่อสนับสนุนให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เพื่อทำให้ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าลดลงมาอยู่ในระดับที่จับต้องได้มากขึ้น ทั้งนโยบาย 30@30 ที่ตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ

Read More