Home > manager360 (Page 354)

“ดุสิตธานี” บนจุดตัดแห่งยุคสมัย

  การประกาศความร่วมมือระหว่างเครือดุสิตธานี (DTC) กับกลุ่มเซ็นทรัล โดยเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) เพื่อร่วมการปรับโฉมและพัฒนาพื้นที่โรงแรมดุสิตธานีให้เป็นอาคารพาณิชยกรรมแบบประสม (mixed use) ภายใต้งบลงทุน 36,700 ล้านบาท นอกจากจะเป็นดีลใหญ่แห่งปีแล้ว กรณีดังกล่าวยังสะท้อนภาพภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนไปของธุรกิจโรงแรม และการพัฒนาที่ดินในเขตเมืองหลวงของสยามประเทศที่มีนัยสำคัญอีกด้วย อาคารของโรงแรมดุสิตธานีที่มีความสูง 23 ชั้นซึ่งตั้งตระหง่านอยู่ที่หัวมุมถนนพระราม 4 ตัดกับถนนสีลมมานานเกือบ 5 ทศวรรษเคยได้รับการกล่าวถึงในฐานะที่เป็นตัวแทนและสัญลักษณ์ของการก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ (modernism) ของสังคมไทย และเป็นแลนด์มาร์คสำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย กำลังจะถูกรื้อถอน เพื่อเปิดทางให้โครงการที่จะประกอบส่วนด้วยศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารสำนักงาน เบียดแทรกขึ้นมาทดแทน ความเป็นไปของดุสิตธานี ในด้านหนึ่งสะท้อนวิถีและข้อเท็จจริงของธุรกิจโรงแรมของไทยที่เผชิญหน้ากับการแข่งขันที่หนักหน่วง หลังจากมีโรงแรมจากเครือระดับนานาชาติเข้ามาเปิดดำเนินการอย่างหลากหลาย ขณะที่ผู้ประกอบการดั้งเดิมของไทย ทั้งดุสิตธานี ปาร์คนายเลิศ โรงแรมเอเชีย แอมบาสเดอร์ ต่างอยู่ในภาวะที่ต้องปรับตัว และปรับปรุงอาคารสถานที่ให้สามารถดึงดูดและเป็นทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวระดับต่างๆ ได้มากขึ้น ควบคู่กับปรากฏการณ์ของการพัฒนาพื้นที่ในเขตเมืองที่ทำให้ราคาที่ดินกลายเป็นส่วนหนึ่งของสมการการสร้างประโยชน์ทางธุรกิจอีกด้วย ทางเลือกของผู้ประกอบการหรือทายาทที่รับช่วงธุรกิจแต่ละราย จึงดำเนินไปบนบริบทที่หลากหลาย โดยในกรณีของณพาภรณ์ โพธิรัตนังกูร กรรมการผู้จัดการของโรงแรมปาร์คนายเลิศ จำกัด ทายาทรุ่นที่ 4 ของเลิศ เศรษฐบุตร และหลานยายของท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ ระบุว่า “ธุรกิจโรงแรมมีการแข่งขันสูงมาก

Read More

จาก รพ. พญาไท สู่ RSU International ย่างก้าวแห่งการพิสูจน์บทเรียน

แม้ว่าข่าวการเปิดตัว RSU International Hospital ในฐานะที่เป็น Smart Hospital และจังหวะก้าวครั้งใหม่ของอาทิตย์ อุไรรัตน์ จะได้รับการตอบสนองจากแวดวงธุรกิจและสื่อสารมวลชนด้วยท่วงทำนองที่เฉยชาและเงียบงันกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ยากปฏิเสธจากกรณีที่ว่านี้ก็คือ ความเคลื่อนไหวนี้เป็นภาพสะท้อนความมั่นใจและวิสัยทัศน์ที่น่าจับตามองของอาทิตย์ อุไรรัตน์ ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 ซึ่งทำให้โรงพยาบาลพญาไท ธุรกิจครอบครัวของตระกูลอุไรรัตน์ ในนามของ บมจ.ประสิทธิ์พัฒนา ต้องตกอยู่ในภาวะยากลำบากและในที่สุดต้องหลุดพ้นออกไปจากมือของตระกูลอุไรรัตน์ไปสู่ผู้ถือหุ้นรายใหม่ ที่ถือเป็นหนึ่งในตำนานมหากาพย์บทเรียนธุรกิจครั้งสำคัญของธุรกิจการเมืองไทยเลยทีเดียว การล่มสลายของโรงพยาบาลพญาไท ในจุดเริ่มต้นก็เป็นไปในลักษณะที่ไม่แตกต่างจากความล่มสลายของธุรกิจหลากหลายทั้งน้อยใหญ่ที่เกิดขึ้นในห้วงของวิกฤต ที่ต่างอาศัยเงินกู้ยืมจากตลาดทุนและตลาดเงินอย่างเฟื่องฟูในยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง แต่เมื่อเกิดวิกฤตมูลค่าของหนี้สินทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกลับทำให้มูลค่าหนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 200-250% จากเหตุของการลดค่าเงินบาท และทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจต่างต้องเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูของศาลล้มละลายกลางในที่สุด แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในกรณีของโรงพยาบาลพญาไท เป็นไปมากกว่านั้น เนื่องเพราะท่ามกลางกระบวนการฟื้นฟูปรากฏตัวผู้แสดงทั้ง PWC (PricewaterhouseCoopers) ในฐานะผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการและปรับโครงสร้างทางการเงิน ตามคำแนะนำของไกรวิน ศรีไกรวิน หนึ่งในอดีตเจ้าหน้าที่ บล.ธนชาติ ซึ่งเข้ามาทำหน้าที่ที่ปรึกษาทางการเงินอีกรายในโรงพยาบาลพญาไท ในช่วงปี 2542 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาทิตย์ อุไรรัตน์ ต้องทิ้งโรงพยาบาลพญาไทเพื่อไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิตย์ อุไรรัตน์ เคยย้อนรำลึกความทรงจำของเหตุการณ์ในห้วงยามนั้นไว้อย่างน่าสนใจว่า การเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ทำให้ต้องใช้เวลาทำงานในกระทรวงจนไม่มีเวลาดูแลความเป็นไปของโรงพยาบาลพญาไทในห้วงเวลาวิกฤตของกระบวนการทำแผนฟื้นฟูนี้มากพอ ยังไม่นับรวมประเด็นที่ว่า

Read More