Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 5)

ทรุ้มพ์ฟ เดินหน้าสู่อนาคต ปักหมุดสร้างโชว์รูมในไทย

อุตสาหกรรมเหล็กในปีที่ผ่านมาการบริโภคเหล็กประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในงานก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชน ในปี 2567 มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมเหล็กจะมีแนวโน้มเติบโต ปัจจัยหลักมาจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ วิจัยกรุงศรีประเมินว่าในช่วงปี 2567-2569 ภาครัฐมีแนวโน้มเร่งรัดการดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่องทั้งโครงการเดิมและโครงการใหม่ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ ตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยปี 2566-2570 ในส่วนของกระทรวงคมนาคมถูกกำหนดไว้ 112 โครงการวงเงินลงทุน 9.8 แสนล้านบาท นอกจากนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นจากค่ายรถยนต์ต่างชาติที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทย ทั้งหมดน่าจะส่งผลให้อุตสาหกรรมเหล็กในไทยขยายตัวขึ้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ หรือยอดการบริโภคเหล็กทั้งปีน่าจะอยู่ที่ 17 ล้านตัน ซึ่งเป็นการคาดการณ์ของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมเหล็กจำเป็นต้องผูกโยงอยู่กับอุตสาหกรรมหรือธุรกิจอื่นๆ ซึ่งหากจะมองว่าอุตสาหกรรมเหล็กแปรรูป คืออุตสาหกรรมปลายน้ำก็คงจะไม่ผิดนัก แม้การเติบโตของอุตสาหกรรมยังต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากอุตสาหกรรมอื่น ทว่า ทรุ้มพ์ฟ ในฐานะผู้นำนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการขึ้นรูป โลหะแผ่น ยังมุ่งมั่นที่จะขยายตัวกรุยทางเพื่อการเติบโตโดยเฉพาะในไทย ทรุ้มพ์ฟ ดำเนินธุรกิจมา 100 ปีในประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักรเพื่อการแปรรูปโลหะแผ่น เทคโนโลยีเลเซอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ลูกค้าส่วนใหญ่ของทรุ้มพ์ฟมีอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม แต่การเติบโตที่ผ่านมาของทรุ้มพ์ฟดูจะไม่เพียงพอ การปักหมุดเลือกไทยเป็นโชว์รูมแห่งแรก

Read More

แดรี่ควีน ยืนหนึ่งมัดใจคนไทย พร้อมลุยศึกไอศกรีม Soft Serve

ตลาดไอศกรีม Soft Serve ที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 25,000 ล้านบาท ด้วยมูลค่าตลาดที่สูงทำให้ศึกนี้ไม่เบาเหมือนชื่อ ด้วยความที่เป็นสินค้า Mass แต่กลับสร้าง Volume ในการขายได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีผู้เล่นหน้าใหม่ทั้งจากในไทยและต่างประเทศ ตบเท้าเข้ามาชิมลางในตลาดนี้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าตลาดนี้จะมีผู้เล่นไม่มาก แต่กลับสร้างสีสันให้ตลาดไอศกรีม Soft Serve ได้อย่างน่าสนใจ บางแบรนด์ที่ถือกำเนิดจากผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เป็นเจ้าตลาดในค้าปลีก แต่กลับไม่สามารถยืนระยะอยู่ได้นานและปิดตัวลงในช่วงวิกฤตโควิด นอกนั้นเป็นเพียงผู้ประกอบการรายเล็ก หรือระดับ Local Business ทว่า ไม่นานมานี้กลับมีแบรนด์ที่มีต้นกำเนิดจากดินแดนมังกรอย่าง มี่เสว่ย (Mixue) ที่กำลังสยายปีก และมีแผนที่จะขยายสาขาในไทยใน 3 ปีให้ได้ 2,000 สาขา โดยปัจจุบันมีสาขาในจีนมากกว่า 25,000 สาขา และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 3,000 สาขา แต่การเป็นเจ้าตลาดในไทย แดรี่ควีนอาจไม่ยี่หระนัก เมื่อตลาดนี้มีคู่แข่งที่กำลังถูกจับตามอง และคนรุ่นใหม่เริ่มให้การยอมรับ นั่นเพราะการถือครองส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่า 30-40 เปอร์เซ็นต์ ทำให้แดรี่ควีนยังคงมีภาษีดีกว่า การเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การยืนระยะในฐานะเบอร์หนึ่งตลอดไปอาจเป็นสิ่งที่แดรี่ควีนต้องงัดกลยุทธ์เข้ามาสู้ในศึกสำคัญนี้ ธนกฤต กิตติพนาชนม์ ผู้จัดการทั่วไป

Read More

การเติบโตของแอกซ่าประกันภัย และนโยบายความยั่งยืน

การเติบโตของเบี้ยประกันภัยในไตรมาส 3 ปี 2566 เป็นอีกหนึ่งสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในมุมมองของ คปภ. หรือคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยมองว่าธุรกิจประกันภัยมีความเข้มแข็ง โดยเห็นได้จากการที่ธุรกิจมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน และมีอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยของธุรกิจประกันชีวิต 3.92% ส่วนธุรกิจประกันวินาศภัย มีอัตราการเติบโต 5.16% โดยคาดการณ์ว่า ณ สิ้นปี 2566 เบี้ยประกันจะอยู่ที่ 891,621-927,377 ล้านบาท ชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยมุมมองต่อธุรกิจประกันภัยว่า “ในช่วง 4 ปีนับจากนี้ไป อยากเห็นอุตสาหกรรมประกันภัยมีความมั่นคง มั่งคั่ง และมุ่งเน้นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยของประชาชนอย่างยั่งยืน และสนับสนุนประกันภัยให้เป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการบริหารความเสี่ยงทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม” การเติบโตของเบี้ยประกันจากข้อมูลของ คปภ. สอดคล้องกับผลการดำเนินงานของแอกซ่าประกันภัย ในปีที่ผ่านมา มีการเติบโต 15% ซึ่งตัวเลขเบี้ยประกันมีการเติบโตสูงถึง 5.7 พันล้านบาท โดยเฉพาะประกันสุขภาพที่มีการเติบโตเป็น 2 เท่า โคลด เซนย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอกซ่าประกันภัย

Read More

ส่องอาณาจักรหลายแสนล้าน “กลุ่มเซ็นทรัล” ธุรกิจในมือตระกูลจิราธิวัฒน์

ตระกูลจิราธิวัฒน์ เป็นหนึ่งในตระกูลที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดบ่อยครั้งเมื่อมีความเคลื่อนไหวในด้านธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวธุรกิจใหม่ภายใต้ชื่อบริษัท “เซ็นทรัล” ที่ครอบคลุมธุรกิจอยู่ใน 3 กลุ่มใหญ่ อย่าง เซ็นทรัลพัฒนา เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือ โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา อย่างล่าสุดที่คนในตระกูลจิราธิวัฒน์ ซึ่งเป็นทายาทเจน 3 ของตระกูล ตัดสินใจเปิดธุรกิจบริหารจัดการกองทุน Private Equity ภายใต้การบริหารงานโดย ภูมิ จิราธิวัฒน์ ซึ่งบริษัทนี้เป็นการนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด การเปิดธุรกิจใหม่ของทายาทจิราธิวัฒน์เป็นภาพสะท้อนแนวคิดที่ถูกส่งต่อมาจากดีเอ็นเอในการทำธุรกิจของตระกูลจิราธิวัฒน์ วันนี้ธุรกิจในกลุ่มเซ็นทรัลมีมูลค่าประมาณ 600,000 ล้านบาท โดยมาจาก บริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPNที่มีมูลค่าประมาณ 294,000 ล้านบาท เป็นผู้พัฒนาและให้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้า และธุรกิจอื่น เช่น อาคารสำนักงาน โรงแรม ที่พักอาศัย บริหารงานโดย วัลยา จิราธิวัฒน์ จังหวะก้าวของการขยายอาณาจักรของ CPN มีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการขยายห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ในหลายพื้นที่เพื่อให้ครอบคลุมการขยายตัวของประชากรและเมือง นอกจากนี้ ยังเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของ

Read More

ภูมิ จิราธิวัฒน์ เปิดตัว ซีจี แคปปิตอล ตั้งกองทุน Private Equity หมื่นล้าน

“วิกฤตโควิด เรามองว่าเป็นโอกาส ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ในช่วงปี 2562 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนั้นสูงถึง 40 ล้านคน แต่ในปี 2564 ลดลงอย่างมากเหลือแค่ 4 แสนคน และปีที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวขยับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 28 ล้านคน แต่ทุกครั้งที่ไทยต้องเจอวิกฤต การท่องเที่ยวจะกลับมาได้เสมอ นี่จึงเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว” ภูมิ จิราธิวัฒน์ ทายาทเจน 3 ของตระกูลจิราธิวัฒน์ ผู้มีดีเอ็นเอในการทำธุรกิจอย่างเต็มตัว ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Head of Hotels and Alternative Investments ของบริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) ตัดสินใจเปิดตัว ซีจี แคปปิตอล (CG Capital) บริษัทที่ทำหน้าที่บริหารจัดการกองทุนในรูปแบบ Private Equity ด้วยมูลค่าการลงทุนเริ่มต้น 10,000 ล้านบาท พร้อมบอกเล่าประสบการณ์การทำงานก่อนจะเข้ามาทำงานในเครือเซ็นทรัล “เมื่อ

Read More

โอกาสการฟื้นตัวและความท้าทาย ของธุรกิจรับสร้างบ้านปี 67

แม้ว่าในปีที่ผ่านมาตลาดอสังหาริมทรัพย์จะยังคงมีการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องของผู้พัฒนาโครงการ นั่นเป็นไปเพื่อสร้างให้เกิดแรงกระเพื่อมของยอดขาย แม้ว่าสถานการณ์กำลังซื้อที่แท้จริงนั้นยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ก็ตาม สิ่งที่ตามมาคือการสวนทางกันของปริมาณซัปพลายที่มีอยู่ในตลาด โดยปี 2566 มีปริมาณอยู่ที่ 9.4 หมื่นหน่วย แต่ความต้องการ รวมถึงความสามารถในการเป็นเจ้าของอสังหาฯ ของผู้บริโภคไม่ได้เติบโตไปในทิศทางเดียวกัน และสิ่งที่น่าเป็นกังวลสำหรับอุตสาหกรรมอสังหาฯ ในปี 2567 คือ การเพิ่มจำนวนซัปพลายที่จะเข้าสู่ตลาดอีกกว่าแสนยูนิต วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารและรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ คาดการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยปี 2567จะฟื้นตัวขึ้น โดยเป็นผลมาจากการปรับตัวของผู้ประกอบการในตลาดมีการปรับสมดุลระหว่างสินค้าเหลือขายและสินค้าเข้าใหม่ ซึ่งคาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ 108,886 ยูนิต เพิ่มขึ้น 13.7% โดยบ้านจัดสรรยังเป็นสัดส่วนหลัก 63,794 ยูนิต ส่วนคอนโดมิเนียม อยู่ที่ 45,091 ยูนิต และคาดว่าจะมียอดขายใหม่จำนวน 109,184 ยูนิต เพิ่มขึ้น 36.1% แบ่งเป็นบ้านจัดสรร 62,862 ยูนิต ที่เหลืออีก 46,323 ยูนิต เป็นคอนโดฯ ขณะที่อัตราการดูดซับของการตลาดคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3% และมีหน่วยเหลือขายทั้งสิ้น 197,984 ยูนิต

Read More

ทิศทางตลาดแรงงานไทยปี 2024 กับ 5 สายงานยอดฮิต

การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถือเป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งแม้จะไม่สามารถดำเนินตามนโยบายของพรรคเพื่อไทยตอนหาเสียง ที่ประกาศว่าหากได้เป็นรัฐบาลจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 600 บาทต่อวัน โดยการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่จะเพิ่มขึ้น 2-16 บาทต่อวัน ตามมติคณะกรรมการค่าจ้าง โดยจังหวัดที่ได้ค่าแรงขั้นต่ำสูงสุด 370 บาทต่อวันคือ จังหวัดภูเก็ต ขณะที่พื้นที่กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 363 บาทต่อวัน เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC อย่างจังหวัดชลบุรีและระยอง ค่าแรงขั้นต่ำ 361 บาทต่อวัน และจังหวัดที่ได้ค่าแรงขั้นต่ำน้อยที่สุด 330 บาทต่อวัน ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา แม้ว่าในช่วงการหารือเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำจะมีข้อเสนอให้ปรับขึ้นเป็น 400 บาทต่อวัน แต่ยังเป็นอัตราที่สูงเกินไป แม้ว่าผู้ประกอบการและนายจ้างส่วนใหญ่มีความเห็นพ้องว่าควรขึ้นค่าแรงก็ตาม ขณะที่สถานการณ์การจ้างงานในไทย ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทยมองว่า แนวโน้มการจ้างงานใหม่ในปี 2567 ยังมีความเปราะบางตามทิศทางเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวค่อนข้างช้าตามทิศทางเศรษฐกิจโลก

Read More

ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว ติดปีกธุรกิจ สู่สตรีทฟู้ดมหาชน

ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยว อาหารสามัญประจำเมืองที่คนไทยมักนึกถึงและต้องมีสักหนึ่งมื้อที่จะถูกเลือกในหนึ่งวัน ทั้งสองเมนูสามารถหารับประทานได้ไม่ยาก โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยวที่มีทั้งร้านประเภทเจ้าของดำเนินกิจการเอง และแฟรนไชส์ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ร้านบะหมี่ป้ายสีเหลืองอีกหนึ่งแฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยวที่มักถูกจัดอันดับให้เป็นแฟรนไชส์ที่น่าลงทุน ปัจจุบันมีแฟรนไชส์จำนวน 4,500 สาขา จากจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2537 ที่พันธ์รบ กำลา ประธานบริหาร ตั้งต้นพัฒนาสูตรเส้นบะหมี่ น้ำซุป เมื่อมองเห็นช่องทางการตลาดจึงดำเนินกิจการในรูปแบบแฟรนไชส์ พร้อมสร้างระบบการกระจายสินค้าให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2543 ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท ภายใต้ชื่อบริษัท ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว จำกัด ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนเป็น 150 ล้านบาท เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 และแจ้งเปลี่ยนชื่อบริษัทอีกครั้งเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 เป็นบริษัท ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด “เมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว คาดว่าจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 10,000

Read More

ชัยวัฒน์ นันทิรุธ จากความไม่รู้ สู่การเป็นผู้นำบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร

"ถ้าผมรู้ ผมคงไม่ทำ แต่เพราะผมไม่รู้ไง" วรรคทองของ "ชัยวัฒน์ นันทิรุจ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอกา โกลบอล จำกัด ที่ท้าทายตัวเองด้วยการเดินออกจากธุรกิจของครอบครัวซึ่งในขณะนั้นตัวเองเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ของบริษัทแป้งมันสำปะหลังชั้นนำของไทย ก่อนจะเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองเมื่อปี 2546 ด้วยแรงบันดาลใจเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร ที่ยังไม่มีใครทำในเวลานั้น “การอยู่ในธุรกิจของครอบครัวก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เราก็อยากออกมาทำอะไรด้วยตัวเอง ต้องการมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เวลานั้นมองว่า นวัตกรรมที่เกี่ยวกับแพ็กเกจจิ้งยังไม่มีคนทำ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นการตัดสินใจที่ยาก และถ้ารู้ว่าช่วงเริ่มต้นจะประสบปัญหาการขาดทุน ต้องรอคอย ถ้าผมรู้ ผมคงไม่ทำ แต่คิดว่าไหนๆ ก็ทำแล้ว การทำธุรกิจเหมือนการเดินทาง ไม่ใช่ทุกคนที่ฉลาด เก่ง แล้วจะประสบความสำเร็จ บางครั้งมันอาจจะเป็นพรหมลิขิต เรารู้ว่ามันยากแต่เรามองเห็น Volume เรามองเห็นอนาคต ก็เลยต้องสู้ไปจนมาถึงทุกวันนี้ แต่ผมเชื่อว่าคนที่เก่ง อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เขาอาจจะไม่ทำก็ได้ เพราะมันยาก สำหรับผมอาจจะฟลุกก็ได้” การมองเห็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต ทำให้ชัยวัฒน์ตัดสินใจจับมือกับนักลงทุนจากออสเตรีย เพื่อลงทุนในบริษัท ไทยออสโตร โมลด์ จำกัด

Read More

อุตสาหกรรมรถ EV ไทยบูม สโกมาดิ ขอสู้ศึกตลาดจักรยานยนต์ไฟฟ้า

มหกรรมยานยนต์ หรือ งานมอเตอร์ เอ็กซ์โป 2023 อาจเป็นดัชนีชี้วัดทิศทางและแนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในปัจจุบันและอนาคต ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังต้องเฝ้าระวังทั้งจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ภาวะเงินเฟ้อ กำลังซื้อภาคครัวเรือนที่เริ่มแผ่วลงและหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น ข้อมูลจากวิจัยกรุงศรี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงปี 2566-2568 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากปัจจัยหนุน  ได้แก่ 1. ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการกระเตื้องขึ้นของกำลังซื้อท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่น่าจะทยอยปรับลดลง  2. ปัญหาขาดแคลนชิปแม้จะยังคงมีอยู่เป็นระยะในปี 2566 ภายใต้แรงกดดันของสงครามเทคโนโลยี โดยเฉพาะ สหรัฐฯ และจีน แต่คาดว่าจะคลี่คลายลงในช่วงปี 2567-2568 หลังจากอุปทานชิปเริ่มเข้าสู่ตลาดโลกมากขึ้นจากการเร่งลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตชิปในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ เยอรมนี และญี่ปุ่น 3. นโยบายอุดหนุนการใช้รถไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ BEV ยังมีต่อเนื่อง 4. การเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการของภาครัฐ และการขยายตัวต่อเนื่องของธุรกิจค้าปลีกออนไลน์และโลจิสติกส์ ตลอดจนการฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยวหลังการเปิดประเทศมากขึ้น ช่วยหนุนความต้องการรถเพื่อการพาณิชย์ และ 5. ผู้ประกอบการมีแผนเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่เพื่อกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าตอบรับนโยบายอุดหนุนของภาครัฐ ส่วนการส่งออก คาดว่าในปี 2566 จะยังเติบโตในอัตราไม่สูงนักตามทิศทางกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าที่ยังคงซบเซาก่อนที่จะกระเตื้องขึ้นในปี 2567-2568 ภายใต้ความเสี่ยงจากนโยบายลดการใช้รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน ของหลายประเทศ ในขณะที่การส่งออกรถยนต์ของไทยส่วนใหญ่ยังเป็น ICE หรือ

Read More