Home > manager360 (Page 371)

ไทยเบฟฮุบ SABECO จิ๊กซอว์สำคัญสู่เป้าหมาย 2020

กระแสลมหนาวที่พัดผ่านเข้ามาในช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองและเทศกาลแห่งความสุขในช่วงสิ้นปี 2560 สลับกับแสงแดดอบอุ่นที่มาพร้อมกับข่าวมหาอาณาจักรธุรกิจไทย ของตระกูลสิริวัฒนภักดี ชนะประมูลเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 54 ในบริษัท ไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์ป (Saigon Alcohol Beer and Beverages Corporation: SABECO) ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ของเวียดนามด้วยวงเงินมากถึง 4.84 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.6 แสนล้านบาท กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางธุรกิจ และสถานภาพของไทย เบฟเวอเรจ ให้เข้าใกล้สู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ 2020 ยิ่งขึ้นไปอีก การประมูลขายสิทธิการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน SABECO ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลเวียดนามในครั้งนี้ นับเป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มีมูลค่ามากที่สุดของประเทศที่ยังปกครองและบริหารประเทศภายใต้แนวคิดสังคมนิยมแห่งนี้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ตลอดเวลาที่ผ่านมาการประมูลสิทธิการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน SABECO ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัดการถือครองหุ้นของนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติถือครองหุ้นได้เพียงร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยก่อนหน้านี้มีผู้ประกอบการจากต่างประเทศถือครองหุ้นใน SABECO รวมแล้วประมาณร้อยละ 10 ซึ่งรวมถึงไฮเนเก้นที่ถือหุ้นใน SABECO อยู่ร้อยละ 5 ทำให้เพดานการถือหุ้นของผู้ประมูลจากต่างประเทศถูกจำกัดเพดานไว้ที่ร้อยละ 39

Read More

มิชลินสตาร์ บนวัฒนธรรมอาหารไทย

ข่าวการประกาศผลและมอบรางวัลมิชลินสตาร์ ให้กับร้านอาหารไทยเมื่อไม่นานมานี้ ดูจะก่อให้เกิดความตื่นตัว และกระแสวิพากษ์อย่างกว้างขวางพอสมควร ทั้งในประเด็นที่มาที่ไปของการมอบรางวัล และมาตรฐานความเป็นไปของอาหารไทยที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับการผลักดันให้เป็นครัวของโลก ในระดับนานาชาติไม่น้อยเลย ประเด็นที่น่าสนใจมากประการหนึ่งจากปรากฏการณ์ มิชลินสตาร์ รอบล่าสุดอยู่ที่การกำหนดนิยามความหมายของคำว่า สตรีทฟู้ด หรือร้านอาหารริมทาง ที่ดูจะเลื่อนไหลไปจากความหมายทั่วไปจากเดิมที่สังคมไทยคุ้นชิน ไปสู่มาตรฐานใหม่ และอาจนำไปสู่การบริหารจัดการในอนาคต ก่อนหน้านี้ในปี 2559 ที่ผ่านมา สำนักข่าว CNN เคยจัดอันดับเมืองที่มีอาหารริมทาง หรือสตรีทฟู้ด ที่ดีที่สุดในโลก จาก 23 เมืองของโลก ก่อนที่จะระบุให้กรุงเทพมหานคร เป็นอันดับหนึ่งของเมืองสตรีทฟู้ด ซึ่งทำให้กิจกรรมของร้านอาหารริมทางในสังคมไทยตื่นตัวขึ้นมาระยะหนึ่ง ควบคู่กับความพยายามที่จะจัดระเบียบและวางหลักเกณฑ์ด้านสุขอนามัยควบคู่ไปด้วย ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก็พยายามหยิบยกกรณีดังกล่าวขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในการโฆษณาประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวไทย เพื่อเพิ่มสีสันและความหลากหลาย ที่ทำให้แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ของไทยเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วทุกมุมโลกมากยิ่งขึ้น และเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าเมืองไทยอุดมด้วยอาหารการกินตลอด 24 ชั่วโมง สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือการยอมรับสถานภาพของอาหารริมทาง ในฐานะที่เป็นมากกว่าส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมการบริโภค หากแต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่หนุนนำความเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่แวดล้อมไปด้วยแรงงานนอกระบบจำนวนมหาศาล เป็นการค้าและเป็นอาชีพอิสระประเภทหนึ่งในฐานะที่เป็น informal sector ขนาดเล็กที่บางครั้งเรียกว่า “ธุรกิจขนาดจิ๋ว” หรือ Micro-enterprise ที่ช่วยหนุนนำและขับเคลื่อนองคาพยพของกลไกเศรษฐกิจหลักมานานก่อนที่จะเกิดคำศัพท์ยอดฮิตไม่ว่าจะเป็น start-up หรือไทยแลนด์ 4.0 ในปัจจุบัน ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ

Read More

กลุ่มมิตรผล จับมือ โอแลม อินเตอร์เนชั่นแนล เดินหน้าร่วมทุนพัฒนาโรงงานน้ำตาลทรายและลงทุนในโรงงานน้ำตาลรีไฟน์ที่อินโดนีเซีย

กลุ่มมิตรผล นำโดย นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และนายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ จับมือ บริษัท โอแลม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด นำโดย Mr. Sunny George Verghese ประธานกลุ่มเจ้าหน้าที่บริหาร และ Mr. Shekhar Anantharaman ประธานกลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ ในพิธีลงนามการร่วมทุนในธุรกิจน้ำตาลกับโอแลม กลุ่มมิตรผล ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก และอันดับ 1 ของเอเชีย จับมือกับบริษัท โอแลม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (โอแลม) ผู้นำด้านธุรกิจการเกษตรซึ่งดำเนินธุรกิจใน 70 กว่าประเทศทั่วโลก ประกาศความร่วมมือเพื่อลงทุนในธุรกิจน้ำตาลของโอแลมที่ประเทศอินโดนีเซีย กลุ่มมิตรผล เข้าถือหุ้น 50% ในบริษัท ฟาร์อีสต์ อะกริ จำกัด ของโอแลม ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจโรงงานน้ำตาลรีไฟน์ในประเทศอินโดนีเชีย ภายใต้ชื่อ PT

Read More

แกรมมี่พร้อมเป็นผู้นำด้านการสร้างคอนเทนต์เต็มรูปแบบแห่งยุค

บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านธุรกิจเพลง ผู้ผลิตคอนเทนต์สื่อและทีวีดิจิทัล ผ่านความเปลี่ยนแปลงในวงการเพลงมาทุกยุค ทุกสมัย ด้วยวิสัยทัศน์ ของนักบริหารจากรุ่นสู่รุ่น จนปัจจุบัน จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ยังคงดำเนินธุรกิจหลักในการเป็นผู้ผลิตเพลง จากวิสัยทัศน์การบริหารงานของ 3 ผู้บริหาร 3 สไตล์ในกลุ่มธุรกิจเพลง ที่สามารถทำให้ธุรกิจเพลงของแกรมมี่สามารถครองเป็นอันดับหนึ่งของตลาดเพลงเมืองไทยได้อย่างแข็งแกร่ง ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “แกรมมี่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเปลี่ยนในแต่ละยุคสมัยของเจเนอเรชั่นไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เจเนอเรชั่นเดิมเคยสร้างไว้ แต่เราต้องต่อยอดความสำเร็จจากสิ่งที่แกรมมี่เป็นเบอร์หนึ่ง และผลักดันให้อุตสาหกรรมเพลงให้ก้าวทันการแข่งขันในยุคที่เป็นดิจิทัลทั้งระบบ แต่ในอนาคตจะสามารถสร้างรายได้ให้ยั่งยืนอยู่ได้อย่างไรนั่นคือเป้าหมาย จะเห็นได้ว่ายุคของสินค้าเพลง (Physical Products) มันหดตัวทุกวัน แต่เราก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้อยู่เป็นหลักในตลาดเพลง ซึ่งเราต้องตามพฤติกรรมผู้บริโภคให้ทัน หรือดีที่สุดคือสามารถที่จะนำหน้าผู้บริโภคให้ได้ จากการที่ Digital และ Streaming เติบโตขึ้น แสดงให้เห็นว่า

Read More

เยรูซาเลม: สันติภาพบนระเบิดเวลาลูกใหม่

การประกาศยอมรับและรับรองนครเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล โดย Donald Trump ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เมื่อไม่นานมานี้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อเนื่องในวงการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลางแล้ว กรณีดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นระเบิดเวลาครั้งใหม่ที่พร้อมรอการจุดชนวนและส่งผลสะเทือนในวงกว้างอย่างที่ไม่มีผู้ใดคาดการณ์ถึงผลที่จะติดตามมาได้ ท่วงทำนองของโดนัลด์ ทรัมป์ ในครั้งนี้ นับเป็นการปรับเปลี่ยนจุดยืนและแนวทางแห่งนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่ดำเนินมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ในกรณีว่าด้วยสันติภาพในตะวันออกกลาง ที่ดูจะมีจุดศูนย์กลางแห่งความขัดแย้งอยู่ที่กรณีพิพาท อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ไปอย่างสิ้นเชิง หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง การประกาศรับรองสถานะของนครเยรูซาเลม เป็นการดำเนินนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ ตามที่เคยประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงว่าจะย้ายสถานทูตสหรัฐฯ จากกรุงเทล อาวีฟ ไปยังนครเยรูซาเลม ซึ่งเป็นสิ่งที่อิสราเอลปรารถนามาเป็นเวลานาน ภายใต้เหตุผลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ระบุว่าเขากำลังจะนำพาให้เกิด “ข้อตกลงสุดท้าย” ของสันติภาพขึ้น แต่ดูเหมือนว่าท่าทีและการตอบสนองจากทั่วทุกสารทิศกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม และเต็มไปด้วยความรู้สึกกังวลไม่เห็นด้วยกับท่าทีล่าสุดของทรัมป์ในครั้งนี้ โดยวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย ถึงกับระบุว่าการที่ทรัมป์ยอมรับให้เยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล เป็นการทำลายกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีบริบทและปัจจัยทางการเมืองละเอียดอ่อนมากอยู่แล้ว ให้อยู่ในภาวะแหลมคมและสุ่มเสี่ยงยิ่งขึ้นไปอีก พร้อมกับระบุว่าสถานะของเยรูซาเลม ควรเป็นไปตาม “ฉันทามติ” ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ภายใต้กระบวนการเจรจาบนพื้นฐานของมติสหประชาชาติ มากกว่าการประกาศยอมรับฝ่ายเดียวดังที่สหรัฐอเมริกาดำเนินการอยู่ นอกจากนี้ ปูตินยังเน้นย้ำด้วยว่าอิสราเอลและปาเลสไตน์ควรกลับเข้าสู่กระบวนการเจรจาโดยเร็วที่สุด เพื่อปรับความเข้าใจและคลี่คลายความขัดแย้งในทุกประเด็น ซึ่งรวมถึงสถานะของเยรูซาเลมด้วย มูลเหตุที่ทำให้การประกาศรับรองเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล กลายเป็นประเด็นร้อนในทางการเมืองระหว่างประเทศ และกำลังส่งผลกระทบต่อสันติภาพของโลกในวงกว้าง ในด้านหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์ที่นครศักดิ์สิทธิ์ในนาม เยรูซาเลม แห่งนี้ถือเป็นหัวใจแห่งความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่ดำเนินยืดเยื้อต่อเนื่องยาวนาน ไม่เพียงเพราะเยรูซาเลมมีความสำคัญเกี่ยวข้องทางศาสนาและมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่งสำหรับชาวยิว

Read More

อนาคตของสื่อไทย หมดเวลาของนักวิชาชีพ??

ข่าวการปิดตัวลงของสื่อสิ่งพิมพ์หลายสำนักในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการรุกคืบเข้ามาของกลุ่มทุนใหญ่เพื่อถือครองหุ้นและลงทุนในธุรกิจสื่อได้ก่อให้เกิดคำถามถึงทิศทางของสื่อสารมวลชนไม่จำกัดเฉพาะในมิติของสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น หากแต่หมายรวมครอบคลุมไปสู่สื่อวิทยุโทรทัศน์อย่างรอบด้านด้วย สาเหตุหลักที่ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์หลายแห่งจำเป็นต้องยุติการพิมพ์ในด้านหลักมักดำเนินไปภายใต้คำอธิบายที่ยึดโยงกับภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่รายได้จากค่าโฆษณาที่ทยอยปรับตัวลงตามแนวโน้มดังกล่าว ขณะที่ต้นทุนการผลิตไม่ได้ปรับตัวลดลง มิหนำซ้ำยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น ความไม่สมดุลที่ว่านี้ได้กลายเป็นกับดักให้ผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์จำนวนไม่น้อยเริ่มขาดทุนสะสมและกลายเป็นภาระหนี้ ที่นำไปสู่การล่มสลายและปิดตัวลงไปในที่สุด กระนั้นก็ดี ประเด็นที่มีความแหลมคมยิ่งไปกว่านั้นก็คือการปรับเปลี่ยนประพฤติกรรมของผู้บริโภค และการมาถึงของสื่อดิจิทัล ออนไลน์ ที่ดูจะตอบสนองและสอดรับกับวิถีชีวิตของผู้คนร่วมสมัย ซึ่งแม้ว่าผู้ประกอบการหลายรายจะพยายามดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดด้วยการปรับเนื้อหา รวมถึงช่องทางในการเข้าถึงไปสู่การนำเสนอในรูปแบบของ e-magazine e-contents อย่างขะมักเขม้น หากแต่พัฒนาการของเทคโนโลยีที่เลื่อนไหลอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องกับทั้งมิติของเงินทุนและกรอบเวลาใหม่ของการนำเสนอ ขณะที่กลไกการแสวงหารายได้จากสื่อที่ว่านี้วิ่งตามไปไม่ทันและบ่อยครั้งดำเนินไปด้วยความเฉื่อยจากความคุ้นชินของทีมงานฝ่ายขายที่ยังจ่อมจมอยู่กับภาพความรุ่งเรืองในอดีตของธุรกิจสิ่งพิมพ์ ก่อนหน้านี้มีการประเมินว่า มูลค่าเงินโฆษณาที่กระจายเข้าสู่สื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะในกลุ่มนิตยสารมีอยู่ในระดับประมาณ 6 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งการปิดตัวลงของนิตยสารหลายฉบับในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งยังเชื่อว่าหากสามารถรักษาตัวรอดต่อไปได้ก็ยังมีโอกาสในทางธุรกิจอยู่บ้างจากข้อเท็จจริงที่ว่าจำนวนหัวหนังสือที่จะมาแย่งชิงส่วนแบ่งเงินค่าโฆษณานี้มีลดลง แม้ว่าในอีกด้านหนึ่งเม็ดเงินโฆษณาในตลาดอาจลดลงไปก็ตาม ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงความพยายามของผู้ประกอบการสื่อหลายแห่ง ที่พยายามต่อยอดและมีส่วนร่วมอยู่ในกระบวนการพัฒนาของโทรทัศน์ดิจิทัล ด้วยหวังว่าเนื้อหาสาระและคลังข้อมูลที่มีอยู่จะสามารถนำไปปรับใช้ และเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อชนิดใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นไปเพื่อรักษาสถานภาพของการเป็นสื่อควบคู่กับการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ กรณีดังกล่าวได้กลายเป็นทั้งความพยายามและความเสี่ยงที่ทำให้สภาพและสถานการณ์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการแต่ละแห่งดำเนินไปอย่างไร้ทางออกยิ่งขึ้นอีก ปรากฏการณ์แห่งการล่มสลายของผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในบริบทของสังคมไทยแต่โดยลำพังหากแต่เป็นกระแสธารแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ Time Inc. บริษัทสื่อที่มีอายุยืนยาวนับร้อยปี และเป็นเจ้าของนิตยสาร Time และสื่อแบรนด์ดังในเครือทั้ง Sport Illustrated, People, Moneyและ Fortune ที่ประกาศปิดดีลขายกิจการให้กับ Meredith Corporation ยักษ์ใหญ่วงการสื่อของสหรัฐอเมริกาด้วยมูลค่า 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

Read More

ครม. ใหม่ ส่งท้ายปีระกา บนความคาดหวังแห่งปีจอ

การปรับคณะรัฐมนตรีภายใต้การกำกับดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในนาม “ประยุทธ์ 5” แม้จะมีการปรับเปลี่ยนรวมมากถึง 18 ตำแหน่ง หากแต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้สะท้อนภาพความแตกต่างในเชิงนโยบายหรือมาตรการในการนำพาประเทศไปสู่หนทางใหม่ และดูจะเป็นเพียงการปรับเพื่อผลัดเปลี่ยนบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งเท่านั้น ขณะเดียวกันการปรับ ครม. ครั้งล่าสุดยังได้รับการประเมินว่าเป็นความพยายามของประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะกอบกู้ศรัทธาและความเชื่อมั่นของรัฐบาลที่กำลังทรุดตัวตกต่ำต่อเนื่อง รวมถึงความพยายามที่จะปูทางไปสู่การสานต่อเพื่อการดำรงอยู่ในอำนาจภายหลังการเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในช่วงปลายปี 2561 อีกด้วย คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่พยายามลดทอนจำนวนขุนทหารและเติมเต็มเข้ามาด้วยบุคลากรภาคพลเรือนและนักวิชาการ อาจช่วยให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลดูดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคณะรัฐมนตรีชุดก่อนหน้า หากแต่ในความเป็นจริง กรณีดังกล่าวกลับสะท้อนภาพความล้มเหลวและปัญหาในการบริหารจัดการที่ดำเนินมากว่า 3 ปีของ คสช. ไปในคราวเดียวกัน กระนั้นก็ดี การฝากความหวังไว้กับทีมเศรษฐกิจที่มีสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นหัวเรือใหญ่ และยังดำเนินนโยบายเศรษฐกิจตามกรอบโครงนโยบายและความคิดเดิม ทำให้เกิดคำถามว่า ประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่สังคมไทยเผชิญอยู่ในขณะนี้ ได้รับการประเมินบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงอย่างไร และจะดำเนินไปสู่หนไหน แม้ว่าการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดจะเป็นประจักษ์พยานว่าสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยังคงมีบทบาทนำ และ คสช. สมัครใจที่จะเชื่อฝีมือของขุนพลทางเศรษฐกิจรายนี้อย่างมากก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาล คสช. พยายามฉายภาพรวมตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ประกอบส่วนไปด้วยมูลค่าการส่งออกและรายได้จากการท่องเที่ยว ในฐานะที่เป็นผลงานเชิดหน้าชูตารัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง หากแต่การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดกลับมีการปรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ให้พ้นจากตำแหน่ง คำถามที่ติดตามมาจึงอยู่ที่ว่ารัฐมนตรีที่ถูกปรับออกนี้ มีประเด็นว่าด้วยความฉ้อฉลไม่โปร่งใส หรือเป็นการยอมรับไปโดยปริยายของรัฐบาลว่า ตัวเลขและผลงานที่พยายามเอ่ยอ้างมาโดยตลอดนั้นเป็นเพียงการปรับขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวก็สดใสจากเทรนด์ของโลก ไม่ได้เกิดขึ้นจากความสามารถในการบริหารจัดการของภาครัฐแต่อย่างใด ประเด็นที่น่าสนใจในเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง อยู่ที่มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่รัฐบาลพยายามโหมประโคมและมอบสิทธิประโยชน์พิเศษเพื่อเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

Read More

“ยูนิเซฟ” ชวนคุณร่วมทำบุญกับเซเลบด้วยการบริจาค “ตะกร้าแห่งความหวัง”

มาร่วมกันเปลี่ยนเทศกาลปีใหม่นี้ให้มีความหมายที่ยิ่งใหญ่มากกว่าครั้งไหน ร่วมกับเหล่าเซเลบแถวหน้าของเมืองไทย อาทิ คุณใหม่ ดาวิกา คุณพีช พชร คุณวู้ดดี้ วุฒิธร และคุณนานา ไรบีนา ในโครงการ Basket of Hope ตะกร้าแห่งความหวัง ของขวัญที่ช่วยให้เด็ก ๆ มีโอกาสรอดชีวิตจากสาเหตุอันเลวร้ายมากมายที่พวกเขากำลังเผชิญ ไม่ว่าจะเป็น ความอดอยาก ความหนาวเย็น และโรคภัยต่าง ๆ ที่คร่าชีวิตพวกเขาได้ทุกนาที โดยทุก ๆ หนึ่งนาทีมีเด็ก 11 คนต้องเสียชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะสาเหตุจากความขาดแคลนปัจจัยสำคัญเพื่อการอยู่รอด ไม่ว่าจะเป็นอาหารบำบัดฉุกเฉิน ผ้าห่ม วัคซีน และยารักษาโรค เพื่อใช้ป้องกันและบรรเทาความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ซึ่งสาเหตุทั้งหมดนี้ “เราสามารถช่วยปกป้องพวกเขาได้” ยูนิเซฟจึงอยากใช้เทศกาลแห่งความสุขนี้ เป็นโอกาสอันดีที่ทุกคนจะสามารถมอบของขวัญที่ช่วยเด็ก ๆ ให้มีโอกาสรอดชีวิต ด้วยการร่วมบริจาคตะกร้าแห่งความหวัง โดยตะกร้าแต่ละใบจะบรรจุของขวัญที่แตกต่างกัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของเด็ก ๆ จากหลากหลายสาเหตุ ในราคาเพียงตะกร้าละ 999 บาท ซึ่งเป้าหมายในปีนี้คือ 1,699 ตะกร้า

Read More

AEC 2025 ก้าวย่างที่ท้าทายของอาเซียน

การประชุมหารือของคณะรัฐมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 15 ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 31 ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถือเป็นการหารือครั้งแรกในรอบ 2 ปี หลังจากการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เมื่อปี 2015 กำลังเป็นภาพสะท้อนความคืบหน้าและจังหวะก้าวของ ASEAN ที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะการหารือดังกล่าวในด้านหนึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 (AEC Blueprint 2025) ซึ่งที่ประชุม AEC Council ได้รับรองแผนงานรายสาขา (Sectoral Work Plans) จนครบถ้วนทั้ง 23 แผนงาน โดย 3 แผนงานสุดท้ายที่ได้รับรองอยู่ที่แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยมีเป้าหมายที่จะลดต้นทุนธุรกรรมทางการค้าลงร้อยละ 10 ภายในปี 2020 และเพิ่มมูลค่าการค้าภายในภูมิภาคเป็น 2 เท่า ภายในปี

Read More

สายการบินเร่งปรับตัว รับสมรภูมิเดือดบนฟากฟ้า

ธุรกิจการบินของไทย ดูจะเป็นธุรกิจที่มีความเคลื่อนไหวเป็นที่น่าจับตามองมากกลุ่มหนึ่งในรอบปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุเพราะการปรับเปลี่ยนและการรุกคืบของกลุ่มทุนใหม่ๆ เข้าสู่พื้นที่การแข่งขันที่มีความเข้มข้นนี้กำลังส่งผลต่อภูมิทัศน์และกรอบการดำเนินธุรกิจให้มีความวูบไหวอย่างมีนัยสำคัญ เพราะในขณะที่การบินไทย สายการบินแห่งชาติ ซึ่งดำเนินการตามแผนปฏิรูปองค์กรระยะที่ 3 ภายใต้แนวคิด “การเติบโตอย่างยั่งยืน” ยังคงบันทึกผลขาดทุนสุทธิในไตรมาสที่ 2/2560 ในระดับขาดทุนสุทธิ 5,208 ล้านบาท ขณะที่ในไตรมาส 3/2560 ยังบันทึกผลขาดทุนสุทธิอีกกว่า 1,800 ล้านบาท ความพยายามของการบินไทยในการพลิกฟื้นสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมาแม้จะประสบความสำเร็จพอสมควร เมื่อปรากฏว่าอัตราการใช้ประโยชน์เครื่องบินต่อวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากระดับ 11.6 ชั่วโมงต่อเครื่องต่อวัน ในไตรมาส 3 ของปี 2559 มาสู่ระดับ 12.1 ชั่วโมงต่อเครื่องต่อวัน ขณะที่ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK: Available Seat Kilometer) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) อยู่ในระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 78.2 สูงกว่าปีก่อนซึ่งอยู่ในระดับร้อยละ 73.5 โดยมีจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งสิ้นประมาณ 5.99-6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 แม้ว่าผลการดำเนินงานของการบินไทยและบริษัทย่อยในไตรมาส 3/2560

Read More