Home > Suporn Sae-tang (Page 55)

ซีพีผนึกยักษ์ “เบลลิซิโอฟู้ด” เร่งเครื่องเจาะตลาดอเมริกา

“ปีนี้เป็นปีที่จะเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับไทยในโอกาสครบรอบ 200 ปี และบริษัทไทย คือ ซีพี ได้ต่อยอดเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่มีมายาวนาน 200 ปีนี้ ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ชื่อของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ Boston Market ได้รับการตั้งตามเมืองบอสตัน ซึ่งเป็นเมืองที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพ การเกิดขึ้นของงานในครั้งนี้จะทำให้เห็นว่าไทยสามารถเป็นครัวโลกได้” กลิน ที. เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กล่าวตอนหนึ่งในงานแถลงข่าวเปิดตัวอาหารแช่แข็ง “Boston Market” ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เมื่อวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา ณ บ้านพักเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โดยมีธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) พร้อมผู้บริหารในเครือร่วมงานอย่างคับคั่ง ภาพในวันนั้นสะท้อนนัยมากมาย ทั้งความสัมพันธ์อันแนบแน่นทางการค้าและการทูต โดยเฉพาะก้าวย่างสำคัญของซีพีในการเจาะตลาดขนาดยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา หลังจากเริ่มต้นกลยุทธ์สำคัญตั้งแต่ช่วงปลายปี 2559 ให้บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ทุ่มเม็ดเงินกว่า 38,000 ล้านบาท ซื้อหุ้น 100% ของบริษัท

Read More

เปิดใจ ดร.ฝน ศิษย์เอก “ธนินท์” ปั้นไก่ทอดเจนใหม่ ฟรายด์เดส์

ไก่ทอด “ฟรายด์เดส์” (Fried Days) ผลผลิต 1 ใน 10 แบรนด์ที่เปิดตัวเข้ามาบุกสมรภูมิร้านอาหารภายใต้โครงการสร้างผู้นำผ่านธุรกิจเพื่ออนาคตของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งคัดเลือกจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ Young Talents ระดับหัวกะทิตามแนวคิดของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ กำลังสร้างปรากฏการณ์น่าตื่นเต้น โดยเฉพาะการฉีกกลยุทธ์ร้านไก่ทอดแบบหลุดกรอบชนิดที่คู่แข่งยักษ์ใหญ่ทั้งเคเอฟซีและแมคโดนัลด์ต้องเตรียมรับมือสู้ศึกครั้งใหญ่ เพราะ “ฟรายด์เดส์” มีทั้งทุนยักษ์ใหญ่ระดับ “ซีพี” เป็นผู้หนุนหลังบวกกับไอเดียการตลาดแนวใหม่จากกลุ่ม Young Talents ที่มีวรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ หรือ ดร.ฝน กรรมการผู้จัดการ บริษัท วายแอนด์โอ จำกัด เป็นแกนหลักปลุกปั้นแบรนด์ ในฐานะศิษย์เอกที่เจ้าสัวธนินท์ลงมือถ่ายทอดวิชาอย่างเข้มข้น พร้อมสั่งให้เดินทางติดตามไปศึกษาธุรกิจร้านอาหารชื่อดังทั่วโลกอยู่เป็นประจำ วรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ หรือ ดร.ฝน เปิดใจกับ “ผู้จัดการ360” ว่า ได้โอกาสจากประธานธนินท์เข้ามาร่วมในโครงการ Young Talents เมื่ออายุ 29 ปี โดยก่อนหน้านั้น เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Read More

ธนินท์ เจียรวนนท์ ลุยภารกิจใหญ่ ปั้นซีอีโอในอนาคต

ธนินท์ เจียรวนนท์ ทุ่มทั้งเวลาและเงินทุนสร้าง “สถาบันผู้นำ” ลุยภารกิจใหญ่ ปั้นผู้นำรุ่นใหม่และซีอีโอในอนาคต เพื่อรองรับอาณาจักรธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่มีการลงทุนในเกือบ 20 ประเทศ มีการค้าระหว่างประเทศอีกมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ใน 8 สายกลุ่มธุรกิจ ทั้งธุรกิจเกษตรอาหาร ธุรกิจการตลาดและลอจิสติกส์ ธุรกิจโทรคมนาคมและมีเดีย ธุรกิจเวชภัณฑ์ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมหนัก ธุรกิจสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจการเงิน มูลค่าเม็ดเงินจำนวนมหาศาล “อนาคตของซีพี ที่สำคัญที่สุดคือ คน ซีพีจะยืนหยัดมั่นคงเหมือนดาวฤกษ์ได้ต้องมีผู้นำรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งจะนำพาให้คนในเครือฯ พร้อมที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกัน” นั่นถือเป็นวรรคทองและหัวใจสำคัญที่สุด ซึ่งธนินท์เคยกล่าวผ่านสื่อ ย้ำถึงความจำเป็นในการลงทุนเกือบ 4,000 ล้านบาท ตั้งสถาบันเพื่อการพัฒนาผู้นำ C.P. Leadership Institute ในพื้นที่ 145 ไร่ ตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยศึกษาข้อมูลเรื่องการสร้างคนที่ดีที่สุดขององค์กรชั้นนำระดับโลก และนำคณะผู้บริหารระดับสูงไปเยี่ยมชมองค์กรชั้นนำเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นบริษัท จีอี บริษัทซัมซุง และบริษัทโบอิง

Read More

ซีพีงัดแผน Young Talent บุก 10 แบรนด์ ผุดดีลิเวอรี่ “แดชดี”

“ท่านประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ บอกว่า โครงการสร้างผู้นำในธุรกิจเพื่ออนาคตเป็นการออกค่าเล่าเรียน ไม่ได้มองว่า จะได้กำไรตั้งแต่โมเดลแรก แต่วันหนึ่งจะประสบความสำเร็จ และสิ่งที่ได้มากกว่าร้านอาหาร คือ ผู้นำ เห็นใครมุมานะ ใครไม่ย่อท้อ ใครคิดมีชั้นเชิง คนเหล่านี้ประมาณค่าไม่ได้ เขาอาจทำธุรกิจอาหารไม่สำเร็จ แต่อาจไปสำเร็จในธุรกิจเทเลคอม เราเห็นแววจากการทำธุรกิจนี้ และไม่ได้มีคอนแทร็กต์ผูกมัดต้องอยู่ซีพี มีสิทธิ์เลือกกันและกัน...” ดร.วรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วายแอนด์โอ จำกัด และรองผู้อำนวยการสถาบันผู้นำ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) หรือ C.P. Leadership Institute กล่าวถึงแนวคิดและเป้าหมายในโครงการสร้างผู้นำในธุรกิจเพื่ออนาคตของธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือซีพี ซึ่งเริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อปี 2560 และกำลังต่อยอดสร้างโมเดลธุรกิจที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มีอาชีพและสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจ ภายใต้โครงการปั้นเถ้าแก่น้อยสู่เวทีโลก โดยมีบริษัทวายแอนด์โอเป็นเวทีเปิดโอกาสให้ผู้นำรุ่นใหม่เหล่านี้เข้ามาประลองฝีมือชั้นเชิงการทำธุรกิจ ทั้งนี้ การค้นหาโมเดลธุรกิจต้นแบบจะเริ่มต้นจากการหาไอเดียของกลุ่มผู้นำคนรุ่นใหม่ หรือ Young Talent ซึ่งคัดเลือกจากกลุ่มนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่จากมหาวิทยาลัย ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงพนักงานในเครือซีพีที่มีอายุไม่เกิน 28 ปี เข้ามาทำงานร่วมกัน

Read More

ธุรกิจความงามพุ่งแสนล้าน “ยักษ์ใหญ่-หน้าใหม่” บุกหนัก

ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการ บริษัท วุฒิศักดิ์ กรุ๊ป จำกัด เคยออกมาเปิดเผยตัวเลขการเติบโตของธุรกิจเพื่อสุขภาพและความงามอย่างน่าตื่นเต้นว่า ถ้าวัดจากตลาดระดับโลกมีมูลค่ามากกว่า 900,000 ล้านบาท ตลาดอาเซียนมีมูลค่ามากถึง 500,000 ล้านบาท และในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 250,000 ล้านบาท โดยมีอัตราเติบโตต่อเนื่อง 15-20% ทุกปี ขณะเดียวกัน ในตัวเลขกว่า 250,000 ล้านบาท หยิบเฉพาะตลาดคลินิกความงาม มีมูลค่ามากกว่า 30,000 ล้านบาท และตลาดศัลยกรรมความงามอีก 30,000 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 ตลาดเติบโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พยายามผลักดันร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพ ระยะ 10 ปี โดยตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของโลก 4 ด้าน ได้แก่ ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) ศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical

Read More

บิวตี้แรงไม่หยุด แห่แตกไลน์ เกาะเทรนด์ดาวรุ่งทำเงิน

ปี 2561 ธุรกิจทางการแพทย์และความงามกลายเป็นกิจการดาวรุ่งของสำนักวิเคราะห์หลายๆ สถาบัน โดยเฉพาะศักยภาพการทำรายได้และกำไร มูลค่าเม็ดเงินในตลาดที่สูงถึง 250,000 ล้านบาท และเป็นหมวดหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก เมื่อเร็วๆ นี้ “หอการค้าโพล” ซึ่งประกาศกลุ่มธุรกิจ “ดาวรุ่ง-ดาวร่วง” ประจำทุกปี โดยผลสำรวจล่าสุดอาศัยข้อมูลภายใต้ปัจจัยทางเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มขยายตัว 4.2% ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น การลงทุนของภาครัฐยังต่อเนื่อง การท่องเที่ยวขยายตัว จะมีการเลือกตั้ง แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรดีขึ้น การส่งออกขยายตัว 4.3% และอัตราเงินเฟ้อที่ 1.6% ปรากฏว่า ธุรกิจดาวรุ่งในปี 2561 ใน 10 ธุรกิจ 5 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจการให้บริการด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและอุปกรณ์ (ผู้ให้บริการโครงข่าย), ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม, ธุรกิจ e-Commerce, ธุรกิจเครื่องสำอางและครีมบำรุงผิว, ธุรกิจด้านปิโตรเคมีและพลาสติก-ธุรกิจขนส่งและลอจิสติกส์ 5 อันดับต่อมา ได้แก่ ธุรกิจ Modern Trade-ธุรกิจบริการด้านการเงิน-ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม, ธุรกิจร้านขายยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์, ธุรกิจด้านการศึกษา-ธุรกิจเกี่ยวกับท่องเที่ยว, ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต-ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และบ้านเช่าหรือห้องเช่า-ธุรกิจโหราศาสตร์ เครื่องรางของขลัง,

Read More

วุฒิศักดิ์ กรุ๊ป เปิดศึกปีจอ ผุด W Hospital จิ๊กซอว์ชิ้นใหญ่

การเลื่อนแผนนำหุ้นบริษัท ดับบลิวซีไอ โฮลดิ้ง จำกัด (WCIH) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท วุฒิศักดิ์ คลินิก อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด (WCIG) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หลังจัดทัพปรับโครงสร้างการเงินและการบริหารครั้งใหญ่ เป้าหมายอยู่ที่การแต่งตัวสร้างผลการดำเนินงานในปี 2561 และต่อจิ๊กซอว์ทั้งหมด โดยเฉพาะโปรเจกต์ผุดโรงพยาบาล เพื่อรุกธุรกิจสุขภาพและความงามอย่างครบวงจร ชิงเม็ดเงินหลักแสนล้านบาท ทั้งในและต่างประเทศ อรรถวุฒิ จริงไธสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารวุฒิศักดิ์ กรุ๊ป ระบุว่า บริษัทเตรียมพร้อมเรื่องต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงเรื่องผลประกอบการและระยะเวลาที่เหมาะสม โดยคาดว่าจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างช้าที่สุดช่วงปี 2562-2563 หรือหากรายได้และกำไรเติบโตอย่างสวยหรู ทะลุเป้า บริษัทอาจเข้าจดทะเบียนภายในปี 2561 ก็เป็นได้ ทั้งนี้ ตามแผนการตลาดและการลงทุนในธุรกิจเพื่อสุขภาพและความงามในปี 2561 บริษัทยังเน้นการยกระดับพัฒนาธุรกิจสู่ Wuttisak Wellness World เป็นผู้นำธุรกิจสุขภาพและความงามอย่างครบวงจร 4 ด้าน ประกอบด้วย 1. Beauty & Wellness การให้บริการด้านสุขภาพและความงามด้วยนวัตกรรมใหม่ล่าสุด รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ 2. Wellness

Read More

ซีพี แตกแบรนด์พรึ่บ เจาะแฟรนไชส์แสนล้าน

คาดการณ์กันว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยล่าสุดมีเครือข่ายมากกว่า 90,000-100,000 ราย เกิดใหม่วันละ 20 แห่ง มีจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ต่ำกว่า 850-900 บริษัท และปี 2560 มีมูลค่าเม็ดเงินสูงถึง 200,000 ล้านบาท ที่สำคัญ ธุรกิจอาหารถือเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ยอดนิยมสูงสุด ซึ่งดูเหมือนว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ “ซีพี” ถือเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่ที่มีเครือข่ายร้านอาหารมากที่สุด ไม่นับรวมเครือข่ายแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” อีกหลายพันแห่ง ทั้งนี้ หากเจาะเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งเครือซีพีกำลังเร่งรุกขยายช่องทางอย่างหนัก เพื่อต่อยอดธุรกิจปลายน้ำนำผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปสู่มือผู้บริโภคครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จะอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ โดยมี 2 แบรนด์หลัก คือ กลุ่มห้าดาวและเชสเตอร์ ในกลุ่มห้าดาวนั้น ซีพีเอฟประกาศนโยบายและแผนลุยตลาดแฟรนไชส์อย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นปี 2560 เพราะถือเป็นธุรกิจแรกที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจผ่านโครงการ “เถ้าแก่เล็กธุรกิจห้าดาว” ตั้งแต่ปี 2543 ในรูปแบบแฟรนไชส์แบบ 100% ด้วยการร่วมทุนกับบริษัทในธุรกิจไมโครแฟรนไชส์ หรือธุรกิจเล็กที่เหมาะกับผู้ลงทุนที่มีเงินลงทุนไม่สูงมากนัก ประมาณ 15,000

Read More

ซีพีฟู้ดเวิลด์ บุกแหลก เปิดศึกบุฟเฟ่ต์ครบวงจร

“ซีพีเอฟ” ใช้เวลากว่า 4 ปี ปลุกปั้นธุรกิจศูนย์อาหาร “ซีพีฟู้ดเวิลด์” เพื่อเปิดช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสู่มือผู้บริโภค พร้อมๆ กับแตกไลน์เจาะ “ธุรกิจจัดเลี้ยง (Catering)” ทั้งรูปแบบการจัดเลี้ยงสไตล์บุฟเฟ่ต์ อาหารกล่อง มีลบ็อกซ์ สแน็กบ็อกซ์ และบริการอาหารเฉพาะกลุ่ม ซึ่งภาพรวมตลาดมีมูลค่าเม็ดเงินมากกว่า 62,000 ล้านบาท และกำลังเติบโตต่อเนื่องชนิดก้าวกระโดดด้วย ที่สำคัญ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ตั้งเป้าหมายสูงสุด ต้องการเป็น Food Organizer และ Food Service Provider ให้บริการด้านอาหารทุกรูปแบบ เจาะทุกตลาด และรองรับทุกความต้องการของผู้บริโภค ไม่ใช่แค่การผลิตสินค้าและเปิดหน้าร้านค้าปลีก อมร อำไพรุ่งเรือง รองกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ ซึ่งดูแลธุรกิจการให้บริการด้านอาหาร “ซีพี ฟู้ดเวิลด์” เปิดเผย “ผู้จัดการ 360” ว่า บริษัทต้องการชูความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจอาหารครบวงจร

Read More

ไฮเนเก้น ปักธงเซ็นทรัลเวิลด์ ทุ่ม Star Experience ขยายฐาน

“ไฮเนเก้น” ในฐานะผู้ผูกขาดกลุ่มเบียร์พรีเมียมเหมือนจะเจอศึกใหญ่อีกครั้ง แม้สงครามเบียร์มูลค่าเกือบ 170,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเซกเมนต์ตลาดพรีเมียมเพียง 5% ทิ้งห่างจากตลาดสแตนดาร์ดที่มีสัดส่วนสูงถึง 94% แต่กลุ่มเบียร์พรีเมียมมีอัตราเติบโตมากกว่า 7% เมื่อเทียบกับอีกกลุ่มที่ขยับเพิ่มแค่ 5% และ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ “สิงห์-ช้าง” ต่างต้องทุ่มงบเปิดศึกห้ำหั่นแย่งชิงยอดขายอย่างรุนแรงทำให้มาร์จินหดตัวตามต้นทุนการแข่งขันที่พุ่งสูง จนหันมาเร่งปรับพอร์ตขนานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวเบียร์ “สโนวี่ ไวเซ่น บาย เอส สามสาม” และนำเข้าเบียร์พรีเมียมจากฝรั่งเศส “โครเนนเบิร์ก” ของบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ หรือความพยายามปรับโฉมเบียร์ช้าง ทั้งบรรจุภัณฑ์สีเขียวและรสชาติอ่อนนุ่มของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ แน่นอนว่า ไฮเนเก้น ซึ่งกินส่วนแบ่งมากกว่า 80% มาอย่างยาวนานในตลาดเบียร์พรีเมียม จำเป็นต้องเร่งเปิดเกมรุกมากขึ้นในทุกรูปแบบ เพื่อรักษาเม็ดเงินและเร่งสร้างฐานลูกค้า โดยใช้ความได้เปรียบในแง่ความแข็งแกร่งของแบรนด์ ความแข็งแกร่งของฐานลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงและไลฟ์สไตล์เป็นเอกลักษณ์แตกต่างอย่างชัดเจน ภัททภาณี เอกะหิตานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์ไฮเนเก้น ในกลุ่มบริษัททีเอพี ยอมรับว่า ตลาดเบียร์พรีเมียมมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนของผู้เล่นหน้าใหม่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแบรนด์ไฮเนเก้นพุ่งเป้าสร้างความโดดเด่นและแตกต่างเหนือคู่แข่ง โดยเฉพาะช่วงปลายปีนี้ ซึ่งถือเป็นช่วงไฮซีซั่นและเทศกาลเฉลิมฉลอง บริษัทดึงเอากลยุทธ์ Seasonal Marketing หรือ

Read More